มะกรูด
- ชื่อ
- ส่วนของพืชที่ใช้
- การกระจายตัวทางภูมิศาสตร์/แหล่งที่มา
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- การเพาะปลูก
- สรรพคุณและการใช้สมุนไพรพื้นฐานตามภูมิปัญญาไทยด้านเครื่องสำอาง
- สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบ
- สารออกฤทธิ์ หรือ สารสำคัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Citrus hystrix DC.
ชื่อวงค์
RUTACEAE
ชื่อสมุนไพร
มะกรูด
ชื่ออังกฤษ
Leech lime, Kaffir lime, Makrut lime, Mauritius papeda
ชื่อพ้อง
Citrus latipes Hook.f. & Thomson
Citrus papeda Miq
ชื่อท้องถิ่น
โกร้ยเชียด มะขุน มะขู มะขูด สัมกรูด ส้มมั่วผี
ชื่อ INCI
CITRUS HYSTRIX FRUIT/SUCROSE FERMENT FILTRATE
CITRUS HYSTRIX LEAF EXTRACT
CITRUS HYSTRIX LEAF OIL
CITRUS HYSTRIX LEAF WATER
CITRUS HYSTRIX PEEL EXTRACT
CITRUS HYSTRIX PEEL OIL
ส่วนของพืชที่ใช้
การกระจายตัวทางภูมิศาสตร์/แหล่งที่มา
ไม่ทราบแหล่งกำเนิดที่แน่นอนของมะกรูดแต่เป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในแถบตอนล่างของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศรีลังกาและเมียนมาร์ (5)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้นสูง 2–8 ม. เปลือกต้นเกลี้ยงสีน้ำตาลมีหนามแหลมใบประกอบลดรูปมีใบย่อย 1 ใบเรียงสลับแผ่นใบรูปไข่ปลายใบมนขอบใบเรียบมีต่อมน้ำมันอยู่ตามผิวใบมีกลิ่นหอมช่อดอกออกที่ซอกใบและปลายกิ่งกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบรูปสามเหลี่ยมกลีบดอกมี 5 กลีบสีขาวเกสรเพศผู้มีประมาณ 30 อันผลรูปค่อนข้างกลมแกมรีผิวขรุขระมีต่อมน้ำมันจำนวนมาก (4)
การเพาะปลูก
การผลิตใบมะกรูดเชิงการค้าจึงมุ่งเน้นเฉพาะการเจริญเติบโตด้านกิ่งใบเป็นหลักการตัดแต่งเป็นการกระตุ้นให้มีการผลิตและยังส่งเสริมในด้านการเจริญเติบโตทางกิ่งใบรวมทั้งระยะปลูกและจำนวนต้นที่ปลูกจะต้องมีความเหมาะสมซึ่งมีขั้นตอนต่างๆดังนี้
1. พื้นที่สภาพพื้นที่ต้องมีการระบายน้ำดีน้ำไม่ท่วมขังมีระดับ pH 5.5-7.0 ดินมีอินทรียวัตถุสูงหรือปรับแต่งได้ด้วยการใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยพืชสดได้ควรมีการไถพรวนก่อนเพื่อช่วยไม่ให้ดินแน่นแข็งเกินไป
2. การเตรียมแปลงปลูกและระยะปลูกเนื่องจากระยะปลูกมีความสัมพันธ์กับการเตรียมแปลงและจำนวนต้นปลูกความกว้างของแปลง 1 ม.ยกระดับความสูงของแปลงประมาณ 20-25 ซม.ความห่างระหว่างจุดกึ่งกลางของแปลง 1.5 ม.ระยะห่างระหว่างต้น 50 ซม.ปลูกแบบสลับฟันปลาการใช้ระยะปลูกที่ห่างกว่านี้ไม่มีความจำเป็นเนื่องจากการผลิตใบมะกรูดต้องอาศัยกรรมวิธีในการตัดแต่งซึ่งเท่ากับเป็นการควบคุมขนาดพุ่มต้นพร้อมกันด้วย
สรรพคุณและการใช้สมุนไพรพื้นฐานตามภูมิปัญญาไทยด้านเครื่องสำอาง
ผลมะกรูดผ่าครึ่งลูก ปิ้งไฟให้สุก เมื่อนำมาสระผม ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม นิ่มสลวย แก้รังแค แก้คัน (6)
สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบ
สารสำคัญในใบ เปลือกผลมะกรูด คือ
สารกลุ่มน้ำมันหอมระเหย (essential oil) ที่สำคัญ คือ camphene, citronellal, beta-citronellol, citronellyl acetate, eucalyptol, limonene, linalool, myrcene, nerol, beta-pinene, sabinene, terpinen-4-ol เป็นต้น (7-10)
สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids)ได้แก่diosmin, hesperidin, rutin (11), apigenin, cyanidin, hesperetin, isorhamnetin, luteolin, myricetin, peonidin และ quercetin (12)
สารกลุ่มคูมาริน (coumarins) ได้แก่ bergamottin (13), 6,7-dihydrobergamottin (14) และวิตามินซี (15)
สารกลุ่มน้ำมันหอมระเหย (essential oil)
สารกลุ่มคูมาริน (coumarins)
สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids)
สารออกฤทธิ์ หรือ สารสำคัญ
สารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระบนผิวกาย ได้แก่ hesperetin, peonidin, myricetin, cyanidine, isorhamnetin, apigenin, quercetin และ luteolin (12)
แนวทางการควบคุมคุณภาพ (วิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ)
การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยจากใบและเปลือกผลมะกรูด มีหลายการศึกษา โดยมีรายละเอียดดังนี้
การศึกษาที่ 1 (8)
- เครื่อง gas chromatography-mass spectrometry (GC-MS) โดยใช้ silica column MEGA-5MS ความยาว 30 ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.25 มม. ความหนาของฟิล์ม 0.25 มคม.
