สมอไทย
- ชื่อ
- ส่วนของพืชที่ใช้
- การกระจายตัวทางภูมิศาสตร์/แหล่งที่มา
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- การเพาะปลูก
- สรรพคุณและการใช้สมุนไพรพื้นฐานตามภูมิปัญญาไทยด้านเครื่องสำอาง
- สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบ
- สารออกฤทธิ์ หรือ สารสำคัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Terminalia chebula Retz. var. chebula
ชื่อวงค์
COMBRETACEAE
ชื่อสมุนไพร
สมอไทย
ชื่ออังกฤษ
Myrobalan wood
ชื่อพ้อง
Terminalia acuta Walp.
Buceras chebula (Retz.) Lyons
Myrobalanus gangetica (Roxb.) Kostel.
ชื่อท้องถิ่น
มะนะ ม่าแน่ สมออัพยา
ชื่อ INCI
TERMINALIA CHEBULA BARK EXTRACT
TERMINALIA CHEBULA EXTRACT
TERMINALIA CHEBULA FRUIT EXTRACT
TERMINALIA CHEBULA FRUIT OIL
TERMINALIA CHEBULA FRUIT POWDER
TERMINALIA CHEBULA ROOT EXTRACT
ส่วนของพืชที่ใช้
การกระจายตัวทางภูมิศาสตร์/แหล่งที่มา
สมอไทยพบได้ตามธรรมชาติในป่าเบญจพรรณถึงป่าดิบแล้ง ในระดับพื้นล่างถึงพื้นที่สูงถึง 1,000 ม. เหนือระดับน้ำทะเล และในที่มีสภาพภูมิประเทศกึ่งหิมาลัยในเนปาลและตอนเหนือของอินเดีย พบทั่วไปในอินเดีย ลงไปถึงศรีลังกา พม่า ไทย อินโดจีน ทางตอนใต้ของจีน และมีการนำเข้าไปปลูกในมาเลเซีย (4-5) สำหรับประเทศไทยสามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณแล้งและชื้น ตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยทุกภาค (6)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้น สูง 20–30 ม. เปลือกสีน้ำตาลอมเทา กิ่งอ่อนมีขนสีเหลืองถึงสีน้ำตาลเหลือง ร่วงเร็ว ใบเดี่ยว เรียงสลับหรือกึ่งตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่ รูปไข่แกมรูปใบหอกถึงรูปรี โคนใบกลมหรือตัดหรือเบี้ยวปลายใบมนหรือกลม ผิวใบมีขน ที่รอยต่อระหว่างก้านใบและแผ่นใบมีต่อม 2 ต่อม ช่อดอกแบบช่อเชิงลดออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ยาว 3–5 ซม. แกนกลางมีขนสั้น ดอกย่อยสีขาว ไม่มีก้านดอก กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันปลายแยกเป็นแฉกรูปคล้ายสามเหลี่ยมผลสดรูปกระสวยกว้างถึงเกือบกลม กว้าง 1.3–2.1 ซม. ยาว 2–3.6 ซม. ผิวเกลี้ยง มีสันมน 5–10 สัน (3)
การเพาะปลูก
การขยายพันธุ์สมอไทยมักใช้วิธีเพาะเมล็ด โดยนำผลแก่ที่ร่วงจากต้นมาตากแห้ง ซึ่งต้องใช้เวลานานพอสมควร เนื่องจากมีเนื้อผลที่ค่อนข้างหนาและแข็ง เมล็ดพันธุ์ที่แห้งแล้วสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 2 ปี โดยจะมีอัตราการงอกประมาณ 70-80% หากเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้นานกว่านี้เปอร์เซ็นต์การงอกอาจลดลงได้หลังจากผลสมอแห้งแล้วให้ลอกส่วนเนื้อผลออก ตัดส่วนปลายด้านทู่ของเมล็ด แล้วนำเมล็ดไปแช่น้ำนาน 36 ชม. หรือตัดเปลือกหุ้มเมล็ดให้แตก ซึ่งจะช่วยให้เมล็ดสามารถงอกได้ดีขึ้นหรือนำผลสุกที่มีสีเหลืองมาแช่น้ำให้เน่า โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ล้างส่วนเนื้อออกเอาแต่เมล็ด (6) จากนั้นจึงนำไปเพาะ โดยใช้ดินร่วนกลบหลังจากนำเมล็ดลงปลูกให้หนาประมาณ 1 ซม. เมื่อปลูกไปได้ประมาณ 3-4 สัปดาห์เมล็ดก็จะเริ่มงอก ให้ย้ายต้นกล้าที่มีความสูงประมาณ 5-7 ซม. ไปชำในแปลงต่อไป ไม่ควรปลูกโดยการหยอดผลลงดินเลย เพราะมีอัตราการงอกต่ำและอาจถูกสัตว์กัดกินเป็นอาหาร การย้ายกล้าลงแปลงปลูกให้ทำในฤดูฝนแรกหรือฤดูฝนในปีถัดไป ควรทำร่มเงาให้ต้นกล้าในระยะแรกหลังเพาะและหลังการย้ายปลูก
การขยายพันธุ์ด้วยวิธีตอนกิ่ง หรือวิธีปักชำได้ผลไม่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเพาะกล้า การปลูกในสภาพป่าควรทำการตัดถางให้เป็นช่องโล่งและหว่านเมล็ดเพิ่มเติมสมอไทยสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นดินทรายหรือดินเหนียว พื้นที่ที่เหมาะสมในการเพาะปลูกจะอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 2,000 ม. มีฝนตกเฉลี่ยปีละประมาณ 700-3,300 มม. สามารถเติบโตได้ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงถึง 45 oC และต่ำถึง 10-15 oC (4, 137)
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก
นิยมปลูกสมอไทยในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคมเตรียมดินโดยการขุดหลุมลึก 50ซม. กว้าง 50ซม. ยาว 50ซม.และรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยที่คอกคลุกเคล้ากับดินก้นหลุม นำต้นกล้าของสมอไทยที่มีอายุ 1-2 ปี ลงปลูก หลังจากกลบดินให้ผูกต้นกล้ากับหลักไม้เพื่อพยุงต้น และรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ
การปฏิบัติดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย: สมอไทยเป็นไม้ป่า จะให้ปุ๋ยเมื่อปลูกได้ 6 เดือน โดยจะใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็ได้ และควรใส่ปุ๋ยปีละ 1-2 ครั้ง
การให้น้ำ:ควรรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ แต่ถ้าปลูกในฤดูฝนสามารถปล่อยตามธรรมชาติได้
การกำจัดวัชพืช: ควรทำพร้อมกับการพรวนดินและใส่ปุ๋ย
การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรู: สมอไทยไม่ค่อยมีแมลงรบกวน อาจไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลง
การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว
สมอไทยจะเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 10 ปีขึ้นไป โดยจะเก็บผลในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคมเก็บโดยการใช้ไม้สอย หรือใช้แรงงานคนขึ้นสอยบนต้นให้ร่วงบนผ้าใบที่รองไว้ใต้ต้นแล้วเก็บรวมใส่กระสอบหลังได้ลูกสมอไทยมาแล้ว นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำตากแดดทันที หรืออบให้แห้ง หลังจากแห้งดีแล้วให้บรรจุลงถุง และเก็บไว้ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี (6)
สรรพคุณและการใช้สมุนไพรพื้นฐานตามภูมิปัญญาไทยด้านเครื่องสำอาง
ไม่มีข้อมูล
สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบ
ผลสมอไทยมีสารกลุ่มแทนนิน (tannins) เป็นองค์ประกอบสำคัญ นอกจากนี้ยังมีสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids), สารกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ (triterpenoids), สารกลุ่มแอนทราควิโนน (anthraquinones), สารกลุ่มสเตอรอล (sterols), สารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds), และสารกลุ่มซาโปนิน (saponins) (7-15)
สารกลุ่มแทนนิน (tannins) ได้แก่ chebulinic acid, chebulagic acid, neochebulinic acid, 1, 2, 3, 4, 6-penta-O-galloyl-β-D-glucose, 1,6-di-O-galloyl-β-D-glucose, flavogallonic acid,chebulanin, punicalin, corilagin, terchebin, tannic acid, punicalagin, terchebulin, casuarinin, terflavin A-D, 2,3,6-tri-O-galloyl-β-D-glucose
สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ได้แก่ quercetin, isoquercitin, rutin, luteolin
สารกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ (triterpenoids) ได้แก่ arjungenin, arjunglucoside I, arjunglucoside II, arjunic acid, arjunolic acid, arjunetin, bellericoside, chebuloside II, terminolic acid
สารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds) ได้แก่ protocatechuic acid, pyrogallol, methyl gallate,ethyl gallate, triethylchebulate, chebulic acid, gallic acid, ellagic acid
สารกลุ่มแอนทราควิโนน (anthraquinones) ได้แก่ sennoside A
สารกลุ่มสเตอรอล (sterols) ได้แก่ β-sitosterol
สารกลุ่มแทนนิน (tannins)
สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids)
สารกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ (triterpenoids)
สารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds)
สารกลุ่มแอนทราควิโนน (anthraquinones) สารกลุ่มสเตอรอล (sterols)
สารออกฤทธิ์ หรือ สารสำคัญ
- สารออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ pyrogallol (9),chebulagic acid (16-17), ethyl gallate, gallic acid (18), สาร sterols (19)
- สารออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ casuarinin, chebulanin, chebulinic acid, (12, 14), 1,6-Di-O-galloyl-β-D-glucose (12), 1,2,3,4,6-penta-O-galloyl-β-D-glucose (13), gallic acid, methyl gallate, corilagin, punicalagin, ellagic acid, flavogallonic acid (14), triethylchebulate (15), chebulic acid (20), chebulagic acid (21), โปรตีน TCP-III (22), สารโพลีแซคคาไรด์ TFP-a (23)
- สารออกฤทธิ์ชะลอวัยให้ผิวหนัง ได้แก่ 1,2,3,4,6-penta-O-galloyl-β-D-glucose (24)
- สารออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ ได้แก่ chebulagic acid (21), 1, 2, 3, 4, 6-penta-O-galloyl-β-D-glucose (10),chebulinic acid, 2,3,6-tri-O-galloyl-β-D-glucose, arjunic acid, arjunolic acid (11)
แนวทางการควบคุมคุณภาพ (วิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ)
ข้อกำหนดมาตรฐานของสมอไทยตามที่ระบุใน Thai Herbal Pharmacopoeia (8) มีรายละเอียดดังนี้
องค์ประกอบทางเคมี: ผลสมอไทยมีสารกลุ่มแทนนิน (tannins) ได้แก่ chebulinic acid, chebulic acid, tannic acid, gallic acid เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบ β-sitosterol, saponins, และน้ำมันระเหยยาก (fixed oil)
1. เอกลักษณ์ทางเคมี (Chemical identification)
1.1 การตรวจสอบเบื้องต้น
การตรวจสอบสารกลุ่มสเตียรอยด์ (steroids)
นำผงแห้งของผลสมอไทย 500 มก. มาสกัดด้วยวิธี reflux กับ chloroform 15 มล. นาน 15 นาที กรอง ระเหยตัวทำละลายออกจนแห้ง นำสารสกัดที่ได้มาละลายใน acetic anhydride 2 มล. ค่อย ๆ เติม sulfuric acid เพื่อให้เกิดเป็น 2 ชั้น ให้ผลเป็นบวกเมื่อเกิดวงแหวนสีน้ำตาลแดงและสารละลายชั้นบนเป็นสีเขียว
การตรวจสอบสารกลุ่มแทนนิน (tannins)
นำผงแห้งของผลสมอไทย 200 มก. มาเติมน้ำ 10 มล. และต้มบน water bath นาน 5 นาที กรอง นำสารสกัดที่ได้ 1 มล.มาเติม FeCl3 TS 2-3 หยด ให้ผลเป็นบวกเมื่อเกิดสารละลายสีน้ำเงินดำ
การตรวจสอบสารกลุ่มเอมีน/กรดอะมิโน (amines/amino acids)
นำผงแห้งของผลสมอไทย 500 มก. มาเติม ethanol 10 มล. และต้มบน water bath นาน 20 นาที กรอง นำสารสกัดที่ได้ 1 มล.มาเติม ninhydrin TS 0.5 มล. นำไปอุ่นบน water bath 2-3 นาที ให้ผลเป็นบวกเมื่อเกิดสารละลายสีม่วงแดง
การตรวจสอบสารกลุ่มซาโปนิน (saponins)
นำผงแห้งของผลสมอไทย 200 มก. มาสกัดด้วยวิธี reflux กับน้ำ 10 มล. นาน 5 นาที กรอง นำสารที่สกัดได้ 1 มล. ใส่ใน test tube เขย่า 2-3 นาที ให้ผลเป็นบวกเมื่อเกิดฟองที่คงตัวนาน 30 นาที
1.2 ตรวจสอบด้วยวิธี Thin-Layer chromatography (TLC)
เตรียมสารละลายตัวอย่างโดย นำผงแห้งของผลสมอไทย 100 มก. มาสกัดด้วยวิธี reflux กับน้ำ 5 มล. นาน 15 นาที กรอง ระเหยตัวทำละลายออกจนแห้ง นำสารที่สกัดได้มาละลายด้วยน้ำ 1 มล.
เตรียมสารละลายมาตรฐานโดย ละลาย gallic acid 2 มก. ใน 50% ethanol 1 มล.
TLC plate: silica gel GF254
Mobile phase: toluene : ethyl acetate : anhydrous formic acid (50 : 45 : 10)
ระยะทาง: mobile phase เคลื่อนที่จากจุดเริ่มต้นถึงจุดสิ้นสุด 12 ซม.
ปริมาณสาร: สารละลายตัวอย่าง 4 มคล. และสารละลายมาตรฐาน 2 มคล.
น้ำยาพ่น: anisaldehyde TS, potassium hexacyanoferrate (III) TS ตามด้วย FeCl3TS
Detector: UV-Vis spectrophotometer ความยาวคลื่น 254 และ 366 นาโนเมตร
ผลการตรวจสอบ:
การตรวจสอบด้วย UV254: เมื่อนำแผ่น TLC มาส่องภายใต้แสง UV254 พบจุดดำ (quenching) จำนวน 7 ตำแหน่ง ที่ค่า hRfเท่ากับ 4-5, 10-17 (ปรากฎหลังทิ้งไว้ 1 คืน), 17-22, 41-46, 47-50, 54-58, 59-64 ในขณะที่สารมาตรฐาน gallic acid พบจุดดำที่ค่า hRfเท่ากับ 47-50
การตรวจสอบด้วย UV366: หลังจากฉีดพ่นแผ่น TLC ด้วย anisaldehyde TS ให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 105 oC นาน 5 นาที และนำมาส่องภายใต้แสง UV366พบจุดเรืองแสงสีม่วงที่ค่า hRf เท่ากับ 2-4, 41-46, 47-50 และพบจุดเรืองแสงสีแดงที่ค่า hRfเท่ากับ 10-17 (ปรากฎหลังทิ้งไว้ 1 คืน) ในขณะที่สารมาตรฐาน gallic acid พบจุดเรืองแสงสีม่วงที่ค่า hRfเท่ากับ 47-50
การตรวจสอบด้วยแสงธรรมชาติ: หลังจากฉีดพ่นแผ่น TLC ด้วย potassium hexacyanoferrate (III) TS ตามด้วย FeCl3TS และสังเกตผลทันที พบจุดสีน้ำเงินที่ค่า hRf เท่ากับ5-7, 10-17 (ปรากฎหลังทิ้งไว้ 1 คืน), 41-46, 47-50, 59-64 และพบจุดสีขาวที่ค่า hRfเท่ากับ 50-53 ในขณะที่สารมาตรฐาน gallic acid พบจุดสีน้ำเงินที่ค่า hRf เท่ากับ 47-50
2. ปริมาณความชื้น (loss on drying)
ไม่เกินร้อยละ 11.0 โดยปริมาตรต่อน้ำหนัก หลังจากทำให้แห้งที่อุณหภูมิ 105 oC จนน้ำหนักคงที่ ตามวิธีที่ระบุใน Thai Herbal Pharmacopoeia
3. ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด (acid-insoluble ash)
ไม่เกินร้อยละ 0.6 โดยน้ำหนัก ตามวิธีที่ระบุใน Thai Herbal Pharmacopoeia
4. ปริมาณเถ้ารวม (total ash)
ไม่เกินร้อยละ 3.5 โดยน้ำหนัก ตามวิธีที่ระบุใน Thai Herbal Pharmacopoeia
5. ปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอล (ethanol-soluble extraction)
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20.0 โดยน้ำหนัก ตามวิธีที่ระบุใน Thai Herbal Pharmacopoeia
6. ปริมาณสารสกัดด้วย 70% เอทานอล (70% ethanol-soluble extraction)
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 29.0 โดยน้ำหนัก ตามวิธีที่ระบุใน Thai Herbal Pharmacopoeia
7. ปริมาณสารสกัดด้วยน้ำ (water-soluble extraction)
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 28.0 โดยน้ำหนัก ตามวิธีที่ระบุใน Thai Herbal Pharmacopoeia
8. ปริมาณสารแทนนิน (tannins content)
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 14.0 โดยน้ำหนัก ตามวิธีที่ระบุใน Thai Herbal Pharmacopoeia
9. ดัชนีการเกิดฟอง (foaming index)
ไม่น้อยกว่า 170 ตามวิธีที่ระบุใน Thai Herbal Pharmacopoeia
การตรวจสอบสารแทนนินด้วยวิธี Thin-layer chromatography (TLC)
นำผลสมอไทยมาบดเป็นผง ร่อนผ่านแร่งขนาด 40 mesh นำมา 1 ก. สกัดด้วย 80% ethanol 5 มล. โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (sonicator) นาน 15 นาที กรอง นำมาตรวจสอบด้วยวิธี TLC ซึ่งมีสภาวะที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ (7)
TLC plate: silica gel GF254
Mobile phase: toluene : ethyl acetate : formic acid : methanol (30 : 30 : 8 : 2)
ethyl acetate : formic acid : water (80 : 10 : 10)
Spray reagent: phosphomolybdic และ anisaldehyde/sulfuric acid
Reference standard: ellagic acid, gallic acid, protocatechuic acid
UV detector: UV ที่ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร และ UV ที่ความยาวคลื่น 365 นาโนเมตร
ผลการทดสอบ:
เมื่อ mobile phase คือ toluene : ethyl acetate : formic acid : methanol (30 : 30 : 8 : 2) พบว่า ผลสมอไทยให้แถบสารทั้งหมด 5 แถบ (hRf = 19, 29, 39, 52, 65) ซึ่งมีแถบสารหลัก 4 แถบ (hRf = 19, 29, 39, 65) แถบสารที่มีค่า hRf = 19, 29, 39 ให้ผล quenching เมื่อตรวจสอบภายใต้แสง UV ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร ให้แถบสีเทา-ดำเมื่อพ่นด้วยน้ำยาพ่น phosphomolybdic และสีม่วงแดงเมื่อพ่นด้วยน้ำยา anisaldehyde/sulfuric acid ซึ่งแถบเหล่านี้คือสาร ellagic acid, gallic acid, และ protocatechuic acid ตามลำดับ ส่วนสารที่มีค่า hRf = 65 คือสารที่ให้ผลบวกกับน้ำยาพ่น phosphomolybdic และ anisaldehyde/sulfuric acid
เมื่อ mobile phase คือ ethyl acetate : formic acid : water (80 : 10 : 10)พบว่า ผลสมอไทยประกอบด้วยแถบสารทั้งหมด 4 แถบ (hRf = 22, 47, 75, 81) ซึ่งแถบสารที่มีค่า hRf = 47, 75, 81ให้ผล quenching เมื่อตรวจสอบภายใต้แสง UV ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร ให้แถบสีเทา-ดำเมื่อพ่นด้วยน้ำยาพ่น phosphomolybdic และสีม่วงแดงเมื่อพ่นด้วยน้ำยา anisaldehyde/sulfuric acid ซึ่งแถบเหล่านี้คือสาร ellagic acid, gallic acid, และ protocatechuic acid ตามลำดับ ส่วนสารที่มีค่า hRf = 22 คือสารที่ quenching เมื่อตรวจสอบภายใต้แสง UV ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร ให้แถบสีเทา-ดำเมื่อพ่นด้วยน้ำยาพ่น phosphomolybdic และสีน้ำตาลเมื่อพ่นด้วยน้ำยา anisaldehyde/sulfuric acid
การวิเคราะห์สาร chebulagic acid ด้วยวิธี high performance liquid chromatography (HPLC)
นำผลสมอไทยแห้ง 5 ก. มาบด เติม ethanol 150 มล. สกัดด้วยวิธี reflux นาน 3 ชม. ทิ้งให้เย็น กรอง นำไปทำให้แห้งด้วยความเย็น (lyophilize) นำสารสกัดที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยเทคนิค HPLC ซึ่งมีสภาวะที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ (25)
Column: SymmetryPrepTM C18; 7.8 × 300 มม., i.d. 7 มคม.
