ฟักข้าว
- ชื่อ
- ส่วนของพืชที่ใช้
- การกระจายตัวทางภูมิศาสตร์/แหล่งที่มา
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- การเพาะปลูก
- สรรพคุณและการใช้สมุนไพรพื้นฐานตามภูมิปัญญาไทยด้านเครื่องสำอาง
- สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบ
- สารออกฤทธิ์ หรือ สารสำคัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng.
ชื่อวงค์
CUCURBITACEAE
ชื่อสมุนไพร
ฟักข้าว
ชื่ออังกฤษ
Gac, Baby jackfruit, Cochinchin gourd, Spiny bitter gourd, Spring bitter cucumber
ชื่อพ้อง
Momordica mixta Roxb.
Momordica macrophylla Gage
Momordica meloniflora Hand.-Mazz.
Muricia cochinchinensis Lour.
ชื่อท้องถิ่น
ขี้กาเครือ ผักข้าว พุคู้เด๊าะ
ชื่อ INCI
MOMORDICA COCHINCHINENSIS FRUIT EXTRACT
MOMORDICA COCHINCHINENSIS SEED ARIL OIL
MOMORDICA COCHINCHINENSIS SEED ARIL POWDER
ส่วนของพืชที่ใช้
การกระจายตัวทางภูมิศาสตร์/แหล่งที่มา
พบกระจายตัวจากทางตอนใต้ของประเทศจีนผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงออสเตรเลียตะวันออกเฉียงเหนือและมีการเพาะปลูกในทางตอนใต้ของประเทศจีน แถบอินโดจีนและประเทศไทย (4)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เลื้อย มือเกาะไม่แยกแขนง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กว้าง ขอบใบหยักเป็นแฉกรูปฝ่ามือ 3–5 แฉก ปลายใบแหลม ขอบใบหยักซี่ฟัน โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ก้านใบมีต่อม ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น กลีบดอก สีขาวนวล ตรงกลางสีม่วงเข้ม โคนกลีบเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 5 แฉก ผลสด รูปไข่ กว้าง 5–7 ซม. ยาว 10–15 ซม. ผิวมีหนามสั้น ๆ เมื่อสุกจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองและแดงในที่สุด เมล็ดมีจำนวนมาก รูปไข่ แบน สีเทาดำ (3)
การเพาะปลูก
การปลูกฟักข้าวนิยมปลูกด้วยเมล็ดแต่สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการปักชำกิ่ง ฟักข้าวเป็นพืชที่เติบโตได้ในทุกสภาพดิน ยกเว้นดินเค็มจัดจะทยอยออกดอกและติดผลได้ตลอดทั้งปี ปริมาณผลผลิตประมาณ 100-120 ผล/ปี แต่ละผลหนักประมาณ0.5-0.8 กก. หรือบางลูกอาจหนักได้ถึง1 กก. (55)
สรรพคุณและการใช้สมุนไพรพื้นฐานตามภูมิปัญญาไทยด้านเครื่องสำอาง
ไม่มีข้อมูล
สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบ
สารกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoids) ซึ่งแคโรทีนอยด์หลักที่พบมาก ได้แก่ บีตา-แคโรทีน(-carotene) (5-8) และไลโคปีน (lycopene) (5-9) นอกจากนี้ยังพบ lutein, zeaxanthin และ-cryptoxanthin (5-8)
สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) เช่น apigenin, luteolin, myricetin, quercetin และ rutin (10)
สารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds) เช่น chorogenic acid, caffeic acid, ferulic acid, gallic acid, p-coumaric acid และ p-hydroxybenzoic acid (10)
สารกลุ่มกรดไขมัน (fatty acids) เช่น linoleic acid, oleic acid, palmitic acid และ stearic acid (8)
สารกลุ่มโปรตีน (protein) และ เปปไทด์ (peptide) เช่น cochinin B (11), MCoTI-I-III (12-14), MCoCI (15, 16), MCoCC-1 - McoCC-2 (17), MCo-3 - MCo-6 (18)
สารกลุ่มลิกแนน (lignans) เช่น mubiesin A, mubiesin B, ehletianol C, chushizisin I (19)
สารกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ (triterpenoids) เช่น gypsogenin (19)
สารกลุ่มซาโปนิน (saponins) เช่น momordicasaponin I (20-22), momordicasaponin II (20, 21), quillaic acid glycoside (23),
quillaic acid 3-O-β-d-galactopyranosyl(1→2)-[α-l-rhamnopyranosyl(1→3)]-β-d-glucuronopyranoside (22, 24), gypsogenin-3-O-β-D-glucuronopyranoside (19), gypsogenin-3-O-β-D-galactopyranosyl(1→2)-[α-L-rhamnopyranosyl(1→3)]-β-D-glucurono-pyranoside (19, 22-24)
สารกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoids)
สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids)
สารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds)
สารกลุ่มกรดไขมัน (fatty acids)
สารกลุ่มลิกแนน (lignans)
สารกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ (triterpenoids)
สารกลุ่มซาโปนิน (saponins)
สารออกฤทธิ์ หรือ สารสำคัญ
สารสำคัญ ได้แก่ บีตา-แคโรทีน (β-carotene) และ ไลโคปีน (lycopene) (5-9)
สารออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ ไลโคปีน(9), MCoCI (16)
สารออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ ได้แก่ mubiesin A, mubiesin B, ehletianol C, chushizisin I, gypsogenin, gypsogenin-3-O-β-D-glucuronopyranoside, gypsogenin-3-O-β-D-galactopyranosyl(1→2)-[α-L-rhamnopyranosyl(1→3)]-β-D-glucurono-pyranoside, momordicasaponin I (19), quillaic acid glycoside (23)
แนวทางการควบคุมคุณภาพ (วิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ)
1 สารกลุ่มแคโรทีนอยด์ : วิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ High-performance liquid chromatography (HPLC) ตัวอย่างการศึกษา มีดังนี้
การศึกษาที่ 1 สภาวะการทดลอง (condition) ที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ (8)
column : C30 (3 ; 250x4.6 มม.), อุณหภูมิคอลัมน์ 28 oC
mobile phase : methyl-tert-butyl ether:methanol:ethyl acetate (40:50:10)
flow rate : 1 มล./นาที
injection volumes : 5-20 มคล.
detector : photodiode array detector ที่ความยาวคลื่น 300 และ 700 นาโนเมตร
การศึกษาที่ 2 สภาวะการทดลอง (condition) ที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ (10)
column : C18 (5 ; 250x4.6มม.), อุณหภูมิคอลัมน์30 oC
mobile phase : methanol: acetonitrile + triethylamine 9 ไมโครโมลาร์ (90:10)
flow rate : 0.9มล./นาที
injection volumes : 5-20 มคล.
detector : UV detector ที่ความยาวคลื่น 475 นาโนเมตร
การศึกษาที่ 3 วิเคราะห์สาร -careotene และ lycopene สภาวะการทดลอง (condition) ที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ (25)
column : BDS C18 (5 µm; 150x4.6 มม.), อุณหภูมิคอลัมน์ 40oC
mobile phase : methanol:น้ำ:acetonitrile (97:1:2)
flow rate : 2.5 มล./นาที
injection volumes : 20 มคล.
detector : photodiode array detector, scan wavelength: 350-550 นาโนเมตรและ detection wavelength: 465 นาโนเมตร
run time : 10 นาที
2 สารกลุ่มสารประกอบฟีนอลิก : วิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ HPLC (10) สภาวะการทดลองคือ
column : C18 (5 ; 250x4.6มม.), อุณหภูมิคอลัมน์ 30 oC
mobile phase : ระบบ gradient ระหว่างตัวทำละลาย A คือ น้ำและกรดอะซิติก (pH
2.74) ตัวทำละลาย B คือ acetonitrile
flow rate : 0.8มล./นาที
injection volumes : 20 มคล.