- Helium (He) เป็น carrier gas ด้วยอัตรา 1 มล./นาที ฉีดตัวอย่างเป็นแบบ split ratio
- โปรแกรมควบคุมอุณหภูมิ : ตั้ง injector temperature ที่ 180 oC และ transfer line temperature ที่ 275 oC ตั้งอุณหภูมิคอลัมน์ เริ่มต้นที่ 60 oC เป็นเวลา 1 นาที จากนั้นเพิ่มอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึง 240 oC โดยเพิ่มอุณหภูมิด้วยอัตรา 3oC/นาที
การศึกษาที่ 2 (9)
- เครื่อง gas chromatography-mass spectrometry (GC-MS) (GC Agilent
6890N, MS 5973 inert) โดยใช้ HP5-MS column
- Helium (He) เป็น carrier gas ด้วยอัตรา 1 มล./นาทีฉีดตัวอย่างเป็นแบบ split ratio1:100
- โปรแกรมควบคุมอุณหภูมิ : ตั้ง injector temperature ที่250 oC โดยเริ่มต้นที่ 50 oC เป็นเวลา2นาทีจากนั้นเพิ่มอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุก 2oC/นาทีจนถึง 80 oC เพิ่มขึ้นอีกทุก 5oC/นาทีจนถึง 150 oC เพิ่มขึ้นอีกทุก 10oC/นาทีจนถึง 200 oC และเพิ่มขึ้นอีกทุก 20oC/นาทีจนถึง 300 oC
การศึกษาที่ 3 (10)
- เครื่อง gas chromatography-mass spectrometry (GC-MS) (type Shimadzu QP 2010S) โดยใช้ capillary column ความยาว 30ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.25 มม.
- Helium (He) เป็น carrier gas ด้วยอัตรา 3 มล./นาที
- โปรแกรมควบคุมอุณหภูมิ : ตั้งinjector temperature ที่ 300 oC detector temperature ที่320oC ความดัน 12 Pa ตั้งอุณหภูมิคอลัมน์เริ่มต้นที่ 50oC จากนั้นเพิ่มอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึง 260oC โดยเพิ่มอุณหภูมิด้วยอัตรา5oC/นาที
การศึกษาที่4 (16)
- วิธี Gas liquid chromatography โดยใช้ GC 8000 series gas chromatograph (Fisons Instruments) ความยาว 60 ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.32 มม.
- Helium (He) เป็น carrier gas
- โปรแกรมควบคุมอุณหภูมิ : ตั้ง injector temperature ที่ 220oC detector temperature ที่ 250oC) ตั้งอุณหภูมิคอลัมน์เริ่มต้นที่ 50 oC นาน 2 นาทีจากนั้นเพิ่มอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึง 220 oC โดยเพิ่มอุณหภูมิด้วยอัตรา 2oC/นาที
การศึกษาที่ 5 (13)
วิเคราะห์สารกลุ่มคูมาริน : วิธี Reversed-phase high-performance liquid chromatography โดยใช้ C-12 Phenomenex column (Synergi Max-RPขนาด 150×4.6มม x 4มคม.) เป็น stationary phase
- acetonitrile-water gradient เป็น mobile phase ด้วยอัตรา 1 มล./นาที
- detection wavelength 254 นาโนเมตรและอุณหภูมิ 40 oC
การศึกษาทางคลินิก
1 การศึกษาเกี่ยวกับผิวกาย
1.1 ฤทธิ์ทำให้ผิวขาว (S001)
น้ำมันหอมระเหยจากเปลือกผล และใบมะกรูดความเข้มข้น 0.25% (นน./ปริมาตร) เมื่อนำมาทดสอบด้วยวิธี dopachrome microplate assay พบว่าสามารถต้านการทำงานของเอนไซม์ tyrosinase ได้ร้อยละ 54 และ 55 ตามลำดับ และเมื่อนำน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดมาทำผลิตภัณฑ์ในรูปแบบครีม และเจลที่ทำให้ผิวขาว โดยทดสอบในอาสาสมัคร (ไม่ระบุรายละเอียด) พบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวใช้ได้ดีและไม่ทำความระคายเคืองสู่ผิวหนังทั้งในกระต่ายและคน นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ยังมีความคงตัวที่อุณหภูมิ 4 และ 25 oC ได้ดีเป็นเวลา 1 ปี (17)
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
1 การศึกษาเกี่ยวกับเส้นผมและหนังศีรษะ
1.1 ฤทธิ์ยับยั้งการหลุดร่วงของเส้นผม (H004)
สารสกัด 95% เอทานอลจากผลมะกรูด (เก็บตัวอย่างจากตลาดท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่) มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5-reductase ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ทำให้ผมบางและศีรษะล้านโดยมีค่าความเข้มข้นที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์เทียบเท่ากับสาร finasteride (finasteride equivalent 5-reductase inhibition activity) มีค่าเท่ากับ 13.72 ± 0.79 มิลลิกรัมสมมูลของ finasteride/1 ก. สารสกัดหยาบ (18)
1.2 ฤทธิ์ขจัดรังแค (H007)
ในการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์แชมพูที่มีน้ำมะกรูดและน้ำมันเปลือกผลมะกรูด (ตัวอย่างมะกรูดจากตลาดสด จังหวัดปทุมธานี) ความเข้มข้น 1% เป็นส่วนผสมพบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Candida albicans ที่เป็นสาเหตุร่วมของการเกิดรังแคได้ โดยมีบริเวณการยับยั้งเฉลี่ยเท่ากับ 1.56 ± 0.32 ซม. ซึ่งมากกว่าแชมพูมะกรูดที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป (บริเวณการยับยั้งเฉลี่ยเท่ากับ 1.27 ± 0.13 ซม.) แต่น้อยกว่าแชมพูที่มีส่วนผสมของ 2% ketoconazole (บริเวณการยับยั้งเฉลี่ยเท่ากับ 3.48 ± 0.29 ซม.) และผู้ใช้ให้การยอมรับและพอใจในผลิตภัณฑ์แชมพูดังกล่าว (19)