Mobile phase: linear gradient โดยใช้สารละลายผสมระหว่าง aqueous 1%v/v formic acid (solvent A) และ acetonitrile (solvent B), เริ่มต้นด้วยที่ B เป็น 0% นาน 5 นาที และเพิ่ม B เป็น 30% ภายในเวลา 55 นาที และคงไว้ 10 นาที จากนั้นจึงกลับไปที่จุดเริ่มต้นใหม่ภายในเวลา 5 นาที
Flow rate: 1 มล./นาที
Detector: ไม่ระบุ
ผลการตรวจสอบ: พบ peak ของสาร chebulic acid ที่ retention time 43.761 นาที โดยสารสกัด ethanol ของผลสมอไทยมีปริมาณของสาร chebulic acid 8%
การวิเคราะห์สาร chebulagic acid ด้วยวิธี HPLC
นำผลแห้งของสมอไทยมาบดเป็นผงหยาบ ๆ นำผง 1 กก. มาแช่สกัดใน 50% methanol นาน 72 ชม. กรอง ระเหยตัวทำละลายออกจนได้สารสกัดกึ่งแข็ง (semisolid) นำสารสกัดที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยเทคนิค HPLC ซึ่งมีสภาวะที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ (26)
HPLC: RP-HPLC system (AGILENT 1200)
Column: C18 4.6 x 150มม.
Mobile phase: acetonitrile : phosphoric acid solution (pH 2.7) อัตราส่วน 80 : 20
Flow rate: 1มล./นาที
Detector: UV ความยาวคลื่น270นาโนเมตร
ผลการตรวจสอบ: พบปริมาณผลรวมของสาร chebulagic acid 10.2% w/w
การวิเคราะห์สาร corilagin, chebulagic acid และ chebulinic acid ด้วยวิธี HPLC
นำส่วนเนื้อผลแห้งของสมอไทยมาบดเป็นผงละเอียด สกัดด้วย 80% ethanol อัตราส่วน 1:5 โดยคนอย่างต่อเนื่องนาน 1 ชม. ที่อุณหภูมิ 80 oC ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator นำสารสกัดที่ได้ไปสกัดแยกส่วนต่อด้วย hexane, dichloromethane และ ethyl acetate โดยใช้ solvent fractionation techniques (ไม่ระบุรายละเอียดวิธีการ) ซึ่งจะได้สารสกัด HTF จากส่วนสกัด ethyl acetate นำมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิค HPLC ซึ่งมีสภาวะที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ (27)
Column: 18/ODS silica column (Phenomenex) 250 × 4.6มม.; 5มคม.
Mobile phase: น้ำ (ปรับ pH ให้เป็น 2.7ด้วย ortho-phosphoric acid) : acetonitrile (80:20)
Flow rate: 0.8มล./นาที
Injection volume: 20 มคล.
Detector: UV/PDA ความยาวคลื่น 216 นาโนเมตร
Reference standard: corilagin, chebulagic acid, และ chebulinic acid
ผลการตรวจสอบ: ค่า retention time ของ corilagin, chebulagic acid, และ chebulinic acid เท่ากับ 43.779, 58.964, และ 69.201 นาที ตามลำดับ ซึ่ง HTF มีสาร corilagin, chebulagic acid และ chebulinic acid เท่ากับ 1.63%, 4.95%, และ 1.45% ตามลำดับ
การแยกสาร chebulin จากเนื้อผลสมอไทย
นำเนื้อผลแห้งของสมอไทยมาบดให้เป็นผง นำผง 1 กก. มากำจัดไขมันออกด้วย petroleum ether ที่อุณหภูมิ 60-80 oC จากนั้นนำมาสกัดด้วย 80% ethanol โดยใช้วิธีให้ตัวทำละลายไหลผ่านผงสมุนไพรช้า ๆ (percolation) ระเหยตัวทำละลายออก นำสารสกัดที่ได้ไปกระจายตัวใน 95% ethanol 1.5 ล. เติมสารละลาย 60% potassium hydroxide เพื่อปรับค่า pH = 10 ทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 48 ชม. ทำให้สารสกัดที่ได้เจือจาง 4 เท่าด้วยน้ำ และสกัดซ้ำด้วย ether นำสารสกัด ether ที่ได้มาล้างด้วยน้ำ กำจัดน้ำออกด้วย anhydrous sodium sulphate และระเหยตัวทำละลายออก ซึ่งจะได้ crude chebulin นำไปผสมกับ animal charcoal และทำให้ตกผลึกด้วย 95% ethanol ซึ่งจะได้สาร chebulin 0.1% (28)
การแยกสาร chebulinic acid จากเนื้อผลสมอไทย
นำผงแห้งของส่วนเนื้อผลของสมอไทย 200 ก. มาสกัดด้วย acetone 2 ล. โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet (ไม่เกิน 8 รอบการ syphon) กรอง ระเหยตัวทำละลายออกจนเหลือสารสกัด 350 มล. ส่วนที่ไม่ละลายจะตกผลึกออกมา เก็บส่วนที่เป็นผลึก นำมาตกผลึกใหม่ด้วย acetone ซึ่งจะได้สาร chebulinic acid ที่เป็นผลึกรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด (29)
การแยกสาร chebulic acid ด้วยวิธี column chromatography
นำผลสมอไทยที่โตเต็มที่และแห้งมาบด สกัดด้วย 97% ethanol 2 ครั้ง รวมสารสกัดที่ได้ ทำให้แห้งด้วยความเย็น นำสารสกัดที่ได้มากระจายตัวในน้ำ นำไปสกัดด้วย n-hexane, chloroform, ethyl acetate, และn-butanol นำเฉพาะส่วนสกัด ethyl acetate มาแยกต่อด้วย column บรรจุ silica gel โดยล้าง(elute) column ด้วย ethyl acetate ที่ค่อย ๆ เพิ่มสัดส่วนของ methanol โดยสารสำคัญจะอยู่ในช่วง ของ ethyl acetate : methanol (70:30, v/v) นำสารสำคัญที่ได้ไปทำให้บริสุทธิ์ด้วย Sephadex™ LH-20 column chromatography โดยล้าง (elute) column ด้วย methanol ร่วมกับ PR-μ-BondaPak C18 (300 x 3.9มม., 10 มคม.) column chromatography ซึ่งจะทำให้ได้สาร chebulic acid (20)
การแยกสาร chebulagic acid, ellagic acid, gallic acid, และ tannic acid ด้วยวิธี Preparative high performance thin layer chromatography (HPTLC)
นำผลสมอไทยมาอบแห้งที่อุณหภูมิ 30oC บดให้ละเอียด นำผงสมอไทย 15 ก. มาสกัดด้วย methanol 150 มล. โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet นำสารสกัดที่ได้10 ก. มาละลายในน้ำ 200 มล. นำมาสกัดด้วย n-hexane, chloroform และ 1-butanol ระเหยตัวทำละลายออกด้วยการลดความดัน นำเฉพาะส่วนสกัด 1-butanol และส่วนที่ละลายน้ำมาแยกต่อด้วย HPTLC ซึ่งมีสภาวะที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ (16-17)
TLC plate: silica gel 60 F-254 ขนาด 10 x 20 ซม.
Mobile phase: ethyl formate : dichloromethane: acetic acid : formic acid (5:5:4:2) ใช้สำหรับการแยก chebulagic acid, ellagic acid และ gallic acid
Mobile phase: toluene : chloroform : methanol (4:4:1) ใช้สำหรับการแยก tannic acid
Derivatization: จุ่ม plate ใน ferric chloride reagent และให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 100oC นาน 3 นาที
Detector: UV-Vis spectrophotometer ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร
ผลการตรวจสอบ: สาร chebulagic acid, ellagic acid, gallic acid, และ tannic acid มีค่า Rf เท่ากับ 0.2, 0.33, 0.8, และ 0.43 ตามลำดับ พิสูจน์โครงสร้างสารด้วยเทคนิค nuclear magnetic resonance (NMR) spectroscopy
การแยกสาร1,2,3,4,6-penta-O-galloyl-β-D-glucose ด้วยวิธี column chromatography
นำผลแห้งของสมอไทย 1 ก. มาสกัดด้วย 80% methanol นำสารสกัดที่ได้มาระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator นำสารสกัด 17.5 ก. มาละลายในน้ำ นำมาแยกและทำให้บริสุทธิ์ด้วย column chromatography ซึ่งมีสภาวะที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ (13, 24)
Column: C-18; ความสูง35ซม., เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5ซม.
Mobile phase: เริ่มจากน้ำ 100%และค่อย ๆ เพิ่มสัดส่วนของ methanol จนเป็น methanol 100% ซึ่งสารสำคัญจะอยู่ในช่วงที่ elute ด้วย 60% methanol นำ fraction ในส่วนนี้มาแยกใน column อีกครั้ง
Column: LH-20; ความสูง50ซม., เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 ซม.
Mobile phase: 100% methanol ซึ่งจะสามารถแยก fraction ออกมาได้ 100 fractions (ไม่ระบุปริมาตรในการเก็บ fraction) โดยสารสำคัญจะอยู่ใน fraction ที่ 14 จากนั้นจึงนำ fraction ดังกล่าวมาแยกใน column อีกครั้ง
Column: LH-20; ความสูง50ซม., เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 ซม.
Mobile phase: 100% methanol ซึ่งสาร PGG จะอยู่ใน fraction ที่ 10 ซึ่งมีประมาณ 115 มก. (ไม่ระบุปริมาตรในการเก็บ fraction) ทำการพิสูจน์โครงสร้างสารด้วยเทคนิค NMR และ mass spectrometry (MS)
การแยกสาร ethyl gallate และ gallic acid ด้วยวิธี column chromatography
นำผงสมอไทย 5 กก. มาสกัดด้วย 50% ethanol 20 ล. โดยวิธี reflux นาน 2 ชม. ทำการสกัด 3 ครั้ง รวมสารสกัดที่ได้ ระเหยตัวทำละลายออกจนเหลือ 5 ล. นำมาสกัด 3 ครั้ง ด้วย diethyl ether 10 ล. และ n-butanol ที่อิ่มตัวด้วยน้ำ 10 ล. รวมสารสกัดแต่ละชั้น นำมาระเหยตัวทำละลายออก ซึ่งจะได้สารสกัด diethyl ether, สารสกัดn-butanol และสารสกัดน้ำ นำสารสกัด diethyl ether มาละลายใน ethanol นำมาแยกสารสำคัญด้วยเทคนิค column chromatography ซึ่งมีสภาวะที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ (18)
Column: silica gel (Wako gel, C-200); ความสูง 650 มม., เส้นผ่านศูนย์กลาง 50มม.
Mobile phase: n-hexane 5 ล., n-hexane-ethyl acetate อัตราส่วน 97:3, 10:1, 95:5 (20 ล.), 50:50 (5 ล.), ethyl acetate 5 ล., และ methanol 2.5 ล. (เก็บ fraction ครั้งละ 500 มล.) สารออกฤทธิ์จะอยู่ใน fractions ที่ 72-84 ทำการรวม fractions ซึ่งจะได้ fractions ที่ 72-73, 74, 75-78, 79-82, และ 83-84 ระเหยตัวทำละลายออก นำ fractions ที่รวมแล้วไปแยก column chromatography ซึ่งมีสภาวะที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ
Column:ODS-Q3 ขนาด 54 ก.; ความสูง 75 มม., เส้นผ่านศูนย์กลาง 40มม.
Mobile phase: methanol 50%, 80%, 100% (3 ล.) สารออกฤทธิ์จะอยู่ใน fraction ที่ elute ด้วย methanol 50% นำมาระเหยตัวทำละลายออกและทำให้สารบริสุทธิ์ด้วย HPLC ซึ่งมีสภาวะที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ
HPLC: Develosil ODS 10; ความยาว 250 มม., เส้นผ่านศูนย์กลาง 20มม.
Mobile phase: methanol 35% ซึ่งจะได้ TCe72-502, TCe74-503, TCe75-502, TCe79-502, และ TCe83-502 นำสารที่ได้มาทำให้สารบริสุทธิ์ด้วย HPLC ซึ่งมีสภาวะที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ
HPLC: Develosil ODS 5K; ความยาว 150 มม., เส้นผ่านศูนย์กลาง 4.6มม.
Mobile phase: methanol 35%
Detector: UV ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร
ผลการตรวจสอบ: จากผลการตรวจสอบทำให้สามารถรวมสาร TCe72-502 และ TCe74-503 เข้าด้วยกันเป็นสาร TCe-1 และรวมสาร TCe75-502, TCe79-502, และ TCe83-502 เข้าด้วยกันเป็นสาร TCe-2 นำสารที่แยกได้ไปพิสูจน์โครงสร้างสารด้วยวิธี NMR พบว่า TCe-1 และ TCe-2 คือสาร ethyl gallate และ gallic acid ตามลำดับ
การแยกสาร pyrogallol ด้วยวิธี 2D-chromatography
นำผลสมอไทยมาผึ่งให้แห้งในที่ร่ม บดเป็นผงละเอียด นำผง 20 ก. มาสกัดด้วย ethyl acetate โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet นาน 24 ชม. กรอง นำสารสกัดที่ได้มาแยกสารสำคัญด้วยวิธี 2D-chromatography ซึ่งมีสภาวะที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ (9)
TLC plate: silica gel coated plates ความหนา 0.2-0.3 มม.
