หญ้ารีแพร์/หญ้าเหนียวหมา
- ชื่อ
- ส่วนของพืชที่ใช้
- การกระจายตัวทางภูมิศาสตร์/แหล่งที่มา
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- การเพาะปลูก
- สรรพคุณและการใช้สมุนไพรพื้นฐานตามภูมิปัญญาไทยด้านเครื่องสำอาง
- สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบ
- สารออกฤทธิ์ หรือ สารสำคัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Centotheca lappacea (L.) Desv.
ชื่อวงค์
POACEAE
ชื่อสมุนไพร
หญ้ารีแพร์/หญ้าเหนียวหมา
ชื่ออังกฤษ
Barbed grass
ชื่อพ้อง
Anthoxanthum pulcherrimum Lour.
Cenchrus lappaceus L.
ชื่อท้องถิ่น
เหล็กไผ่ ขนหมอยแม่ม่าย หญ้าอีเหนียวหญ้ารีแพร์หญ้าหียุ่ม
ชื่อ INCI
CENTOTHECA LAPPACEA EXTRACT
ส่วนของพืชที่ใช้
การกระจายตัวทางภูมิศาสตร์/แหล่งที่มา
ขึ้นกระจายอยู่ทั่วไปตั้งแต่แอฟริกาจนถึงโพลีเนเซียและออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบมากทางภาคใต้ลงไปถึงเขตเพนนินซูลาของมาเลเซีย (6)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีเหง้า ลำต้นสูง 30–60 ซม. ข้อบวมพอง ใบเดี่ยว รูปใบหอก ยาว 10–16 ซม. ขอบใบมีขนสาก โคนใบสอบเรียว กาบใบ ขอบมีขนครุย ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ช่อแขนงคล้ายช่อกระจะ ช่อดอกย่อย ออกเดี่ยวๆ เรียงเวียน กาบช่อดอกย่อย รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายแหลม เส้นกาบ 3 เส้น กาบล่างยาวประมาณ 2.5 มม. สันกลางกาบมีหนาม กาบบนยาว 3–3.5 มม. ผิวเกลี้ยง มีดอกย่อย 3 ดอก ดอกล่างเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกบน 2 ดอก เป็นหมัน เกสรเพศผู้มี 2–3 อัน ผลแห้งแบบเมล็ดติด สีน้ำตาลเข้ม (4-5)
การเพาะปลูก
หญ้ารีแพร์ขึ้นได้ทั่วไปตามริมขอบถนน ในแปลงปลูกพืช หรือไร่นาในลักษณะของวัชพืช ขยายพันธุ์โดยเมล็ดหรือท่อนพันธุ์ เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เหนือระดับน้ำทะเล 1,500 ม. อากาศชื้นและมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มม./ปี (4)
สรรพคุณและการใช้สมุนไพรพื้นฐานตามภูมิปัญญาไทยด้านเครื่องสำอาง
ไม่พบสรรพคุณแผนโบราณที่เกี่ยวข้องกับเครื่องสำอาง
สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบ
ในส่วนเหนือดินของหญ้ารีแพร์พบสารเคมี ดังนี้
สารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds) ได้แก่ 4-coumaric acid, catechin gallate, catechin, epigallocatechin, resorcinol, rosmarinic acid, syringol, vanillin (7-8)
สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ได้แก่ 5,7,4′-trimethoxyflavone (7)
สารกลุ่มสเตอรอล (sterols) ได้แก่ stigmasterol, β-sitosterol,campesterol (7)
กรดไขมัน (fatty acids) ได้แก่ palmitic acid, stearic acid, lauric acid, pentadecanoic acid, myristic acid (7)
ควันที่ได้จากการเผาหญ้ารีแพร์ พบสารกลุ่มอนุพันธ์ของฟีนอล (phenol derivatives) ได้แก่ syringol, homosyringic acid, vanillin, vanillic acid, resorcinol, hydroquinone, 4-hydroxybenzaldehyde (7)
สารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds)
สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids)
สารกลุ่มสเตอรอล (sterols)
กรดไขมัน (fatty acids)
