กระแจะ
- ชื่อ
- ส่วนของพืชที่ใช้
- การกระจายตัวทางภูมิศาสตร์/แหล่งที่มา
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- การเพาะปลูก
- สรรพคุณและการใช้สมุนไพรพื้นฐานตามภูมิปัญญาไทยด้านเครื่องสำอาง
- สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบ
- สารออกฤทธิ์ หรือ สารสำคัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson
ชื่อวงค์
RUTACEAE
ชื่อสมุนไพร
กระแจะ
ชื่ออังกฤษ
-
ชื่อพ้อง
Hesperethusa crenulata (Roxb.) M.Roem.
Limonia crenulata Roxb.
ชื่อท้องถิ่น
พญายา ขะแจะ แจะ แจ๊ ตุมตัง พินิยา พุดไทร
ชื่อ INCI
HESPERETHUSA CRENULATA BARK EXTRACT
ส่วนของพืชที่ใช้
การกระจายตัวทางภูมิศาสตร์/แหล่งที่มา
ในประเทศไทยกระแจะมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงใต้ ขึ้นตามป่าเบญจพรรณที่แห้งแล้งทั่วไป ในต่างประเทศ พบที่มณฑลยูนานของประเทศจีน ปากีสถาน อินเดียศรีลังกา บังกลาเทศ พม่า และภูมิภาคอินโดจีน (6)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3–8 ม. เปลือกต้นสีน้ำตาล ผิวขรุขระ กิ่งก้านมีหนาม ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว เรียงสลับ ใบย่อย 4–13 ใบ รูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 1.5–3 ซม. ยาว 2–7 ซม. แกนกลางและก้านใบแผ่เป็นปีก ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ รูปคล้ายสามเหลี่ยม ผิวด้านนอกมีต่อมน้ำมันประปราย ผิวด้านในเกลี้ยง กลีบดอกมี 4 กลีบ รูปไข่แกมรูปรี สีขาวแกมสีเหลือง มีขนสั้นนุ่ม เกสรเพศผู้มี 8 อัน อับเรณูรูปขอบขนานแกมรูปไข่ รังไข่เหนือวงกลีบ รูปเกือบกลม ผลสด รูปทรงกลม (4-5)
การเพาะปลูก
กระแจะสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ดและการปักชำด้วยกิ่งอ่อนหรือราก ในประเทศพม่านิยมนำมาปลูกและขยายพันธุ์ในเชิงพาณิชย์กันมาก ส่วนในประเทศไทยนั้นยังไม่นิยมนำมาปลูกเพราะเป็นพืชที่ใช้เวลานานจึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ซึ่งเนื้อไม้ที่มีคุณภาพดี ลำต้นต้องมีอายุ 35 ปีขึ้นไป (29, 30)
การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด มีวิธีการดังนี้ (31)
นำผลสุกและแก่เต็มที่ซึ่งจะมีสีดำเข้มมาแช่น้ำประมาณ 2-3 วัน
นำเมล็ดที่ได้มาล้างน้ำให้สะอาดตากแดดไว้ประมาณ 2-3 แดด
เตรียมวัสดุเพาะในถุงดำ โดยมีส่วนผสมของแกลบสุกผสมกับดินร่วมปนทรายอัตราส่วน 2 : 1 วางถุงเพาะในที่ร่มรำไร ซึ่งแสงแดดสามารถส่องถึงได้ประมาณ 40%
หยอดเมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้ในใส่ถุงเพาะ ความลึกประมาณ 2-3 ซม. รดน้ำให้ชุ่ม 3 - 5 วัน/ครั้ง อย่าให้เปียกหรือแฉะจนเกินไปจะทำให้เมล็ดพันธุ์เน่าเสียได้
ดูแลรดน้ำสม่ำเสมอประมาณ 45 วันเมล็ดก็จะเริ่มงอก
เมื่อต้นกล้าแข็งแรงออกใบจริงประมาณ 3-5 ใบให้ย้ายต้นกล้ามาตากแดดในที่โล่งแจ้ง เพื่อต้นกล้าจะได้แข็งแรงก่อนนำไปปลูก
สรรพคุณและการใช้สมุนไพรพื้นฐานตามภูมิปัญญาไทยด้านเครื่องสำอาง
ไม่มีข้อมูล
สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบ
องค์ประกอบทางเคมีในเปลือกต้นและลำต้นของกระแจะ ได้แก่ (7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16)
สารกลุ่มคูมาริน (coumarins) ได้แก่ umbelliferone (7-hydroxycoumarin), scopoletin, angustifolin, psoralen, xanthotoxin, bergapten, pimpinellin, luvangetin, poncitrin, marmesin, moellendorffilin
สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) และสารประกอบอะโรมาติก (aromatic compounds) ได้แก่ 1,3,5-trimethoxybenzene, syringaldehyde, 2′,4′,5,7-tetrahydroxyflavanone
สารกลุ่มลิกแนน (lignans) ได้แก่ syringaresinol, lyoniresinol
สารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds) ได้แก่ arbutin
สารกลุ่มไลโมนอยด์ (limonoids) ได้แก่ deacetylnomilinate, limonexin, limonin diosphenol, limonin
สารกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ (triterpenoids) ได้แก่ lupenone, lupeol
สารกลุ่มสเตอรอล (sterols) ได้แก่ β-sitosterol, schleicheol 2, stigmast-4-en-6β-ol-3-one, stigmast-4-en-3-one, 3β-Hydroxy-5α,8α-epidioxyergosta-6,22-diene
สารกลุ่มอัลคาลอยด์ (alkaloids) และสารประกอบไนโตรเจน (nitrogen compounds) ได้แก่ (+)-tanakine, (+)-tanakamine, (-)-crenulatine, N-benzoyltyramine methyl ether, (-)-tembamid,
สารกลุ่มกรดไขมัน(fatty acids) และไฮโดรคาร์บอน(hydrocarbons) ได้แก่ hexadecanoic acid, n-dodecanoic acid, palmitic acid, stearic acid, linoleic acid, tetratetracontane, (7Z)-7-tetradecenal, cyclopentadecanone,
สารกลุ่มคูมาริน (coumarins)
สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) และสารประกอบอะโรมาติก (aromatic compounds)
สารกลุ่มลิกแนน (lignans)
สารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds)
สารกลุ่มไลโมนอยด์ (limonoids)
สารกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ (triterpenoids)
สารกลุ่มสเตอรอล (sterols)