Mobile phase: mixture ของ acetic acid : chloroform (1:9) และ ethyl acetate-benzene (9:11) และแยกด้วย cellulose MN300 ใน benzene-methanol : acetic acid (45:8:4) และ 6% aqueous acetic acid
ผลการตรวจสอบ: พบ 1 spot ที่ค่า Rf 0.8 ใน one direction และที่ค่า Rf 0.15 ใน second direction ซึ่งเป็นสาร pyrogallol แยกสารสกัดในปริมาณที่มากขึ้นด้วยเทคนิค preparative TLC โดยใช้ silica gel coated plates ความหนา 0.4-0.5 มม., รวบรวมสารที่ได้และ elute ด้วย ethyl acetate ระเหยตัวทำละลายออก นำไปทำให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิคโครมาโตกราฟฟี
การศึกษาทางคลินิก
1 การศึกษาเกี่ยวกับผิวหน้า
1.1 ฤทธิ์ช่วยให้ผิวหน้าขาวและชุ่มชื้น (F001) (F005)
การทดสอบทางคลินิกแบบปกปิดทางเดียว (single-blinded study) ในอาสาสมัครสุขภาพดีเพศชายจำนวน 11 ราย อายุเฉลี่ย 30 ปี โดยให้อาสาสมัครทาครีมที่มีส่วนผสมของสารสกัด methanol จากผลสมอไทย 5% (ไม่ระบุแหล่งที่มาและวิธีการสกัด,voucher specimen: Pharm 169/Apr. 2009) โดยอาสาสมัครจะทาครีมบริเวณแก้มทั้ง 2 ข้าง โดยข้างหนึ่งเป็นครีมที่มีส่วนผสมของสารสกัด methanol จากผลสมอไทย 5% และอีกข้างหนึ่งเป็นครีมที่ไม่มีสารสกัด (ไม่ระบุขนาดและวิธีการทา) ทำการทดสอบนาน 8 สัปดาห์ วัดอาการแดงและความเข้มของผิวหนัง (skin erythema and melanin) ด้วยเครื่อง Mexameter MPA 5,วัดความชุ่มชื้นของผิวหนัง (skin moisture) ด้วยเครื่อง Corneometer MPA 5, วัดความมันของผิวหนัง (skin sebum) ) ด้วยเครื่อง Sebumeter MPA 5,และวัดการสูญเสียน้ำจากผิวหนัง (Transepidermal Water Loss; TEWL) ที่เวลา 0 ชม. และหลังจากใช้สารทดสอบ 1, 2, 3, 4, 6, และ 8 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า ครีมที่มีส่วนผสมของสารสกัด methanol จากผลสมอไทย 5% ทำให้อาการแดงของผิวหนัง (skin erythema) ลดลง ปริมาณเม็ดสีลดลง ความชุ่มชื้นของผิวหนังเพิ่มขึ้น และการสูญเสียน้ำจากผิวหนังลดลง แสดงให้เห็นว่า ครีมที่มีสารสกัด methanol จากผลสมอไทย 5% อาจช่วยลดการอักเสบของผิวหน้า ช่วยให้ผิวหน้าขาวขึ้น และมีความชุ่มชื้นมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ครีมดังกล่าวอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีผิวมัน เนื่องจากทำให้การหลั่ง sebum จากผิวหนังเพิ่มขึ้น (30)
1.2 ฤทธิ์ช่วยให้ผิวหน้าอ่อนเยาว์ (F008)
การทดสอบทางคลินิกแบบปกปิด (blind clinical study) ในอาสาสมัครเพศหญิง อายุ 40-65 ปี และมีภาวะผิวหนังถูกทำลายจากแสงแดด (photo-aged) จำนวน 17 ราย โดยอาสาสมัครจะได้รับครีมที่มีสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทย (Synastol® TC, บริษัทSytheon) เป็นส่วนประกอบ 1%w/w โดยอาสาสมัครจะทาครีมทั่วใบหน้าวันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ เปรียบเทียบผลก่อนและหลังใช้ โดยทำการประเมินริ้วรอย (fine lines/wrinkles), ความหยาบและความแห้งกร้าน (roughness and dryness), สีผิว (skin tone), ความยืดหยุ่นและความกระชับของผิว (skin elasticity and firmness), ความเปล่งปลั่งสดใส (radiance and brightening), และลักษณะผิวรอบดวงตา (overall eye area appearance) ด้วยเครื่อง profilometer (silicone profilometry) และบันทึกภาพ high resolution ด้วยกล้องดิจิตอลความละเอียดสูง(10-megapixel, กำลังขยาย 6 เท่า) ซึ่งพบว่าสภาพผิวโดยรวมของอาสาสมัครเริ่มดีขึ้นหลังการใช้ 4 สัปดาห์ และดีขึ้นอย่างชัดเจนหลังการใช้ 8 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการทดลอง 12 สัปดาห์ สภาพผิวของอาสาสมัครยังคงดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในส่วนของริ้วรอย สีผิว ความยืดหยุ่น และความกระชับของผิวโดยร่องลึกของผิว (wrinkle depth) ที่ระยะเวลา 4, 8, และ 12 สัปดาห์ ลดลง 9%, 15%, และ 21% ตามลำดับ และความหยาบกร้าน (skin roughness) ลดลง 14%, 16%, และ 24% ตามลำดับ (31)
การทดสอบทางคลินิกแบบมีการสุ่ม ปกปิดสองทาง มียาหลอกเป็นกลุ่มควบคุม และทำการศึกษานาน 8 สัปดาห์ (randomized, double-blinded, placebo controlled 8-week study) ในอาสาสมัครสุขภาพดีเพศหญิง อายุ 35-50 ปี จำนวน 52ราย โดยสุ่มแยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน กลุ่มที่ 1 ได้รับยาหลอก และกลุ่มที่ 2 จะได้รับยาเตรียมชนิด oil-in-water ที่มีสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทย (Synastol® TC, บริษัทSytheon) เป็นส่วนประกอบ 1%w/wโดยอาสาสมัครจะทาสารทดสอบทั่วใบหน้าบาง ๆ วันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) เป็นเวลานาน 8 สัปดาห์ ทำการประเมินสภาพผิว (facial skin appearance) ได้แก่ ความละเอียด (skin texture), ความกระชับ (skin firmness), ความชุ่มชื้น (skin hydration), ความสม่ำเสมอของสีผิว (skin even tone) และความกระจ่างใส (skin radiance) ของผิวหน้า ในสัปดาห์ที่ 2, 4, และ 8 พบว่า กลุ่มที่ได้รับยาเตรียมที่มีสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทย 1%w/wมีสภาพผิวโดยรวมทั้งหมดดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก และไม่เกิดอาการข้างเคียงใด ๆ โดยเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 ของการใช้ และให้ผลดีอย่างต่อเนื่องจนจบการทดสอบ ผลสำรวจจากการตอบแบบสอบถามความเห็น (agree/disagree questions)ของการใช้ยาเตรียมที่มีสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทย 1% ของอาสาสมัคร 80% ให้ความเห็นดังนี้ 85% คิดว่าทำให้ผิวกระชับขึ้น, 92% คิดว่าทำให้ผิวตึงและดูอ่อนเยาว์ขึ้น, 81% คิดว่าทำให้สีผิวดูสม่ำเสมอขึ้น, 81% คิดว่าทำให้ผิวดูสว่างขึ้น, และ 92% คิดว่าทำให้ผิวดูกระจ่างใสขึ้น (32)
2 การศึกษาเกี่ยวกับริมฝีปากและช่องปาก
2.1 ฤทธิ์ต้านเชื้อในช่องปาก (L001)
การทดสอบทางคลินิกในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 3 รายโดยให้ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) ซึ่งสกัดโดยนำผลสมอไทยที่โตเต็มที่และแห้ง 400 ก. มาใส่ในขวดก้นกลม เติมน้ำกลั่นปริมาตร 10 เท่า เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4oC นาน 72 ชม. กรอง ระเหยน้ำออกที่อุณหภูมิ 40 oC นำสารสกัดที่ได้มากระจายตัวใน 20% polyethylene glycol400และปรับปริมาตรด้วยน้ำ จนได้ความเข้มข้นสุดท้าย 10%w/v ทำการเก็บตัวอย่างน้ำลายของอาสาสมัครเพื่อนำไปเพาะเชื้อก่อนการทดสอบ หลังจากนั้น 15 นาที ให้อาสาสมัครจะกลั้วปากด้วยสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยความเข้มข้น 10%w/v ปริมาตร 10 มล. นาน 1 นาที และทำการเก็บตัวอย่างน้ำลายของอาสาสมัครมาเพาะเชื้อหลังจากนั้นที่เวลา 10 นาที, 1 ชม., และ 3 ชม. พบว่าจำนวนผลรวมเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก (total salivary bacterial count) ลดลง 62.1%, 54.6%, และ 49.8% ตามลำดับ และจำนวนผลรวมเชื้อแบคทีเรียชนิด streptococcal ในช่องปาก (total salivary streptococcal count) ลดลง 64.3%, 58.6%, และ 56.8% ตามลำดับ (33)
การทดสอบทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงโรคฟันผุสูงจำนวน 50 ราย โดยให้ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำจากผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) ซึ่งสกัดโดยนำผลสมอไทยที่โตเต็มที่และแห้งมาบดละเอียด ใส่ในขวดก้นกลม เติมน้ำกลั่นปริมาตร 10 เท่า เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4oC นาน 72 ชม. กรอง ระเหยน้ำออกที่อุณหภูมิ 40 oC นำสารสกัดที่ได้มากระจายตัวใน 20% polyethylene glycol และปรับปริมาตรด้วยน้ำ จนได้ความเข้มข้นสุดท้าย 10%w/v ทำการเก็บตัวอย่างน้ำลายเพื่อวิเคราะห์ค่า pH, buffering capacity, และจำนวนจุลชีพ หลังจากนั้นผู้ป่วยจะกลั้วปากด้วยสารสกัดน้ำจากผลสมอไทย (ไม่ระบุปริมาตร) และอมไว้นาน 40 วินาที แล้วจึงบ้วนทิ้ง ทำการเก็บตัวอย่างน้ำลายที่เวลา 10, 30, 60, และ 90 นาทีหลังบ้วนปาก โดยผู้ป่วยจะไม่ได้รับอนุญาตให้บ้วนปากด้วยน้ำ หรือรับประทานอะไรเป็นเวลานาน 90 นาที ทำการวิเคราะห์ค่า pH และ buffering capacity ของน้ำลายที่เวลา 10-90 นาที และวิเคราะห์จำนวนจุลชีพที่เวลา 90 นาที พบว่าค่า pH ของน้ำลายที่เวลาเริ่มต้นคือ 6.42 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 7.43 ที่เวลา 30 นาที จากนั้นจะลงลดเป็น 6.84 ที่เวลา 90 นาที ในขณะที่ค่า buffering capacity (ไม่ระบุค่าเริ่มต้น) เพิ่มขึ้นเป็น 10 ที่เวลา 30 นาที จากนั้นจะลดเป็น 7.42 ที่เวลา 90 นาที ส่วนจำนวนจุลชีพที่เวลา 90 นาที (ไม่ระบุค่าเริ่มต้น) พบว่ามีจำนวนของแบคทีเรียชนิด Streptococcus mutans และ Lactobacilli ลดลง 65% และ 71% ตามลำดับ (34)
การทดสอบทางคลินิกแบบปกปิดสามทางและมีการสุ่ม (triple blind randomized field trial) ในเด็กนักเรียนอายุ 12-15 ปี จำนวน 60 ราย (เพศชาย 36 คน และเพศหญิง 24 คน) มีดัชนี Decayed Missed Filled Teeth (DMFT) อยู่ในช่วง 3-6, ค่า plaque scores ระดับพอใช้ (ประเมินด้วย Silness and Loe plaque index), และค่า gingival scores ระดับปานกลาง (ประเมินด้วย Loe and Silness gingival index) โดยให้ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัด 70% ethanol จากผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มา, voucher specimen: RLSI/BOT/Consul-65) ซึ่งสกัดโดยนำผลแห้งของสมอไทยมาบดหยาบ ๆ สกัดด้วย 70% ethanol (อัตราส่วน 1:6) โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet ระเหยตัวทำละลายออก จากนั้นจึงนำมาเตรียมเป็นน้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัด 70% ethanol จากผลสมอไทยเป็นส่วนประกอบ 2.5% และมีส่วนประกอบอื่น ๆ คือน้ำกลั่น, sodium carboxymethyl cellulose (สารเพิ่มความหนืด), methyl paraben (สารกันบูด), และ mannitol (สารแต่งรส)อาสาสมัครจะไม่ได้รับอนุญาตให้รับประทานอะไรยกเว้นน้ำเปล่าก่อนการเก็บตัวอย่างน้ำลาย 2 ชม. หลังจากเก็บตัวอย่างน้ำลายแล้ว จะสุ่มแยกอาสาสมัครเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 ราย กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ได้รับน้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีสารสกัด และกลุ่มที่ 2 ได้รับน้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัด 70% ethanol จากผลสมอไทยโดยอาสาสมัครจะกลั้วปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก 5 มล. นาน 1 นาที แล้วบ้วนทิ้ง หลังจากนั้นจึงเก็บตัวอย่างน้ำลายอีกครั้งที่เวลา 5 และ 60 นาที พบว่า กลุ่มที่กลั้วปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัด 70% ethanol จากผลสมอไทยมีปริมาณของ S. mutans colony forming ในน้ำลายที่เวลา 5 และ 60 นาที ลดลง 44.42% และ 64.14% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับก่อนกลั้วปาก และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเวลา 5 และ 60 นาที พบว่ามีปริมาณเชื้อลดลง 35.4% ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีปริมาณเชื้อไม่แตกต่างกันทั้งก่อนและหลังกลั้วปาก แสดงให้เห็นว่า น้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัด 70% ethanol จากผลสมอไทยสามารถลดปริมาณเชื้อในช่องปากได้ (35)
การทดสอบทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงโรคฟันผุสูงจำนวน 30 ราย โดยให้ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำจากผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) ซึ่งสกัดโดยนำผลสมอไทยที่โตเต็มที่และแห้งมาบดละเอียด ใส่ในขวดก้นกลม เติมน้ำกลั่นปริมาตร 10 เท่า เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4oC นาน 72 ชม. กรอง ระเหยน้ำออกที่อุณหภูมิ 40 oC นำสารสกัดที่ได้มากระจายตัวใน polyethylene glycol และปรับปริมาตรด้วยน้ำ จนได้ความเข้มข้นสุดท้าย 20%w/v ทำการเก็บตัวอย่างน้ำลายเพื่อวิเคราะห์ค่า pH, buffering capacity, และจำนวนจุลชีพ(pre-rinse) สุ่มแยกผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 ราย กลุ่มที่ 1 กลั้วปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำจากผลสมอไทย (ไม่ระบุปริมาตร) กลุ่มที่ 2 กลั้วปากด้วยน้ำยาบ้วนปากมาตรฐาน 0.2% chlorhexidine (ไม่ระบุปริมาตร) ใช้เวลาในการกลั้ว 40 วินาที แล้วจึงบ้วนทิ้งทำการเก็บตัวอย่างน้ำลายที่เวลา 10, 30, 60, และ 90 นาที หลังบ้วนปาก (post-rinse) โดยในระหว่างนี้ผู้ป่วยจะไม่ได้รับอนุญาตให้รับประทานอะไรเป็นเวลานาน 90 นาทีทำการวิเคราะห์ค่า pH และ buffering capacity ของน้ำลายที่เวลา 10-90 นาที และวิเคราะห์จำนวนจุลชีพที่เวลา 90 นาที พบว่ากลุ่มที่ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยมีค่า pH ของน้ำลายที่เวลา 0 (pre-rinse) และหลังบ้วนปากที่เวลา 10, 30, 60, และ 90 นาที เท่ากับ 5.83, 6.93, 6.84, 6.54, และ 6.36 ตามลำดับ มีค่า buffering capacity ของน้ำลายเท่ากับ 7.21, 10.27, 9.87, 8.93, และ 8.23 ตามลำดับ กลุ่มที่ใช้น้ำยาบ้วนปาก chlorhexidine มีค่า pH เท่ากับ 5.64, 6.58, 6.77, 6.82, และ 6.88 ตามลำดับ มีค่า buffering capacity ของน้ำลายเท่ากับ 7.20, 11.33, 11.86, 11.20, และ 10.53 ตามลำดับ ผลการเพาะเชื้อในน้ำลายที่เวลา 90 นาที พบว่ากลุ่มที่ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยมีจำนวนของแบคทีเรียชนิด S. mutans และ Lactobacilli ลดลง 67.8% และ 71.7% ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มที่ใช้น้ำยาบ้วนปาก chlorhexidine มีจำนวนของแบคทีเรียดังกล่าวลดลง 65.0% และ 64.0% ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับ pre-rinse (36)
การทดสอบทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงโรคฟันผุจำนวน 20 ราย โดยให้ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำจากผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) ซึ่งสกัดโดยนำผลสมอไทยที่โตเต็มที่และแห้งมาบดละเอียด นำผง 10 ก. มาแช่ในน้ำร้อนอุณหภูมิ 100 oC บน water bath และคนเป็นครั้งคราว นาน 30 นาทีจากนั้นตั้งทิ้งไว้ 24 ชม. กรอง ระเหยน้ำออก นำสารสกัดที่ได้ไปผ่านรังสี UV นาน 24 ชม. เพื่อฆ่าเชื้อ จากนั้นนำมาเตรียมเป็นน้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดความเข้มข้น 10%w/v โดยผู้ป่วยจะไม่ได้รับอนุญาตให้รับประทานอะไรก่อนการทดสอบอย่างน้อย 2 ชม. ทำการเก็บตัวอย่างน้ำลาย (pre-rinse) จากนั้นจึงให้ผู้ป่วยกลั้วปากด้วยน้ำยาบ้วนปากและอมไว้นาน 15, 30, 45, และ 60 วินาที ทำการเก็บตัวอย่างน้ำลายที่เวลา 15, 30, 45, และ 60 นาที หลังบ้วนปาก (post-rinse) นำไปวิเคราะห์ค่า pH ด้วย chair-side kit และนำตัวอย่างน้ำลายที่เวลา 60 นาที ไปเพาะเชื้อด้วยวิธี Kirby Boaver technique เปรียบเทียบกับ pre-rinse พบว่าการใช้ยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำจากผลสมอไทย 10%w/v ทำให้ค่า pH ของน้ำลายเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่าง pre-rinse และ post-rinse โดยค่า pH ที่เวลา 0 (pre-rinse), 15, 30, 45, และ 60 นาที (post-rinse) เท่ากับ 6.42, 7.33, 7.38, 7.10, และ 6.72 ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นว่าค่า pH จะเพิ่มขึ้นจนกระทั่งเวลา 45 นาที และจะเริ่มลดลง (ระยะเวลาที่ใช้ในการกลั้วไม่มีผลต่อค่า pH) ผลการเพาะเชื้อจากน้ำลาย post-rinse 60 นาที พบว่าเชื้อ S. mutans, LactobacillusและCandida albicans ลดลง 50.71%, 74.81%, และ 68.57% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับ pre-rinse (37)
การทดสอบทางคลินิกแบบปกปิดสองทาง มีการสุ่ม และมีกลุ่มควบคุม (double blind, randomized, controlled study) ในอาสาสมัครสุขภาพดี อายุ 19-25 ปี แปรงฟันวันละ 1 ครั้ง มีค่า plaque score >1.5 และมีดัชนี Decayed Missed Filled Teeth (DMFT) อยู่ในช่วง 3-5 จำนวน 78 คน (เพศหญิง 39 ราย และเพศชาย 39 ราย) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: #112) ซึ่งสกัดโดยนำผลสมอไทยที่โตเต็มที่ 400 ก. ใส่ในขวดก้นกลม เติมน้ำกลั่นปริมาตร 10 เท่า เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4 oC นาน 72 ชม. กรอง ระเหยน้ำออกที่อุณหภูมิ 40 oC นำสารสกัดที่ได้มากระจายตัวใน 20% polyethylene glycol 400 และปรับปริมาตรด้วยน้ำ จนได้ความเข้มข้นสุดท้าย 10%w/v (การวิเคราะห์ทางเคมีพบว่าสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยมีปริมาณสารแทนนินเทียบเท่า gallic acid 32-34%)สุ่มแยกอาสาสมัครเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 26 ราย กลุ่มที่ 1 ได้รับน้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำจากผลสมอไทย 10%w/v กลุ่มที่ 2 ได้รับน้ำยาบ้วนปากมาตรฐาน 0.12% chlorhexidine และกลุ่มที่ 3 ได้รับน้ำเกลือ (saline water) โดยอาสาสมัครจะกลั้วปากด้วยสารทดสอบครั้งละ 10 มล. นาน 60 วินาที วันละ 2 ครั้ง (หลังรับประทานอาหารเช้าและอาหารกลางวัน) นาน 14 วัน ทำการวิเคราะห์การเกิดคราบฟัน (plaque) ด้วย Quigley–Hein plaque index และภาวะเหงือกอักเสบ (gingivitis) ด้วย Gingival index of Loe & Silness ที่เวลา 0 (ก่อนได้รับสารทดสอบ), 7, และ 14 วัน และวัดค่า pH ของน้ำลายด้วยเครื่อง pH meter ที่เวลา 2 ชม. หลังรับประทานอาหารเช้า, ก่อนบ้วนปากด้วยสารทดสอบ, และหลังบ้วนปากด้วยสารทดสอบ 15 นาที เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า กลุ่มที่ได้รับน้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยและน้ำยาบ้วนปาก chlorhexidine มีการเกิดคราบฟันและภาวะเหงือกอักเสบลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และทั้ง 2 กลุ่มให้ผลไม่แตกต่างกัน ส่วนกลุ่มที่ได้รับน้ำเกลือมีการเกิดคราบฟันมากขึ้น แต่ไม่มีผลต่อภาวะเหงือกอักเสบการวัดค่า pH พบว่า น้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยทำให้ค่า pH ของน้ำลายเพิ่มขึ้น โดยค่า pH เฉลี่ยก่อนการบ้วนปากและหลังบ้วนปาก 15 นาที เท่ากับ 6.63 และ 7.73 ตามลำดับ (38)