detector : photodiode array detector ที่ความยาวคลื่น 280, 320 และ 350 นาโนเมตร
การศึกษาทางคลินิก
1 การศึกษาเกี่ยวกับผิวหน้า
1.1 ลดเลือนริ้วรอย (F008)
การศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของตำรับครีมลดเลือนริ้วรอย ซึ่งมีส่วนผสมของสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว 5% (สารสกัดได้จากบริษัท Specialty natural products จำกัด, กรุงเทพฯ โดยการสกัดเยื่อหุ้มเมล็ดด้วย 80% เอทานอล) ในอาสาสมัครเพศหญิง จำนวน 22 คน อายุ 45-61 ปี ซึ่งมีริ้วรอยที่บ่งชี้อายุบนผิวหน้าโดยให้ทาครีมทั่วใบหน้า วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 56 วัน พบว่าครีมฟักข้าวมีผลทำให้ผิวมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น ทำให้ผิวขาวขึ้น ริ้วรอยและความหยาบกร้านลดลง และไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวของผู้ใช้ (26)
การศึกษาประสิทธิภาพในการลดริ้วรอยของตำรับครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว (ตัวอย่างจาก จ.เชียงใหม่) ซึ่งเตรียมให้อยู่ในรูปอนุภาคไขมันระดับนาโน เปรียบเทียบกับครีมผสมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว โดยสกัดน้ำมันด้วยเครื่องหีบชนิดอัดเกลียว (screw press) ภายใต้อุณหภูมิ 60 oC ทำการทดสอบในอาสาสมัคร จำนวน 20 คน อายุ 30-60 ปี โดยให้ทาครีมทั้ง 2 ตำรับ ปริมาณ 0.2 ก. ที่บริเวณแขน วันละสองครั้ง (เช้า-เย็น) เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าครีมทั้ง 2 ตำรับมีประสิทธิภาพลดเลือนริ้วรอยของผิวได้ เมื่อเทียบกับก่อนใช้ครีมและไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว ซึ่งครีมผสมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคนาโน จะมีประสิทธิภาพในการลดเลือนริ้วรอยได้ดีกว่าครีมผสมน้ำมันเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว (27)
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
10. การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
1 การศึกษาเกี่ยวกับผิวกาย
1.1 ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (S006)
รายงานวิจัยฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในส่วนต่างๆ ของผลฟักข้าว ได้แก่ เปลือกผล เนื้อผล เยื่อหุ้มเมล็ดและเมล็ด ทั้งในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง มีดังนี้
การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของเปลือกผล เนื้อผล และเยื่อหุ้มเมล็ดของผลดิบเปรียบเทียบกับผลสุก (ตัวอย่างจากจ.นครปฐม) โดยทำการสกัดด้วยการแช่ตัวอย่างฟักข้าวในตัวทำละลาย ได้แก่ เมทานอล อะซีโตน และเฮกเซน ในอัตราส่วน 1:2 เป็นเวลา 7 วัน พบว่าการทดสอบด้วยวิธี 1,1-diphenyl-2-picrylhy-drazyl radical scavenging (DPPH) ค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากส่วนต่างๆ ของฟักข้าว อยู่ระหว่าง 5.12±0.21 - 11.26±0.51มก. สมมูลของกรดแอสคอร์บิก (ascorbic acid equiva-lents; AAE)/100 ก. นน.สด) สารสกัดเมทานอลจากเยื่อหุ้มเมล็ดผลดิบ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้สูงสุด ตาม มาด้วยสารสกัดอะซีโตน และสารสกัดเฮกเซนจากเปลือกผลสุก ขณะที่สารสกัดเมทานอลจากเปลือกผลดิบจะมีฤทธิ์ต่ำสุด และในการทดสอบด้วยวิธี ferric reducing/antioxidant power (FRAP) พบว่าสารสกัดเมทานอลจากเยื่อหุ้มเมล็ดผลดิบ มีความสามารถในการรีดิวซ์ได้สูงสุด (ค่าFRAP value เท่ากับ 0.741±0.001 มก. AAE/100 ก. นน.สด) เมื่อศึกษาปริมาณสารสำคัญ พบว่าสารสกัดอะซีโตนจากเนื้อผลดิบ มีปริมาณของสารฟีนอลิกรวมสูงสุด (41.6 ±0.24 มก. สมมูลของกรดแกลลิก (gallic acid equivalent; GAE)/100 ก. นน.สด) ขณะที่สารสกัดเมทานอลจากเยื่อหุ้มเมล็ดผลดิบ มีปริมาณของฟลาโวนอยด์รวมสูงสุด (73.7 มก. สมมูลของรูติน (rutin equivalent; RE)/100 ก. นน.สด) (28)
สารสกัดเมทานอลจากผล และส่วนสกัดที่แยกได้จากสารสกัด ซึ่งเตรียมสารสกัดโดยแช่(soak) ผลฟักข้าวในเมทานอล เป็นเวลา 24 ชม. จากนั้นนำสารสกัดเมทานอลมาละลายน้ำและทำการสกัดแยกส่วนในกรวยแยก (separatory funnel) โดยตัวทำละลายที่ใช้ คือ เฮกเซน, คลอโรฟอร์ม, เอทิลอะซีเตท และบิวทานอล ตามลำดับ เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH, malonaldehyde/gas chromato-graphyassay และ thiobarbituric acid assay พบว่าสารสกัดเมทานอลมีฤทธิ์อ่อนในการต้านอนุมูลอิสระ ขณะที่ส่วนสกัดอื่นๆ ไม่มีฤทธิ์ (29)
การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของส่วนต่างๆ จากผลฟักข้าว (ตัวอย่างจาก จ.นครพนม) ได้แก่ เปลือกผล เนื้อผล เยื่อหุ้มเมล็ด และเมล็ดในช่วงระยะที่เป็นผลดิบ (เปลือกสีเขียว) สุกปานกลาง (เปลือกสีเหลือง) และสุกเต็มที่ (เปลือกสีแดง) ซึ่งทำการสกัดด้วย 80% เมทานอล โดยวิธีการเขย่า (shaking) ด้วยเครื่องเขย่าสาร (orbital shaker) อัตราเร็ว 180 รอบต่อนาที ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 2 ชม. พบว่าสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดของผลที่สุกเต็มที่ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด เมื่อทดสอบด้วยวิธี FRAPซึ่งมีค่า FRAP values เท่ากับ 531.17 ไมโครโมล/ก. สำหรับการทดสอบด้วยวิธีDPPH พบว่าสารสกัดจากเปลือกและเนื้อของผลดิบมีฤทธิ์ดีที่สุด โดยค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่ต้านอนุมูลอิสระได้ครึ่งหนึ่ง (IC50 ) เท่ากับ 2.56 และ 2.35 มก. /มล. ตามลำดับ และสารสกัดจากเมล็ดของผลสุกมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีกว่าเมล็ดจากผลสุกปานกลาง (IC50 4.20 และ 6.66 มก./มล. ตามลำดับ) (10)
สารสกัด 80% เมทานอลจากผลดิบ ไม่ระบุวิธีการสกัด (ตัวอย่างจากประเทศอินเดีย) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH และวิธี FRAP โดยความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระเท่ากับ 45.06 ±0.08 และ 5.84±0.23 มก. AAE/100 ก. นน.ผลสด ตามลำดับ (30)
สารสกัด 95% เอทานอลจากเปลือกผลเนื้อผลและเยื่อหุ้มเมล็ดของผลสุก (ตัวอย่างจากจ.นครปฐม) ซึ่งเตรียมโดยการแช่ส่วนต่างๆจากฟักข้าวใน 95% เอทานอล (อัตราส่วน1:2) เป็นเวลา2 วันมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดมีฤทธิ์ดีที่สุดเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH และFRAP มีค่าความ สามารถในการต้านอนุมูลอิสระ เท่ากับ4.87±1.58 และ0.016±0.01 มก. AAE/100 ก. นน.สด ตามลำดับ การวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญพบว่า สารสกัดจากเนื้อผลมีปริมาณของสารฟีนอลิกรวมและฟลาโวนอยด์รวมสูงสุดเท่ากับ 0.205 มก. GAE/ก. นน.สด และ0.143 มก.RE/ก. นน.สดตามลำดับ (31)
การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัด 95% เอทานอลจากเปลือกผล เนื้อผล และเยื่อหุ้มเมล็ด (ตัวอย่างจากจ.นครปฐม) ซึ่งเตรียมโดยวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลายแบบเร่งด่วน (accelerated solvent extractionพบว่าในการทดสอบด้วยวิธี DPPH สารสกัดจากเนื้อผลมีฤทธิ์ดีที่สุดเมื่อเทียบกับสารสกัดจากเปลือกผลและเยื่อหุ้มเมล็ด โดยมีค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่ทำให้จำนวนของอนุมูลอิสระลดลงครึ่งหนึ่ง (EC50) เท่ากับ 8.65±0.15,11.78±0.45 และ71.25±1.22 มก./มล. ตามลำดับ แต่สารสกัดทุกชนิดให้ผลไม่แตกต่างกันเมื่อทดสอบด้วยวิธี 2,2′-azinobis-(3-ethylbenzthia-zoline-6-sulfonic acid) (ABTS) ส่วนการทดสอบด้วยวิธี FRAP พบว่าสารสกัดจากเปลือกผลมีฤทธิ์ดีที่สุดเมื่อเทียบกับสารสกัดจากเนื้อผลและเยื่อหุ้มเมล็ด โดยมีค่า FRAP value เท่ากับ252.06±31.68, 112.11±5.3 และ 57.06±13.88 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ (32)
สารสกัด 95% เอทานอลจากเปลือกผลเนื้อผลเยื่อหุ้มเมล็ดและเมล็ด (ตัวอย่างจากจ.หนองคาย) ซึ่งเตรียมด้วยวิธีการเขย่าตัวอย่างใน 95% เอทานอล ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 24 ชม. เมื่อทำการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH พบว่าสารสกัดจากเนื้อผลมีฤทธิ์สูงที่สุด รองลงมาคือสารสกัดจากเปลือกผล เยื่อหุ้มเมล็ด และเมล็ด โดยมีค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ (trolox equivalent antioxidant capacity; TEAC)เทียบเท่ากับ 13.55±0.26, 12.36±0.23, 2.05±0.10 และ 2.05±0.03 มก. โทรลอกซ์/ก. สารสกัด ตามลำดับ) สารสกัดจากเปลือกผลมีความสามารถในการรีดิวซ์ (reducing power) และความสามารถในการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับไอออนของเฟอรัส (Fe2+-chelating ability) ได้ดีที่สุดและมีปริมาณสารโพลีฟีนอลรวมมากที่สุดเมื่อเทียบกับสารสกัดอื่นๆ (33)
สารสกัด 70% เอทานอลจากเปลือกผลเนื้อผล เยื่อหุ้มเมล็ดและเมล็ดของฟักข้าว (ตัวอย่างจากประเทศมาเลเซีย) ซึ่งเตรียมโดยการเขย่าตัวอย่างใน 70% เอทานอล ด้วยเครื่องเขย่าสารอัตราเร็ว180 รอบต่อนาทีเป็นเวลา2 ชม.เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีDPPH พบว่าสารสกัดทุกชนิดที่ความเข้มข้น 150, 300, 600 และ 1200 มคก./มล.สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ ซึ่งสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดมีฤทธิ์สูงสุด ขณะที่สารสกัดจากเนื้อผลมีฤทธิ์ต่ำสุด เมื่อเทียบกับสารสกัดอื่นๆ โดยค่า IC50 ของสารสกัดจากเปลือกผลเนื้อผลเยื่อหุ้มเมล็ด และเมล็ด เท่ากับ 1086, 1435, 865 และ 1035 มคก./มล. ตามลำดับสำหรับการทดสอบด้วยวิธี FRAP พบว่าที่ความเข้มข้น 1200 มคก./มล. สารสกัดจากเปลือกผลมีฤทธิ์ดีที่สุด ขณะที่สารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดมีฤทธิ์ต่ำสุด (ค่าFRAP value เท่ากับ 140 และ 91 ไมโครโมล FeSO4/มคก. ตามลำดับ) (34)
การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดน้ำจากผลและส่วนสกัดที่แยกได้จากสารสกัดน้ำ (ตัวอย่างจากประเทศเวียดนาม) ซึ่งเตรียมสารสกัดโดยการต้มผลฟักข้าวในน้ำ เป็นเวลา 1 ชม. จากนั้นนำสารสกัดน้ำมาทำการสกัดแยกส่วนด้วยวิธี column chromatography โดยตัวทำละลายที่ใช้ชะ (eluted) คือ น้ำ, 20%, 40%, 60%, 80% และ 100% เมทานอล (ส่วนสกัดด้วยน้ำ, ส่วนสกัดด้วย 20-100% เมทานอล) พบว่าส่วนสกัดด้วย 40% และ 60% เมทานอล ความเข้มข้น 500 มคก./มล.มีฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบวิธี DPPH (% การยับยั้ง 18.1±2.7% และ 20.3±0.1% ตามลำดับ)ขณะที่สารสกัดน้ำและส่วนสกัดอื่นๆ มีฤทธิ์อ่อน (29)
สารสกัดจากเปลือกผลสุก และเยื่อหุ้มเมล็ด (ตัวอย่างจากจ.นครปฐม) ซึ่งเตรียมโดยการสกัดด้วยของไหลวิกฤติยิ่งยวดของคาร์บอนไดออกไซด์(supercritical fluid carbon dioxide extraction)ที่ความเข้มข้น 3-5 มก./มล. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยวิธี photochemiluminescence (PCL) assay และ 2-deoxyribose degradation assay โดยสารสกัดจากเปลือกผลมีฤทธิ์ดีกว่าสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ด แต่น้อยกว่าสารสกัดมะเขือเทศ และมีปริมาณของสารฟลาโวนอยด์รวมและแคโรทีนอยด์รวมสูงกว่าเมื่อเทียบกับสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ด สารสกัดมะเขือเทศ และสารสกัดแครอท (35)
เปลือกผลสุก (ตัวอย่างจากประเทศออสเตรเลีย) ซึ่งผ่านวิธีการทำให้แห้ง 4 วิธี ได้แก่ การทำให้แห้งแบบอบลมร้อน (hot air drying), แบบอบภายใต้สุญญากาศ (vacuum drying), แบบใช้ปั๊มความร้อน (heat pump drying) และแบบแช่เยือกแข็ง (freeze drying) เมื่อนำมาสกัดด้วยวิธีการกวน(stirring) ในตัวทำละลายผสม คือ เฮกเซน:อะซีโตน:เอทานอล (50:25:25) ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 30 นาที แล้วทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดในการต้านอนุมูลอิสระ พบว่าสารสกัดจากเปลือกผลที่ทำให้แห้งแบบอบลมร้อนที่อุณหภูมิ 80 oCและแบบสุญญากาศที่อุณหภูมิ50 oC มีฤทธิ์ดีที่สุดเมื่อทดสอบด้วยวิธี ABTS และมีปริมาณของสารแคโรทีนอยด์สูงสุด สารสกัดทุกชนิดให้ผลต้านอนุมูลอิสระไม่แตกต่างกัน เมื่อทดสอบด้วยวิธีDPPH และการทดสอบด้วยวิธีFRAP พบว่าสารสกัดจากเปลือกผลที่ทำให้แห้งแบบอบลมร้อนมีฤทธิ์ดีที่สุด ขณะที่สารสกัดจากเปลือกผลที่ทำให้แห้งแบบใช้ปั๊มความร้อน และการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง จะมีฤทธิ์ต่ำสุด (36)
การเปรียบเทียบผลของวิธีการสกัดต่อปริมาณสารแคโรทีนอยด์และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเอทิลอะซีเตทจากเปลือกผลสุก (ตัวอย่างจากประเทศออสเตรเลีย) ได้แก่ วิธีการสกัดด้วยไมโครเวฟ (micro-wave-assisted extraction; สกัดด้วยเอทิลอะซีเตท ใช้กำลังไฟ 120 วัตต์อุณหภูมิต่ำกว่า 60oC เป็นเวลา 25 นาที), การสกัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound-assisted extraction; สกัดด้วยเอทิลอะซีเตทใช้กำลังไฟ 200 วัตต์อุณหภูมิ 20 oC เป็นเวลา80นาที) (37) และการสกัดแบบดั้งเดิม (สกัดด้วยเอทิลอะซีเตท โดยการเขย่าที่อุณหภูมิ 20 oC เป็นเวลา 150 นาที) (38) พบว่าการสกัดด้วยวิธีดั้งเดิมมีปริมาณสารแคโรทีนอยด์รวมมากกว่าการสกัดด้วยไมโครเวฟและการสกัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (271.1±8.5, 262.3±3.5และ 267.7±1.2มก./100 ก. นน.แห้ง ตามลำดับ) แต่ใช้เวลาในการสกัดสารนานกว่า สารสกัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีกว่าสารสกัดด้วยไมโครเวฟและสารสกัดแบบดั้งเดิม เมื่อทดสอบด้วยวิธี ABTS ซึ่งความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดด้วยวิธีต่างๆเทียบเท่ากับ 819.9±26.5,715.8±18.1 และ 737.3±23.8ไมโครโมลโทรลอกซ์/100 ก. นน.แห้ง ตามลำดับ (37, 38)
การศึกษาผลของการสกัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงต่อปริมาณสารแคโรทีนอยด์รวมและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากเปลือกผล (ตัวอย่างจากประเทศไทย) พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดซึ่งทำให้สารสกัดมีปริมาณสารแคโรทีนอยด์รวมสูง และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด คือ การสกัดด้วย 100% เอทานอลอุณหภูมิ 75 oC เป็นเวลา 30นาที โดยปริมาณสารแคโรทีนอยด์รวม เท่ากับ 68.96±3.75 มก./ก. ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ เท่ากับ 557.30±22.35 มิลลิโมล FeSO4/ก. และ 2.52±0.09 มคก. GAE/ก. เมื่อทดสอบด้วยวิธี FRAP และABTSตามลำดับ (39)