สารกลุ่มอัลคาลอยด์ (alkaloids) และสารประกอบไนโตรเจน (nitrogen compounds)
สารกลุ่มกรดไขมัน (fatty acids) และไฮโดรคาร์บอน (hydrocarbons)
แนวทางการควบคุมคุณภาพ (วิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ)
การสกัดและแยกสารสำคัญ
ตัวอย่างที่ 1 การสกัดและแยกสารสำคัญจากลำต้นของกระแจะโดยนำผงลำต้นของกระแจะ 6.78 กก. มาสกัดด้วย 70% อะซีโตน 20 ลิตร จำนวน 3 ครั้ง รวมสารสกัดที่ได้และระเหยตัวทำละลายออก จะได้สารสกัดหยาบ 300 ก. นำไปกระจายในน้ำ และสกัดด้วยเอทิลอะซิเตท ได้สารสกัด 150 ก. นำไปแยกด้วยเทคนิค column chromatography โดยใช้ silica gel เป็นวัฏภาคคงที่ และ ใช้คลอโรฟอร์ม, คลอโรฟอร์ม/อะซีโตน (9 : 1 และ 4 : 1), และอะซีโตนเป็นวัฏภาคเคลื่อนที่ ในการชะสารออกจาก column(eluent) เก็บและรวบรวมส่วนสกัด (fraction) ที่ได้โดยใช้เทคนิค thin-layer chromatography (TLC) ช่วยในตรวจสอบและรวมส่วนสกัดที่เหมือนกัน
ส่วนสกัด I (fraction I) ซึ่งได้จากการใช้คลอโรฟอร์มเป็นตัวพาสารออกจาก column เมื่อนำมาแยกซ้ำด้วย silica gel column โดยใช้ ปิโตรเลียมอีเธอร์/เอทิลอะซิเตทเป็นตัวพาสารออกจาก column ได้สาร angustifolin (15 มก.), pimpinellin (8 มก.), moellendorffilin (14 มก.), lupeol (200 มก.), stigmast-4-en-6β-ol-3-one (30 มก.), 3β-hydroxy-5α,8α-epidioxyergosta-6,22-diene (20 มก.)
ส่วนสกัด II (fraction II) ซึ่งได้จากการใช้คลอโรฟอร์ม/อะซีโตน (9 : 1) เป็นตัวพาสารออกจาก column เมื่อนำมาแยกซ้ำด้วย silica gel column โดยใช้ปิโตรเลียมอีเธอร์/เอทิลอะซิเตท, คลอโรฟอร์ม/อะซีโตน, และคลอโรฟอร์ม/เมทานอลเป็นตัวพาสารออกจาก column ได้สารN-benzoyltyramine methyl ether (9 มก.), tembamid (12 มก.), 2′,4′,5,7-tetrahydroxyflavanone (4 มก.), 3,4′,5,7-hydroxyflavanone(5 มก.),syringaldehyde (16 มก.), 1,3,5-trimethoxybenzene (7 มก.), 7-hydroxycoumarin (5 มก.), limonin (300 มก.), deacetylnomilinate (23 มก.), schleicheol2 (6 มก.), และ syringaresinol (45 มก.)
ส่วนสกัด III (fraction III) ซึ่งได้จากการใช้คลอโรฟอร์ม/อะซีโตน (4 : 1) เป็นตัวพาสารออกจาก column เมื่อนำทำให้บริสุทธิ์ขึ้นด้วย column ที่บรรจุ MCI-gel CHP-20P ใน aqueous methanol และนำสารที่ได้ มาแยกซ้ำด้วย silica gel column โดยใช้คลอโรฟอร์ม/อะซีโตนและคลอโรฟอร์ม/เมทานอลเป็นตัวพาสารออกจาก column จะได้สาร crenulatine (8 มก.), 4-methoxy-6-hydroxy-1-methyl-2-quinolone (15 มก.), limonexin (20 มก.), และ lyoniresinol (11 มก.) (10)
ตัวอย่างที่ 2 การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสาร arbutin ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ช่วยให้ผิวขาว จากเปลือกต้น ลำต้น ใบ และผลของกระแจะ (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยนำผงแห้งของเปลือก ลำต้น ใบแห้ง และผลสุกของกระแจะ มาแช่สกัด (maceration) ในเมทานอล นาน 24 ชม. โดยเขย่าด้วยความเร็ว 150 รอบ/นาที ที่อุณหภูมิห้อง นาน 24 ชม. นำสารสกัดที่ได้ไปวิเคราะห์ด้วย HPLC ผลการวิเคราะห์พบว่า สารสกัดเมทานอลจากส่วนต่างๆ ของกระแจะมีปริมาณสาร arbutin เรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ สารสกัดจากใบ (2.426 ก./กก.)>สารสกัดจากผล (0.293 ก./กก.) >สารสกัดจากลำต้น (0.260 ก./กก.) >สารสกัดจากเปลือกต้น (0.171 ก./กก.) (18)
การตรวจสอบด้วยวิธี Thin-Layer chromatography (TLC)
ตัวอย่างที่ 3 ตรวจสอบสารสกัด 95% เอทานอลของลำต้นของกระแจะด้วยเทคนิค TLC โดยสภาวะที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ (12)
TLC plate: ไม่ระบุ
Mobile phase: ethyl acetate : methanol (9 : 1)
Sample volume: ไม่ระบุ
Spray reagent: ไม่ระบุ
Reference standard: -
UV detector: UV ที่ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตรและ UV ที่ความยาวคลื่น 365 นาโนเมตร
ผลการทดสอบ: ภายใต้ UV254ค่า hRf30, 42, 47, 61, 71, 75, 92 มีจุดสีดำ (quenching) และภายใต้ UV365ค่า hRf 50, 71 มีจุดเรืองแสงสีเขียวอมฟ้า
ตัวอย่างที่ 4 ตรวจสอบสารสกัด 70% และ 95% เอทานอลของลำต้นของกระแจะด้วยเทคนิค TLC โดยสภาวะที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ (13)
TLC plate: silica gel GF254
Mobile phase: dichloromethane : methanol (95 : 5)
ethyl acetate : toluene : hexane (5 : 4 : 1)
ethyl acetate : dichloromethane : hexane (6 : 2 : 2)
Spray reagent: 10% KOH และ anisaldehyde-sulfuric acid TS
Reference standard: umbelliferone, scopoletin
UV detector: UV ที่ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตรและ UV ที่ความยาวคลื่น 366 นาโนเมตร
การตรวจสอบด้วยวิธี High-performance liquid chromatography (HPLC)
ตัวอย่างที่ 5 การตรวจสอบด้วยวิธี HPLC เพื่อวิเคราะห์สาร arbutin มีสภาวะที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ (12, 14)
Column: Prevail C18 (5 มคม.;250 × 4.6 มม.)และ Prevail all-guard cartridge C18(5 มคม.;7.5 × 4.6 มม.)