2 การศึกษาเกี่ยวกับผิวหน้า
2.1 ฤทธิ์ต้านสิวบนใบหน้า (F006)
น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด (ตัวอย่างจากบริษัทอุตสาหกรรมเครื่องหอมไทยจีน) มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Propionibacterium acnes ซึ่งทำให้เกิดสิวได้โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งเชื้อ (minimum inhibitory concentration; MIC) และความเข้มข้นต่ำสุดที่ฆ่าเชื้อ (minimum bactericidal concentration; MBC) เท่ากับ 5 ไมโครลิตร/มล. (20)
สารสกัดเอทานอลจากใบมะกรูด (เก็บตัวอย่างจากประเทศอินโดนีเซีย) ความเข้มข้น 10%เมื่อนำมาทดสอบในหลอดทดลอง พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Propionibacterium acnes ที่ก่อให้เกิดสิวได้ โดยบริเวณที่มีการยับยั้งเชื้อมีความกว้างเท่ากับ 12 มม. ซึ่งใกล้เคียงกับยา Chloramphenicol ความเข้มข้น 0.02 % ซึ่งบริเวณที่มีการยับยั้งเชื้อมีความกว้างเท่ากับ 15.7มม. (21)
น้ำมันหอมระเหยจากเปลือกผลมะกรูด (ไม่ได้ระบุแหล่งที่มา) ที่ความเข้มข้น 2.5% มีผลยับยั้งเชื้อที่ก่อให้เกิดสิว Propionibacterium acnes ได้ดีที่สุด โดยดูจากค่า Minimum Inhibitory Concentration (MIC) และเมื่อนำมาพัฒนาในรูปแบบนาโนพาร์ทิเคิลที่เตรียมจากไคโตแซน พบว่า บริเวณที่มีการยับยั้งเชื้อดังกล่าวมีความกว้างมากกว่า 20 มม. ในขณะที่น้ำมันหอมระเหยจากเปลือกผลมะกรูดที่ไม่ได้พัฒนาในรูปแบบนาโนพาร์ทิเคิลบริเวณที่มีการยับยั้งเชื้อดังกล่าวมีความกว้างระหว่าง 10-20 มม. (22)
3 การศึกษาเกี่ยวกับผิวกาย
3.1 ฤทธิ์ทำให้ผิวขาว (S001)
น้ำมันหอมระเหยจากใบและผลมะกรูด (ไม่บอกแหล่งที่มา) มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ 100% ซึ่งใกล้เคียงกับกรดโคจิกที่นิยมใช้เป็นสารทำให้ผิวขาวในเครื่องสำอาง (23)
น้ำมันหอมระเหยของผลมะกรูด (ตัวอย่างจากฟาร์ม ในมหาวิทยาลัยมอริเชียส ประเทศมอริเชียส) เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส พบว่า ความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ร้อยละ 50 มีค่าเท่ากับ 2.08 ± 0.253 มคก./มล. ซึ่งใกล้เคียงกับกรดโคจิก (2.28 ± 0.054 มคก./มล. ) ที่นิยมใช้เป็นสารทำให้ผิวขาวในเครื่องสำอาง (24)
3.2 ฤทธิ์ต้านสิวบนผิวกาย (S005)
น้ำมันหอมระเหยจากใบและเปลือกผลมะกรูด (ตัวอย่างจากบริษัทอุตสาหกรรมเครื่องหอมไทยจีน) เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี disc diffusion พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากใบมะกรูดมีค่า MIC90 ต่อเชื้อ Staphylococcus aureus methicillin-resistant (MRSA) และ Staphylococcus aureus methicillin-sensitive (MSSA) เท่ากับ 34 และ 17 มก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่น้ำมันหอมระเหยจากเปลือกผลมีค่า MIC90 ต่อเชื้อ MRSA และ MSSA เท่ากับ4.40 และ 4.40 มก./มล. ตามลำดับ (25)
สารสกัดเมทานอลของ กิ่ง ใบ และเปลือกผลมะกรูด (ตัวอย่างจากประเทศอินเดีย) เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี disc diffusion พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียStaphylococcus aureus โดยบริเวณที่มีการยับยั้งเชื้อมีความกว้างเท่ากับ 14 ± 0.3, 18 ± 0.5 และ 22 ± 0.5 มม. ตามลำดับ (26)
สารสกัดใบและเปลือกผลมะกรูดสด (ไม่บอกตัวทำละลาย) (ตัวอย่างจากตลาดสดในกรุงเทพ) เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี disc diffusion พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus โดยบริเวณที่มีการยับยั้งเชื้อมีความกว้างเท่ากับ 9 - 10 และ 10 มม. ตามลำดับ ในขณะที่น้ำมันหอมระเหยจากใบและเปลือกผลมะกรูด สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus โดยบริเวณที่มีการยับยั้งเชื้อมีความกว้างเท่ากับ 12 และ 18 – 19 มม. ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับยา gentamycin โดยบริเวณที่มีการยับยั้งเชื้อมีความกว้างเท่ากับ 15 มม. (27)
3.3 ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระบนผิวกาย ()
สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ไดคลอโรมีเทนและเอทานอลจากใบมะกรูดความเข้มข้น 1 มก./มล. (ตัวอย่างจากจังหวัดชลบุรี)เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picryl-hydrazine (DPPH) assay และ 2,2′-azino-bis-3-ethylbenzothiazoline-6-sulfonic acid (ABTS) assay พบว่า มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ 5.85 ± 1.46, 31.66 ± 0.79 และ 27.22 ± 0.42% ตามลำดับ เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH และ 6.47± 1.63, 52.04± 0.77 และ 64.58±2.44% ตามลำดับ เมื่อทดสอบด้วยวิธี ABTS จะเห็นได้ว่าสารสกัดไดคลอโรมีเทนและเอทานอลจะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ (28)
สารสกัดน้ำและเอทานอลของมะกรูด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้) (ตัวอย่างจากประเทศมาเลเซีย) เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay พบว่า ค่าความเข้มข้นของสารสกัดดังกล่าวที่ทำให้สารอนุมูลอิสระลดลงครึ่งหนึ่ง (EC50) เท่ากับ 0.59± 0.04 และ 3.49± 0.05 มก./มล.ตามลำดับเมื่อเทียบกับสารมาตรฐาน ascorbic acid ที่มีค่า EC50 เท่ากับ 0.28 ± 0.00 มก./มล. และสาร butylated hydroxytoluene (BHT) ที่มีค่า EC50 เท่ากับ 0.30 ± 0.00 มก./มล. (29)
สารสกัดหยาบเอทิลอะซิเตทจากเปลือกผลมะกรูด (ตัวอย่างจากประเทศไทยไม่ได้ระบุจังหวัด) เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH assay พบว่าค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่ทำให้สารอนุมูลอิสระลดลงครึ่งหนึ่ง (EC50) เท่ากับ 41.74 ppm เมื่อเทียบกับสารมาตรฐาน rutin และ ascorbic acid ที่มีค่า EC50 เท่ากับ 0.03 และ 1.90 ppm ตามลำดับ (30)
น้ำมันหอมระเหยจากใบมะกรูด (ตัวอย่างจากประเทศมอริเชียส) เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH, ABTS, XO (xanthine oxidase), HO (hydroxyl radical scavenging), NO (nitric oxide radical scavenging) assayพบว่าค่าความเข้มข้นที่สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 (IC50) มีค่าเท่ากับ 0.76 ± 0.04, 1.17 ± 0.22, 1.34 ± 0.24, 1.15 ± 0.12 และ 1.24 ± 0.35 มคก./มล. ตามลำดับ (31)
สารสกัดใบและเปลือกผลมะกรูดด้วยเมทานอล (ตัวอย่างจากตลาดในจังหวัดขอนแก่น) เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay พบว่าค่าความเข้มข้นที่สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 (IC50) มีค่าเท่ากับ 24.6 และ 66.3 มคก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่น้ำมันหอมระเหยจากใบและเปลือกผลมะกรูด IC50 มีค่า > 250 มคก./มล. เมื่อเทียบกับสารมาตรฐาน rutin ที่มีค่า IC50เท่ากับ 0.9 มคก./มล. (32)
สารสกัดโพลีฟีนอลจากใบมะกรูด (ตัวอย่างจากตลาดของประเทศมาเลเซีย) เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay พบว่าสารสกัดโพลีฟีนอลที่ความเข้มข้น 50 และ 100 ppm สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ 76 และ 80% ตามลำดับ ซึ่งใกล้เคียงกับสารมาตรฐานBHT ที่ความเข้มข้น 50 และ 100 ppm สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ 80 และ 90% ตามลำดับ (33)
สารสกัดหยาบเปลือกผลมะกรูดด้วย 77% เอทานอล (ตัวอย่างจากประเทศมาเลเซีย) เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay พบว่า ค่าความเข้มข้นที่สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 (IC50) มีค่าเท่ากับ 100.05 มคก./มล. ในขณะที่ส่วนสกัดจากเฮกเซนและคลอโรฟอร์มจากเปลือกผลมะกรูด IC50 มีค่า > 500 มคก./มล. เมื่อเทียบกับสารมาตรฐาน BHT ที่มีค่า IC50 เท่ากับ 10.53 มคก./มล. (34)
น้ำมันจากส่วนต่างๆของมะกรูด (ตัวอย่างจากประเทศอินโดนีเซีย) เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay พบว่า ค่าความเข้มข้นที่สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 (IC50) ของน้ำมันจากกิ่งมะกรูด ก้านใบมะกรูด ใบมะกรูด เปลือกผลมะกรูด และสาร citronellol จากน้ำมันใบมะกรูดมีค่าเท่ากับ 9.5, 7.0, 9.0, 6.5 และ 10.0 มคก./มล. ตามลำดับ เมื่อเทียบกับสารมาตรฐาน BHT ที่มีค่า IC50 เท่ากับ 9.25 มคก./มล. (35)
สารฟลาโวนอยด์ในใบมะกรูด (ตัวอย่างจากตลาดสดในกรุงเทพ ปทุมธานี เชียงใหม่ นครพนม) ซึ่งสารหลักที่มีมากในใบมะกรูด คือ hesperetin ตามด้วย peonidin, myricetin, cyanidine, isorhamnetin, apigenin, quercetin และ luteolin มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยวิธี oxygen radical absorption capacity (ORAC), ferric reducing/antioxidant power (FRAP), และ DPPH assay และจากการศึกษายังพบว่าสารฟลาโวนอยด์ในใบมะกรูดเมื่อนำไปประกอบอาหารด้วยการต้มที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที (boiling) หรือการหั่นใบมะกรูดเป็นชิ้นเล็กๆและทอดด้วยน้ำมันที่อุณหภูมิ 140 องศาเซลเซียส นาน 1 นาที (deep frying) พบว่าการทอด (deep frying) จะเพิ่มฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ในขณะที่การต้มจะลดฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบด้วยวิธี ORAC, FRAP และ DPPH เมื่อเปรียบเทียบกับใบมะกรูดสด (12)