สารออกฤทธิ์ หรือ สารสำคัญ
ยังไม่พบรายงานสารออกฤทธิ์ทางเครื่องสำอางของหญ้ารีแพร์
แนวทางการควบคุมคุณภาพ (วิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ)
1 การตรวจสอบกลุ่มพฤกษเคมีด้วยวิธี Thin-Layer chromatography (TLC)
สภาวะทดลอง (7)
สารละลายตัวอย่าง: สารสกัดหญ้ารีแพร์ด้วยเฮกเซน คลอโรฟอร์ม อะซีโตน เอทานอล และน้ำ ความเข้มข้น 1 มก/มล. ในเมทานอล
วัฏภาคเคลื่อนที่: chloroform:methanol (9:1) และethyl acetate:methanol:formic acid: water (50:3:3:6)
น้ำยาตรวจสอบ: 1. anisaldehyde reagent
2. natural product reagent
3. Dragendorff’s reagent
Detector: UV 254 และ 366 นาโนเมตร
2 การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดด้วยวิธี Gas chromatography-Mass spectrometer (GC-MS)
สภาวะทดลอง (7)
column: Thermo TG-5s-LMS
วัฏภาคเคลื่อนที่: แก๊สฮีเลียม, อัตราการไหล 1 มล./นาที
injection volume: 4 มคล., อุณหภูมิ 200องศาเซลเซียส
อุณหภูมิ: เริ่มต้นที่ 60 องศาเซลเซียส คงที่เป็นเวลา 5 นาที จากนั้นเพิ่มอุณหภูมิ จนถึง 300 องศาเซลเซียส ด้วยอัตรา 8 องศาเซลเซียส/นาที
การศึกษาทางคลินิก
ยังไม่พบรายงานการศึกษาทางคลินิกในด้านเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ภายนอกของหญ้ารีแพร์
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
1 การศึกษาเกี่ยวกับผิวหน้า
1.1 ทำให้ผิวหน้าขาว (F001)
ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส
การทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดจากหญ้ารีแพร์ (ตัวอย่างพืชจากจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่ระบุ voucher specimen) ต่อการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสจากเห็ดพบว่าสารสกัด 95% เอทานอล ที่เตรียมด้วยวิธีแช่สกัดส่วนเหนือดินของหญ้ารีแพร์ใน 95% เอทานอล อัตราส่วน 1:10 เป็นเวลา 72 ชม. มีฤทธิ์อย่างอ่อนในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 3,756±169.14 มก./มล ซึ่งน้อยกว่าสารมาตรฐาน kojic acid (IC50 = 0.025±0.005 มก./มล.) (9)
1.2 ลดเลือนริ้วรอยบนใบหน้า (F008)
ยับยั้งเอนไซม์คอลลาจีเนส
สารสกัด 95% เอทานอลจากส่วนเหนือดินของหญ้ารีแพร์ (ตัวอย่างพืชจากจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่ระบุ voucher specimen)ที่เตรียมสารสกัดด้วยวิธีแช่สกัดใน 95%เอทานอล อัตราส่วน 1:10 เป็นเวลา 72 ชม.แสดงฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์คอลลาจีเนสได้ตามขนาดของสารสกัดที่ได้รับ โดยพบค่า IC50เท่ากับ 1.26±1.01 มก./มล. ใกล้เคียงกับสารมาตรฐานกรดแอสคอบิก (IC50 = 1.24±0.25 มก./มล.) (9)
ยับยั้ง gelatinolytic activity
สารสกัด95% เอทานอลจากหญ้ารีแพร์มีฤทธิ์ยับยั้บการย่อยโปรตีนเจลาตินและคอลลาเจนในผิวผ่านการยับยั้งการทำงานของ matrix metalloproteinase-2 (MMP-2) การทดสอบในเซลล์ผิวหนังของมนุษย์ (human skin fibroblast) ด้วยการบ่มสารสกัด 95%เอทานอลจากหญ้ารีแพร์ ที่เตรียมสารสกัดด้วยวิธีแช่สกัดใน 95% เอทานอล อัตราส่วน 1:10 เป็นเวลา 72 ชม. (ตัวอย่างพืชจากจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่ระบุ voucher specimen) ขนาด 1,000 มคก./มล. เป็นเวลา 48 ชั่วโมง พบว่าสารสกัดจากหญ้ารีแพร์ยับยั้งการทำงานของ MMP-2 ได้ 100% เทียบเท่ากับการใช้สารมาตรฐานกรดแอสคอบิกขนาด 100 มคก./มล. (9)