สารสกัด 80% เอทานอลจากเยื่อหุ้มเมล็ด (ตัวอย่างสารสกัดจากบริษัท Specialty natural pro-ducts จำกัด, กรุงเทพฯ) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH, ABTS และFRAP โดยมีค่า TEAC เท่ากับ 41.25±0.34, 47.70±0.18 และ 105.03±2.3 มก. โทรลอกซ์/มก. สารสกัด ตามลำดับ สารสกัดฟักข้าวสามารถต้านอนุมูลอิสระได้มากกว่าวิตามินซี 2.91 เท่า เมื่อทดสอบด้วยวิธี FRAP และมีฤทธิ์มากกว่าวิตามินอี 5.85 เท่า และ 11.75 เท่าเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH และ ABTS (26)
สารสกัดน้ำจากเยื่อหุ้มเมล็ด (ตัวอย่างจากประเทศเวียดนาม) ซึ่งเตรียมโดยการปั่นเยื่อหุ้มเมล็ดกับน้ำในอัตราส่วน 1:5จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการทำให้แห้งด้วยวิธีการทำแห้งแบบพ่นฝอย (spray drying) ที่อุณหภูมิ 120-200 oC และเติมmaltodextrin ความเข้มข้น 10-30% เป็นสารตัวพา (drying carrier) ในระหว่างการทำให้แห้ง เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTS พบว่าสภาวะที่เหมาะสมซึ่งทำให้สารสกัดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้สูงสุดคือ ที่อุณหภูมิ 120 oC และสาร maltodextrin ความเข้มข้น 10% ซึ่งการใช้อุณหภูมิที่สูงขึ้น หรือการเพิ่มปริมาณของสารmaltodextrin มีผลทำให้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณของสารแคโรทีนอยด์รวมของสารสกัดลดลง (40)
ขณะที่อีกงานวิจัยรายงานว่า สารสกัดน้ำจากเยื่อหุ้มเมล็ด (ตัวอย่างจากประเทศไทย) ซึ่งเตรียมโดยการปั่นเยื่อหุ้มเมล็ดกับน้ำ (อัตราส่วน 1:5) จากนั้นนำมาผ่านการทำแห้งแบบพ่นฝอยที่อุณหภูมิ 120-170 oC และเติมสาร maltodextrin ความเข้มข้น 10-30% พบว่าสภาวะที่เหมาะสมซึ่งทำให้สารสกัดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด เมื่อทดสอบด้วยวิธีDPPH และมีปริมาณของสาร lycopene และ-carotene สูงสุด คือที่อุณหภูมิ 170 oC และสารmaltodextrin ความเข้มข้น 10% (41)
สารสกัดน้ำจากเยื่อหุ้มเมล็ด (ตัวอย่างจาก จ.กาฬสินธุ์) ซึ่งเตรียมโดยการปั่นเยื่อหุ้มเมล็ดกับน้ำในอัตราส่วน 1:1 จากนั้นทำให้แห้งด้วยวิธีทำแห้งแบบพ่นฝอยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทดสอบด้วยวิธีDPPH มีค่า IC50 40.44 มก./มล. และวิธี FRAPมีค่า FRAP value481.12±4.10มก. AAE/ก. สารสกัด (42)
น้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ด(ตัวอย่างจากจ.เชียงใหม่) ซึ่งสกัดด้วยเครื่องหีบชนิดอัดเกลียว (screw press) ภายใต้อุณหภูมิ 60 oC มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH โดยมีค่า IC50 6.31±0.14มก./มล.) และวิธี FRAP มีค่า FRAP value1.89±0.31 มิลลิโมลาร์/มก. (27)
สาร lycopene ในเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว (ตัวอย่างจากประเทศเวียดนาม) ซึ่งเตรียมด้วยวิธีการกวนเยื่อหุ้มเมล็ดในเฮกเซน ที่อุณหภูมิห้อง ในสภาวะมืด เป็นเวลา 15 นาทีโดยสาร lycopene ที่ได้จะอยู่ในรูปของ trans-isomer เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTSพบว่ามีค่า TEAC เท่ากับ 2.4 ไมโครโมลโทรลอกซ์/ไมโครโมลไลโคปีนการเปลี่ยนโครงสร้างของสารจากtrans-lycopene เป็น cis-lycopene โดยใช้ความร้อนที่อุณหภูมิ 50 และ 80 °C เป็นเวลา 240 นาที พบว่า cis-lycopene สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่า trans-lycopene (ค่า TEAC 3.7 ไมโครโมลโทรลอกซ์/ไมโครโมลไลโคปีน) (9)
เมล็ดฟักข้าว (ตัวอย่างจากประเทศเวียดนาม) ซึ่งทำการสกัดไขมันออกด้วยเฮกเซน (defatted seed) เมื่อนำมาสกัดด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ ได้แก่ น้ำ, เมทานอล, 50% เมทานอล, เอทานอล, 70% เอทานอล, และ 90% บิวทานอล ที่อุณหภูมิ 40±1oC เป็นเวลา 30 นาที จากนั้นทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดพบว่าที่ความเข้มข้น 2 มก./มล. สารสกัด 90% บิวทานอลมีฤทธิ์ดีที่สุดเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH และ ABTS และมีปริมาณของสารซาโปนินและสารฟีนอลิกรวมสูงกว่าสารสกัดอื่นๆ ขณะที่สารสกัดเอทานอลมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุดเมื่อทดสอบด้วยวิธี FRAP (20)
สารสกัด 95% เอทานอลจากเมล็ด(ตัวอย่างจากประเทศจีน) ซึ่งเตรียมโดยวิธีการรีฟลักซ์ (reflux) ความเข้มข้น 10-800 มคก./มล. มีฤทธิ์อ่อนในการต้านอนุมูลอิสระในการทดสอบด้วยวิธี DPPH เมื่อเทียบกับสารมาตรฐาน tocopherol acetate (IC50>800 และ 44.91 มคก./มล. ตามลำดับ) (43)
การศึกษาฤทธิ์ลดภาวะเครียดออกซิเดชันของสารสกัด 95% เอทานอลจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว (ไม่ระบุวิธีการสกัด) (ตัวอย่างจาก จ.ขอนแก่น) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเครียดออกซิเดชันด้วยสาร N-nitro-L-arginine-methyl ester (L-NAME) โดยป้อนสารสกัด ขนาด 100 และ 500 มก./กก. เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่าสารสกัดมีผลลดภาวะเครียดออกซิเดชันได้ โดยลดการสร้าง superoxide ลดระดับของ malondialdehyde ในเลือด และเนื้อเยื่อ และเพิ่มระดับของ glutathione ในเลือด (44)
การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารchymotrypsin-specific potato type I inhibitor จากเมล็ดฟักข้าว (MCoCI) (ไม่ระบุวิธีการสกัด) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเครียดออกซิเดชันด้วยtert-butyl hydroperoxide(t-BHP) พบว่า MCoCI สามารถป้องกันการทำลายเซลล์ตับอันเนื่องมาจาก t-BHP ได้ โดยลดระดับของ glutathione ลดการเกิดlipid peroxidation เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ glutathione-S-transferaseและ superoxide dismutase (16)
1.2 ฤทธิ์ทำให้ผิวขาว (S001)
สารสกัด 80% เอทานอลจากเยื่อหุ้มเมล็ด(ตัวอย่างสารสกัดจากบริษัทSpecialty natural pro-ducts จำกัด, กรุงเทพฯ) ไม่ระบุความเข้มข้น มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสโดยสามารถยับยั้งได้ 62.83% ซึ่งสูงกว่าวิตามินซี 1.51 เท่า (41%) และวิตามินอี 2.06 เท่า (30%) แต่มีฤทธิ์น้อยกว่าเมื่อเทียบกับกรดโคจิก (kojic acid) (95.9%)(ไม่ระบุความเข้มข้น) (26)
1.3 ฤทธิ์ต้านสิวบนผิวกาย (S005)
การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของเปลือกผลเนื้อผลและเยื่อหุ้มเมล็ดของผลดิบเปรียบเทียบกับ ผลสุก (ตัวอย่างจากจ.นครปฐม) โดยทำการสกัดตัวอย่างฟักข้าวด้วยการแช่ในตัวทำละลายได้แก่เมทานอลอะซีโตนและเฮกเซนในอัตราส่วน 1:2 เป็นเวลา 7 วัน พบว่าสารสกัดเมทานอลจากเปลือกผลและเนื้อผลสุก สารสกัดอะซีโตนจากเนื้อผลสุก ความเข้มข้น 100 มก./มล.มีฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus aureus ได้ดีที่สุด โดยมีค่าของโซนใส (clear zone) เท่ากับ 9.25-10.42มม.ซึ่งตัวควบคุมที่ให้ผลบวก (positive control) คือ ยา ampicillin และ streptomycin ความเข้มข้น 10 มคก./แผ่น (28)