การทดสอบทางคลินิกแบบปกปิดทางเดียวและมีการสุ่ม (single-blinded randomized control trial) ในเด็กนักเรียนอายุ 8-21 ปี ที่มีความเสี่ยงโรคฟันผุสูงจำนวน 60 ราย โดยให้ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำจากผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) ซึ่งสกัดด้วยน้ำเย็น (cold aqueous extract) และน้ำร้อน (hot aqueous extract) ซึ่งการสกัดด้วยน้ำเย็นเตรียมได้โดยนำผลสมอไทยที่โตเต็มที่และแห้งมาบดละเอียด นำผง 400 ก. มาใส่ในขวดก้นกลม เติมน้ำกลั่นปริมาตร 10 เท่า เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4oC นาน 72 ชม. กรอง ระเหยน้ำออกที่อุณหภูมิ 40 oC นำสารสกัดที่ได้มากระจายตัวใน 20% polyethylene glycol 400 และปรับปริมาตรด้วยน้ำ จนได้ความเข้มข้นสุดท้าย 10%w/v ส่วนการสกัดด้วยน้ำร้อนเตรียมได้โดยนำผงสมอไทยมาต้มกับน้ำเดือดจนกระทั่งได้สารสกัดความเข้มข้น 10%w/v ทำการเก็บตัวอย่างน้ำลายเพื่อวิเคราะห์ค่า pH และจำนวนจุลชีพ (pre-rinse) หลังจากนั้น 10 นาที สุ่มแยกอาสาสมัครเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 20 ราย กลุ่มที่ 1 ได้รับน้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำเย็น กลุ่มที่ 2 ได้รับน้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำร้อน และกลุ่มที่ 3 ได้รับน้ำกลั่น โดยอาสาสมัครจะกลั้วปากด้วยสารทดสอบ 5 มล. นาน 1 นาที แล้วบ้วนทิ้ง ทำการเก็บตัวอย่างน้ำลายที่เวลา 10, 60, และ 90 นาที หลังบ้วนปาก (post-rinse) จากผลการทดลองพบว่า น้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำเย็นและสารสกัดน้ำร้อนของผลสมอไทยทำให้ค่า pH ของน้ำลายเพิ่มขึ้น โดยมีค่า pH เริ่มต้น (pre-rinse) เท่ากับ 6.65 และ 6.50 ตามลำดับ และมีค่า pH ที่เวลา 90 นาที เท่ากับ 7.80 และ 7.35 ตามลำดับ และมีค่า pH มากกว่ากลุ่มที่กลั้วปากด้วยน้ำกลั่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ผลการเพาะเชื้อจากน้ำลายพบว่า น้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำเย็นและสารสกัดน้ำร้อนของผลสมอไทยทำให้จำนวนเชื้อ S. mutansลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่กลั้วปากด้วยน้ำกลั่น และสารสกัดทั้ง 2 ชนิดให้ผลไม่แตกต่างกัน (39)
การทดสอบทางคลินิกแบบปกปิดสองทางและมีการไขว้กลุ่ม (double-blind, linear cross over, within group experimental trial) ในอาสาสมัครที่มีฟันผุ อายุ 15-40 ปี จำนวน 37 ราย โดยให้ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำจากผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) ซึ่งสกัดโดยนำผลสมอไทยที่โตเต็มที่และแห้งมาบดละเอียด เติมน้ำเกลือ (normal saline) และต้มเดือดนาน 10 นาที ทิ้งไว้ให้เย็น กรอง เก็บตัวอย่างน้ำลายก่อนได้รับสารทดสอบ จากนั้นอาสาสมัครจะกลั้วปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำจากผลสมอไทย 10% w/v ขนาด 15 มล. นาน 1 นาที แล้วบ้วนทิ้ง เก็บตัวอย่างน้ำลายหลังบ้วนปากที่เวลา 5 และ 60 นาที ผลการเพาะเชื้อจากน้ำลายพบว่า การกลั้วปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำจากผลสมอไทย 10% w/v ทำให้ปริมาณเชื้อแบคทีเรีย S. mutans ลดลง 44.73% และ 46.08% ที่เวลา 5 และ 60 นาทีตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ย Colony Forming Unit (CFU) ของ S. mutans ก่อนกลั้วปาก, หลังกลั้วปาก 5 และ 60 นาที เท่ากับ 162.70, 117.97, และ 116.62 ตามลำดับ (40)
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
1 การศึกษาเกี่ยวกับผิวกาย
1.1 ฤทธิ์ช่วยให้ผิวขาว (S001)
การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสี (melanin) ของผลสมอไทยจากประเทศจีน (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทย 20 ก. มาสกัดด้วย ethyl ether 150 มล. ที่อุณหภูมิห้อง (20 oC) นาน 16 ชม. กรอง ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator นำสารสกัดแห้งที่ได้ 3.1 ก. ไปละลายใน n-hexane 50 มล. เติม methanol ปริมาตรเท่ากันลงไป ทำการสกัดแยกส่วน ซึ่งจะได้ส่วนสกัดในชั้นของ n-hexane และส่วนสกัดในชั้นของ methanol นำเฉพาะส่วนสกัดในชั้นของ methanolมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีในเซลล์ B16 melanoma (ATCC CRL-6475) พบว่า ส่วนสกัดmethanol ความเข้มข้น 100 ppm สามารถยับยั้งการสร้างเม็ดสีได้มากกว่า 90% ในขณะที่สารมาตรฐาน arbutin ความเข้มข้น 10 ppm สามารถยับยั้งได้ 45.6% (41)
การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ tyrosinaseของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและvoucher specimen) โดยนำผลสมอไทยแห้ง 500 ก. มาสกัดด้วย methanol โดยใช้วิธีให้ตัวทำละลายไหลผ่านผงสมุนไพรช้า ๆ (percolation) นาน 48 ชม. ที่อุณหภูมิห้อง กรอง และนำสารสกัดที่ได้ไปทำให้แห้งด้วยเครื่อง freeze dryerนำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinaseด้วยวิธีenzymatic assay พบว่า สารสกัด methanolของผลสมอไทยความเข้มข้น 50 มคก./มล. สามารถยับยั้งกระบวนการ hydroxylation ของ L-tyrosine ได้ 82.2% ในขณะที่สารมาตรฐาน kojic acid ความเข้มข้น 50 มคก./มล. ยับยั้งได้ 93.51% และสารสกัด methanolของผลสมอไทยความเข้มข้น 250 มคก./มล. สามารถยับยั้งกระบวนการ oxidation ของ L-DOPA ได้มากกว่า 70%ในขณะที่สาร kojic acid ความเข้มข้น 250 มคก./มล. ยับยั้งได้ 69.39%(42)
การทดสอบฤทธิ์ช่วยให้ผิวขาวของผลสมอไทยจากประเทศไต้หวัน(ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยแห้ง 5 ก. มาบด เติม ethanol 150 มล. สกัดด้วยวิธี reflux นาน 3 ชม. ทิ้งให้เย็น กรอง นำไปทำให้แห้งด้วยความเย็นจากนั้นจึงนำมาทดสอบด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสี (melanin) ในเซลล์ B16F10 melanoma โดยบ่มเซลล์ร่วมกับสารสกัด ethanol ความเข้มข้น 10-100 มคก./มล. นาน 4 ชม. จากนั้นเซลล์จะถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) ด้วยรังสี UVA ความยาวคลื่น 352 นาโนเมตร (960 จูล/ตร.ม., 1.7 W/ตร.ม.) นาน 564 วินาที พบว่า สารสกัด ethanol ความเข้มข้นต่ำกว่า 25 มคก./มล. ทำให้ปริมาณเม็ดสีที่เพิ่มขึ้นจากการฉายรังสี UVA ลดลง ในขณะที่เข้มข้นมากกว่า50 มคก./มล. ขึ้นไป กลับทำให้ปริมาณเม็ดสียิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเซลล์ที่ได้รับการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว
การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีและฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ในเซลล์ B16/F10 melanoma ซึ่งถูกเหนี่ยวนำด้วยα-melanocyte stimulating hormone (α-MSH) โดยบ่มเซลล์ร่วมกับสารสกัด ethanol ความเข้มข้น 1-10มคก./มล. และเติม α-MSH ความเข้มข้น 100 ไมโครโมลาร์ บ่มนาน 3 วัน พบว่า สารสกัด ethanol ความเข้มข้น 1, 5, และ 10 มคก./มล. ทำให้ปริมาณเม็ดสีในเซลล์ลดลงเหลือ 31.0, 23.6, และ21.9มคก./มก.โปรตีน ตามลำดับ และสารสกัด ethanol ความเข้มข้น 10 มคก./มล. สามารถออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด โดยยับยั้งการสร้างเม็ดสีและยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ tyrosinase ได้65.6%และ 67.3% ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน arbutin ความเข้มข้น 50 ไมโครโมลาร์ สามารถยับยั้งได้ 50.7% และ 73.4%ตามลำดับ (25)
การทดสอบฤทธิ์ช่วยให้ผิวขาวของผลสมอไทย(ไม่ระบุแหล่งที่มาและvoucher specimen) โดยนำผลสมอไทย 500 ก. มาสกัดด้วย 80% methanol โดยใช้วิธีให้ตัวทำละลายไหลผ่านผงสมุนไพรช้า ๆ (percolation) ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่องrotary evaporator และทำให้แห้งด้วยการอบที่อุณหภูมิ 40 oC นำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีในเซลล์ B16/F10 melanoma โดยนำเซลล์มาบ่มร่วมกับสารสกัด 80% methanol ความเข้มข้น 10, 50, และ100 มคก./มล. นาน 48 ชม. พบว่าสารสกัด 80% methanolทำให้ปริมาณเม็ดสีในเซลล์ลดลงเหลือ 89.56%, 77.1% และ55.18% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ในขณะที่สารมาตรฐาน kojic acid ความเข้มข้น 100 มคก./มล. ทำให้ปริมาณเม็ดสีในเซลล์ลดลงเหลือ 56.63% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ในเซลล์ B16/F10 melanoma โดนบ่มเซลล์ร่วมกับสารสกัด 80% methanol ความเข้มข้น 10-1,000 มคก./มล. นาน 24 ชม. พบว่า สารสกัด 80% methanol ความเข้มข้น 100-1,000 มคก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase โดยความเข้มข้น 1,000 มคก./มล. ออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด คือยับยั้งได้ 51.4% แต่ที่ความเข้มข้นดังกล่าวมีความเป็นพิษต่อเซลล์ ในขณะที่สารมาตรฐาน kojic acid ความเข้มข้น 100 มคก./มล. ยับยั้งได้ 44.7% (43)
การทดสอบฤทธิ์ช่วยให้ผิวขาวของผลสมอไทยจากบริษัทMaharishi Ayurveda Product Italy (voucher specimen: #MAPL 2104) โดยนำผงแห้งของเนื้อผลของสมอไทย 30 ก. มาสกัดด้วย 50% methanol 1.5 มล. ด้วยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (sonication) นาน 30 นาที นำสารสกัดที่ได้มาปั่นด้วยเครื่อง centrifuge (ไม่ระบุความเร็ว) นาน 20 นาที เก็บส่วนใส ระเหยตัวทำละลายจนแห้ง นำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ด้วยวิธี tyrosinase inhibitory assay โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 50 มคก./มล. พบว่า สารสกัด 50% methanolของผลสมอไทยสามารถยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ได้ 18% (44)
1.2 ฤทธิ์ต้านเชื้อที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดสิว (S005)
การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Propionibacterium acnes ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดสิวของสารสำคัญและสารสกัด methanol ของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: ZPS-1154) โดยนำผลสมอไทยมาอบแห้งที่อุณหภูมิ 30 oC บดให้ละเอียด นำผงสมอไทย 15 ก.มาสกัดด้วย methanol 150 มล. โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet นำสารสกัดที่ได้มาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ P. acnes ด้วยวิธี cup plate diffusion method โดยใช้ความเข้มข้น 5 มก./มล. จากนั้นนำสารสกัด methanol 10 ก. มาละลายในน้ำ 200 มล. สกัดด้วย n-hexane, chloroform และ1-butanol นำส่วนสกัดที่ได้ไประเหยตัวทำละลายออกด้วยการลดความดัน นำส่วนสกัดทั้ง 3 ชนิด ไปทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ P. acnes ด้วยวิธี disc diffusion method โดยใช้ความเข้มข้น 5 มก./มล. จากนั้นนำเฉพาะส่วนสกัด 1-butanol และส่วนที่ละลายน้ำมาแยกและทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธี preparative high performance thin layer chromatography (HPTLC) ซึ่งจะได้สาร chebulagic acid, ellagic acid, gallic acid, และ tannic acid นำสารสำคัญที่แยกได้ไปทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ P. acnesด้วยวิธี disc diffusion method โดยใช้ความเข้มข้น 5 มก./มล.จากผลการทดลองพบว่าสารสกัด methanol, ส่วนสกัด n-hexane, ส่วนสกัด chloroform, ส่วนสกัด 1-butanol, ส่วนที่ละลายน้ำ, สาร chebulagic acid, สาร ellagic acid, สาร gallic acid, และสาร tannic acid มีค่าเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณที่มีการยับยั้งเชื้อ (zone of inhibition; ZOI) เท่ากับ 45, 0, 0, 35, 25, 32, 25, 15, และ 22มม.ตามลำดับ จะเห็นว่าส่วนสกัด n-hexane และส่วนสกัด chloroform ไม่มียับยั้งเชื้อ P. acnesในขณะที่สารสกัด methanol มีฤทธิ์ดีที่สุด รองลงมาคือส่วนสกัด 1-butanol และสาร chebulagic acid เมื่อนำเฉพาะสารสกัด methanol และสารสำคัญมาทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้ (minimum inhibitory concentration; MIC) และค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อได้ (minimum bactericidal concentration; MBC) พบว่าสารสกัด methanol, สาร chebulagic acid, สาร ellagic acid, สาร gallic acid, และสาร tannic acid มีค่า MIC เท่ากับ 50, 12.5, 800, 1,800, และ 1,000 มคก./มล. ตามลำดับ และมีค่า MBC เท่ากับ 100, 25, 1,200, 2,000, และ 1,200 มคก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่ยามาตรฐาน clindamycin มีค่า MIC และMBC เท่ากันคือ 0.01 มคก./มล. และยาtetracyclineมีค่า MIC และ MBC เท่ากันคือ 2.4 มคก./มล.จะเห็นว่าสาร chebulagic acid มีฤทธิ์ดีที่สุดและเมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไลเปส (lipase) ของ P. acnes ด้วยวิธี colorimetric microassay พบว่าสารสกัด methanol, สาร chebulagic acid, สาร ellagic acid, สาร gallic acid, และสาร tannic acid มีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งเอนไซม์ไลเปสได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) เท่ากับ 1.02, 57.4, 90, 5,192, และ 220 มคก./มล. ในขณะที่ยามาตรฐาน tetracycline มีค่า IC50เท่ากับ 390.29 มคก./มล. จะเห็นว่าสารสกัด methanol มีฤทธิ์ดีที่สุด นอกจากนี้ยังทำการทดสอบความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ไลเปสของ P. acnesภายในระยะเวลา 96 ชม. ของสารสกัด methanol, ยา clindamycin, และยา tetracycline ด้วยวิธี plate assay method โดยใช้ความเข้มข้นของสารทดสอบเท่ากับ ½MBC พบว่า ที่เวลา 96 ชม. สารสกัด methanol ยังสามารถยับยั้งเอนไซม์ไลเปสได้ 97-100% ในขณะที่ยาclindamycin ยับยั้งได้ 60% ส่วนยา tetracycline สามารถยับยั้งได้สูงสุดที่เวลา 48 ชม. (ที่เวลา72 และ 96 ชม. ยา tetracycline ไม่สามารถยับยั้งเชื้อดังกล่าวได้) และการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของ P. acnesภายในระยะเวลา 96 ชม. ของสารสกัด methanol, ยาclindamycin, และยา tetracyclineด้วยวิธีspread plate method โดยใช้ความเข้มข้นของสารทดสอบเท่ากับ ½MBC พบว่า ที่เวลา 96 ชม. สารสกัด methanol และยาclindamycin สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของ P. acnes ได้ 96% และ 83% ตามลำดับ ในขณะที่ยาtetracycline สามารถยับยั้งได้สูงสุดที่เวลา 48 ชม. (ที่เวลา72 และ 96 ชม. ยา tetracycline ไม่สามารถยับยั้งเชื้อดังกล่าวได้)จากผลการทดลองทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าสารสกัด methanol ของผลสมอไทยและสารสำคัญที่แยกได้โดยเฉพาะสาร chebulagic acid มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตและยับยั้งการสร้างเอนไซม์ไลเปสของ P. acnes ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดสิว (16-17)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อก่อสิวของสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทย (Synastol® TC, บริษัทSytheon) ซึ่งมีผลรวมของสาร hydrolysable tannins เท่ากับ 65-70%โดยมีสาร chebulinic acid ประมาณ20%, สาร chebulagic acid ประมาณ10%,และ free gallic acid <5%โดยนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus aureus ATCC no. BAA-1026, biofilm ของ S. aureus และ P. acnes ATCC no. 6919 ด้วยวิธี MTT signal assay พบว่า สารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้ 50% (MIC >50%) ต่อเชื้อS. aureus, biofilm ของS. aureus, และP. acnes เท่ากับ 6.3, 3.1, และ 50 มคก./มล. ตามลำดับ (45)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของผลสมอไทยจากบริษัท Tochimototenkai-Do /co., Ltd. ประเทศญี่ปุ่น (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผงสมอไทย 5 กก. มาสกัดด้วย 50% ethanol 20 ล. โดยวิธี reflux นาน 2 ชม. ทำการสกัด 3 ครั้ง รวมสารสกัดที่ได้ นำมาระเหยตัวทำละลายออกจนเหลือ 5 ล. นำมาสกัด 3 ครั้ง ด้วย diethyl ether 10 ล. และ n-butanol ที่อิ่มตัวด้วยน้ำ 10 ล. รวมสารสกัดแต่ละชั้น นำมาระเหยตัวทำละลายออก ซึ่งจะได้สารสกัด diethyl ether, สารสกัดn-butanol และสารสกัดน้ำ นำเฉพาะสารสกัด diethyl ether มาแยกสารสำคัญด้วยเทคนิค column chromatography และทำให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิค HPLC ซึ่งจะได้สาร TCe-1 และ TCe-2 เมื่อนำไปพิสูจน์โครงสร้างด้วยเทคนิค NMR พบว่าเป็นสาร ethyl gallate และ gallic acid ตามลำดับ นำสารสกัด diethyl ether, TCe-1, และ TCe-2 มาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อS. aureusชนิดไม่ดื้อยา methicillin (methicillin-sensitive S. aureus; MSSA) จำนวน 7 สายพันธุ์ และชนิดดื้อยา methicillin (methicillin-resistant S. aureus; MRSA) จำนวน 20 สายพันธุ์ โดยการหาค่า MIC พบว่า สารสกัด diethyl ether, TCe-1, และ TCe-2 มีค่า MIC ต่อเชื้อ MSSA เท่ากับ 31.3-125, 31.3-62.5, และ 7.9-31.3 มคก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน ethyl gallate และ gallic acid มีค่า MIC ต่อเชื้อ MSSA เท่ากับ 31.3-62.5 และ 7.9-15.7 มคก./มล. ตามลำดับ และสารสกัด diethyl ether, TCe-1, และ TCe-2 มีค่า MIC ต่อเชื้อ MRSA เท่ากับ 62.5-250, 62.5-125, 31.3-62.5 มคก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน ethyl gallate และ gallic acid มีค่า MIC ต่อเชื้อ MSRA เท่ากับ 62.5 และ 15.7-31.3 มคก./มล. ตามลำดับ (18)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของผลสมอไทยจากบริษัท Himalaya drug company ประเทศอินเดีย (voucher specimen: HDCO70/116) โดยนำผงสมอไทย 20 ก. มาสกัดโดยการแช่ในน้ำ, hexane, และแอลกอฮอล์ (ไม่ระบุชนิด) 100 มล. นาน 72 ชม. โดยมีการคนทุก ๆ 24 ชม.