1.3 ต้านอนุมูลอิสระ (F007)
การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการเตรียมสารสกัดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากส่วนใบ ก้าน และรากของหญ้ารีแพร์ (ตัวอย่างพืชจากจังหวัดตรัง ไม่ระบุ voucher specimen) ด้วยวิธีเขย่าด้วยคลื่นเสียง (sonication) เป็นเวลา 1, 3, 6, 9 และ 24 ชม. ด้วยตัวทำละลายที่แตกต่างกัน 2 ชนิด คือ 95%เอทานอล และน้ำกลั่น ผลการวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกรวมในสารสกัดด้วยวิธี Folin-Ciocalteu พบว่าสารสกัด 95% เอทานอลจากส่วนใบมีปริมาณสารฟีนอลิกมากที่สุด คือ 30.33-49.63 มก. สมมูลกรดแกลลิค/ก. รองลงมาคือสารสกัดเอทานอลจากก้าน สารสกัดเอทานอลจากราก สารสกัดน้ำจากใบ สารสกัดน้ำจากก้าน และสารสกัดน้ำจากราก ซึ่งมีปริมาณฟีนอลิกรวมอยู่ในช่วงระหว่าง 24.38-42.76, 11.98-34.22, 11.95-23.65, 11.83-20.49 และ 0.81-7.44 มก.สมมูลกรดแกลลิค/ก. ตามลำดับ ผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดส่วนใบ ก้าน และรากด้วยวิธี 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl radical (DPPH)scavenging assay พบว่าสารสกัดเอทานอลจากส่วนใบมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด ด้วยค่า IC50เท่ากับ 0.105 มล./มล. ซึ่งใกล้เคียงกับสารมาตรฐานโทรล๊อกซ์ (IC50เท่ากับ 0.102 มล./มล.) รองลงมาคือสารสกัดเอทานอลจากก้าน สารสกัดเอทานอลจากราก สารสกัดน้ำจากก้าน สารสกัดน้ำจากใบ และสารสกัดน้ำจากราก ด้วยค่า IC50เท่ากับ 0.197, 0.284, 0.896, 0.431 และ 1.734 มล./มล. ตามลำดับ (8)
การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเอทานอลและสารสกัดน้ำจากหญ้ารีแพร์ (ตัวอย่างพืชจากจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่ระบุ voucher specimen)เตรียมสารสกัดเอทานอลด้วยวิธีแช่สกัดใน 95% เอทานอล ในอัตราส่วน 1:10 เป็นเวลา 72 ชม. และสารสกัดน้ำเตรียมโดยต้มหญ้ารีแพร์แห้งในน้ำกลั่น ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ทำการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดด้วยวิธี DPPH assay, metal ion chelating assay และผลต่อการยับยั้ง lipid peroxidation ผลการทดสอบพบว่าสารสกัด 95% เอทานอล แสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าสารสกัดน้ำ โดยพบค่าความเข้มข้นของสารสกัดต่อการยับยั้งอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH, chelating activity และ lipid peroxidation inhibition เท่ากับ 1.39±0.50, 366.95±13.47 และ 0.99±0.26มก./มล. ตามลำดับ ส่วนสารสกัดน้ำ มีค่าความเข้มข้นของสารสกัดต่อการยับยั้งอนุมูลอิสระเท่ากับ 2.14±0.31, >1,000 และ 1.06±0.15 มก./มล. ตามลำดับ (9)
การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากหญ้ารีแพร์ (ไม่ระบุ voucher specimen) ด้วยวิธีการแช่สกัดใน 70% เอทานอล ในอัตราส่วน 1:10 เป็นเวลา 3 วันและการแช่สกัดในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมงจากนั้นนำสารสกัดเอทานอลและสารสกัดน้ำไปสกัดต่อด้วยเอทิลอะซีเตท ในอัตราส่วน 1:2 ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดชั้นเอทิลอะซีเตทที่แยกได้จากสารสกัดเอทานอลมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด โดยพบค่า IC50เท่ากับ 0.792และ 0.400มก./มล. เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH และ 2,2′-Azino-bis (3- ethylbenzothiazoline-6-sulfonic acid) cation radicalscavenging (ABTS) assay ตามลำดับ รองลงมาคือสารสกัดชั้นเอทิลอะซีเตทที่แยกได้จากสารสกัดน้ำ สารสกัด70%เอทานอล และสารสกัดน้ำ สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกรวมด้วยวิธี Folin-Ciocalteu พบปริมาณสารฟีนอลิกในสารสกัดชั้นเอทิลอะซีเตทที่แยกได้จากสารสกัดเอทานอล สารสกัดชั้นเอทิลอะซีเตทที่แยกได้จากสารสกัดน้ำ สารสกัด70%เอทานอล และสารสกัดน้ำ เท่ากับ 14.38, 12.71, 9.97และ 8.43มก.สมมูลกรดแกลลิก/ก.สารสกัด ตามลำดับ (10)
การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสารสกัดหญ้ารีแพร์ (ไม่ระบุ voucher specimen) ทำการเตรียมสารสกัดโดยใช้โพรพิลีนไกลคอลความเข้มข้น 30%, 50%, 70% เป็นตัวทำละลาย ผลการศึกษาพบว่าสารสกัด 70% โพรพิลีนไกลคอล มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุดด้วยค่า IC50เท่ากับ 56.02 และ 199.62 มก./มล. เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPHและ ABTS assay ตามลำดับ การวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญในสารสกัดหญ้ารีแพร์ด้วย 70% โพรพิลีนไกลคอลพบปริมาณฟีนอลิกรวมเท่ากับ 0.42 มก.สมมูลกรดแกลลิก/ก.สารสกัด และมีปริมาณฟลาโวนอยด์รวม 0.24 มก.สมมูลคาเตชิน/ก. สารสกัด (11)
2 การศึกษาเกี่ยวกับผิวกาย
2.1 ต้านเชื้อแบคทีเรีย (S005)
การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดจากหญ้ารีแพร์ (ไม่ระบุ voucher specimen) ด้วยวิธีการแช่สกัดใน 70% เอทานอล ในอัตราส่วน 1:10 เป็นเวลา 3 วันและแช่สกัดในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมงจากนั้นนำสารสกัดเอทานอลและสารสกัดน้ำไปสกัดต่อด้วยเอทิลอะซีเตท ในอัตราส่วน 1:2 จากนั้นนำสารสกัดที่ได้มาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Bacillus cereus, Straphylococus aureus, Enterobactor aerogenosa, Enterococcus faecalis, Escherichia coli, Listeria monocytogenes, L. innocua และ Samonella typhimuriumด้วยวิธี agar well diffusion พบว่าสารสกัดชั้นเอทิลอะซีเตทที่แยกได้จากสารสกัดเอทานอล สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ B. cereus ด้วยค่าเฉลี่ยโซนใส 6.5±0.3 มม. และมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ (MIC) เท่ากับ 6.25 มก./มล. และในการศึกษานี้ไม่พบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดชั้นเอทิลอะซีเตทที่แยกได้จากสารสกัดน้ำ สารสกัด 70%เอทานอล และสารสกัดน้ำของหญ้ารีแพร์ (10)
การศึกษาทางพิษวิทยาและความปลอดภัย
ยังไม่พบรายงานการศึกษาพิษวิทยาและความปลอดภัยของหญ้ารีแพร์
ข้อห้ามใช้
ยังไม่มีรายงานข้อห้ามใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอาง
ข้อควรระวัง
ยังไม่มีรายงานข้อควรระวังการใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอาง
อาการไม่พึงประสงค์
ยังไม่มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอาง
ขนาดที่แนะนำ (ข้อมูลจากการศึกษาทางคลินิก)
ผลิตภัณฑ์แชมพูที่เตรียมโดยนำผงฝักส้มป่อย 10 ก. ผสมในน้ำเปล่า 240 มล. สระผมวันเว้นวัน ทิ้งแชมพูไว้บนหนังศีรษะ 20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด เป็นเวลา 28 วัน มีผลลดความถี่และขนาดของรังแค ลดการหลุดร่วงของเส้นผม อาการคันหนังศีรษะ และความมันของเส้นผม (13)
สิทธิบัตร
DIP (THAILAND-TH)
สรุป
จากรายงานการวิจัยพบว่าหญ้ารีแพร์มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเสชะลอริ้วรอยของผิวโดยยับยั้งเอนไซม์คอลลาจีเนส และกระบวนการ gelatinolytic ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อลดเลือนริ้วรอย อย่างไรก็ตามการศึกษาของหญ้ารีแพร์ยังมีน้อยและยังไม่พบการศึกษาความเป็นพิษและความปลอดภัยจากการใช้ในระยะยาว จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
เอกสารอ้างอิง
1. สุภาภรณ์ ปิติพร (บรรณาธิการ). บันทึกของแผ่นดิน 7 สมุนไพร ดูแล แม่หญิง. ปราจีนบุรี:มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร, 2557.
2. ราชันย์ ภู่มา, สมราน สุดดี(บรรณาธิการ). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช; 2557.
3. Centotheca lappacea (L.) Desv.The Plant List. [Internet]. 2013 [cited 2020 December 8]. Available from: http://www.the plantlist.org.
4. Norsaengsri M, Chantaranothai P.. The tribe Centotheceae (Poaceae) in Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany). 2008;36:53-5.
5. ราชันย์ ภู่มา.สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ) เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60พรรษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2559.
6. Manidool, C. Centotheca latifolia (Osbeck) TriniusIn: Mannetje LT, Jones RM. (Editors). Plant Resources of South-East Asia No. 4:Forages. Wageningen: The Netherlands;1992. pp.79-80.
7. ธวัชชัย กมลธรรม, สุภัทรา รังสิมาการ, กฤษณา สุพรรณ, พรศิริ รอดเสียงล้ำ. องค์ประกอบทางเคมีจากส่วนเหนือดินของหญ้ายุ่ม (Centatheca lappacea (L.) Desv.). J Thai Thad Altern Med. 2017;15(1):14-29.
8. ธนัฏฐา สุทธิมาศ. ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของหญ้ารีแพร์. [วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง]. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. 2559.
9. Kamoltham T, Manosroi J, Chankhampan C, Manosroi W, Manosroi A. In vitro anti-aging activities of Centotheca lappacea (L) Desv. (Ya Repair) extract. Chiang Mai J Sci. 2018; 45(2):846-57.
10. พสุ ปราโมกข์ชน, อัจฉรียา ชมเชย. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณฟีนอลิกรวมและฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากสมุนไพรไทยหญ้าฮี๋ยุ่ม Centotheca lappacea (L.) Desv. การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ครั้งที่ 10. 29-31 พฤษภาคม 2560. ชลบุรี. หน้า 429-34.
11. ณิชพัณณ์ มุกรัศมีพัฒน, ณิชา ศิริสุนทรลักษณ. การศึกษาและพัฒนาสารสกัดจากหญ้าฮี๋ยุ่มสำหรับใช้ทางเครื่องสำอาง. [โครงการพิเศษ ปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล. 2558.