สารสกัดใบมะกรูดด้วยเอทานอล (ตัวอย่างจากประเทศมาเลเซีย) เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay พบว่าปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดมีค่าเท่ากับ 116.53 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลิก (GAE)/กรัมสารสกัดและค่าความเข้มข้นที่สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ร้อยละ50 (IC50)มีค่าเท่ากับ0.063 มก./มล. (36)
สารสกัดใบมะกรูดด้วยเมทานอล เอทานอล และคลอโรฟอร์ม (ตัวอย่างจากประเทศบังคลาเทศ) เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay พบว่าสารสกัดดังกล่าวมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระเท่ากับ 1.5±0.49, 2.22±0.99 และ 2.21±0.87 มิลลิกรัมสมมูลกรดแอสคอร์บิก (ascorbic acid equivalent)/กรัมสารสกัดจะเห็นได้ว่าสารสกัดใบมะกรูดด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด (37)
สารสกัดใบมะกรูดด้วยเมทานอล และเอทานอล (ตัวอย่างจากประเทศมาเลเซีย) เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีDPPH assay พบว่าค่าความเข้มข้นที่มีผลต้านอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 (EC50) มีค่าเท่ากับ 0.126 ± 0.001 และ 0.080 ± 0.001 มก./มล. ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับ BHA, Ascorbic acid และ Trolox ที่ EC50 มีค่าเท่ากับ 0.002 ± 0.001, 0.003± 0.001 และ 0.003 ± 0.001 มก./มล. ตามลำดับ (38)
น้ำมะกรูดสด (ตัวอย่างจากประเทศมาเลเซีย) เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay พบว่าค่าความเข้มข้นที่มีผลต้านอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 (EC50) มีค่าเท่ากับ 35 มก./100 มล. และเมื่อทดสอบด้วยวิธี FRAP พบว่าน้ำมะกรูดสดมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระเท่ากับ 89.0 ± 5.88mol Fe2+equivalent/100 มล. น้ำมะกรูด (39)
3.4 ฤทธิ์ระงับกลิ่นกาย (S010)
ตำรับผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายในรูปแบบโลชันที่มีน้ำมันจากผิวมะกรูดเป็นส่วนประกอบมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Staphylococcus epidermidis ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์บริเวณรักแร้ร่วมกับเหงื่อได้ (38)
3.5 ฤทธิ์ต้านการอักเสบของผิวกาย (S014)
สารสกัดใบมะกรูดด้วย 70% เอทานอล (ตัวอย่างได้จากตลาดสดในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดอุบลราชธานี) เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในเซลล์เม็ดเลือดขาว (RAW 264.7 Murine Macrophages) ที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการอักเสบด้วยสาร lipopolysaccharide พบว่าสารสกัดใบมะกรูดมีค่าความเข้มข้นในการยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ได้ร้อยละ 25 (IC25), 50 (IC50) และ 75(IC75) มีค่าเท่ากับ 14.6 ± 1.1, 29.2 ± 2.1 และ 43.8 ± 3.2 มคก./มล. ตามลำดับ และค่าความเข้มข้นในการยับยั้งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (tumor necrosis factor-(TNF-)) ได้ร้อยละ 25 (IC25), 50 (IC50) และ 75 (IC75) มีค่าเท่ากับ17.7± 0.7, 35.4± 1.5และ53.1± 2.2 มคก./มล. ตามลำดับซึ่งสารสกัดในใบมะกรูดที่สำคัญ ได้แก่ hesperetin, peonidin, myricetin, isorhamnetin และcyanidefdin (41)
สารสกัดใบมะกรูดด้วยเอทานอล 100% (ตัวอย่างจากประเทศมาเลเซีย) วิเคราะห์ด้วยวิธี HPLC และ LC-MS ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ได้แก่ สาร hesperidin, apigetrin, apiin, diosmin, saponarin เป็นต้น และคำนวนได้ปริมาณสาร hesperidin 150 มคก./ก.ของสารสกัดเมื่อให้สารสกัดขนาด 150 และ 300 มก./กก./วัน กับหนูแรทที่เหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วยสาร streptozotocin นาน 8 สัปดาห์ พบว่าสามารถลดสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ (tumor necrosis factor-, prostaglandinE2) ได้ โดยที่ขนาด 150 มก./กก. ได้ผลดีกว่าขนาด 300 มก./กก. (42)
4 การศึกษาเกี่ยวกับริมฝีปากและช่องปาก
4.1 ฤทธิ์ป้องกันฟันผุ (L001)