กรอง ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator อุณหภูมิ30 oC นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureusด้วยวิธี agar well diffusion method โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 200 มก./มล. พบว่าสารสกัดน้ำ, hexane, และแอลกอฮอล์ มีค่า ZOI เท่ากับ 10-19, 0, และ>20 มม. ตามลำดับ (46)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของผลสมอไทยจากบริษัท Himalaya drug company ประเทศอินเดีย (voucher specimen: HDCO70/116) โดยนำผงสมอไทย 800 ก. มาสกัดโดยการแช่ใน 70% ethanol 2.5 ล. นาน 8-10 วัน โดยมีการคนทุก ๆ 10 ชม.กรอง ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator อุณหภูมิ40 oC นำมาเตรียมสารละลายความเข้มข้น 100 มก./มล. นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureusชนิดไม่ดื้อยา methicillin (methicillin-sensitive S. aureus; MSSA) สายพันธุ์ MSSA-22 และชนิดดื้อยา methicillin (methicillin-resistant S. aureus; MRSA) สายพันธุ์ MRSA-21, MRSA-03, MRSA-08, และ MRSA-29 ด้วยวิธี agar well diffusion method พบว่าสารสกัด 70% ethanol มีค่า ZOI ต่อเชื้อ MSSA-22, MRSA-21, MRSA-03, MRSA-08, และ MRSA-29เท่ากับ 22, 18, 20, 19, และ 27 มม. ตามลำดับ และการทดสอบด้วยวิธี tube broth dilution method พบว่า สารสกัด 70% ethanol มีค่า MIC เท่ากับ <1.5, 8.2, 8.2, <1.5, และ <1.5 มก./มล. ตามลำดับ (47)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: CB/P286) โดยนำส่วนเนื้อผลมาผึ่งให้แห้งในที่ร่ม นำเนื้อผลที่แห้งแล้ว 427 ก. มาแช่ใน ethanol นาน 24 ชม. นำสารสกัดที่ได้มาระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อS. aureus (ATCC 25923)ด้วยวิธี disc diffusion test โดยใช้สารสกัด ethanol ความเข้มข้น 1 และ 5 มก./disc พบว่ามีค่า ZOI เท่ากับ 10 และ 13 มม. ตามลำดับ ในขณะที่ยามาตรฐาน streptomycin ความเข้มข้น 10 มคก./disc มีค่า ZOI เท่ากับ 12 มม. และการทดสอบด้วยวิธี broth microdilution method พบว่าสารสกัด ethanol มีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ 50% (IC50) เท่ากับ 1 มก./มล.(48)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของผลสมอไทยจากจังหวัดมหาสารคาม (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำเฉพาะส่วนเนื้อผลมาผึ่งลมให้แห้ง จนมีความชื้นน้อยกว่า 10% บดเป็นผงละเอียด สกัดด้วยน้ำ และ 80% ethanol อัตราส่วน 1:5 w/v สกัดนาน 12 ชม. โดยมีการกวนด้วยความเร็ว 150 รอบ/นาที ที่อุณหภูมิห้อง (28-30 oC) นำสารสกัดที่ได้มาปั่นด้วยเครื่อง centrifuge ความเร็ว 4,000 รอบ/นาที นาน 10 นาที เก็บส่วนใส ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator อุณหภูมิ 45 oC นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureusและ P. acnes ด้วยวิธี agar well diffusion method โดยใช้สารสกัด 30 มคล. (ไม่ระบุความเข้มข้น) พบว่าสารสกัดน้ำมีค่า ZOI ต่อเชื้อ S. aureusและ P. acnes เท่ากับ 1.23 และ 1.30 ซม. ตามลำดับ และสารสกัด 80% ethanol มีค่า ZOI เท่ากับ 1.37 และ 1.68 ซม. ตามลำดับ (49)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสาร sterols จากผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลแห้งของสมอไทยมาบดละเอียด กำจัดไขมัน (defatted) ด้วยอุปกรณ์ soxhlet บน water bath นาน 24 ชม. (ไม่ระบุตัวทำละลาย) กรอง นำกากที่เหลือมาสกัดด้วย15% ethanolic HCL โดยวิธี reflux นาน 4 ชม. กรอง นำสารสกัดที่ได้มาสกัดต่อethyl acetate นำส่วนสกัด ethyl acetate ที่ได้มาทำให้เป็นกลาง (neutrality) โดยล้างด้วยน้ำกลั่น และนำไปผ่าน sodium sulphate เพื่อกำจัดน้ำออก นำส่วนสกัด ethyl acetate ที่เป็นกลาง (neutral ethyl acetate fraction) มาระเหยตัวทำละลายออก นำมาละลายใน chloroform กรอง และระเหยตัวทำละลายออก ซึ่งผลสมอแห้ง 1 ก. จะได้สารสกัดที่มีสาร sterols 5 มก. (ไม่ระบุวิธีวิเคราะห์สาร sterols) นำสารสกัดที่ได้มาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus (MTCC 3160) ด้วยวิธี disc diffusion assay โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 1 มก./disc พบว่า มีค่า ZOI เท่ากับ 17 มม. ในขณะที่ยามาตรฐาน streptomycin ความเข้มข้น 1 มก./disc มีค่า ZOI เท่ากับ 21 มม. การทดสอบด้วยวิธี broth microdilution method พบว่าสารสกัดมีค่า MIC และค่า MBC เท่ากับ 0.039 และ 0.078 มก./มล. ตามลำดับ (19)
การทดสอบฤทธิ์ต้านจุลชีพของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผงสมอไทยมาสกัดด้วยตัวทำละลายตามลำดับดังนี้n-hexane, chloroform, ethyl acetate, และ ethanol โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus และ C. albicans ด้วยวิธี disc diffusion method พบว่าสารสกัดn-hexane และสารสกัด ethyl acetate เท่านั้นที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อทั้ง 2 ชนิด โดยสารสกัดn-hexane และสารสกัด ethyl acetate ความเข้มข้น 5 มคก./มล. มีค่า ZOI ต่อเชื้อ S. aureus เท่ากับ 19.10 และ 19.80 มม. ตามลำดับ ในขณะที่ยามาตรฐาน tetracycline (ไม่ระบุความเข้มข้น) มีค่า ZOI เท่ากับ 33.85 มม. และสารสกัด n-hexane และสารสกัด ethyl acetate ความเข้มข้น 4 มคก./มล. มีค่า ZOI ต่อเชื้อ C. albicans เท่ากับ 18.60 และ 19.66 มม. ตามลำดับ ในขณะที่ยามาตรฐาน grieseofulvin (ไม่ระบุความเข้มข้น) มีค่า ZOI เท่ากับ 40.00 มม. (50)
การทดสอบฤทธิ์ต้านจุลชีพของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: RUBL20868) โดยนำผลสมอไทยมาผึ่งให้แห้งในที่ร่ม บดเป็นผงละเอียด นำผง 20 ก. มาสกัดด้วย ethyl acetate โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet ตั้งบน water bath นาน 24 ชม. กรอง นำสารสกัดที่ได้มาแยกสารสำคัญด้วยวิธี 2D-chromatography ซึ่งจะได้สาร pyrogallol นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อS. aureus (MTCC 3160) และ C. albicans (MTCC 183) ด้วยวิธี disc diffusion assay โดยใช้สารสกัด ethyl acetate และสาร pyrogallol ความเข้มข้น 1 มก./disc พบว่า มีค่า ZOI ต่อเชื้อ S. aureus เท่ากับ 13.83 และ 14.25 มม. ตามลำดับ ในขณะที่ยามาตรฐาน streptomycin ความเข้มข้น 1 มก./disc มีค่า ZOI เท่ากับ 21 มม. และสารสกัด ethyl acetate และสาร pyrogallol ความเข้มข้น 1 มก./disc มีค่า ZOI ต่อเชื้อ C. albicans เท่ากับ 26 และ 25 มม. ตามลำดับ ในขณะที่ยามาตรฐาน clotrimazole ความเข้มข้น 1 มก./มล. มีค่า ZOI เท่ากับ 14 มม. การทดสอบด้วยวิธี broth microdilution method พบว่า สารสกัด ethyl acetate มีค่า MIC และ MBC ต่อเชื้อ S. aureus เท่ากับ 0.156 และ 0.312 มก./มล. ตามลำดับและมีค่า MIC และ MBC ต่อเชื้อ C. albicans เท่ากับ 0.078 และ 0.312 มก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่สาร pyrogallol มีค่า MIC และ MBC ต่อเชื้อ S. aureusเท่ากันคือ 0.078 มก./มล. และมีค่า MIC และ MBC ต่อเชื้อ C. albicans เท่ากันคือ 0.039 มก./มล. (9)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยมาล้างทำความสะอาด ผึ่งลมให้แห้งที่อุณหภูมิห้อง บดให้ละเอียด นำผง 10 ก. มาแช่ในน้ำเย็น, น้ำร้อน, ethanol, methanol, และ acetone 50 มล. นาน 24 ชม. กรอง ระเหยตัวทำละลายออกโดยตั้งบน water bath อุณหภูมิ 60-80 oC นาน 2 ชม. นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus ชนิดที่แยกได้จากหนองในแผลของผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังจำนวน 16 สายพันธุ์ ด้วยวิธี disc diffusion method พบว่าสารสกัดน้ำเย็น, น้ำร้อน, ethanol, methanol, และ acetone ความเข้มข้น 500 มก./มล. มีค่า ZOI เฉลี่ยเท่ากับ 10.50-29.75, 11.60-25.15, 14.30-25.40, 12.40-25.75, และ 12.75-25.30 มม. ตามลำดับ และการทดสอบด้วยวิธี broth microdilution method พบว่าสารสกัดน้ำเย็น, น้ำร้อน, ethanol, methanol, และ acetone มีค่า MIC เฉลี่ยเท่ากับ <0.24-7.81, <0.24-7.81, <0.24-7.81, <0.24-7.81, และ<0.24-1.95 มก./มล. ตามลำดับ (51)
การทดสอบฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยมาล้างทำความสะอาด ผึ่งลมให้แห้งที่อุณหภูมิห้อง บดเป็นผงละเอียด นำผง 10 ก. มาสกัดโดยการแช่ในน้ำร้อนและน้ำเย็น 100 มล. นาน 24 ชม. กรอง ระเหยตัวทำละลายออกบน water bath อุณหภูมิ 80 oC นาน 2 ชม. นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureusชนิดที่แยกได้จากแผล จำนวน 5 สายพันธุ์ ด้วยวิธี agar well-diffusion method โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 500 มก./มล. ขนาด 50 และ 100 มคล. พบว่าสารสกัดน้ำร้อนขนาด 50 และ 100 มคล.มีค่า ZOI เฉลี่ยเท่ากับ 28.50 และ 30.50 มม. ตามลำดับ และสารสกัดน้ำเย็นขนาด 50 และ 100 มคล.มีค่า ZOI เฉลี่ยเท่ากับ 25.30 และ 28.85มม. ตามลำดับ(52)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยแห้งมาทำความสะอาด ผึ่งลมให้แห้งที่อุณหภูมิห้อง นาน 2-3 วัน บดให้ละเอียด สกัดด้วย ethanol ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator อุณหภูมิ 40-45 oC นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อS. aureus (MTCC 96)ด้วยวิธี agar well diffusion assay โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 250, 500, 750, และ 1,000 มคก./มล. พบว่า มีค่า ZOI เท่ากับ 13, 14, 15, และ 16 มม. ตามลำดับ ในขณะที่ยามาตรฐาน tetracycline ความเข้มข้น 30 มคก./มล. มีค่า ZOI เท่ากับ 16 มม.(53)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยการนำผลแห้งของสมอไทยมาบดละเอียด นำผงแห้ง 4 ก. มาสกัดด้วย 80% ethanol 40 มล. 2 ครั้ง ด้วยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงช่วยสกัด (ultrasound-assisted extraction method) นาน 1 ชม. อุณหภูมิ 40 oC เครื่องกำลังไฟ 480 W นำสารสกัดที่ได้มาปั่นด้วยเครื่อง centrifuge ความเร็ว 900xg นาน 15 นาที ที่อุณหภูมิห้องเก็บส่วนใส ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator อุณหภูมิ 40 oC นำสารสกัดที่ได้ไปทำให้แห้งด้วยความเย็น เตรียมเป็นสารละลายความเข้มข้น 100 มก./มล. ใน dimethyl sulfoxide (DMSO) นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus ATCC 25923 และเชื้อ S. aureus สายพันธุ์ดื้อยา จำนวน 5 สายพันธุ์ (SJTUF 20745, SJTUF 20746, SJTUF 20758, SJTUF 20978, SJTUF 20991) ด้วยวิธี agar diffusion methods พบว่า สารสกัด ethanol ความเข้มข้น 100 มก./มล. มีค่า ZOI ต่อเชื้อดื้อยาทั้ง 5 ชนิด เท่ากับ 18.1-24.5 มม. ในขณะที่ยามาตรฐาน ampicillin และ oxacillin มีค่า ZOI ต่อเชื้อดื้อยาทั้ง 5 ชนิด เท่ากับ 18.5-21.7 และ 11.9-18.2 มม.ตามลำดับ การทดสอบด้วยวิธี serial dilution microplate method พบว่าสารสกัด ethanol มีค่า MIC และ MBC ต่อ S. aureus ATCC 25923 เท่ากับ 0.195 และ >25 มก./มล. ตามลำดับ และมีค่า MIC และ MBC ต่อเชื้อดื้อยาทั้ง 5 ชนิด เท่ากับ 0.39-0.78 และ ≥ 25 มก./มล. ตามลำดับ (54)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยนำผงแห้งของสมอไทย 5 ก. มาเติมน้ำกลั่น 100 มล. ให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 70 oC นาน 15 นาที กรอง นำสารสกัดที่ได้มาเตรียมเป็น silver nanoparticles นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureus (ATCC 6538) ด้วยวิธี agar well diffusion assay โดยใช้ silver nanoparticles ความเข้มข้น 25, 50, และ 75 มคก./มล. พบว่า มีค่า ZOI เท่ากับ 11.3, 11.6, และ 12.7 มม. ตามลำดับ (55)
1.3 ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (S006)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศเกาหลีใต้ (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผงแห้งของผลสมอไทย 100 ก. มาแช่ใน 80% methanol 300 มล. ที่อุณหภูมิห้อง นาน 7 วัน กรอง และระเหยตัวทำละลายออกภายใต้ภาวะสุญญากาศ ทำการทดสอบด้วยวิธี thiobarbituric acid assay พบว่าสารสกัดความเข้มข้น 10 และ 1,000 มคก./มล. สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ 11% และ 66% ตามลำดับ และการทดสอบด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl hydrate (DPPH) assay พบว่าสารสกัดความเข้มข้น 10 และ 1,000 มคก./มล. สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ 64% และ 69% ตามลำดับ (56)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสมอไทยผลสีน้ำตาล (voucher specimen: 354114) และสมอไทยผลสีดำ (voucher specimen: 354113) จากประเทศปากีสถาน โดยนำผลแห้ง 500 มก. มาปั่นผสมกับ 70% acetone 20 มล. ด้วยเครื่อง Ultra-Turrax T25 ที่อุณหภูมิห้องนาน 1 ชม. จากนั้นนำไปปั่นแยกตะกอนด้วยเครื่อง centrifuge ความเร็ว 4,000 xg นาน 10 นาที นำกากที่เหลือไปสกัดซ้ำอีก 2 ครั้ง ด้วย 70% acetone 25 มล. รวมสารสกัดที่ได้ ระหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator ที่อุณหภูมิ 35 oC นำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการ lipid peroxidation พบว่าสารสกัด 70% acetone ของสมอไทยผลสีน้ำตาล, เปลือกผล (fruit coat) ของสมอไทยผลสีน้ำตาล, และสมอไทยผลสีดำ มีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) เท่ากับ 529.5, 1,016.7, และ 1,954.1 มคก./ล. ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน α-tocopherol และ butylated hydroxytoluene (BHT) มีค่า IC50 เท่ากับ 233.6 และ 834.1 มคก./ล. ตามลำดับ (57)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยนำผงแห้งของผลสมอไทยมาสกัดกับน้ำอุณหภูมิ 70-80 oC นาน 2 ชม. กรอง ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator ทำให้แห้งด้วยวิธี spray drying ทำการทดสอบด้วยวิธี thiobarbituric acid reactive substances (TBARS) assay และ DPPH assay พบว่าสารสกัดน้ำของผลสมอไทยมีค่าIC50 เท่ากับ 14.5 และ 11.5 มคก./มล. ตามลำดับ(58)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดและสารสำคัญจากผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยมีวิธีเตรียมดังนี้ 1) เตรียมสารสกัด methanol โดยนำผลแห้งของสมอไทยที่โตเต็มที่ 400 ก. มาทุบด้วยค้อนให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ สกัดด้วย methanol 1 ล. นาน 24 ชม. กรอง นำกากที่เหลือไปสกัดซ้ำอีก 2 ครั้ง รวมสารสกัดที่ได้ ระเหยตัวทำละลายออก และทำให้แห้งด้วยความเย็น จะได้สารสกัดmethanol นำสารสกัดที่ได้ 100 ก. มาละลายในน้ำ 500 มล. จากนั้นนำมาสกัดด้วย chloroform 500 มล.,ethyl acetate 500 มล., และ n-butanol 500 มล. ซึ่งจะทำให้ได้ส่วนสกัด chloroform, ส่วนสกัด ethyl acetate, ส่วนสกัดn-butanol และส่วนสกัดน้ำ (organic aqueous extract) ระเหยตัวทำละลายออก และทำให้แห้งด้วยความเย็น2) เตรียมสารสกัดน้ำโดยนำผลแห้งของสมอไทยที่โตเต็มที่ 600 ก. มาทุบด้วยค้อนให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ สกัดด้วยน้ำ 1 ล. นาน 24 ชม. กรอง นำกากที่เหลือไปสกัดซ้ำอีก 2 ครั้ง รวมสารสกัดที่ได้ ระเหยตัวทำละลายออก และทำให้แห้งด้วยความเย็น 3) เตรียมสารสำคัญได้แก่ casuarinin, chebulanin, chebulinic acid, และ1,6-di-O-galloyl-β-D-glucose ซึ่งแยกได้จากผลแห้งของสมอไทย (ไม่ระบุวิธีสกัดและวิธีแยกสารสำคัญ)นำสารสกัดและสารสำคัญที่ได้มาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
การทดสอบด้วยวิธี anti-lipid peroxidation assay พบว่า สารสกัด methanol, ส่วนสกัด chloroform, ส่วนสกัด ethyl acetate, ส่วนสกัดn-butanol, ส่วนสกัดน้ำ, สารสกัดน้ำ,casuarinin, chebulanin, และ chebulinic acid มีค่าIC50 เท่ากับ 4.44, 5.39, 4.05, 4.35, 8.97, 4.80, 29.67, 3.96, และ 7.27 มก./มล. ตามลำดับ (ไม่ได้ทำการทดสอบกับ 1,6-di-O-galloyl-β-D-glucose) ในขณะที่สารมาตรฐาน Trolox มีค่า IC50 เท่ากับ 2.14 มก./มล.
การทดสอบด้วยวิธี anti-superoxide formation assay พบว่า สารสกัด methanol, ส่วนสกัด chloroform, ส่วนสกัด ethyl acetate, ส่วนสกัดn-butanol, ส่วนสกัดน้ำ, สารสกัดน้ำ,casuarinin, chebulanin, chebulinic acid, และ1,6-di-O-galloyl-β-D-glucose มีค่า IC50 เท่ากับ 0.48, 0.55, 0.50, 0.88, 2.42, 0.73, 1.06, 0.04, 1.17, และ 1.30 มก./มล.ตามลำดับในขณะที่สารมาตรฐาน allopurinol มีค่า IC50 เท่ากับ 0.06 มก./มล.