Mobile phase: acetonitrile : 3% acetic acid inH2O (v/v) ที่เวลา 0 นาที (10:90), ที่เวลา 45 นาที (55:45) และคงอัตราส่วนนี้ไว้
Flow rate: 1 มล./นาที
Injection volumes: ไม่ระบุ
Detector: photodiode array detector ที่ความยาวคลื่น 280 นาโนเมตร
Reference standard: arbutin
ตัวอย่างที่ 6 เตรียมสารสกัดโดยนำผงแห้ง 6 กก. มาสกัดด้วยน้ำ 5 ลิตร โดยการเขย่าด้วยเครื่อง wrist action shaker นาน 5 ชม. กรอง นำไประเหยตัวทำละลายออกด้วยเทคนิค spray drying (อุณหภูมิ 100 oC, flow rate: 1.0 มล./นาที) หรือrotatory evaporatorซึ่งจะได้สารสกัดหยาบสีน้ำตาลเข้ม นำสารสกัดที่ได้ 5 ก. มาสกัดด้วย 75% เมทานอล 100 มล. ด้วยวิธีการสกัดแบบไหลย้อนกลับ (reflux extraction) นาน 30 นาที กรอง นำมาระเหยตัวทำละลายจนเหลือประมาณ 12 มล. ถ่ายลงสู่กรวยแยก (separator) ขนาด 250 มล. เติมน้ำ 50 มล.แล้วสกัดด้วยอีเธอร์ 30 มล. 2 ครั้ง นำสารสกัดในชั้นน้ำมาสกัดด้วยเอทิลอะซิเตท 50 มล. 3 ครั้ง รวมสารสกัดในชั้นเอทิลอะซิเตท ระเหยตัวทำละลายออกจนแห้ง นำมาละลายในเมทานอล นำไปวิเคราะห์ด้วย HPLC โดยสภาวะที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ (17)
Column: ODS Hypersil® C18 column (5 มคม.;125 × 4.0 มม.)และ Lichrosphere® 100 RP-18 (5 มคม.;4.0 × 4.0 มม.)guard column
Mobile phase: water : methanol : 0.1 M hydrochloric acid (89 : 10 : 1, v/v/v)
Flow rate: 1.0 มล./นาที
Injection volumes: 100 มคล.
Detector: UV-visible detector model G 1313 Aที่ความยาวคลื่น 282 นาโนเมตร
ผลการทดสอบ: พบสาร arbutin 0.12 มคก./ก. ของสารสกัดจากลำต้นกระแจะ
ตัวอย่างที่ 7 การวิเคราะห์สาร arbutin ด้วยวิธี HPLC มีสภาวะที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ (19)
Column: Synergi Hydro RP column (4 มคม.; 250 × 4.6 มม.) และ LC-18 guard column (2 ซม.), อุณหภูมิ column 45 oC
Mobile phase: gradient elution ของ water (A) และ methanol (B), ด้วยทั้งสองตัวทำละลายมี 0.1% acetic acid (v/v); ที่เวลา 0 – 14 นาทีใช้ 8% B; ที่เวลา 14–22 นาที ปรับจาก 8% B เป็น 100% B; ที่เวลา 22–30 นาที ใช้ 100% B
Flow rate: 0.5 มล./นาที
Injection volumes: 10 มคล.
Detector: photodiode array detector ที่ความยาวคลื่น 280 นาโนเมตร
Reference standard: β-arbutin และ α-arbutin
ผลการทดสอบ: Retention timeβ-arbutin 9.28 นาที, α-arbutin 9.68 นาที
การตรวจสอบด้วยวิธี Gas chromatograph-Mass spectrometer (GC-MS)
ตัวอย่างที่ 8 วิเคราะห์สารสกัดเอทานอล (15) และสารสกัดเมทานอล (16) ของลำต้นกระแจะด้วย GC-MS โดยมีสภาวะที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ
GC-MS model: QP 2010 series, Shimadzu
Capillary column: VF-5ms fused silica capillary column (30ม.x0.25 มม., 0.25 มคม. film thickness)
GC-MS detection: Electron ionization system (ionization energy 70 eV)
Carrier gas: Helium (99.99%)
Flow rate: 1.51 มล./นาที
Injectiontemperature: 200 oC
Mass transfer linetemperature: 240 oC
Temperature of the column: oven temperature program 70 - 220 oC ที่ 10 oC/นาที, คงอยู่ 1 นาที จากนั้นเพิ่มอุณหภูมิเป็น 300 oC ที่ 10 oC/นาที
Sample volume: 2 มคล., split ratio 1 : 40 with mass scan 50- 600 amu
Total running time: 35 นาที
ผลการทดสอบ: ส่วนประกอบหลักที่พบในสารสกัดเอทานอลได้แก่ hexadecanoic acid (19.65%), lupeol (13.70%), lup-20(30)-en-3-one (12.75%), stigmast-4-en-3-one (8.21%), tetratetracontane (5.97%) และ (7Z)-7-tetradecenal (5.58%) เป็นต้น (15) และส่วนประกอบหลักที่พบในสารสกัดเมทานอลได้แก่ palmitic acid (23.90%), cyclopentadecanone (16.60%), lupeol (9.97%), stearic acid (9.74%), linoleic acid (6.96%), lupenone (4.94%), n-dodecanoic acid (3.86%) เป็นต้น (16)
การศึกษาเพื่อหาแนวทางสำหรับการจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานของลำต้นของกระแจะ
เนื่องจากในขณะนี้ยังไม่มีข้อกำหนดมาตรฐานของกระแจะใน Thai Herbal Pharmacopoeia จึงได้รวบรวมการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานเบื้องต้นของกระแจะได้
ตัวอย่างที่ 9 ข้อกำหนดมาตรฐานของลำต้นของกระแจะ (12)
การตรวจสอบพฤกษเคมีเบื้องต้น
การตรวจสอบสารกลุ่มอัลคาลอยด์
สารสกัด 95% เอทานอลของกระแจะให้ผลเป็นบวกกับ Dragendorff’s reagent โดยสังเกตพบตะกอนสีส้ม
การตรวจสอบสารกลุ่มคูมาริน
สารสกัด 95% เอทานอลของกระแจะเรืองแสงสีเขียวอมฟ้าภายใต้แสง UV ความยาวคลื่น 365 นาโนเมตรหลังจากสัมผัสกับสารละลาย NaOH หรืออาจสังเกตเห็นการเรืองแสงสีฟ้าได้ก่อนการ สัมผัสกับสารละลายด่าง
การวิเคราะห์เชิงคุณภาพด้วยวิธีทางกายภาพ
การตรวจหาปริมาณสิ่งแปลกปลอม
ไม่พบสิ่งแปลกปลอม