ตำรับผลิตภัณฑ์ฉีดพ่นในปากชนิดใสเพื่อใช้ป้องกันฟันผุที่มีน้ำมันมะกรูดความเข้มข้น 4% (43) และ10% (44) เป็นส่วนประกอบหลักมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus mutans ที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุได้โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งเชื้อเท่ากับ 5% v/v
การศึกษาฤทธิ์ของน้ำมันหอมระเหยจากใบและเปลือกผลมะกรูด (ตัวอย่างจากบริษัทอุตสาหกรรมเครื่องหอมไทยจีน) ในหลอดทดลองในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคปริทันต์ 3 ชนิด ได้แก่ Porphyromonas gingivalis, Streptococcus mutans และ Streptococcus sanguinis พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกผลมะกรูดไม่มีฤทธิ์ดังกล่าว แต่น้ำมันหอมระเหยจากใบมะกรูดมีฤทธิ์ดีในการยับยั้งเชื้อทั้ง3ชนิดโดยมีค่า MIC และ MBC อยู่ในช่วง1.06 - 2.12มก./มล. และ 1.06 - 4.25มก./มล. ตามลำดับ ส่วนค่า MIC และ MBC ของchlorhexidine ซึ่งเป็นสารฆ่าเชื้อที่ใส่ในน้ำยาบ้วนปากมีค่าเท่ากับ 0.001 - 0.004 มก./มล. น้ำมันหอมระเหยจากใบความเข้มข้น 4.25 มก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดแผ่นคราบจุลินทรีย์หรือไบโอฟิล์มได้ถึง 99% แสดงว่าน้ำมันหอมระเหยจากใบมะกรูดอาจใช้เป็นสารจากธรรมชาติหรือใช้ร่วมกับ chlorhexidine ในตำรับน้ำยาบ้วนปากเพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อโรคในช่องปากและการเกิดไบโอฟิล์มได้ (45)
การศึกษาทางพิษวิทยาและความปลอดภัย
เมื่อป้อนสารสกัด 50% เอทานอลจากใบขนาด 10 ก./กก.น้ำหนักตัวหรือฉีดสารสกัดเดียวกันนี้เข้าใต้ผิวหนังของหนูแรทพบว่าไม่ทำให้เกิดพิษ (46)
การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลัน เมื่อป้อนสารสกัดเปลือกผลมะกรูดแห้งด้วยเอทานอลให้กับหนูแรท พบว่าขนาดที่ทำให้หนูแรทตายร้อยละ 50 (LD50) มีค่ามากกว่า 100ก./กก.น้ำหนักตัว (47)
เมื่อป้อนสารสกัดเปลือกผลมะกรูดแห้งด้วยเอทานอลให้กับหนูแรทที่ตั้งท้อง ขนาด 0.2, 1.0 และ2.5 ก./กก. วันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน พบว่าสารสกัดดังกล่าวสามารถทำให้หนูแรทที่ตั้งท้องแท้งได้อยู่ในช่วง 38.6 - 96.9% (47)
ข้อห้ามใช้
ยังไม่มีรายงานข้อห้ามใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอาง
ข้อควรระวัง
ยังไม่มีรายงานข้อควรระวังการใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอาง
อาการไม่พึงประสงค์
ยังไม่มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอาง
ขนาดที่แนะนำ (ข้อมูลจากการศึกษาทางคลินิก)
ครีมและเจลน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกผลและใบมะกรูดความเข้มข้น 0.25% w/v (จากรายงานไม่ระบุขนาดที่ใช้และบริเวณที่ทดสอบ) เพื่อทำให้ผิวขาว แต่ผลิตภัณฑ์มีความคงตัวที่อุณหภูมิ 4 และ 25 oC ได้ดี เป็นเวลา 1 ปี (17)
สิทธิบัตร
DIP (THAILAND-TH)
USPTO (USA)
สรุป
จากข้อมูลการศึกษาวิจัยจะเห็นได้ว่ามะกรูดมีการศึกษาทางคลินิกเกี่ยวกับทำให้ผิวขาว นอกจากนี้ยังมีข้อมูลสนับสนุนในฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว ป้องกันฟันผุ และอื่นๆ ซึ่งสารที่ออกฤทธิ์ส่วนใหญ่เป็นพวกน้ำมันหอมระเหย ดังนั้นมะกรูดน่าจะมีศักยภาพในการที่จะใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางได้
เอกสารอ้างอิง
1. ราชันย์ ภู่มา, สมราน สุดดี, บรรณาธิการ. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช; 2557.
2. นันทวัน บุณยะประภัศร และอรนุช โชคชัยเจริญพร, บรรณาธิการ. สมุนไพร..ไม้พื้นบ้าน (3). กรุงเทพฯ: บริษัท ประชาชน จำกัด; 2542.
3. Citrus hystrix DC. The plant list. [Internet]. 2012 [cited 2020 Dec 2]. Available from: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2724129.
4. พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ. ตำราวิทยาศาสตร์สมุนไพร. กรุงเทพฯ: บริษัทเมดิคัลมิเดีย จำกัด; 2529.
5. Verheij EWM, Coronel RE (Eds). Plant resources of South-East Asia 2: Edible fruits and nuts. Bogor: PROSEA Foundation, 1992:447pp.
6. ชยันต์พิเชียรสุนทร, แม้นมาสชวลิต, วิเชียรจีรวงศ์. คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์ฉบับเฉลิมพระเกียรติ72 พรรษามหาราชา5 ธันวาคม2542. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์และมูลนิธิภูมิปัญญา, 2544.
7. Lubinska-Szczygeła M, Rózanskaa A, Dymerskia T, Namiesnika J. Katrichb E, Gorinstein S. A novel analytical approach in the assessment of unprocessed Kaffir limepeel and pulp as potential raw materials for cosmetic applications. Ind Crops Prod. 2018;120:313-21. doi: 10.1016/j.indcrop.2018.04.036.