การทดสอบฤทธิ์ free radical scavenging activity ด้วยวิธี cytochrome C reduction method พบว่า สารสกัด methanol, ส่วนสกัด chloroform, ส่วนสกัด ethyl acetate, ส่วนสกัดn-butanol, ส่วนสกัดน้ำ, สารสกัดน้ำ,casuarinin, chebulanin, chebulinic acid, และ1,6-di-O-galloyl-β-D-glucose มีค่า IC50 เท่ากับ 0.005, 0.006, 0.004, 0.008, 0.021, 0.009, 0.006, 0.031, 0.002, และ 0.161 มก./มล.ตามลำดับ (ไม่มีสารมาตรฐานเปรียบเทียบ)
นำเฉพาะสาร casuarinin, chebulanin, chebulinic acid, และ1,6-di-O-galloyl-β-D-glucose มาทดสอบเพิ่มเติมด้วยวิธี superoxide anion scavenging activity assay ใน electron spin resonance (ESR) พบว่ามีค่า IC50 เท่ากับ 2.82, 19.63, 18.81, และ 9.03 มคก./มล. ตามลำดับ (12)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศปากีสถาน (voucher specimen: TUR 354114) โดยนำผลแห้งของสมอไทย 200 ก. มาสกัดด้วย 70% methanol 1 ล. 4 ครั้ง ครั้งละ 1 ชม. (สกัดโดยการคนอย่างต่อเนื่อง) ระเหยตัวทำละลายออกภายใต้การลดความดัน ที่อุณหภูมิ 35 oC และทำให้แห้งด้วยความเย็น นำสารสกัดที่ได้ 30 ก. มาละลายในน้ำ 750 มล. นำไปสกัดแยกส่วนด้วย n-hexane, chloroform, และ1-butanol อย่างละ750 มล. จำนวน 3 ครั้ง โดยใช้ separatory funnel ระเหยตัวทำละลายออก นำเฉพาะส่วนสกัดน้ำและส่วนสกัด 1-butanol มาแยกสารสำคัญต่อด้วยเทคนิคchromatography(ไม่ระบุรายละเอียด)และพิสูจน์โครงสร้างสารด้วยเทคนิค ultraviolet–visible (UV) spectroscopy, MS, และ NMR ซึ่งจะได้สาร chebulinic acid, galloyl-free chebulinic acid, ellagic acid, gallic acids, ethyl gallate, และ luteolin นำสารสกัด 70% methanol การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH พบว่าสารสกัด 70% methanol ความเข้มข้น 1 มก./มล. และสาร chebulinic acid, galloyl-free chebulinic acid, ellagic acid, gallic acids, ethyl gallate, luteolin ความเข้มข้น 16.7 ไมโครโมลาร์ สามารถยับยั้ง DPPH ได้ 90%, 93%, 38%, 41%, 46%, 45%, และ 13% ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน Trolox ความเข้มข้น 16.7 ไมโครโมลาร์ ยับยั้งได้ 36% และการทดสอบฤทธิ์ยับยั้ง autoxidation ของ methyl linoleate พบว่าสารสกัด 70% methanol ความเข้มข้น 50 ppm และสาร chebulinic acid, galloyl-free chebulinic acid, ellagic acid, gallic acids, ethyl gallate, luteolin ความเข้มข้น 0.1 มิลลิโมลาร์ สามารถยับยั้ง autoxidation ของ methyl linoleate ได้ 97%, 34%, 87%, 50%, 97%, 98%, และ 98%ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน Trolox และα-tocopherol ความเข้มข้น 0.1 มิลลิโมลาร์ ยับยั้งได้เท่ากันคือ 98% (59)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศเกาหลีใต้ (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลแห้งของสมอไทยมาบด นำผงที่ได้ 300 ก. มาแช่ในน้ำ 4 ล. และนำไปสกัดด้วยวิธี reflux นาน 3 ชม. ทิ้งให้เย็น กรอง ทำให้แห้งด้วยความเย็น การทดสอบด้วยวิธี DPPH assay พบว่าสารสกัดน้ำของผลสมอไทยมีค่า IC50เท่ากับ 127.1 มคก.น้ำหนักแห้ง/มล. (μg DM ml-1) และการทดสอบด้วยวิธี ferric reducing antioxidant power (FRAP) assay พบว่า สารสกัดน้ำของผลสมอไทย 1 ก. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่า ferrous sulfate heptahydrate (FeSO4·7H2O) 2.4 มิลลิโมล (mmol FeSO4.7H2O g-1 DM)(60)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากแหล่งต่าง ๆ ในประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผงแห้งของผลสมอไทยที่โตเต็มที่ 5 ก. มาสกัดด้วย 70% aqueous acetone โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet ระเหยตัวทำละลายออกโดยการลดความดัน ที่อุณหภูมิ 45 oC การทดสอบด้วยวิธี DPPH assay พบว่าสารสกัด 70% aqueous acetone ของผลสมอไทยมีค่า IC50เท่ากับ 3.29-3.56 มคก./มล. ในขณะที่สารมาตรฐาน gallic acid มีค่า IC50เท่ากับ1.12 มคก./มล. และการทดสอบฤทธิ์ยับยั้ง lipid peroxidation พบว่า สารสกัด 70% aqueous acetone ของผลสมอไทยมีค่า IC50เท่ากับ 8.82-13.78 มคก./มล. ในขณะที่สารมาตรฐาน gallic acid มีค่า IC50เท่ากับ5.39 มคก./มล. (61)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยมาบดเป็นผงละเอียด ทำให้แห้งโดยใช้สารดูดความชื้น (desiccant) ที่อุณหภูมิห้อง (ประมาณ 23 oC) นำผงแห้ง 2 ก. มาแช่ใน 80% methanol 50 มล. ที่อุณหภูมิห้อง โดยมีการเขย่าเป็นครั้งคราว ทิ้งไว้ 1 คืน กรอง การทดสอบด้วยวิธี 2,2′-azinobis-3-ethylbenzothiazoline-6-sulfonic acid (ABTS) assay และ DPPH assay พบว่าผลสมอไทยแห้ง 100 ก. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่าสารมาตรฐาน Trolox 500.70 และ 679.69 มิลลิโมล (mmol Trolox equivalents per 100 g dry weight of plant material) ตามลำดับ และเมื่อทดสอบด้วยวิธี FRAP assay พบว่าผลสมอไทยแห้ง 1 ก. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่าสารมาตรฐาน Trolox 85.60 ไมโครโมล (μmol Trolox equivalents per gram dry weight of plant material) (62)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสาร chebulic acid จากผลสมอไทยจากประเทศเกาหลีใต้ (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยที่โตเต็มที่และแห้งมาบด สกัดด้วย 97% ethanol 2 ครั้ง รวมสารสกัดที่ได้ ทำให้แห้งด้วยความเย็น นำสารสกัดที่ได้มากระจายตัวในน้ำ นำไปสกัดด้วย n-hexane, chloroform, ethyl acetate, และn-butanol นำเฉพาะส่วนสกัด ethyl acetate มาแยกต่อด้วยเทคนิค column chromatography ซึ่งจะได้สาร chebulic acid เมื่อนำมาทดสอบด้วยวิธี DPPH assay พบว่าสาร chebulic acid จากผลสมอไทยมีค่า IC50เท่ากับ 48.5 มคก.น้ำหนักแห้ง/มล. (μg DM ml-1) ในขณะที่สารมาตรฐาน epigallocatechin gallate (EGCG) มีค่า IC50เท่ากับ 19.5 มคก.น้ำหนักแห้ง/มล. และเมื่อนำมาทดสอบด้วยวิธี FRAP assay พบว่า สาร chebulic acid จากผลสมอไทย 1 ก. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่า ferrous sulfate heptahydrate (FeSO4·7H2O) 360.6 มิลลิโมล (mmol FeSO4.7H2O g-1 DM) ในขณะที่สารมาตรฐาน EGCG 1 ก. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่า FeSO4.7H2O 417.5มิลลิโมล (20)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยมาผึ่งลมให้แห้ง นำมาแช่ใน 95% ethanol นาน 1 วัน เขย่าเป็นระยะ เก็บสารสกัดที่ได้และนำกากที่เหลือไปสกัดซ้ำ 3 ครั้ง รวมสารสกัดที่ได้ กรอง ระเหยตัวทำละลายออก ทำให้แห้งด้วยความเย็น นำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้ง lipid peroxidationด้วยวิธี TBARS assay พบว่า สารสกัด 95% ethanol ของผลสมอไทยความเข้มข้น 10 มคก./มล. สามารถยับยั้งการสร้าง TBARS ได้ 42.5% ในขณะที่สารมาตรฐาน curcumin ความเข้มข้น 5 มคก./มล. สามารถยับยั้งได้ 81.1% (63)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยนำสมุนไพรแห้ง 500 ก. มาสกัดด้วย methanol โดยใช้วิธีให้ตัวทำละลายไหลผ่านผงสมุนไพรช้า ๆ (percolation) นาน 48 ชม. ที่อุณหภูมิห้อง กรอง และนำสารสกัดที่ได้ไปทำให้แห้งด้วยเครื่อง freeze dryerนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay พบว่ามีค่าIC50 เท่ากับ 82.2 มคก./มล.ในขณะที่สารมาตรฐาน BHT มีค่า IC50 เท่ากับ5.9 มคก./มล. (42)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสาร chebulagic acid ซึ่งแยกได้จากผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: PR2007-B1) โดยนำผลสมอไทยแห้งมาแยกเมล็ดออก บดเป็นผงละเอียดเติม ethanol (absolute alcohol) ผสมด้วยเครื่อง vortex นาน 1 ชม. จากนั้นนำไปปั่นด้วยเครื่อง centrifuge ความเร็ว5,000×g นาน 5 นาที นำสารสกัดที่ได้ไปทำให้แห้งด้วยความเย็นนำไปแยกสาร chebulagic acid ด้วยวิธี reverse phase HPLC และพิสูจน์โครงสร้างสารด้วย liquid chromatography–mass spectrometry (LC-MS), NMR, และ infrared radiation (IR) นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay และ ABTS assay พบว่า สาร chebulagic acid มีค่า IC50เท่ากับ 1.4 และ 1.7 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ (21)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศไต้หวัน (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยแห้ง 5 ก. มาบด เติม ethanol 150 มล. สกัดด้วยวิธี reflux นาน 3 ชม. ทิ้งให้เย็น กรอง นำไปทำให้แห้งด้วยความเย็นนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
การทดสอบด้วยวิธี DPPHassay และวิธี ABTS assay พบว่าสารสกัด ethanol ของผลสมอไทยมีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ครึ่งหนึ่ง (EC50) เท่ากับ 280.0 และ 42.2 มคก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน L-ascorbic acid มีค่า EC50เท่ากับ 54.1 และ 68.7 มคก./มล. ตามลำดับ
การทดสอบด้วยวิธี FRAP assay พบว่าสารสกัด ethanol ของผลสมอไทย 1 ก. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่า ferrous sulfate 113.1 ไมโครโมล (μmolFeSO4/g) ในขณะที่สารมาตรฐาน L-ascorbic acid มีค่า 101.0 μmolFeSO4/g
การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง reactive oxygen species (ROS) ในเซลล์ B16F10 melanoma โดยบ่มเซลล์ร่วมกับสารสกัด ethanol ความเข้มข้น 10-100 มคก./มล. นาน 4 ชม. จากนั้นเซลล์จะถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress) ด้วยรังสี UVA ความยาวคลื่น 352 นาโนเมตร (960 จูล/ตร.ม., 1.7 W/ตร.ม.) นาน 564 วินาที (รังสี UVA ในขนาดดังกล่าวไม่ทำให้เซลล์เกิดการตาย แต่ทำให้การสร้าง ROS ภายในเซลล์เพิ่มขึ้น 2.6 เท่า เมื่อเทียบกับเซลล์ที่ไม่ได้รับการฉายรังสี) พบว่า สารสกัด ethanol ความเข้มข้น 10, 25, 50, และ 100 มคก./มล. ทำให้ระดับ ROS ภายในเซลล์ลดลง 14%, 33%, 41%, และ44% ตามลำดับ (25)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสาร 1,2,3,4,6-penta-O-galloyl-β-D-glucose(PGG) จากผลสมอไทยจากประเทศเกาหลีใต้(ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลแห้งของสมอไทยที่โตเต็มที่มาสกัดด้วย 80% methanol นาน 3 วัน ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 oC นำสารสกัดที่ได้ไปแยกสารสำคัญด้วยเทคนิค column chromatography และพิสูจน์โครงสร้างสารด้วยเทคนิค NMR และ MSซึ่งจะได้สารPGG นำมาทดสอบด้วยวิธีFRAP assay พบว่ามีค่า IC50เท่ากับ 4.6 ไมโครโมลาร์ (13)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัด methanol และสำคัญที่แยกได้จากผลสมอไทยจากประเทศอียิปต์ (voucher specimen:SKTC-4-04) โดยนำผลแห้งของสมอไทยมาตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ทำให้แห้งด้วยความเย็น บดให้เป็นผงละเอียด นำผงแห้ง 5 ก. มาสกัดด้วย hexane โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet นาน 3ชม. เพื่อกำจัดไขมัน นำกากที่เหลือมาทำให้แห้งโดยการเป่าด้วยก๊าซ nitrogen จากนั้นจึงสกัดด้วย methanol โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet นาน 3ชม. สกัดซ้ำ 3-6 ครั้ง รวมสารสกัดที่ได้ ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator ที่อุณหภูมิ 35 oC นำสารสกัดที่ได้ไปแยกสารสำคัญด้วยเทคนิค chromatography (ไม่ระบุรายละเอียด) และพิสูจน์โครงสร้างสารด้วยเทคนิค electrospray ionization mass spectrometry (ESI-MS) และ NMR ซึ่งจะได้สาร gallic acid, methyl gallate, chebulanin, chebulagic acid, chebulinic acid, corilagin, punicalagin, ellagic acid, และ flavogallonic acid เมื่อนำสารสกัด methanol และสารสำคัญ 9 ชนิดที่แยกได้ มาทดสอบด้วยวิธีDPPH assay พบว่ามีค่า IC50เท่ากับ 2.0 มคก./มล., 3.24, 4.28, 9.82, 6.98, 2.75, 11.42, 25.72, 3.96, และ 12.11 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน ascorbic acid, α-tocopherol, Trolox, และ BHT มีค่า IC50เท่ากับ 8.93, 11.75, 16.49, และ 23.04 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ และการทดสอบด้วยวิธี FRAP assay พบว่าความเข้มข้นที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (concentration of antioxidant)มีค่าเท่ากับ 116 มคก./มล., 170, 191, 397, 340, 252, 306, 176, 139, และ 296 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน ascorbic acid, α-tocopherol, Trolox, และ BHT มีค่าเท่ากับ 491, 334, 527, และ 4,744 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ (14)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศเนปาล (voucher specimen: 359) โดยนำผลสมอไทยสดมาล้าง แยกเฉพาะส่วนเนื้อออกมา ตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผึ่งให้แห้งในที่ร่ม นำเนื้อผลที่แห้งแล้ว 25 ก. มาสกัดด้วย methanol หรือน้ำ 200 มล. โดยใช้วิธีให้ตัวทำละลายไหลผ่านผงสมุนไพรช้า ๆ (percolation) นาน 24 ชม. ที่อุณหภูมิห้อง สำหรับสารสกัด methanol นำสารสกัดที่ได้ไปกรอง นำกากที่เหลือไปสกัดซ้ำ รวมสารสกัดที่ได้ ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator สำหรับสารสกัดน้ำ หลังจากกรองแล้ว ให้นำสารสกัดไปปั่นด้วยเครื่อง centrifuge ความเร็ว 3,500 รอบ/นาที นาน 10 นาที เก็บส่วนใส และนำกากที่เหลือจากการกรองไปสกัดซ้ำ รวมสารสกัดที่ได้ ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator ปล่อยให้สารสกัดแห้งโดยให้สัมผัสกับอากาศ การทดสอบด้วยวิธีDPPH assayพบว่า สารสกัด methanol และสารสกัดน้ำจากเนื้อสมอแห้ง 1 ก. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่ากับสาร gallic acid 0.7189 และ 0.7246 มก. ตามลำดับ(64)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: CRHS 113/08) โดยนำผงแห้งของผลสมอไทย 100 ก. มาสกัดด้วย 70% methanol 500 มล. โดยการคนด้วยเครื่องmagnetic stirrer นาน 15 ชม. จากนั้นนำไปปั่นด้วยเครื่องcentrifuge ความเร็ว 2,850 ×g เก็บส่วนใส นำกากที่เหลือไปสกัดซ้ำ รวมสารสกัดที่ได้ ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator ทำให้แห้งด้วยความเย็น นำสารสกัดที่ได้มาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระต่าง ๆ ได้แก่ DPPH, hydroxyl (OH∙), superoxide (O2∙-), nitric oxide (NO∙), singlet oxygen (1O2), hypochlorous acid (HOCl), และ peroxynitrite (ONOO∙-) พบว่า สารสกัด 70% methanol ของสมอไทยมีค่า IC50ต่ออนุมูลอิสระข้างต้น เท่ากับ 1.73, 72.02, 13.42, 33.28, 424.50, 433.60 มคก./มล. และ 1.27 มก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐานมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดังนี้ ascorbic acid มีค่า IC50ต่อ DPPH และ hypochlorous acid เท่ากับ 5.29 และ 235.96 มคก./มล. ตามลำดับ, mannitol มีค่า IC50ต่อ hydroxyl เท่ากับ 571.45 มคก./มล., quercetin มีค่า IC50ต่อ superoxide เท่ากับ 42.06 มคก./มล., curcumin มีค่า IC50ต่อ nitric oxide เท่ากับ 90.82 มคก./มล., lipoic acid มีค่า IC50ต่อ singlet oxygen เท่ากับ 46.15 มคก./มล., และ gallic acid มีค่า IC50ต่อ peroxynitrite เท่ากับ 0.88 มก./มล. (65)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: 5980) ซึ่งสกัดด้วยวิธีที่แตกต่างกัน 2 วิธี คือ วิธีที่ 1. โดยนำผงแห้งของผลสมอไทย 1 กก. มากระจายตัวใน hexane 1.5 ล. ผสมให้เข้ากัน คนตลอดเวลา นาน 24 ชม. กรอง นำกากที่ได้ไปสกัดซ้ำอีก 2 ครั้ง รวมสารสกัดที่ได้ ทำให้แห้งที่อุณหภูมิ 35 oC จะได้สารสกัด Hex 1 และวิธีที่ 2. นำผงแห้งของผลสมอไทย 1 กก. มากระจายตัวใน methanol 1.5 ล. ผสมให้เข้ากัน คนตลอดเวลา นาน 24 ชม. กรอง นำกากที่ได้ไปสกัดซ้ำอีก 2 ครั้ง รวมสารสกัดที่ได้ ทำให้แห้งที่อุณหภูมิ35 oC นำสารสกัด methanol ที่ได้ 100 ก. มาละลายใน 20% methanol ใส่ในอุปกรณ์separatory funnel เติม hexane (ไม่ระบุปริมาตร) ผสมและทิ้งไว้ให้แยกชั้น เก็บชั้น hexane นำชั้นของ 20% methanol มาสกัดซ้ำด้วย hexane อีก 2 ครั้ง รวมชั้น hexane กรอง ทำให้แห้งที่อุณหภูมิ 35 oC จะได้สารสกัด Hex 2 การทดสอบด้วยวิธี DPPH assay พบว่าสารสกัด Hex 1 และ 2 ที่ความเข้มข้น 500 มคก./มล. ยับยั้งอนุมูลอิสระได้ 7.1% และ 67% ตามลำดับ การทดสอบด้วยวิธี deoxyribose assay พบว่าสารสกัด Hex 1 และ 2 ที่ความเข้มข้น 300 มคก./มล. ยับยั้งอนุมูลอิสระได้ 9.5% และ 49.2% ตามลำดับ