สารสกัดจากเนื้อผล และเยื่อหุ้มเมล็ด (ตัวอย่างจาก จ.นครปฐม) ซึ่งเตรียมด้วยวิธีการเขย่าตัวอย่างในตัวทำละลาย ได้แก่ 95% เอทานอล อีเทอร์ และน้ำ(อัตราส่วน 1:1) ที่อัตราเร็ว 100 รอบ/นาที อุณหภูมิ 4 oC เป็นเวลา48ชม. เมื่อนำมาศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี disc diffusion method พบว่าสารสกัดน้ำจากเนื้อผล ไม่ระบุความเข้มข้นมีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus ได้ โดยมีค่าของโซนใส เท่ากับ 10 มม. ขณะที่สารสกัดอื่นๆ ไม่มีผล (45)
สารสกัด 95% เอทานอลจากเปลือกผลเนื้อผล และเยื่อหุ้มเมล็ดของผลสุก (ตัวอย่างจากจ.นครปฐม) ซึ่งเตรียมโดยการแช่ตัวอย่างใน 95% เอทานอล (อัตราส่วน1:2) เป็นเวลา 2 วันมีฤทธิ์ต้านเชื้อ S.aureus โดยมีค่าความเข้มข้นตํ่าสุดของสารสกัดที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (MIC) เท่ากับ 3.125-6.25 มก./มล. และค่าความเข้มข้นตํ่าสุดของสารสกัดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (MBC)>50 มก./มล. (31)
สารสกัด 95% เอทานอลจากเปลือกผลเนื้อผลเยื่อหุ้มเมล็ดและเมล็ด (ตัวอย่างจาก จ.หนองคาย) ซึ่งเตรียมด้วยวิธีการเขย่าใน 95% เอทานอลที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 24 ชม. ความเข้มข้น 100 มคก./มคล. มีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus โดยสารสกัดจากเปลือกผลจะมีฤทธิ์ดีที่สุดค่าของโซนใสของสารสกัด 95% เอทานอลจากเปลือกผลเนื้อผลเยื่อหุ้มเมล็ดและเมล็ด เท่ากับ 13.90±0.10, 11.90±0.10, 11.90±0.10 และ 11.13±0.23มม. ตามลำดับ (33)
สารสกัดน้ำจากเมล็ด (ตัวอย่างจากประเทศเวียดนาม) ซึ่งเตรียมโดยการต้มเมล็ดในน้ำ นาน 1 ชม. และสารสกัดเอทานอล:เอทิลอะซีเตท (6:4) จากเยื่อหุ้มเมล็ด ที่เตรียมโดยเขย่า (vortex) เป็นเวลา 30 วินาที พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus ได้ โดยมีค่า MIC เท่ากับ 0.391 และ 12.5 มก./มล. ตามลำดับ ขณะที่น้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ดซึ่งมีสารlycopene0.4% (ไม่ระบุวิธีการสกัด) ไม่มีผลต้านเชื้อ S. aureus (46)
โปรตีนที่สกัดจากเมล็ดฟักข้าว (ตัวอย่างจากประเทศไทย) ไม่ระบุความเข้มข้น ไม่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ S.aureus (47)
1.4 ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (S014)
การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดเอทานอลจากเปลือกผล (ตัวอย่างจากประเทศไทย) ซึ่งเตรียมโดยวิธีการสกัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ความเข้มข้น 1 มคก./มล. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เมื่อทดสอบในเซลล์ human leukemia monocyte THP-1ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วย lipopolysaccharide (LPS) โดยลดการแสดงออกของ interleukin (IL)-1 และเพิ่มการแสดงออกของ tumor necrosis factor (TNF)-α (39)
สารสกัดจากเนื้อผลและเยื่อหุ้มเมล็ด (ตัวอย่างจาก จ. นครปฐม) ซึ่งเตรียมโดยการต้มตัวอย่างในน้ำที่ผ่านกระบวนการกำจัดอิออน (deionized water) อัตราส่วน 1:1 เป็นเวลา 20 นาที แล้วทำให้แห้งด้วยวิธีการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง จากนั้นนำมาสกัดต่อด้วย 90% เอทานอล โดยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเป็นเวลา 10 นาที ทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในเซลล์macrophage RAW 264.7 ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยLPS พบว่าสารสกัดทั้ง 2 ชนิด ความเข้มข้น 0.5-2.0 มก./มล. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ โดยฤทธิ์จะแปรผันตามความเข้มข้น สารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดมีฤทธิ์ดีกว่าสารสกัดจากเนื้อผล สามารถยับยั้งการแสดงออกของตัวชี้วัดการอักเสบ ได้แก่ ไนตริกออกไซด์เอนไซม์ inducible nitric oxide synthase (iNOS), cyclooxygenase-2 (COX-2),TNF-α และ IL-6 ผ่านกลไกการยับยั้งการกระตุ้นโปรตีน IB- และ MAPKs (p38 ERK1/2 และJNK) เมื่อวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ พบว่า สารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดมีปริมาณของบีตา-แคโรทีน ไลโคปีนสารฟีนอลิกรวม และ ฟลาโวนอยด์สูงกว่าสารสกัดจากเนื้อผลฟักข้าว (48)
สารสกัดเมทานอลจากเมล็ด (ตัวอย่างจากประเทศเกาหลี) ไม่ระบุวิธีสกัด ความเข้มข้น 10 มคก./มล. มีฤทธิ์อ่อนในการยับยั้งเอนไซม์ iNOSโดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง (%inhibition) เท่ากับ 21.9% และไม่มีผลยับยั้งเอนไซม์ COX-2 ในเซลล์ macrophage RAW 264.7 ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วย LPS (49)
สาร quillaic acid glycoside ซึ่งเป็นสารกลุ่ม triterpenoidsaponin ที่แยกได้จากเมล็ด ความเข้มข้น 20 ไมโครโมลาร์มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เมื่อทดสอบในเซลล์ macrophage RAW 264.7 ที่ถูกเหนี่ยว นำให้เกิดการอักเสบด้วยLPSโดยสามารถลดการสร้างไนตริกออกไซด์ ยับยั้งเอนไซม์ iNOS และ IL-6 (23)
สารกลุ่มลิกแนนและซาโปนินที่แยกได้จากเมล็ด (ตัวอย่างจากประเทศจีน; voucher specimen: MC 20171029) โดยการรีฟลักซ์เมล็ดใน 95% เอทานอล จากนั้นนำสารสกัด 95% เอทานอล มาละลายน้ำและทำการสกัดแยกส่วนด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์ ไดคลอโรมีเทน เอทิลอะซีเตท และบิวทานอล นำส่วนสกัดด้วยเอทิล อะซีเตทและบิวทานอลมาทำการสกัดแยกสารด้วยวิธี column chromatography โดยสามารถแยกสารได้ 32 ชนิด การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารที่แยกได้ในเซลล์ macrophage RAW 264.7 ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย LPS พบว่า สารบางชนิดในกลุ่มลิกแนน เช่น mubiesin A, mubiesin B, ehletianol C, chushizisin I และกลุ่มซาโปนิน เช่น gypsogenin-3-O-β-D-glucuronopyranoside,
gypsogenin-3-O-β-D-galactopyranosyl(1→2)-[α-L-rhamnopyranosyl(1→3)]-β-D-glucurono-pyranoside, momordicasaponin I มีผลต้านการอักเสบได้ โดยยับยั้งการหลั่งไนตริกออกไซด์ และ TNF-α (19)
การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดจากผลฟักข้าว (ตัวอย่างจากประเทศอินเดีย) ได้แก่ สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ (เตรียมโดยสกัดด้วยเครื่อง Soxhlet extractor) สารสกัดเอทานอล และสารสกัดน้ำ (เตรียมโดยการแช่สกัด) ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการบวมที่อุ้งเท้าด้วยคาราจีแนน โดยป้อนสารสกัด ขนาด 100, 200, 400 มก./กก. ก่อนเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบ 1 ชม. เปรียบเทียบผลกับยา diclofenac ขนาด 10 มก./กก. พบว่าสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ทุกขนาด มีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ โดยสารสกัดที่ขนาด 400 มก./กก. สามารถต้านการอักเสบได้สูงสุด 47.36% เมื่อวัดผลที่เวลา 6 ชม.แต่มีผลน้อยกว่าเมื่อเทียบกับยา diclofenac (75.93%) ขณะที่สารสกัดเอทานอลที่ขนาด 400 มก./กก. มีฤทธิ์อ่อนในการต้านการอักเสบ (14.84%) และสารสกัดน้ำทุกขนาดไม่มีผลส่วนการศึกษาในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอักเสบด้วยวิธี cotton-pellet granuloma เมื่อป้อนสารสกัดทุกชนิดที่ขนาด 100, 200, 400 มก./กก. หลังจากการฝังก้อนสำลี เป็นเวลา 7 วัน พบว่าสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ทุกขนาด มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดgranuloma (granuloma formation) ได้ 9.09, 25.63%, 49.36% ตามลำดับ ส่วนยา diclofenac มีผลยับยั้งได้ 74.59% ขณะที่สารสกัดเอทานอลและสารสกัดน้ำไม่มีผล (50)
สารสกัด 95% เอทานอลจากเมล็ด (ตัวอย่างจากประเทศจีน) ซึ่งเตรียมด้วยวิธีการรีฟลักซ์ (reflux) ขนาด 200 มก./กก. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบเมื่อทดสอบในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการบวมที่อุ้งเท้าด้วยอัลบูมินจากไข่ (egg albumin) แต่ไม่มีผลต้านการอักเสบเมื่อทดสอบด้วยวิธีcotton-pellet granuloma test (43)
สารสกัดเมทานอลจากผล (ตัวอย่างจากประเทศเวียดนาม) ซึ่งเตรียมโดยแช่ผลฟักข้าวในเมทานอล เป็นเวลา 24 ชม. ความเข้มข้น 0.05-5 มคก./มล. ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ lipoxygenase ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอักเสบ (29)
1.5 ฤทธิ์รักษาแผล (S015)
สารสกัดจากเมล็ด (ตัวอย่างจากประเทศจีน) ซึ่งเตรียมโดยการสกัดด้วย 10% เอทานอล ที่อุณหภูมิ 80 oC เป็นเวลา 4 ชม. เมื่อนำมาทดสอบในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดแผลที่ผิวหนัง โดยทาสารสกัด ขนาด 50 มคก./ตัว วันละครั้ง เป็นเวลา 10 วัน พบว่ามีผลในการรักษาแผล ซึ่งเทียบได้กับสาร CGS-21680 ที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์รักษาแผล (ขนาด 10 มคก./ตัว) (51)
การศึกษาทางพิษวิทยาและความปลอดภัย
การทดสอบความเป็นพิษ
การศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากผล (ตัวอย่างจากประเทศอินเดีย) ได้แก่ สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ (เตรียมโดยสกัดด้วยเครื่อง Soxhlet extractor) สารสกัดเอทานอลและสารสกัดน้ำ (เตรียมโดยการแช่สกัด)ในหนูเม้าส์ โดยป้อนสารสกัด ขนาด 2 ก./กก. พบว่าไม่มีผลต่อพฤติกรรมของหนู และไม่ทำให้หนูตาย (50)
เมื่อป้อนหนูแรทด้วยสารสกัดจากเมล็ด (เตรียมโดยการสกัดด้วย 10% เอทานอลที่อุณหภูมิ 80 oC เป็นเวลา 4 ชม.) ขนาด 0.5, 1.0 และ 2.0 ก./กก. พบว่าไม่ทำให้หนูตาย ไม่ก่อให้เกิดความผิดปกติ ไม่มีผลต่อน้ำหนักตัว และ อวัยวะของหนู และเมื่อป้อนสารสกัดเดียวกันนี้ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าไม่ทำให้เกิดพิษต่อหนูเช่นกัน ซึ่งปริมาณของสารสกัดที่มากที่สุดซึ่งได้รับทุกวันแล้วไม่ทำให้เกิดความเป็นพิษหรือผลไม่พึงประสงค์(adverseeffects) ใดๆ ต่อร่างกาย (no-observed-adverse-effect level; NOAEL) มีค่าเท่ากับ 2.0 ก./กก./วัน (51)
เมื่อฉีดโปรตีนที่สกัดจากเมล็ดฟักข้าว (ตัวอย่างจากประเทศไทย) เข้าทางใต้ผิวหนังของหนูเม้าส์เพศเมียและเพศผู้ พบว่ามีค่า LD50 เท่ากับ 70.7 และ 93.3 มก./กก. ตามลำดับ (47)
เมื่อให้สารซาโปนินจากเมล็ด โดยการฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ฉีดเข้าทางช่องท้อง และให้ทางปากของหนูเม้าส์ มีค่าLD50เท่ากับ 32.35, 37.34 และ 958.2 มก./กก. ตามลำดับ (52)
เมื่อฉีดสาร cochinchininจากเมล็ดเข้าทางช่องท้องของหนูเม้าส์ พบว่ามีค่า LD50 เท่ากับ 16 มก./กก. (52)
เมื่อป้อนหรือฉีดสารสกัด 50% เอทานอลจากใบ (ไม่ระบุวิธีการสกัด) เข้าทางใต้ผิวหนังของหนูเม้าส์ในขนาด 10 ก./กก. ไม่พบความเป็นพิษ (53)
พิษต่อระบบสืบพันธุ์
การศึกษาความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ของสารสกัดน้ำจากเยื่อหุ้มเมล็ด (ตัวอย่างจาก จ.กาฬสินธุ์) ซึ่งเตรียมโดยการปั่นเยื่อหุ้มเมล็ดกับน้ำในอัตราส่วน 1:1 จากนั้นทำให้แห้งด้วยวิธีทำแห้งแบบพ่นฝอย โดยทดลองในหนูเม้าส์เพศผู้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มควบคุม กลุ่มที่ได้รับน้ำกลั่น และกลุ่มที่ได้รับสารสกัดขนาด 1.0 ก./กก. เป็นเวลา 35 วัน พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดมีน้ำหนักตัว น้ำหนักของอัณฑะหลอดเก็บสเปิร์มต่อมสร้างน้ำเลี้ยงสเปิร์มความเข้มข้นของสเปิร์ม และระดับของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับน้ำกลั่นนอกจากนี้ยังไม่พบการทำลายของโครงสร้างทางจุลกายวิภาคของเนื้อเยื่ออัณฑะและหลอดเก็บสเปิร์มในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดสรุปได้ว่าสารสกัดน้ำจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวไม่เป็นพิษต่ออวัยวะต่างๆ ในระบบสืบพันธุ์ของหนูเพศผู้ (54)
ข้อห้ามใช้
ยังไม่มีรายงานข้อห้ามใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอาง
ข้อควรระวัง
ยังไม่มีรายงานข้อควรระวังการใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอาง
อาการไม่พึงประสงค์
ยังไม่มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอาง
ขนาดที่แนะนำ (ข้อมูลจากการศึกษาทางคลินิก)
ครีมซึ่งมีสารสกัด 80% เอทานอลจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว 5% ในการทดสอบให้ทาทั่วใบหน้า วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 56 วัน มีผลในการลดเลือนริ้วรอยบนใบหน้าได้ (26)
ครีมซึ่งมีน้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคนาโน 50% และครีมซึ่งมีน้ำมันจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าว 1% ในการทดสอบให้ทาผิวบริเวณแขนปริมาณ 0.2 ก. วันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) เป็นเวลา 8 สัปดาห์ มีผลลดเลือนริ้วรอยของผิวได้ และไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว (27)
สิทธิบัตร
DIP (THAILAND-TH)
USPTO (USA)
สรุป
ผลฟักข้าวโดยเฉพาะในเยื่อหุ้มเมล็ดและเมล็ดอุดมไปด้วยสารสำคัญหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเช่น แคโรทีนอยด์ฟลาโวนอยด์สารประกอบฟีนอลิกซาโปนิน กรดไขมันและโปรตีนสารสกัดจากผลฟักข้าวมีคุณสมบัติเด่นในการต้านอนุมูลอิสระนอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ต้านเชื้อแบคทีเรีย และต้านการอักเสบ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการที่นำสารสกัดจากผลฟักข้าวมาพัฒนาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางได้
เอกสารอ้างอิง
1. ราชันย์ภู่มา, สมรานสุดดี, บรรณาธิการ. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทยเต็มสมิตินันทน์ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืชกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช; 2557.
2. Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng.. The plant list. [Internet]. 2012 [cited 2020 December 4]. Available from: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2372841.
3. นันทวันบุณยะประภัศรและอรนุชโชคชัยเจริญพร, บรรณาธิการ. สมุนไพร..ไม้พื้นบ้าน (3). กรุงเทพฯ: บริษัทประชาชนจำกัด; 2542.
4. Lim TK. Edible medicinal and non-medicinal plants. Volume 2, Fruits. 2012.doi:10.1007/978-94-007-1754-0.
5. Chuyen HV, Nguyen MH, Roach PD, Golding JB, Parks SE. Gac fruit (Momordica cochinchinensis Spreng.): a rich source of bioactive compounds and its potential health benefits. IntJ Food Sci Tech. 2015;50:567-77.doi:10.1111/ijfs.12721.
6. Kha TC, Nguyen MH, Roach PD, Parks SE, Stathopoulos C. Gac fruit: nutrient and phytochemical composition, and options for processing. Food Rev Int. 2013;29:92-106.doi: 10.1080/87559129.2012.692141.
7. Abdulqader A, Ali F, Ismail A, Esa NM. Gac (Momordica cochinchinensis Spreng.) fruit and its potentiality and superiority in - health benefits. J Contemp Med Sci. 2018;4(4):179-86.
8. Ishida BK, Turner C, Chapman MH, McKeon TA. Fatty acid and carotenoid composition of Gac (Momordica cochinchinensis Spreng.) fruit. J Agri Food Chem 2004;52:274-9.doi: 10.1021/jf030616i.
9. Phan-Thi H, Wache Y. Isomerization and increase in the antioxidant properties of lycopene from Momordica cochinchinensis (gac) by moderate heat treatment with UV-Vis spectra as a marker. Food Chem. 2014;156:58-63.doi: 10.1016/j.foodchem.2014.01.040.
10. Kubola J, Siriamornpun S. Phytochemicals and antioxidant activity of different fruit fractions (peel, pulp, aril and seed) of Thai gac (Momordica cochinchinensis Spreng.). Food Chem. 2011;127:1138-45.doi:10.1016/j.foodchem.2011.01.115.
11. Chuethong J, Oda K, Sakurai H, Saiki I, Leelamanit W. Cochinin B, a novel ribosome-inactivating protein from the seeds of Momordica cochinchinensis. Biol Pharm Bull. 2007;30(3):428-32.doi: 10.1248/bpb.30.428.
12. Hernandez J-F, Gagnon J, Chiche L, Nguyen TM, Andrieu J-P, Heitz A, et al. Squash trypsin inhibitors from Momordica cochinchinensis exhibit an atypical macrocyclic structure. Biochem. 2000;39(19):5722-30.doi: 10.1021/bi9929756.
13. Heitz A, Hernandez J-F, Gagnon J, Hong TT, Pham TTC, Nguyen TM, et al. Solution structure of the squash trypsin inhibitor MCoTI-II. A new family for cyclic knottins. Biochem. 2001;40(27):7973-83.doi: 10.1021/bi0106639.
14. Le AV, Parks SE, Nguyen MH, Roach PD.Optimised extraction of trypsin inhibitors from defatted Gac (Momordica cochinchinensis Spreng.) seeds for production of a trypsin inhibitor-enriched freeze dried powder.Separations. 2019;6,8.doi:10.3390/separations6010008.
15. Tsoi AY, Wong RC, Ng TB, Fong WP. First report on a potato I family chymotrypsin inhibitor from the seeds of a Cucurbitaceous plant, Momordica cochinchinensis. Biol Chem. 2004;385(2):185-9.doi: 10.1515/BC.2004.037.
16. Tsoi AY, Ng TB, Fong WP. Antioxidative effect of a chymotrypsin inhibitor from Momordica cochinchinensis (Cucurbitaceae) seeds in a primary rat hepatocyte culture. J Pept Sci. 2005;11:665-8.doi: 10.1515/BC.2004.037.
17. Chan LY, Wang CK, Major JM, Greenwood KP, Lewis RJ, Craik DJ, et al. Isolation and characterization of peptides from Momordica cochinchinensis seeds. J Nat Prod. 2009;72(8):1453-8.doi: 10.1021/np900174n.
18. Chan LY, He W, Tan N, Zeng G, Craik DJ, Daly NL. A new family of cystine knot peptides from the seeds of Momordica cochinchinensis. Peptides. 2013;39,29-35.doi: 10.1016/j.peptides.2012.09.018.
19. Wang M, Zhan Z, Xiong Y, Zhang Y, Li X. Cytotoxic and anti-inflammatory constituents from Momordica cochinchinensis seeds.Fitoterapia. 2019;139:104360.doi: 10.1016/j.fitote.2019.104360.
20. Le AV, Huynh TT, Parks SE, Nguyen MH, Roach PD. Bioactive composition, antioxidant activity, and anticancer potential of freeze-dried extracts from defatted Gac (Momordica cochinchinensis Spreng.) seeds. Medicines. 2018;5,104.doi:10.3390/medicines5030104.
21. Iwamoto M, Okabe H, Yamauchi T, Tanaka M, Rokutani Y, Hara S, et al. Studies on the constituents of Momordica cochinchinensis Spreng. I. Isolation and characterization of the seed saponins, Momordicasaponins I and II. Chem Pharm Bull. 1985;33(2):464-78.doi: 10.1248/cpb.33.464.
22. Jung K, Lee D, Yu JS, Namgung H, Kang KS, Kim KH. Protective effect and mechanism of action of saponins isolated from the seeds of gac (Momordica cochinchinensis Spreng.) against cisplatin induced damage in LLC-PK1 kidney cells. Bioorg Med Chem Lett. 2016;26:1466-70.doi: 10.1016/j.bmcl.2016.01.056.
23. Jung K, Chin YW, Yoon K, Chae HS, Kim CY, Yoo H, et al.Anti-inflammatory properties of a triterpenoidal glycoside from Momordica cochinchinensis in LPS-stimulated macrophages.ImmunopharmacolImmunotoxicol. 2013;35(1):8-14.doi: 10.3109/08923973.2012.715165
24. Yu JS, Roh HS, Lee S, Jung K, Baek KH, Kim KH. Antiproliferative effect of Momordica cochinchinensis seeds on human lung cancer cells and isolation of the major constituents.RevistaBrasileira de Farmacognosia. 2017;27:329-33.doi: 10.1016/j.bjp.2017.02.002.
25. กุลธิดา ศิริวัฒน์, บรรณาธิการ. มาตรฐานสมุนไพรไทยทางเครื่องสำอาง เล่ม 1. กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
26. Leevutinun P, Krisadaphong P, Petsom A.Clinical evaluation of Gac extract (Momor- dicacochinchinensis) in an antiwrinkle cream formulation.J Cosmet Sci. 2015;66:1-13.