การวิเคราะห์ปริมาณความชื้น(Azeotropic distillation method)
ปริมาณความชื้น ค่าเฉลี่ยร้อยละ4.833-7.333
การวิเคราะห์หาน้ำหนักที่หายไปเมื่อทำให้แห้ง
น้ำหนักที่หายไปเมื่อทำให้แห้ง ค่าเฉลี่ยร้อยละ 5.973-9.973
การวิเคราะห์ปริมาณเถ้า
ปริมาณเถ้ารวม ค่าเฉลี่ยร้อยละ 0.658-2.378
ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ค่าเฉลี่ยร้อยละ 0.003-0.279
การวิเคราะห์ปริมาณสารสกัดด้วยตัวทำละลาย
ค่าการสกัดด้วย 95% เอทานอล ค่าเฉลี่ยร้อยละ 0.266-0.105
ค่าการสกัดด้วยเอทิลอะซิเตท ค่าเฉลี่ยร้อยละ 0.025-0.047
ค่าการสกัดด้วยน้ำ ค่าเฉลี่ยร้อยละ 0.381-0.733
ตัวอย่างที่ 10 การวิเคราะห์ทางเคมีเบื้องต้นพบว่าสารสกัดเอทานอลของลำต้นกระแจะประกอบด้วย protein, lipid, carbohydrate, reducing sugar และสารในกลุ่ม phenols, tannins, flavonoids, saponins, alkaloids แต่ไม่พบสารในกลุ่ม anthraquinones, และ quinones (20)
การวิเคราะห์ทางเคมีกายภาพของสารสกัดเอทานอลของลำต้นกระแจะ
การวิเคราะห์ปริมาณเถ้า
ปริมาณเถ้ารวมร้อยละ 9.65%w/w
ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด 20.0%w/w
ปริมาณเถ้าที่ละลายในน้ำ 48.0%w/w
การวิเคราะห์ปริมาณสารสกัดด้วยตัวทำละลาย
ค่าการสกัดด้วยเอทานอล 13.0%w/w
การวิเคราะห์ปริมาณเส้นใย (crude fibre content) 6.2%w/w
ปริมาณเส้นใย 6.2%w/w
การศึกษาทางคลินิก
ยังไม่มีการรายงานการศึกษาทางคลินิกสำหรับการใช้ประโยชน์ทางด้านเครื่องสำอางของกระแจะ
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
10. การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
1 การศึกษาเกี่ยวกับผิวหน้า
1.1 ต้านอนุมูลอิสระบนใบหน้า (F007)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดไดคลอโรมีเทนของเปลือกต้นกระแจะจากจังหวัดตาก (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำเปลือกต้นกระแจะ 500 ก. มาแช่สกัด (maceration) ด้วยไดคลอโรมีเทน 1.5 ลิตร นาน 3 วัน กรอง ระเหยตัวทำละลายออกภายใต้ความดันสุญญากาศ นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl (DPPH) assay พบว่ามีค่าความเข้มข้นที่ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ครึ่งหนึ่ง (EC50) เท่ากับ 316.57มคก./มล. ในขณะที่สารมาตรฐานวิตามินซีมีค่าEC50 เท่ากับ 4.74 มคก./มล. (21)
1.2 ลดเลือนริ้วรอยบนใบหน้า (F008)
การทดสอบประสิทธิภาพในการลดเลือนริ้วรอยของสารสกัดไดคลอโรมีเทนของเปลือกต้นกระแจะจากจังหวัดตาก (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำเปลือกต้นกระแจะ 500 ก. มาแช่สกัดด้วยไดคลอโรมีเทน 1.5 ลิตร นาน 3 วัน กรอง ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator นำสารสกัดขนาด 5, 10, 25, 50, และ 100 มคก./มล. มาทดสอบกับเซลล์ไฟโบรบลาสต์ที่แยกได้จากผิวหนังของมนุษย์บริเวณที่เป็นริ้วรอยตรงหน้าผากและ/หรือหางตา จากอาสาสมัครอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยการทดสอบผลต่อการเพิ่มจำนวนของเซลล์ด้วยวิธีsodium 3′-[1-(phenylaminocarbonyl)-3,4-tetrazolium]-bis(4-methoxy-6-nitro) benzene sulfonic acid hydrate (XTT)assay พบว่าสารสกัดทุกขนาดไม่มีผลต่อการแบ่งตัวหรือรูปร่างของเซลล์ และไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์ การทดสอบฤทธิ์กระตุ้นการสร้างโปรคอลลาเจน(type I procollagen) และฤทธิ์ยับยั้งการผลิตเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสลายคอลลาเจนหรือ matrix metalloproteinase-1 (MMP-1) โดยเซลล์จะได้รับสารสกัด 24 ชม. จากนั้นจึงล้างสารสกัดออกด้วย phosphate buffer saline (PBS) และเติม PBS เข้าไปใหม่ นำมาฉายรังสี UVB ขนาด 56 วัตต์ นาน 30 นาที นำ PBS ออก และเติมอาหารเลี้ยงเซลล์ (medium) เข้าไป วิเคราะห์ผลหลังจากนั้น 4 และ 24 ชม. พบว่าที่เวลา 4 ชม. สารสกัดขนาด 25, 50, และ100 มคก./มล. สามารถลดปริมาณของ MMP-1ได้อย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับเซลล์ที่ได้รับการฉายรังสี UVB เพียงอย่างเดียว แต่ที่เวลา 24 ชม. สามารถลดปริมาณของ MMP-1ได้เพียงเล็กน้อย และให้ผลไม่ชัดเจน เมื่อเทียบกับเซลล์ที่ได้รับการฉายรังสี UVB และการทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดต่อการฟื้นฟูศักยภาพในการจัดระเบียบเส้นใยคอลลาเจนและการหดตัวของเซลล์ พบว่าสารสกัดความเข้มข้น 100 มคก./มล. ไม่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มความสามารถในการฟื้นฟูศักยภาพในการจัดระเบียบเส้นใยคอลลาเจนและการหดตัวของเซลล์ไฟโบรบลาสต์ เมื่อศึกษาเป็นเวลา 3 วัน โดยคาดว่าหากเพิ่มระยะเวลาการศึกษาเป็น 7 วันอาจเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนกว่านี้ ในขณะที่การทดสอบผลต่อtype I procollagen พบว่า ที่เวลา 24 ชม. สารสกัดขนาด 10, 25, 50, และ100 มคก./มล. สามารถทำให้ระดับของtype I procollagenเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับเซลล์ที่ได้รับการฉายรังสี UVB เพียงอย่างเดียว แสดงให้เห็นว่าสารสกัดไดคลอโรมีเทนของลำต้นของกระแจะอาจช่วยลดเลือนริ้วรอยบนผิวหนังที่ถูกทำลายด้วยรังสี UVB ได้ (21, 22)