การทดสอบด้วยวิธี reducing power assay พบว่าสารสกัด Hex 1 และ 2 ที่ความเข้มข้น 500 มคก./มล. แสดงค่าการดูดกลืนแสง 0.228 และ 0.524ตามลำดับการทดสอบด้วยวิธี chelating activity พบว่าสารสกัด Hex 1 และ 2 ที่ความเข้มข้น 250 มคก./มล. แสดงฤทธิ์ iron chelatingได้ 4.8% และ 59.5% ตามลำดับการทดสอบด้วยวิธี lipid peroxidation assay พบว่าสารสกัด Hex 1 และ 2 ที่ความเข้มข้น 300 มคก./มล. ยับยั้งการเกิด lipid peroxidation ได้11.3% และ 60.5% ตามลำดับจากผลการทดสอบข้างต้นจะเห็นว่าสารสกัด Hex 2 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีกว่าสารสกัด Hex 1(66)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุvoucher specimen) ซึ่งสกัดด้วยวิธีที่แตกต่างกัน 2 วิธี คือ วิธีที่ 1. นำผลสมอไทยมาล้าง ทำให้แห้ง และบดเป็นผง จากนั้นนำผงแห้ง 1 กก. มาล้างด้วย hexane (กำจัดสิ่งแปลกปลอม) ทิ้งให้แห้ง เติม chloroform ผสมให้เข้ากัน คนตลอดเวลา นาน 24 ชม. กรอง นำกากที่ได้ไปสกัดซ้ำอีก 2 ครั้ง รวมสารสกัดที่ได้ ทำให้แห้งที่อุณหภูมิห้องจะได้สารสกัด CHL 1 และวิธีที่ 2. นำผงแห้งของผลสมอไทย 1 กก. มากระจายตัวใน methanol ผสมให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้นาน 24 ชม. ที่อุณหภูมิห้องกรอง ทำให้แห้งที่อุณหภูมิห้องนำสารสกัด methanol ที่ได้ 100 ก. มาละลายใน 20% methanol ใส่ในอุปกรณ์separatory funnel แล้วล้างด้วย hexane (กำจัดไขมัน) จากนั้นจึงเติม chloroform ผสมและทิ้งไว้ให้แยกชั้น เก็บชั้น chloroform นำชั้นของ 20% methanol มาสกัดซ้ำด้วย chloroform อีก 2 ครั้ง รวมชั้น chloroform กรอง ทำให้แห้งที่อุณหภูมิจะได้สารสกัด CHL 2 การทดสอบด้วยวิธี DPPH assay พบว่าสารสกัด CHL 1 และ 2 ที่ความเข้มข้น 500 มคก./มล. ยับยั้งอนุมูลอิสระได้ 8.1% และ 58.2% ตามลำดับ การทดสอบด้วยวิธี deoxyribose assay พบว่าสารสกัด CHL 1 และ 2 ที่ความเข้มข้น 300 มคก./มล. ยับยั้งอนุมูลอิสระได้ 36.2% และ 57.5% ตามลำดับการทดสอบด้วยวิธี reducing power assay พบว่าสารสกัด CHL 1 และ 2 ที่ความเข้มข้น 500 มคก./มล. แสดงค่าการดูดกลืนแสง 0.255 และ 0.555ตามลำดับการทดสอบด้วยวิธี chelating power assay พบว่าสารสกัด CHL 1 และ 2 ที่ความเข้มข้น 250 มคก./มล. แสดงฤทธิ์ iron chelatingได้ 7.5% และ 57.3% ตามลำดับการทดสอบด้วยวิธี lipid peroxidation assay พบว่าสารสกัด CHL 1 และ 2 ที่ความเข้มข้น 300 มคก./มล. ยับยั้งการเกิด lipid peroxidation ได้17.3% และ 62.3% ตามลำดับจากผลการทดสอบข้างต้นจะเห็นว่าสารสกัด CHL 2 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีกว่าสารสกัด CHL 1 (67)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากจังหวัดสกลนครและนครพนม (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยที่ถูกทำให้แห้งด้วยความเย็น 1 ก. มาสกัดด้วย 80% methanol 10 มล. ที่อุณหภูมิห้อง โดยใช้อุปกรณ์ orbital shaker ที่ความเร็ว 180 รอบ/นาทีนาน 2 ชม. นำสารสกัดที่ได้ไปปั่นด้วยเครื่อง centrifuge ความเร็ว1,400 xg นาน 20 นาที เก็บส่วนใส นำกากที่เหลือไปสกัดซ้ำ รวมสารสกัดที่ได้ การทดสอบด้วยวิธี DPPH assay พบว่า ผลสมอไทย 1 ก. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่ากับสารมาตรฐาน ascorbic acid 3.59 มก. (mg ascorbic acid/g) โดย ascorbic acid มีค่า IC50เท่ากับ2.35มคก./มล.และการทดสอบด้วยวิธี FRAP assay พบว่า ผลสมอไทย 1 ก. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่ากับ ferrous sulfate (FeSO4) 62.64 มิลลิโมล (mmol FeSO4/g)(68)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยนำผงแห้งของสมอไทยมาสกัดด้วย 70% propylene glycol ในน้ำ นาน 48 ชม. กรอง การทดสอบด้วยวิธีDPPH assay พบว่า สารสกัด 70% hydroglycol มีค่า IC50เท่ากับ 32.36 มคก./มล. การทดสอบด้วยวิธี ABTS assay พบว่า สารสกัด 70% hydroglycol 1 ก. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่าสารมาตรฐาน Trolox 93.8 มก. (mg Trolox equivalent g-1of extract) และการทดสอบด้วยวิธี photochemiluminescence (PCL) assay พบว่า สารสกัด 70% hydroglycol 1 ก. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่าสารมาตรฐาน ascorbic acid 140.2 มก. (mg ascorbic acid equivalent g-1of extract) และเทียบเท่าสารมาตรฐาน Trolox 107.5 มก. (69)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสาร triethylchebulate (TCL) ซึ่งเป็น aglycone ที่แยกได้จากผลสมอไทย(ไม่ระบุแหล่งที่มา,voucher specimen และวิธีการแยกสารสำคัญ) ด้วยวิธี DPPH assay พบว่า TCL มีค่า IC50เท่ากับ 24 ไมโครโมลาร์ การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการแตกของเม็ดเลือดแดงจากการเหนี่ยวนำด้วย hydrogen peroxide (H2O2-inducedRBCs hemolysis) พบว่าTCL มีค่า IC50เท่ากับ 42 ไมโครโมลาร์ และการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเกิด lipid peroxidationพบว่าTCL มีค่า IC50เท่ากับ 466 ไมโครโมลาร์ (15)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากจังหวัดมหาสารคาม (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำเฉพาะส่วนเนื้อผลมาผึ่งลมให้แห้ง จนมีความชื้นน้อยกว่า 10% บดเป็นผงละเอียด สกัดด้วยน้ำ และ 80% ethanol อัตราส่วน 1:5 w/v สกัดนาน 12 ชม. โดยกวนด้วยความเร็ว 150 รอบ/นาที ที่อุณหภูมิห้อง (28-30 oC) นำสารสกัดที่ได้มาปั่นด้วยเครื่อง centrifuge ความเร็ว 4,000 รอบ/นาที นาน 10 นาที เก็บส่วนใส ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator อุณหภูมิ 45 oC นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay พบว่า สารสกัดน้ำและสารสกัด 80% ethanol มีค่าIC50 เท่ากับ 3.73 และ 3.81 มก./มล. ตามลำดับ และการทดสอบด้วยวิธี FRAPassay พบว่า สารสกัดน้ำและสารสกัด 80% ethanol จากเนื้อผลแห้ง 1 ก. สามารถต้านอนุมูลอิสระได้เทียบเท่ากับ ferrous sulfate (FeSO4) 80.58 และ 65.93 มิลลิโมล (mmol FeSO4 eq g-1 dried fruit) ตามลำดับ (49)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากจังหวัดระยอง (voucher specimen: SKP049200301) โดยนำผลสมอไทยมาทำความสะอาด อบให้แห้งที่อุณหภูมิ 50 oC บดเป็นผงหยาบ ๆ นำมาแช่สกัดใน 95% ethanol นาน 3 วัน กรอง ระเหยตัวทำละลายออกนำกากที่เหลือมาสกัดซ้ำอีก 2 รอบ รวมสารสกัดที่ได้ และระเหยตัวทำละลายออกนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay พบว่าสารสกัด 95% ethanol ของผลสมอไทยมีค่าEC50เท่ากับ 4.98 มคก./มล. ในขณะที่สารมาตรฐาน BHT มีค่า EC50เท่ากับ 12.89 มคก./มล. (70)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผงแห้งของผลสมอไทยมาสกัดด้วยน้ำ โดยใช้วิธีที่แตกต่างกัน 3 วิธี ได้แก่ 1) สกัดด้วยการต้ม(Hot aqueous extract) โดยต้มผงสมอไทย 10 ก. กับน้ำ 100 มล. นาน 30 นาที จากนั้นทิ้งไว้ 24 ชม.กรอง และระเหยตัวทำละลายออก 2) สกัดด้วยไมโครเวฟ(microwave extract)โดยผสมผงสมอไทย 10 ก. กับน้ำ 100 มล. นำไปเข้าเครื่องไมโครเวฟเปิดไฟแรงสุด นาน 5 นาที จากนั้นทิ้งไว้ 24 ชม.กรอง และระเหยตัวทำละลายออก3) สกัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasonication extract) โดยผสมผงสมอไทย 10 ก. กับน้ำ 100 มล. นำไปสกัดด้วยเครื่อง sonicator นาน 5 นาที จากนั้นทิ้งไว้ 24 ชม.กรอง และระเหยตัวทำละลายออกนำสารสกัดทั้งหมดมาทดสอบด้วยวิธีDPPH assay พบว่าสารสกัดน้ำซึ่งสกัดด้วยวิธีต้ม, ใช้ไมโครเวฟ, และใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ที่ความเข้มข้นเท่ากัน (10 ก./ตัวทำละลาย 100 มล.) สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ 51.6%, 82.2%, และ 61.29% ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นว่า การสกัดด้วยไมโครเวฟทำให้ได้สารสกัดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีกว่าการสกัดด้วยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงและการต้ม (71)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของโปรตีน TCP-III (เป็นโปรตีนขนาด 16 kDa)ซึ่งแยกได้จากผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) ด้วยวิธีDPPH assay โดยใช้ TCP-III ความเข้มข้น 6-30 ไมโครโมลาร์ พบว่า TCP-III ที่ความเข้มข้น 6 และ 24 ไมโครโมลาร์ สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ 42% และ 90% ตามลำดับ โดยความเข้มข้นที่สูงกว่า 24 ไมโครโมลาร์ ก็สามารถยับยั้งได้ 90%(22)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: 76487/AGP/09) โดยนำผงแห้งของผลสมอไทย 500 ก. มาสกัดด้วยhexane, ethyl acetate, methanol, และ 70% methanol ขนาด 1 ล. ตามลำดับ (ไม่ระบุวิธีสกัด) สำหรับสารสกัด hexane, ethyl acetate, methanol นำมากรอง และระเหยตัวทำละลายออกโดยการลดความดัน ที่อุณหภูมิ 45 oC ซึ่งจะได้สารสกัด TC-1, TC-2, และ TC-3 ตามลำดับ ส่วนสารสกัด 70% methanol นำมาทำให้แห้งด้วยความเย็น ซึ่งจะได้สารสกัด TC-4 เนื่องจากการตรวจสอบสารเคมีเบื้องต้นไม่พบสารประกอบฟีนอลิกใน TC-1 จึงทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระกับ TC-2, TC-3 และ TC-4 เท่านั้น การทดสอบด้วยวิธี DPPH assay พบว่า TC-2, TC-3 และ TC-4 มีค่า IC50เท่ากับ 2.01, 3.91, และ 3.99 มคก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน gallic acid และ BHT มีค่า IC50เท่ากับ 1.4 และ7 มคก./มล. ตามลำดับการทดสอบด้วยวิธี ABTS assay พบว่า TC-2, TC-3 และ TC-4 มีค่า IC50เท่ากับ 2.52, 4.65, และ 4.52 มคก./มล. ตามลำดับในขณะที่สารมาตรฐาน Troloxและ ascorbic acid มีค่า IC50เท่ากับ 2.2และ2.78มคก./มล. ตามลำดับและการทดสอบด้วยวิธี superoxide radical anion scavenging assay พบว่า TC-2, TC-3 และ TC-4 มีค่า IC50เท่ากับ 7.03, 12.51, และ 8.25 มคก./มล. ตามลำดับในขณะที่สารมาตรฐาน catechinมีค่า IC50เท่ากับ 14.6มคก./มล. จะเห็นว่าสารสกัด ethyl acetate มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีกว่าสารสกัดmethanol และสารสกัด 70% methanol(72)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: CRHS 113/08) โดยนำผงแห้งของผลสมอไทย 100 ก. มาสกัดด้วย 60% ethanol 500 มล. โดยการคนด้วยเครื่อง magnetic stirrer นาน 15 ชม. จากนั้นนำมาปั่นด้วยเครื่อง centrifuge ที่ความเร็ว2,850 xg เก็บส่วนใส นำกากที่เหลือไปสกัดซ้ำ รวมสารสกัดที่ได้ ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator ที่อุณหภูมิห้อง และทำให้แห้งด้วยความเย็น นำสารสกัดที่ได้มาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระต่าง ๆ ได้แก่ superoxide (O2∙-), nitric oxide (NO∙), peroxynitrite (ONOO∙-), singlet oxygen (1O2), และ hypochlorous acid (HOCl) พบว่ามีค่า IC50เท่ากับ 14.03, 38.72, 1,056.60, 95.0, และ 295.03 มคก./มล. ตามลำดับในขณะที่สารมาตรฐานมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดังนี้ quercetin มีค่า IC50ต่อ superoxide เท่ากับ 42.06 มคก./มล., curcumin มีค่า IC50ต่อ nitric oxide เท่ากับ 90.82 มคก./มล., gallic acid มีค่า IC50ต่อ peroxynitrite เท่ากับ 876.25 มคก./มล., lipoic acid มีค่า IC50ต่อ singlet oxygen เท่ากับ 46.16 มคก./มล., และ ascorbic acid มีค่า IC50ต่อ hypochlorous acid เท่ากับ 235.96 มคก./มล. (73)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: CRHS 113/08) โดยนำผงแห้งของผลสมอไทย 100 ก. มาสกัดด้วย 70% methanol 500 มล. โดยการคนด้วยเครื่อง magnetic stirrer นาน 15 ชม. จากนั้นนำมาปั่นด้วยเครื่อง centrifuge ที่ความเร็ว 2,850 xg เก็บส่วนใส นำกากที่เหลือไปสกัดซ้ำ รวมสารสกัดที่ได้ ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator ที่อุณหภูมิห้อง และทำให้แห้งด้วยความเย็นนำมาทดสอบด้วยวิธีiron chelation assay พบว่า มีค่า IC50เท่ากับ 27.19 มคก./มล. ในขณะที่สารมาตรฐานethylenediaminetetraacetic acid (EDTA)มีค่า IC50เท่ากับ 1.27 มคก./มล. (74)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทย(ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยนำผลแห้งของสมอไทยมาบดละเอียด นำผง 2 ก. มาสกัดด้วย methanol, น้ำ, หรือ 95% ethanol ขนาด 20 มล. โดยใช้เครื่อง ultrasonic cleaner นาน 15 นาที ที่อุณหภูมิห้อง กรอง ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator ที่อุณหภูมิ 40oC และทำให้แห้งด้วยเครื่อง freeze dryer 1 คืน ซึ่งจะได้สารสกัด methanol, สารสกัดน้ำ, และสารสกัด 95% ethanol การทดสอบด้วยวิธี HRP-luminol-H2O2 assay พบว่า สารสกัด methanol, สารสกัดน้ำ, และสารสกัด 95% ethanol มีค่า IC50เท่ากับ 6.9, 42.4, และ 17.7 มคก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน vitamin C และ Trolox มีค่า IC50เท่ากับ 14.8 และ 3.2 มคก./มล. ตามลำดับ การทดสอบด้วยวิธี pyrogallol-luminol assay พบว่า สารสกัด methanol, สารสกัดน้ำ, และสารสกัด 95% ethanol มีค่า IC50เท่ากับ 184.8, 235.5, และ 146.0 มคก./มล. ตามลำดับในขณะที่สารมาตรฐาน vitamin C และ Trolox มีค่า IC50เท่ากับ>1,000 และ 209.6 มคก./มล. ตามลำดับ การทดสอบด้วยวิธี CuSO4-Phen-Vc-H2O2assay พบว่า สารสกัด methanol, สารสกัดน้ำ, และสารสกัด 95% ethanol มีค่า IC50เท่ากับ 6.3, 4.5, และ 6.7 มคก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน vitamin C และ Trolox มีค่า IC50เท่ากับ 699.3 และ 5.8 มคก./มล. ตามลำดับ และการทดสอบด้วยวิธี luminol-H2O2assay พบว่า สารสกัด methanol, สารสกัดน้ำ, และสารสกัด 95% ethanol มีค่า IC50เท่ากับ 1.7, 1.3, และ 1.8 มคก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน vitamin C และ Trolox มีค่า IC50เท่ากับ 32.8 และ 0.8 มคก./มล. ตามลำดับ(75)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทย(ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยนำผงแห้งของผลสมอไทย 1 ก. มาสกัดด้วย methanol 100 มล. โดยใช้การคนด้วยเครื่อง steelmet incubator shaker ความเร็ว 150 รอบ/นาที ที่อุณหภูมิห้อง นาน 3 ชม. จากนั้นนำไปปั่นด้วยเครื่อง centrifuge ความเร็ว8,000 xg นาน 10 นาที เก็บส่วนใส การทดสอบด้วยวิธีlipid peroxidation inhibition assay โดยใช้สารสกัด 0.1 มล. พบว่าสามารถยับยั้งได้ 69.68% การทดสอบด้วยวิธีDPPH assay โดยใช้สารสกัด 1 มล. พบว่าสามารถยับยั้งได้ 92.42% การทดสอบด้วยวิธีABTS assay โดยใช้สารสกัด 0.2 มล. พบว่าสามารถยับยั้งได้ 100% การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระ nitric oxide(NO•) โดยใช้สารสกัด 0.5 มล. พบว่าสามารถยับยั้งได้ 34.66% และการทดสอบฤทธิ์ยับยั้ง hydrogen peroxide (H2O2) โดยใช้สารสกัด 4 มล. พบว่าสามารถยับยั้งได้ 27.70% (76)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: PARC/2013/2102) โดยนำผลแห้งของสมอไทยมาบดหยาบ ๆ นำผง 100 ก. มาแช่ใน 70% ethanol 250 มล. นาน 3-5 วัน โดยมีการเขย่าเป็นครั้งคราว กรอง ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator และทำให้แห้งด้วยความเย็น นำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระชนิดต่าง ๆ ได้แก่ DPPH, superoxide, และ nitric oxide พบว่า 70% ethanol ของผลสมอไทยมีค่า IC50 เท่ากับ 37.4, 37.85, และ 34.37 มคก./มล. ตามลำดับในขณะที่สารมาตรฐาน ascorbic acid มีค่า IC50 ต่อ DPPH เท่ากับ 38.76 มคก./มล. และสารมาตรฐาน rutin มีค่า IC50 ต่อ superoxide และ nitric oxide เท่ากับ 40.57 และ45.84 มคก./มล. ตามลำดับ(77)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยมาอบให้แห้งที่อุณหภูมิ 55 oC และบดให้ละเอียด นำผงแห้ง 5 ก. มาสกัดด้วย methanol 70 มล. โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet ที่อุณหภูมิ 60 oC กรอง ระเหยตัวทำละลายออก นำสารสกัดที่ได้มาทดสอบด้วยวิธีDPPH assay พบว่า สารสกัด methanol ของผลสมอไทยความเข้มข้น 0.1 มก./มล. สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ 86.3% และมีค่า IC50เท่ากับ 8.5 มคก./มล.