8. Pumival P, Tadtong S, Athikomkulchai S, Chittasupho C.Antifungal activity and the chemical and physical stability of microemulsions containing Citrus hystrix DC leaf oil. Nat Prod Commun. 2020;15(9):1-12. doi: 10. 1177/ 1934 578X 20957755.
9. Kim Ngan TT, Hien TT, Tien Le X, Anh TT, Minh Quan P, Cang MH, et al. Physico-chemical profile of essential oil of kaffir lime(Citrus hystrix DC) grown in an Giang province, Vietnam. Asian J Chem. 2019;31(12):2855-8. doi: 10.14233/ajchem.2019.22167.
10. Habsari RA, Warsito W, Noorhamdani N. Chemical composition of oil fraction kaffir lime (Citrus hystrix DC) as antibacterial activity of E. coli. J Pure App Chem Res. 2018;7(1):32-8.doi: 10.21776/ub.jpacr.2018.007.01.352.
11. Kanes K, Tisserat B, Berhow M, Vandercook C. Phenolic composition of various tissues of Rutaceae species. Phytochemistry. 1993;32(4):967-74.
12. Butryee C, Sungpuag P, Chitchumroonchokchai C. Effect of processing on the flavonoid content and antioxidant capacity of Citrus hystrix leaf. Int J Food Sci Nutr. 2009;60(sup2):162-74.doi:10.1080/09637480903018816.
13. Murakami A, Gao G, Kim OK, et al. Identification of coumarins from the fruit of Citrus hystrix DC as inhibitors of nitric oxide generation in mouse macrophage RAW 264.7 cells. J Agric Food Chem. 1999;47(1):333-9.
14. Paramapojn S, Gritsanapan W, Ganzera M, Stuppner H. Determination of furanocoumarins in Citrus hystrix by HPLC photodiode array. Planta Med. 2008;74(9): PC16. doi: 10.1055/s-0028-1084534.
15. Fatin Najwa R, Azrina, A. Comparison of vitamin C content in citrus fruits by titration and high performance liquid chromatography (HPLC) methods. InterFood Res J. 2017;24(2):726-33.
16. Pudil F, Wijaya H, Janda V, Volfova J, Valentova H, Pokomy J. Changes in Citrus hystrix oil during autooxidation. Dev Food Sci. 1998;40:707-18.
17. Hongratanaworakit T, Tapaneeyasin P, Nuamlert J, Chansiri A, Hongrattanavorakit N. Development of skin whitening preparations from kaffir lime oil (Citrus hystrix). Planta Med. 2006;72:P208. doi: 10.1055/s-2006-950008.
18. Kumar N, Rungseevijitprapa W, Narkkhong N, Suttajit M, Chaiyasuta C. 5a-reductase inhibition and hair growth promotion of some Thai plants traditionally used for hair treatment. J Ethnopharmacol. 2012;139:765-71.
19. Foo-trakul P, Watchiradatsatiean C. Development of anti-dandruff shampoo from kaffir lime which isthe by-product of food industry. Kasetsart J. (Nat. Sci.). 2005;39:725-9.
20. Lertsatitthanakorn P, Taweechaisupapong S, Aromdee C, Khunkitti W. In vitro bioactivities of essential oils used for acne control. Int J Aromather. 2006;16(1):43-9.doi:10.1016/j.ijat.2006.01.006.
21. Riris ID, Silalahi A, Juwitaningsih T, Hutabarat W. Antimicrobial activities of some Indonesian medicinal plants against Propionibacterium acnes(ATCC 27853) and Staphylococcus epidermis (ATCC 12228) causing Acne. Asian J Chem. 2020;32(1):41-4. doi: 10.14233/ajchem.2020.22225.
22. Wijayadi LJ, Rusli TR. Encapsulated lime peel essential oil (Citrus hystrix) into chitosan nanoparticle: New entity to enhanced effectivity against Propionilbacterium acne in vitro. Mater Sci Eng. 2020;012016.doi:10.1088/1757-899X/852/1/012016.
23. อรัญญามโนสร้อย,เฉลิมจันทร์สม,จีรเดชมโนสร้อย. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งเอ็นไซม์ไทโรซิเนสของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรไทยเพื่อใช้ทางเครื่องสำอาง. สัมมนาวิชาการเทคโนโลยีชีวภาพทางเภสัชกรรมครั้งที่4, 10-12 กย. 2545.
24. Aumeeruddy-Elalfi Z, Gurib-Fakim A, Mahomoodally MF. Kinetic studies of tyrosinase inhibitory activity of 19 essential oilsextracted from endemic and exotic medicinal plants. S Afr J Bot. 2016;103:89-94. doi: 10.1016/j.sajb.2015.09.010.
25. Srisukha V, Tribuddharatb C, Nukoolkarnc V, Bunyapraphatsara N, Chokephaibulkitd K, Phoomniyomb S, Chuanphung S. Antibacterial activity of essential oils from Citrus hystrix (makrut lime) against respiratory tract pathogens. Sci Asia 2012;38:212-7.doi: 10.2306/scienceasia1513-1874.2012.38.212.
26. Paul Ajithkumar IN, Panneerselvam R. Effect of Citrus hystrix and Citrus limon extracts on antibacterial activity against human pathogens. Asian Pac J Trop Biomed. 2012:1-4.
27. Chaisawadi S, Thongbute D, Methawiriyaslip W, Pitakworarat N, Chaisawadi A, Jaturonrasamee K, et al. Tanuthumchareon W. Preliminary study of antimicrobial activities on medicinal herbs of Thai food ingredients. Acta Hort. 2005;675:111-4.
28. Thongrakard V, Ruangrungsi N, Ekkapongpisit M, Isidoro C, Tencomnao T. Protection from UVB toxicity in human keratinocytes by Thailand native herbs extracts. J Photochem Photobiol. 2014;90:214-24. doi: 10.1111/php.12153.