2 การศึกษาเกี่ยวกับผิวกาย
2.1 ทำให้ผิวขาว (S001)
การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) ซึ่งเป็นเอนไซม์หนึ่งในกระบวนการสร้างเม็ดสีผิว ของสารสกัดของเปลือกต้นกระแจะจากประเทศพม่า (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำเปลือกต้นมาบดเป็นผง นำผงสมุนไพรที่ได้ 3 กก. มาสกัดลําดับส่วน (sequential extraction) ด้วยวิธีแช่สกัด (maceration) ที่อุณหภูมิห้อง กับตัวทำละลายเฮกเซนไดคลอโรมีเทนเอทิลอะซิเตท และเมทานอลตามลำดับ โดยใช้ตัวทำละลาย 9 ลิตร และนำผงสมุนไพร 1 กก. มาสกัดด้วย 85% เอทานอล และน้ำกลั่นขนาด 3 ลิตร ด้วยวิธีเดียวกัน (ไม่ระบุระยะเวลาในการสกัด) กรอง และระเหยตัวทำละลายด้วยการลดความดัน ซึ่งจะได้สารสกัด 6 ชนิดคือ สารสกัดเฮกเซนสารสกัดไดคลอโรมีเทน สารสกัดเอทิลอะซิเตทสารสกัดเมทานอล สารสกัด 85% เอทานอล และสารสกัดน้ำ นำสารสกัดทั้งหมดมาทดสอบฤทธิ์ด้วยวิธี tyrosinase inhibition assay พบว่าสารสกัดทั้ง 6 ชนิดมีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) เท่ากับ 0.623, 0.546, 0.697, 1.420, 0.860, และ 1.089 มก./มล. ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นว่าสารสกัดไดคลอโรมีเทนมีฤทธิ์ดีที่สุดในขณะที่สารมาตรฐาน kojic acidมีค่า IC50เท่ากับ 0.009 มก./มล. (23)
2.2 ต้านอนุมูลอิสระบนผิวกาย (S006)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเมทานอลของเปลือกต้นกระแจะจากจังหวัดตาก (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำเปลือกต้นมาสกัดด้วยวิธีแช่สกัดในเมทานอล ที่อุณหภูมิห้อง นาน 1 สัปดาห์ กรอง และระเหยตัวทำละลายภายใต้สุญญากาศที่อุณหภูมิ 35 oC นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีDPPH assay พบว่าสารสกัดเมทานอลของเปลือกต้นกระแจะ มีค่า EC50เท่ากับ 135.07 มคก./มล. ในขณะที่สารมาตรฐานวิตามินอีมีค่า EC50เท่ากับ 11.09 มคก./มล. (24)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเมทานอลของเปลือกต้นกระแจะ (ไม่ระบุแหล่งที่มา voucher specimen และวิธีสกัด) ด้วยวิธี DPPH พบว่ามีค่า EC50 เท่ากับ 146.1มคก./มล. ในขณะที่สารมาตรฐานวิตามินอีมีค่าEC50 เท่ากับ 11.1 มคก./มล. (25)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดของเปลือกต้นกระแจะจากประเทศพม่า (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำเปลือกต้นมาบดเป็นผง นำผงสมุนไพรที่ได้ 3 กก. มาสกัดลําดับส่วน (sequential extraction) ด้วยวิธีแช่สกัด ที่อุณหภูมิห้อง กับตัวทำละลายเฮกเซนไดคลอโรมีเทนเอทิลอะซิเตท และเมทานอลตามลำดับ โดยใช้ตัวทำละลายขนาด 9 ลิตร และนำผงสมุนไพร 1 กก. มาสกัดกับ 85% เอทานอล และน้ำกลั่นขนาด 3 ลิตร ด้วยวิธีเดียวกัน (ไม่ระบุระยะเวลาในการสกัด) กรอง และระเหยตัวทำละลายด้วยการลดความดัน ซึ่งจะได้สารสกัด 6 ชนิดคือ สารสกัดเฮกเซนสารสกัดไดคลอโรมีเทน สารสกัดเอทิลอะซิเตทสารสกัดเมทานอล สารสกัด 85% เอทานอล และสารสกัดน้ำ นำมาทดสอบฤทธิ์ด้วยวิธี DPPH assay พบว่าสารสกัดทั้ง 6 ชนิดมีค่าความเข้มข้นที่สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ครึ่งหนึ่ง (SC50) เท่ากับ <2, 0.554, 0.320, 0.351, 0.282, และ 0.425 มก./มล. ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นว่าสารสกัด 85% เอทานอลมีฤทธิ์ดีที่สุดในขณะที่สารมาตรฐาน trolox และ quercetin มีค่า SC50เท่ากับ 0.027 และ 0.016 มก./มล. ตามลำดับ (23)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเอทานอลของลำต้นของกระแจะจากประเทศพม่า (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำลำต้นของกระแจะมาสับหรือหั่นให้มีขนาดเล็ก อบที่อุณหภูมิไม่เกิน 60oC นำมาบดให้ละเอียด สกัดโดยนำผงสมุนไพร 50 มก. ไปเขย่ากับ 95%, 85%, 70%, หรือ 50% เอทานอล 150 มล. ด้วยเครื่องเขย่านาน 15 นาที กรอง ระเหยตัวทำละลายบน water bath ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay พบว่าสารสกัด 95%, 85%, 70%, และ 50% เอทานอล มีค่าความเข้มข้นที่ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ครึ่งหนึ่ง (ED50) เท่ากับ 45.74, 51.03, 21.56, และ 47.85 มคก./มล. ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นว่าสารสกัด 70% เอทานอลแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด ในขณะที่สารมาตรฐาน vitamin C, butylated hydroxyanisole (BHA), butylated hydroxytoluene (BHT), umbelliferone, และ scopoletin มีค่า ED50 เท่ากับ2.02, 5.33, 18.57, 69.78, และ112.69 มคก./มล. ตามลำดับ และเมื่อนำสารสกัด 70% เอทานอลไปเตรียมเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบโลชันโดยใช้สารสกัดขนาด 0.5%, 1%, และ 2% และนำไปทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอีกครั้ง พบว่าโลชันที่เตรียมได้มีค่าED50เท่ากับ 55.86, 23.32 และ 12.90 มคก./มล. ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นว่าการใส่สารสกัดกระแจะขนาด 2% มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด แต่ที่ขนาดดังกล่าวทำให้ผลิตภัณฑ์มีสีเข้มมาก และไม่เป็นที่ยอมรับทางเครื่องสำอาง ทางคณะผู้วิจัยจึงเตรียมโลชันโดยใช้สารสกัด กระแจะขนาด 1% (มีสารumbelliferone และ scopoletin 0.28 มก.% และ 0.51 มก.% ตามลำดับ) ซึ่งให้สีที่ยอมรับได้และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป (13)
2.3 กันแดดสำหรับผิวกาย (S008)
การทดสอบวัดค่าการป้องกันแสงแดด (sun protecting factor; SPF) ของโลชันที่มีส่วนผสมของสารสกัด 70% เอทานอลของลำต้นของกระแจะจากประเทศพม่า (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำลำต้นของกระแจะมาสับให้มีขนาดเล็ก อบที่อุณหภูมิไม่เกิน 60oC นำมาบดให้ละเอียด สกัดโดยนำผงสมุนไพร 50 มก. ไปเขย่ากับ 70%เอทานอล 150 มล. ด้วยเครื่องเขย่านาน 15 นาที กรอง ระเหยตัวทำละลายบน water bath นำสารสกัดที่ได้ไปเตรียมเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบโลชันโดยใช้สารสกัดขนาด 1% (มีสาร umbelliferone และ scopoletin 0.28 มก.% และ 0.51 มก.% ตามลำดับ) และนำไปทดสอบวัดค่าการป้องกันแสงแดด(sun protecting factor; SPF) โดยเครื่อง SPF290S พบว่าโลชันดังกล่าวมีค่า SPF 1.25 (13)
การทดสอบฤทธิ์ปกป้องผิวจากรังสีUV ของผลิตภัณฑ์รองพื้นเนื้อน้ำ (liquid foundation) ซึ่งมีส่วนผสมของกระแจะ (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen), titanium dioxide (TiO2) และว่านหางจระเข้ ด้วยการหาค่า sun protection factor (SPF), UVA/UVB ratio, critical wavelength, และ boots star rating โดยกระจายผงกระแจะ (ผงจากลำต้นและผงจากเปลือกต้น), TiO2, และผงว่านหางจระเข้ใน propylene glycol หรือน้ำที่ขนาดความเข้มข้น 60%w/w พบว่าค่า SPF ของผงจากเปลือกต้นของกระแจะสูงกว่าผงว่านหางจระเข้และผงจากลำต้นของกระแจะ แต่ต่ำกว่า TiO2แม้ว่าค่า UVA/UVB ratio, boots star rating และ critical wavelength ของผงจากลำต้นจะดีกว่าผงจากเปลือกต้น แต่การกระจายตัวและเนื้อสัมผัสของผงจากเปลือกต้นดีกว่าผงจากลำต้น ทางผู้วิจัยจึงเลือกผงจากเปลือกต้นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์โดยมีส่วนผสมของผงจากเปลือกต้นกระแจะ 10% w/w, TiO2 12% w/w, และว่านหางจระเข้ 2% w/w (เป็นสัดส่วนที่ให้ค่า SPF สูงสุด) เมื่อนำมาทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีค่า SPF เท่ากับ 35.467มีค่า UVA/UVB ratio เท่ากับ 0.98 มีค่า critical wavelength เท่ากับ 387.90นาโนเมตร และมีค่า boots star rating เท่ากับ 5 (26)
ค่าความสามารถในการป้องกันแสงแดดของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีสารป้องกันแสงแดด
Critical wavelength (λc) คือ ค่าความยาวคลื่นที่สามารถให้การป้องกันแสง UV ได้ 90% เมื่อคิดจากพื้นที่ใต้กราฟ โดยประเมินแสงในช่วงความยาวคลื่นของ UVB และ UVA คือ 290 ถึง 400 นาโนเมตร เป็นค่าที่บอกประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี โดยจะต้องมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 370 นาโนเมตร (27)
Sun Protection Factor (SPF) คือ ค่าที่แสดงถึงความสามารถของผลิตภัณฑ์ในการป้องกันการไหม้แดงของผิวหนังที่เกิดจากการสัมผัสรังสีUVB (รังสีUV ที่มีความยาวคลื่น 290-320 นาโนเมตร)
ตารางที่ 1 ค่าความสามารถในการป้องกันรังสีUVB (28)
Boots Star Ratingคือ ค่าความสามารถในการป้องกันรังสี UVA (รังสีUV ที่มีความยาวคลื่น 320-400 นาโนเมตร)
ตารางที่ 2 ค่า Boots Star Rating ในการแสดงค่าความสามารถในการป้องกันรังสีUVA (28)
2.4 ต้านการอักเสบของผิวกาย
การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดของเปลือกต้นกระแจะจากประเทศพม่า (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำเปลือกต้นมาบดเป็นผง นำผงสมุนไพรที่ได้ 3 กก. มาสกัดลําดับส่วน (sequential extraction) ด้วยวิธีแช่สกัด ที่อุณหภูมิห้อง กับตัวทำละลายเฮกเซนไดคลอโรมีเทนเอทิลอะซิเตทเมทานอลตามลำดับ โดยใช้ตัวทำละลายขนาด 9 ลิตร และนำผงสมุนไพร 1 กก. มาสกัดกับ 85% เอทานอล และน้ำกลั่นขนาด 3 ลิตร ด้วยวิธีเดียวกัน (ไม่ระบุระยะเวลาในการสกัด) กรอง และระเหยตัวทำละลายด้วยการลดความดัน ซึ่งจะได้สารสกัด 6 ชนิดคือ สารสกัดเฮกเซนสารสกัดไดคลอโรมีเทน สารสกัดเอทิลอะซิเตทสารสกัดเมทานอล สารสกัด 85% เอทานอล และสารสกัดน้ำ นำมาทดสอบฤทธิ์ด้วยวิธี nitrite assay กับเซลล์ macrophage ชนิด RAW 264.7 ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบและกระตุ้นการสร้าง nitric oxide (NO) ด้วยสาร lipopolysaccharides (LPS) โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 0-3 มก./มล.พบว่า สารสกัดทั้ง 6 ชนิดสามารถยับยั้งการสร้าง NO ได้อย่างชัดเจน โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ และมีลำดับการออกฤทธิ์ดังนี้ สารสกัดเฮกเซน >สารสกัดไดคลอโรมีเทน >สารสกัดเอทิลอะซิเตท >สารสกัด 85% เอทานอล >สารสกัดเมทานอล >สารสกัดน้ำ และสารสกัดทั้ง 6 ชนิดที่ขนาด 0.2-3.0 มก./มล.แสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบ 80-90% ซึ่งขนาดดังกล่าวเป็นขนาดที่ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์ (เซลล์มีชีวิตรอด 80%) (23)