27. ณัฏฐิณีนันตาลิต. การพัฒนาเครื่องสำอางลดเลือนริ้วรอยจากน้ำมันของเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในอนุภาคไขมันระดับนาโน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.
28. Tinrat S. Comparison of antioxidant and antimicrobial activities of unripe and ripe fruit extracts of Momordica cochinchinensis Spreng. (Gac fruit). Int J Pharm Sci Rev Res. 2014;28(1):75-82.
29. Sone Y, Moon JK, Mai TT, Thu NN, Asano E, Yamaguchi K, et al. Antioxidant/anti-inflammatory activities and total phenolic content of extracts obtained from plants grown in Vietnam. J Sci Food Agric. 2011;91:2259-64.doi: 10.1002/jsfa.4448.
30. Bharathi LK, Singh HS, Shivashankar S, Ganeshamurthy AN, Sureshkumar P. Assay of nutritional composition and antioxidant activity of three dioeciousMomordica species of south east asia. Proc Natl AcadSci India Sec B. 2014;84:31-6.doi: 10.1007/s40011-013-0205-7.
31. Tinrat S, Akkarachaneeyakorn S, Singhapol C. Evaluation of antioxidant and antimicro- bial activities of Momordica cochinchinensis Spreng. (Gac fruit) ethanolic extract. Int J Pharm Sci Res. 2014;5(8):3163-9.doi: 10.13040/IJPSR.0975-8232.5(8).3163-69.
32. Reungpatthanaphong S, Kirdin T, Chinnawong M, Bamrungchai M, Reungpatthana-phong P. Anti-oxidant activity of accelerated solvent extraction from different frac- tions of Thai gac fruit (Momordica cochinchinensis Spreng.). TJPS. 2018;42(suppl.):37-40.
33. Chantarangsee M. Antioxidant and antibacterial activities of ethanolic extracts from different parts of gac fruit. KKU Sci J.2015;43(3):490-502.
34. Abdulqader A, Ali F, Ismail A, Esa NM.Antioxidant compounds and capacities of Gac (Momordica cochinchinensis Spreng.) fruits. Asian Pac J Trop Biomed. 2019;9(4):158-67.doi: 10.4103/2221-1691.256729.
35. Klungsupya P, Tiatragoon W, Muangman T, Eiamwat J, Laovitthayanggoon S, Thongdo-A J, et al. Investigation on phytochemical, antioxidant and cytotoxic properties of Momordica cochinchinensis (gac) fruit extracted by supercritical fluid carbon dioxide (SCF-CO2) method. Thai J Pharm Sci. 2013;38(suppl.):29-32.
36. Chuyen HV, Roach PD, Golding JB, Parks SE, Nguyen MH. Effects of four different drying methods on the carotenoid composition and antioxidant capacity of dried Gac peel. J Sci Food Agric. 2017;97:1656-62.doi: 10.1002/jsfa.7918.
37. Chuyen HV, Nguyen MH, Roach PD, Golding JB, Parks SE. Microwave-assisted extraction and ultrasound-assisted extraction for recovering carotenoids from Gac peel and their effects on antioxidant capacity of the extracts.Food SciNutr. 2018;6:189-96.doi: 10.1002/fsn3.546.
38. Chuyen HV, Roach PD, Golding JB, Parks SE, Nguyen MH. Optimisation of extraction conditions for recovering carotenoids and antioxidant capacity from Gac peel using response surface methodology. Int J Food Sci Technol. 2017;52:972-80.doi:10.1111/ijfs.13361.
39. Natnoi S, Pirak T. Effect of ultrasonic-assisted extraction on the properties, antioxidant and inflammatory activities of carotenoids from gac (Momordica cochinchinensis) fruit pericarp. Cogent Food Agric. 2019;5:1696512.doi: 10.1080/23311932.2019.1696512.
40. Kha TC. Nguyen MH, Roach PD. Effects of spray drying conditions on the physico-chemical and antioxidant properties of the Gac (Momordica cochinchinensis) fruit aril powder. J Food Eng. 2010;98:385-92.doi:10.1016/j.jfoodeng.2010.01.016.
41. Angkananon W.Effects of spray drying conditions on characteristics, nutritional value and antioxidant activity of gac fruit aril powder.Rev Integr Bus Econ Res. 2015;4:1-11.
42. Sampannang A, Arun S, Sukhorum W, Burawat J, Nualkaew S, Maneenin C, et al. Antioxidant and hypoglycemic effects of Momordica cochinchinensis Spreng. (Gac) aril extract on reproductive damages in streptozotocin (STZ)-induced hyperglycemia mice. Int J Morphol.2017;35(2):667-75.doi: 10.4067/S0717-95022017000200046.
43. Fang QM, Zhang H, Cao Y, Wang C. Anti-inflammatory and free radical scavenging activities of ethanol extracts of three seeds used as “Bolengguazi”. J Ethnopharma-col. 2007;114:61-5.doi: 10.1016/j.jep.2007.07.024.
44. Jan-on G, Kukongviriyapan U, Pakdeechote P, Kukongviriyapan V, Kongsaktrakoon B, Boonla O. Alleviation of hypertension and oxidative stress by Momordica cochinchinensis aril extract in rats with nitric oxide deficiency. Srinagarind Med J. 2015:30(3):229-35.
45. Innun A. Antimicrobial activity of Gac fruit (Momordica cochinchinensis) I-SEEC 2012. Proceeding-Science and Engineering. 2013;1-6.
46. Alkhafaji Q, Mohammed I, Saadedin S, Al-Awadei S, Abedulhussein T, AL-Jussani G. Antimicrobial activity of Momordica cochinchinensis seeds and seeds aril extract. JJEES. 2019;10(4):252-5.
47. Prapaitrakul S, Thongpraditchote S, Wongkrajang Y, Pongpan A, Leelamanit W. Biochemical properties and toxicity of proteins from Momordica species cultivated in Thailand. The fifth joint seminar natural medicines: NRCT-JSPS. 15-17 Nov 2000, Bangkok, 2000:152.
48. Sukboon P, Tuntipopipat S, Praengam K. Ethanol extract of aril and pulp from Momordica cochinchinensis fruit exhibits antiinflammatory effect in LPS-induced macrophage RAW264.7 cells. Thai J Toxicol. 2019;34(1):71-90.
49. Hong CH, Hur SK, Oh O-J, Kim SS, Nam KA, Lee SK. Evaluation of natural products on inhibition of inducible cyclooxgenase (COX-2) and nitric oxide synthase (iNOS) in cultured mouse macrophage cells. J Ethnopharmacol. 2002;83(1-2):153-9.doi: 10.1016/s0378-8741(02)00205-2.
50. Agrawal MR, Aher AN, Pal SC, Derle DV. Anti-inflammatory activity of Momordica cochinchinensisand Momordica balsamina fruit extracts.IJGHC. 2018;7(4):446-55.doi: 10.24214/ijghc/hc/7/4/44655.
51. Jung K, Chin YW, Chung YH,Park YH, Yoo H, Min DS, et al. Anti-gastritis and wound healing effects of Momordicae Semen extract and its active component. Immuno-pharmacolImmunotoxicol. 2013;35(1):126-32.doi: 10.3109/08923973.2012.712139.
52. Xu XR, Luo CH, Cao B, Xu RC, Wang F, Wei XC, et al. A potential anti-tumor herb bred in a tropical fruit: insight into the chemical components and pharmacological effects of Momordicae semen.Molecules. 2019;24,3949.doi: 10.3390/molecules24213949.
53. มงคล โมกขะสมิต, กมล สวัสดีมงคล, ประยุทธ สาตราวาหะ.การศึกษาพิษของสมุนไพรไทย. วารสารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2514;13(1):36-66.
54. อภิฉกรรจ์ สัมปัญนัง,สุภัจฉรี อรัญ, จาตุรณต์ บุรวัฒน์,วรรณิศา สุโขรัมย์,สิทธิชัย เอี่ยมสะอาด. ผลปลอดพิษต่อระบบสืบพันธุ์ของสารสกัดจากเยื่อหุ้มเมล็ดฟักข้าวในหนูไมซ์เพศผู้. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2560;32(1):52-7.
55. สภาเกษตรกรแห่งชาติ. ฟักข้าว [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ12พฤศจิกายน 2563]. เข้าถึงจาก https://www.nfc.or.th/content/7470.