29. Nurain A, Noriham A, Zainon MN, Wan Saidatul WSK, Khairusy SZ. Comparative study of aqueous and ethanolic aromatic Malaysian herbs extracts using four antioxidants activity assays. Inter J Agric Res. 2013;8(2):55-66.
30. Rerk-Am U, Kongsombat B, Khunprathum C. The comparison of bioflavonoid compounds and antioxidant activity from Citrus peels extract. Thai J Pharmacol. 2011;33(2):104-6.
31. Mahomoodally F, Aumeeruddy-Elalfi Z, Venugopala KN, Hosenally M. Antiglycation, comparative antioxidant potential, phenolic content andyield variation of essential oils from 19 exotic and endemic medicinalplants. Saudi J Biol Sci. 2019;26:1779-88. doi: 10.1016/j.sjbs.2018.05.002.
32. Wungsintaweekul J, Sitthithaworn W, Putalun W, Pfeifhoffer HW, Brantner A. Antimicrobial, antioxidant activities and chemical composition ofselected Thai spices. Songklanakarin J Sci Technol. 2010;32(6):589-98.
33. Idris NA, Nor FM, Ismail R, Mohamed S, Hassan CZ. Antioxidative activity of Malaysian herb extracts in refined bleached and deodorized palm olein. J. Oil Palm Res. 2008;20:517-26.
34. Chua KW, Sia CM, Akowuah GA, Samuagam L, Yim HS. Antioxidative properties and hplc profile ofchloroform fraction from ethanolic extract of the peel of Citrus hystrix. Chiang Mai J Sci. 2015;42(1):173-84.
35. Warsito W, Noorhamdani N, Sukardi S, Suratmo S. Assessment of antioxidant activity of citronellal extractand fractions of essential oils of Citrus hystrix DC. Trop J Pharm Res. 2018;17(6):1119-25. doi: 10.4314/tjpr.v17i6.19.
36. Jamilah, B, Abdulkadir Gedi M, Suhaila, M. ZaidulM. Phenolics in Citrus hystrix leaves obtained using supercritical carbondioxide extraction. Int Food Res J. 2011;18(3):941-8 .
37. Ali M, Akhter R, Narjish SN, Shahria M, Bhuiyan MA. Studies of preliminary phytochemical screening, membrane stabilizing activity, thrombolytic activity and in-vitro antioxidant activity of leaf extract of Citrus hystrix. IJPSR. 2015;6(6):2367-74. doi: 10.13040/IJPSR.0975-8232.6(6).2367-74.
38. Azlim Almey AA, Ahmed Jalal KhanC, Syed Zahir I, Mustapha Suleiman K, Aisyah MR, Kamarul Rahim K. Total phenolic content and primary antioxidant activity of methanolicand ethanolic extracts of aromatic plants’ leaves. Int Food Res J. 2010;17:1077-84.
39. Abd Ghafar MF, Prasad KN, Weng KK, Ismail A. Flavonoid, hesperidine, total phenolic contents and antioxidant activities from Citrus species. Afr J Biotechnol. 2010;9(3):326-30.
40. วิศราวิเศษแพทยา,กรีพลแม่นวิวัฒนกุล,ปิลันธนาเลิศสถิตธนกร. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายจากน้ำมันหอมระเหยผิวมะกรูด. การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยครั้งที่36, กรุงเทพฯ, 26-28 ตุลาคม2553.
41. Tuntipopipat S, Muangnoi C, Failla ML. Anti-Inflammatory activities of extracts of Thai spices and herbswith lipopolysaccharide-activated RAW 264.7 murine macrophages. J Med Food. 2009;12(6):1213-20. doi: 10.1089=jmf.2009.1118.
42. Solehah Umran NS, Mohamed S, Lau SF, Mohd Ishak NI. Citrus hystrix leaf extract attenuated diabetic-cataract inSTZ-rats. J Food Biochem. 2020;44:e13258. doi: 10.1111/jfbc.13258.
43. มณีรัตน์สุริยวงศ์พงศา,มทนาอิ่มคล้าย. ผลิตภัณฑ์ชนิดฉีดพ่นในปากจากน้ำมันหอมระเหยและ/หรือสารสกัดสมุนไพรเพื่อใช้ป้องกันฟันผุ. โครงการพิเศษคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล, 2548.
44. วณิชยาทับจีบ,ศรัญญางามมาศประภัสสร. ผลิตภัณฑ์ชนิดฉีดพ่นในปากจากน้ำมันมะกรูดเพื่อใช้ป้องกันฟันผุ. โครงการพิเศษคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล, 2547.
45. Wongsariya K, Phanthong P, Bunyapraphatsara N, Srisukh Vimol, Chomnawang M. Synergistic interaction and mode of action of Citrus hystrix essential oil against bacteria causing periodontal diseases. Pharm Biol. 2014;52(3):273-80. doi: 10.3109/13880209.2013.833948.
46. Mokkhasmit M, Swatdimongkol K, Satrawaha P. Study on toxicity of Thai medicinal plants. Bull Dept Med Sci. 1971;12(2/4):36-65.
47. Piyachaturawat P, Glinsukon T, Chanjarunee A. Antifertility effect of Citrus hystrix DC. J Ethnopharmacol. 1985;13(1):105-10. doi: 10.1016/0378-8741(85)90064-9.
48. เทคนิคการผลิต“ใบ-ผลมะกรูด”เชิงการค้าโดยคณะเกษตรกำแพงแสน. [cited 2021January 5]. Available from: https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_120658.