การศึกษาทางพิษวิทยาและความปลอดภัย
การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ของสารสกัดไดคลอโรมีเทนของลำต้นของกระแจะจากจังหวัดตาก (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำเปลือกต้นของกระแจะมาบดให้เป็นผง และแช่สกัดด้วยไดคลอโรมีเทนนาน 1 สัปดาห์ นำมาระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator โดยทำการทดสอบกับเซลล์ผิวหนังของมนุษย์ชนิด fibroblasts และเซลล์ผิวหนังชนิด keratinocytes (HaCat) ที่ได้รับการฉายรังสี UVB (56 วัตต์ นาน 30 นาที) ด้วยวิธี XTT assay โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 5, 10, 20, 40, 80 และ 100 มคก./มล. พบว่าสารสกัดทุกขนาดไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติกับเซลล์ทั้งสอง ชนิด แสดงให้เห็นว่าสารสกัดไดคลอโรมีเทนของลำต้นของกระแจะที่ขนาดความเข้มข้นสูง(100 มคก./มล.) ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนัง (22)
ข้อห้ามใช้
ยังไม่มีรายงานข้อห้ามใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอาง
ข้อควรระวัง
ยังไม่มีรายงานข้อควรระวังการใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอาง แต่สำหรับผู้ที่มีประวัติการแพ้ ส้ม มะนาวแก้ว มะตูม หรือพืชในวงศ์ RUTACEAE ควรระมัดระวังการใช้ เนื่องจากเป็นพืชวงศ์เดียวกัน อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้
อาการไม่พึงประสงค์
ยังไม่มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอาง
ขนาดที่แนะนำ (ข้อมูลจากการศึกษาทางคลินิก)
ไม่มีข้อมูล เนื่องจากยังไม่มีรายงานการศึกษาในคน มีแต่การศึกษาในหลอดทดลองหรือสัตว์ทดลอง
สิทธิบัตร
DIP (THAILAND-TH)
สรุป
ข้อมูลงานวิจัยที่มีในขณะนี้พบว่าเปลือกต้นและลำต้น (เนื้อไม้) ของกระแจะ มีฤทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ในเครื่องสำอางพอสมควร โดยการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่ามีต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดเลือนริ้วรอย ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสป้องกันรังสียูวีและต้านการอักเสบ แต่ทั้งหมดยังเป็นเพียงการศึกษาในหลอดทดลอง และในกระแจะมีสารarbutinซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสี (melanin synthesis) โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสจึงช่วยให้กระจ่างใสได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับสารสกัดของพืชชนิดอื่น ๆ เช่น กำลังเสือโคร่ง (Betula alnoides Buch. Ham.), เท้ายายม่อม (Clerodendrum petasitesS. Moore), หรือว่านสากเหล็ก/ว่านพร้าว (Curculigo latifolia Dryand. var. latifolia) (มีสาร arbutin 3.50,1.50,และ 1.10 มคก./ก. ตามลำดับ) พบว่าสารสกัดจากลำต้นของกระแจะมีปริมาณของสาร arbutin น้อยกว่า (มีสาร arbutin 0.12 มคก./ก.) (17) แต่ในกระแจะมีสาร marmesinซึ่งมีการศึกษาในหลอดทดลองระบุว่าช่วยกรองรังสี UV ได้ (11) และกระแจะเป็นพืชที่มีประวัติการใช้มาอย่างยาวนาน มีความปลอดภัยสูง และค่อนข้างได้รับความนิยม จึงนับว่ามีแนวโน้มที่ดีในการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหรือเพื่อการใช้ภายนอกได้แต่ยังต้องการข้อมูลงานวิจัยเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
1. ราชันย์ ภู่มา, สมราน สุดดี, บรรณาธิการ. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช; 2557.
2. Hesperethusa crenulata (Roxb.) Roem. The plant list. [Internet]. 2012 [cited 2021 Jan 22]. Available from: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-50172375.
3. นันทวัน บุณยะประภัศร, อรนุช โชคชัยเจริญพร, บรรณาธิการ. สมุนไพร..ไม้พื้นบ้าน (3). กรุงเทพฯ: บริษัท ประชาชน จำกัด; 2542.
4. วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล, พร้อมจิต ศรลัมพ์, รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล และคณะ. สยามไภษัชยพฤกษ์ ภูมิปัญญาของชาติ. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอน์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2538.
5. Verheij EWM, Coronel RE (Eds). Plant Resources of South-East Asia 2: Edible Fruits and Nuts. Bogor: PROSEA Foundation, 1992.
6. ราชบัณฑิตยสถาน. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์; 2547.
7. Nayar MNS, Bhan MK, George V. Chemical investigation of the stem bark of Hesperethusa crenulata. Curr Sci. 1971;40(21):570-1.
8. Srivastava SD, Halwe K, Srivastava SK. New coumarins from Limonia crenulata. Fitoterapia. 1997;68(5):410-2.
9. Niu XM, Li SH, Peng LY, Rao GX, Sun HD. A new indole alkaloid from Limonia crenulata. Chin Chem Lett. 2001;12(3):243-4.
10. Niu XM, Li SH, Peng LY, Lin ZW, Rao GX, Sun HD. Constituents from Limonia crenulata. J Asian Nat Prod Res. 2001;3(4):299-311. doi: 10.1080/10286020108040370.
11. Joo S-H, Lee S-C, Kim S-K. UV absorbent, marmesin, from the bark of thanakha, Hesperethusa crenulata L. J Plant Biol. 2004;47(2):163-5. doi: 10.1007/BF03030648.
12. มยุรี กัลยาวัฒนกุล. รายงานการวิจัย เรื่อง ข้อกำหนดมาตรฐานของเนื้อไม้กระแจะ สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง; 2550.
13. เนตรนภา เพ็ญศรี, พราวมาศ แก้วประการ. การพัฒนาโลชั่นกันแดดจากสารสกัดแอลกอฮอล์กระแจะ [โครงการพิเศษปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2550.
14. KanlayavattanakulM, PhrutivorapongkulA, Lourith N, Ruangrungsi N. Pharmacognostic specification of Naringi crenulata stem wood. J Health Res. 2009;23(2):65-9.
15. Sampathkumar S, Ramakrishnan N. Phytochemical and GC-MS analysis of Naringi crenulata (Roxb) Niclos. stem. BRI. 2011;4(1):9-12.
16. Sampathkumar S, Ramakrishnan N. GC-MS Analysis of methanolic extract of Naringi crenulata (Roxb.) Nicols. stem. J Pharm Res. 2012;5(2):1102-4.
17. Thongchai W, Liawruangrath B, Liawruangrath S. High performance liquid chromatographic determination of arbutin in skin whitening creams and medicinal plant extracts. J Cosmet Sci. 2007;58:35-44. doi: 10.1111/j.1468-2494.2007.00391_4.x.
18. Lourith N, Kanlayavattanakul M, Pongpunyayuen S. Skin lightening agent from Naringi crenulata. World Acad Sci Eng Technol. 2010;46:1022-23.
19. Wang Y-H,Avonto C,Avula B, Wang M. Quantitative determination of a-arbutin, b-arbutin, kojic acid, nicotinamide, hydroquinone, resorcinol, 4-methoxyphenol, 4-ethoxyphenol, and ascorbic acid from skin whitening products by HPLC-UV. J AOAC Int. 2015;98(1):5-12. doi: 10.5740/jaoacint.14-123.
20. Sampathkumar S, Ramakrishnan N. Pharmacognostic and phytochemical investigation of Naringi crenulata (Roxb.) Nicols. stem. Anc Sci Life. 2011;31(1): 17-21.
21. จารุภา วิโยชน์, นันทกา โกรานา. รายงานการวิจัย เรื่อง ผลของสารสกัดจากเปลือกไม้กระแจะต่อการฟื้นฟูการทำงานของ เซลล์ไฟโบรบลาสต์ที่แยกได้จากผิวหนังมนุษย์บริเวณที่เป็นริ้วรอย. พิษณุโลก: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2554. doi: 10.14457/NU.res.2012.36.
22. Amornnopparattanakul P, Khorana N, Viyoch J. Effects of Hesperethusa crenulata’s bark extract on production of pro-collagen type I and inhibition of MMP-1 in fibroblasts irradiated UVB. ICCEPS'2012; 2012 Jul 28-29; Pattaya, Thailand; 2012.
23. Wangthong S, Palaga T, Rengpipat S, Wanichwecharungruang SP, Chanchaisak P, Heinrich M. Biological activities and safety of thanaka (Hesperethusa crenulata) stem bark. J Ethnopharmacol. 2010;132:466-72. doi: 10.1016/j.jep.2010.08.046.
24. Muangton W, OunaroonA, Viyoch J. Development of solid lipid nanoparticles entrapping thanakha’s bark extract for application in sunscreen product. 35th Congress on Science and Technology of Thailand; 2009 Oct 15-17; Chonburi, Thailand.
25. Muangton W. Development of nanoparticles entrapped thanakha’s (Naringi crenulata) bark and aloe’s (Aloe vera) gel extract for application in sunscreen product [dissertation]. Phitsanulok: Naresuan University; 2010. doi: 10.14457/NU.the.2010.5.
26. Kanlayavattanakul M, Lourith N. Sunscreen liquid foundation containing Naringi crenulata powder. Adv Mat Res. 2012;506:583-6. doi: 10.4028/www.scientific.net/AMR.506.583.
27. Diffey BL, Tanner PR, Matts PJ, Nash JF. In vitro assessment of the broad-spectrum ultraviolet protection of sunscreen products. J Am Acad Dermatol. 2000;43:1024-35. doi: 10.1067/mjd.2000.109291.
28. ภวัญญา มีมั่งคั่ง. แนวทางการเลือกและการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด [อินเทอร์เน็ต]. กองแผนงานและวิชาการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2556 [เข้าถึงเมื่อ 5 เม.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tci-thaijo.org/index.php/fdajournal/article/download/138742/103095/
29. ทานาคา ประโยชน์ดี ๆ สรรพคุณเด่น ๆ และข้อมูลงานวิจัย[อินเทอร์เน็ต]. ดิสไทย; 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2 เม.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก:
https://www.disthai.com/17217259/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2
30. Goldsberry A, Dinner A, Hanke CW. Thanaka: traditional Burmese sun protection. J Drug Dermatol. 2014;13(3):306-7.
31. กระแจะ ไม้พื้นเมืองกลิ่นหอม [อินเทอร์เน็ต]. มูลนิธิสุขภาพไทย; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 30 มี.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก:
http://www.thaihof.org/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B8%B0-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%88/