(78)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสมอไทยชนิดผลสีเหลือง (voucher specimen: HU/FEM/RC/S01030)และสมอไทยชนิดผลสีดำ (voucher specimen: HU/FEM/RC/S01031)จากประเทศปากีสถาน โดยนำผลสมอไทยมาทำให้แห้ง บดให้ละเอียด นำผงแห้ง 5 ก. มาแช่ในน้ำร้อน 250 มล. นาน 30 นาที กรอง นำกากที่เหลือไปสกัดซ้ำ 2 ครั้ง รวมสารสกัดที่ได้ ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator ที่อุณหภูมิ 50 oC นำสารสกัดที่ได้มาทดสอบด้วยวิธีDPPH assay พบว่า สารสกัดน้ำของสมอไทยชนิดผลสีเหลืองและสารสกัดน้ำของสมอไทยชนิดผลสีดำมีค่า IC50เท่ากับ 20.24 และ17.33 มคก./มล. ตามลำดับ (79-80)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยนำผลสมอแห้งมาสกัดด้วยน้ำร้อน โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet นาน 3 ชม. กรอง ระเหยตัวทำละลายออก และทำให้แห้งด้วยความเย็น นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay และ metal-chelating activity พบว่าสารสกัดน้ำของผลสมอไทยมีค่า IC50เท่ากับ 1.52 และ 712.1 มคก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน gallic acid มีค่า IC50เท่ากับ 0.85 และ 33.4 มคก./มล. ตามลำดับ และสารมาตรฐาน chebulic acid มีค่า IC50เท่ากับ1.1และ 75.4 มคก./มล. ตามลำดับ (81)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: A-17) โดยนำผลสมอไทยมาผึ่งให้แห้งในที่ร่ม บดเป็นผงละเอียด นำผงแห้ง 10 ก. มาสกัดด้วย hexane, ethanol, และน้ำ ตามลำดับ โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet นาน 8 ชม. ระเหยตัวทำละลายออกที่อุณหภูมิห้อง นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay, hydroxyl (OH) radical scavenging assay, และsuperoxide radical (SOR) scavenging assay โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 1 มก./มล. พบว่า สารสกัด ethanol ยับยั้ง DPPH, OH, และ SOR ได้ 84.19%, 38.05%, และ 25.55% ตามลำดับ สารสกัดน้ำยับยั้ง DPPH และ SOR ได้ 84.02% และ 27.48% ตามลำดับ (ไม่แสดงฤทธิ์ยับยั้ง OH) และสารสกัด hexane ยับยั้ง OH ได้ 91.65% (ไม่แสดงฤทธิ์ยับยั้ง DPPH และ SOR) ในขณะที่สารมาตรฐาน ascorbic acid ความเข้มข้น 1 มิลลิโมลาร์ สามารถยับยั้ง DPPH, OH, และ SOR ได้ 81.27%, 2.63%, และ 52.95% ตามลำดับ (82)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผงแห้งของผลสมอไทยมาสกัดด้วย methanol อัตราส่วน 1:10 โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet ที่อุณหภูมิ 65 oC การทดสอบ total antioxidant capacity (TAC) และ ferric ion reducing power (FIRP) พบว่า สารสกัด methanolของผลสมอไทย 1 ก. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่าสารมาตรฐาน ascorbic acid 153.8 และ 308.9 มก.(mg of ascorbic acid equivalents per g of dry extract) ตามลำดับ การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH และnitric oxide พบว่า สารสกัด methanolของผลสมอไทยมีค่า IC50เท่ากับ 28.64 และ 56.66 มคก./มล. ตามลำดับ(83)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศมาเลเซีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผงแห้งของผลสมอไทยมาแช่สกัดด้วย methanol นาน 7 วัน โดยมีการเขย่าบ่อย ๆ กรอง และระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporatorที่อุณหภูมิ 40oCทำการทดสอบด้วยวิธี DPPH assay พบว่าสารสกัด methanolของผลสมอไทยมีค่า IC50เท่ากับ 4.42 มคก./มล. ในขณะที่สารมาตรฐาน BHT มีค่า IC50เท่ากับ29.03มคก./มล. (84)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทย(ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยนำผงแห้งของผลสมอไทย 50 ก. มาเติม methanol 500 มล. ทิ้งไว้ 1 คืน กรอง และระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporatorการทดสอบด้วยวิธีDPPH assay, nitric oxide radical inhibition assay, และ hydrogen peroxide scavenging assay โดยใช้สารสกัดขนาด 200-600 มคก. พบว่าที่ขนาด 600 มคก. แสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด โดยสามารถยับยั้งอนุมูลอิสระทั้ง 3 ชนิดได้ 78.93%, 66.71%, และ 65.12% ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน ascorbic acidที่ขนาด 600 มคก. สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระทั้ง 3 ชนิดได้ 87.83%, 84.95%, และ 79.73% ตามลำดับ (85)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยนำผงแห้งของผลสมอไทยมาแช่สกัดด้วย 70% ethanol นาน 48 ชม. และนำมาทำให้แห้งภายใต้ภาวะสุญญากาศ การทดสอบวิธี DPPH assay พบว่าสารสกัด 70% ethanol ของผลสมอไทยมีค่า EC50เท่ากับ 153.8 ± 0.2 มคก./มล. ในขณะที่สามมาตรฐานวิตามินซี มีค่า EC50เท่ากับ 9.74 ± 0.1 มคก./มล. (86)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากจังหวัดเชียงใหม่ (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลแห้งของสมอไทยมาทำความสะอาด ทุบให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ นำมา 200-300 ก. สกัดด้วย 70% ethanol 400-700 มล. โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet และกรอง การทดสอบด้วยวิธีABTS assay พบว่า สารสกัด 70% ethanolของผลสมอไทย 1 ก. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่าสารมาตรฐาน Trolox 388.95 มก. (Trolox equivalent antioxidant capacity per g of the plant extract) (87)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยมาผึ่งให้แห้งในที่ร่ม บดเป็นผงละเอียด นำผง 100 ก. มาสกัดด้วย methanol 500 มล. ที่อุณหภูมิ 40 oC โดยมีการคนอย่างต่อเนื่อง นาน 6 ชม. ทำการสกัดซ้ำ 3 ครั้ง รวมสารสกัดที่ได้ กรอง และทำให้แห้งด้วยความเย็น ซึ่งจะได้สารสกัดหยาบของ methanol นำมาสกัดต่อด้วย chloroform, ethyl acetate, acetone, และ methanol ซึ่งจะได้ส่วนสกัดchloroform, ส่วนสกัดethyl acetate, ส่วนสกัดacetone, และส่วนสกัด methanol ตามลำดับ นำสารสกัดหยาบและส่วนสกัดที่ได้มาทดสอบด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
การทดสอบด้วยวิธี DPPH assay พบว่า สารสกัดหยาบของ methanol, ส่วนสกัด chloroform, ส่วนสกัด ethyl acetate, ส่วนสกัด acetone, และส่วนสกัด methanol ของผลสมอไทยมีค่า EC50เท่ากับ 12.9, 64.5, 17.4, 9.9, และ 24.1 มคก./มล. ตามลำดับ
การทดสอบด้วยวิธี reducing powerassay พบว่าสารสกัดหยาบของ methanol, ส่วนสกัด chloroform, ส่วนสกัด ethyl acetate, ส่วนสกัด acetone, และส่วนสกัด methanol ของผลสมอไทย มีค่า EC50เท่ากับ 104.0, 527.0, 126.0, 71.4, และ 170.0 มคก./มล. ตามลำดับ
การทดสอบฤทธิ์ superoxide radical scavenging activity พบว่า สารสกัดหยาบของ methanol, ส่วนสกัด chloroform, ส่วนสกัด ethyl acetate, ส่วนสกัด acetone, และส่วนสกัด methanol ของผลสมอไทย มีค่า EC50เท่ากับ 34.8, 86.3, 40.3, 27.0, และ 47.7 มคก./มล. ตามลำดับ
การทดสอบฤทธิ์ hydroxyl radical scavenging activity พบว่า สารสกัดหยาบของ methanol, ส่วนสกัด chloroform, ส่วนสกัด ethyl acetate, ส่วนสกัด acetone, และส่วนสกัด methanol ของผลสมอไทย มีค่า EC50เท่ากับ 42.9, 97.4, 50.4, 35.6, และ 56.8 มคก./มล. ตามลำดับ
การทดสอบฤทธิ์ chelating power ต่อ ferrous (Fe2+) ions พบว่า สารสกัดหยาบของ methanol, ส่วนสกัด chloroform, ส่วนสกัด ethyl acetate, ส่วนสกัด acetone, และส่วนสกัด methanol ของผลสมอไทย ที่ความเข้มข้น 500 มคก./มล. มี %chelating effectเท่ากับ 67.4, 27.1, 41.3, 70.6, และ 61.2%
จากผลการทดสอบข้างต้นจะเห็นว่าส่วนสกัด acetone มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด รองลงมาคือสารสกัดหยาบของ methanol(88)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสดของสมอไทยมาทำความสะอาด ผึ่งลมให้แห้งในที่ร่ม บดให้เป็นผง สกัดด้วย 80% methanol ด้วยอุปกรณ์ soxhlet ล้างสารสกัดที่ได้ด้วยpetroleum ether เพื่อกำจัดไขมัน กรอง นำมาสกัดแยกส่วนด้วย diethyl ether และ ethyl acetate ซึ่งจะได้ส่วนสกัด diethyl ether และส่วนสกัดethyl acetate ตามลำดับ นำมาทำให้แห้งใน fume hood การทดสอบด้วยวิธี DPPH assay พบว่า ส่วนสกัด diethyl ether และส่วนสกัดethyl acetate มีค่า EC50เท่ากับ 9.69 และ 8.99 มคก./มล. ตามลำดับ (ที่ความเข้มข้น 25 มคก./มล. สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ 91.35% และ 89.74% ตามลำดับ) การทดสอบด้วยวิธี reducing power assay พบว่า ส่วนสกัด diethyl ether และส่วนสกัดethyl acetate มีค่า EC50เท่ากับ 23.72 และ 18.94 มคก./มล. ตามลำดับ และการทดสอบด้วยวิธี total antioxidant assay พบว่า ส่วนสกัด diethyl ether และส่วนสกัดethyl acetate 1 ก. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเทียบเท่ากับสารมาตรฐาน ascorbic acid 918.4 และ 892.8 มก. (89)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: NS001) โดยนำผลสดของสมอไทยมาทำความสะอาด ผึ่งลมให้แห้งในที่ร่ม บดให้เป็นผง นำผงแห้ง 100 ก. มาสกัดด้วย petroleum ether, chloroform, ethyl acetate, methanol, และน้ำด้วยอุปกรณ์ soxhlet อุณหภูมิ 60-80 oC (ขึ้นอยู่กับจุดเดือดของตัวทำละลาย) นาน 12 ชม. กรอง ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator อุณหภูมิ 60-80 oC ซึ่งจะได้สารสกัด petroleum ether, สารสกัด chloroform, สารสกัด ethyl acetate, สารสกัด methanol, และสารสกัดน้ำ การทดสอบด้วยวิธี DPPH assay พบว่า สารสกัด chloroform, สารสกัด ethyl acetate, สารสกัด methanol, และสารสกัดน้ำมีค่า IC50เท่ากับ 64.93, 60.00, 59.45, และ 60.12มคก./มล. ตามลำดับในขณะที่สารมาตรฐาน BHT มีค่า IC50เท่ากับ 72.86 มคก./มล. ส่วนสารสกัด petroleum ether ไม่แสดงฤทธิ์ดังกล่าว และการทดสอบฤทธิ์metal chelating activity พบว่า สารสกัด ethyl acetate และสารสกัด methanol มีค่า IC50 เท่ากับ 489.48 และ 126.02 มคก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน BHT มีค่า IC50 เท่ากับ 462.24 มคก./มล. ส่วนสารสกัด petroleum ether, สารสกัด chloroform และสารสกัดน้ำไม่แสดงฤทธิ์ดังกล่าว (90)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสารสกัด 70% ethanol ของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มา, voucher specimen: no.27) โดยนำผลสมอไทยมาแช่สกัดใน 70% ethanol นาน 72 ชม. กรอง ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator ที่อุณหภูมิ 35 oC และอบที่อุณหภูมิ 40 oC จนแห้งนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay พบว่าสารสกัด 70% ethanol มีค่าIC50 เท่ากับ 4.89 มคก./มล. ในขณะที่สารมาตรฐาน BHT มีค่า IC50เท่ากับ 33.5 มคก./มล. (91)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: HDP 001) โดยนำผลแห้งของสมอไทยมาบดเป็นผง สกัดด้วย 95% ethanol โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet กรอง และระเหยตัวทำละลายออก การทดสอบด้วยวิธี DPPH assay พบว่าสารสกัด 95% ethanol ของผลสมอไทยความเข้มข้น 100, 200, 300, 400, และ 500 มคก./มล. สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ 18%, 22%, 47%, 50%, และ 77% ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน pyrogallol ที่ความเข้มข้นเดียวกัน สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ 38%, 51%, 64%, 75%, และ 84% ตามลำดับ และสารมาตรฐาน ascorbic acid ที่ความเข้มข้นเดียวกัน สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ 86.6%, 90%, 91.6%, 95%, และ 98.3% ตามลำดับ(92)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารโพลีแซคคาไรด์ที่แยกได้จากส่วนเนื้อผลของสมอไทย(TFP-a) จากบริษัทMyryeung herbal medicine corporation ประเทศเกาหลีใต้(voucher specimen: A16064) โดยทำการทดสอบด้วยวิธี DPPH assay, superoxide radical scavenging assay, และ FRAP assayพบว่าTFP-a มีค่า IC50เท่ากับ 0.28, 0.40, และ 0.59 มก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน ascorbic acid มีค่า IC50เท่ากับ 0.0053, 0.12, และ 0.044 มก./มล. ตามลำดับ(23)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยแห้งมาทำความสะอาด ผึ่งลมให้แห้งที่อุณหภูมิห้อง นาน 2-3 วัน บดให้ละเอียด นำมาสกัดด้วย ethanol ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator อุณหภูมิ 40-45 oC นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay, phosphomolybdenum reduction activity, ferric (Fe3+) reducing power activity, และ hydroxyl radical (OH) scavenging activity พบว่าสารสกัด ethanol มีค่า IC50เท่ากับ15.56, 29.59, 20.69, และ 264.55 มคก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน ascorbic acid มีค่า IC50เท่ากับ 10.98, 20.28, 15.11, และ 20.87 มคก./มล. ตามลำดับ (53)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศจีน (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยแห้งมาบดละเอียด สกัดด้วย 70% ethanol ที่อุณหภูมิห้อง นาน 72 ชม. กรอง ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay พบว่า สารสกัด 70% ethanol ความเข้มข้น 5และ 10 มคก./มล. ยับยั้งอนุมูลอิสระได้ 23 ± 0.89%และ 41 ± 1.23% ตามลำดับและการทดสอบด้วยวิธี ABTS assay พบว่าสารสกัด 70% ethanol ความเข้มข้น 5และ 10 มคก./มล. ยับยั้งอนุมูลอิสระได้39 ± 1.01% และ44 ± 1.36 ตามลำดับ (93)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทย (Synastol® TC, บริษัทSytheon) ซึ่งผลรวมของ hydrolysable tannins 70% โดยมีสาร chebulinic acid ≥ 20%, สาร chebulagic acid ≥ 10%, และ free gallic acid ≤ 5% นำสารดังกล่าวไปทดสอบฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระชนิดต่าง ๆ ได้แก่ peroxyl radical, hydroxyl radical, peroxynitrite anion, superoxide anion, และ singlet oxygen พบว่าสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทย 1 ก. มีฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระดังกล่าวได้เทียบเท่าสารมาตรฐาน Trolox 1,601, 24,370, 934, 8,081, และ 961 ไมโครโมล (μmole Trolox equivalents/g) ตามลำดับ และการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ hydrogen peroxide พบว่าสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทยมีค่าEC50เท่ากับ 31 มคก./มล. ในขณะที่สารมาตรฐาน α-tocopherol มีค่า EC50เท่ากับ 153 มคก./มล.การทดสอบlong-lasting antioxidant effectiveness โดยการฉายรังสี UV เสมือนแสงแดด (solar- simulated UV radiation; UVR) ด้วยเครื่อง Rayonet RPR-100 photochemical reactor ขนาด 5.5-93.7 จูล/ตร.ซม. เป็นเวลานาน 0-4 ชม. ทำการวิเคราะห์ผลด้วย hydro oxygen radical absorbance capacity (ORAC) method และ lipophilic ORAC method พบว่า สารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทยสามารถป้องกันการลดประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าสารมาตรฐาน α-tocopherol และการทดสอบในเซลล์ผิวหนังชนิด keratinocytes พบว่า สารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทยสามารถยับยั้งการเพิ่มขึ้นของ ROS และการเกิด lipid peroxidation ภายในเซลล์จากการเหนี่ยวนำด้วยฝุ่นมลภาวะ (urban dust) ได้ (32)
การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยที่โตเต็มที่มาทำความสะอาด ผึ่งลมให้แห้ง นำผลแห้ง 10 ก. มาบดให้เป็นผงโดยใช้ไนโตรเจนเหลว เติม methanol 100 มล. บ่มที่อุณหภูมิ 25 oC นาน 24 ชม. โดยมีการคนตลอดเวลา ด้วยความเร็ว 150 รอบ/นาที ทำการสกัดซ้ำจนตัวทำละลายใสไม่มีสี กรอง ทำการทดสอบด้วยวิธี DPPH assay พบว่า สารสกัด methanol ของผลสมอไทยมีค่า IC50เท่ากับ 38 มคก./มล. (94)
1.4 ฤทธิ์ช่วยให้ผิวอ่อนเยาว์ (S007)
การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์hyaluronidase และ collagenase ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเสื่อมของผิวหนังของสารสกัดน้ำจากผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มา,voucher specimen, และวิธีการสกัด) โดยทำการทดสอบด้วยวิธี hyaluronidase assay และgelatinase spot assay พบว่าสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยความเข้มข้น 0.15 มก./มล. สามารถยับยั้งการออกฤทธิ์ของเอนไซม์ hyaluronidase ได้อย่างสมบูรณ์ในขณะที่สารมาตรฐาน tannic acid ความเข้มข้น 0.07มก./มล. (hyaluronidase inhibitor)สามารถยับยั้งได้ 75-80% และสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยความเข้มข้น 0.08 มก./มล. สามารถยับยั้งการออกฤทธิ์ของเอนไซม์ collagenasetype 2 ได้อย่างสมบูรณ์ในขณะที่สารมาตรฐานO-phenanthroline (เป็น zinc chelator ยับยั้งการออกฤทธิ์ของ collagenase type 2) มีค่า MIC ต่อเอนไซม์ collagenasetype 2เท่ากับ 2 มิลลิโมลาร์ (95)
การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์collagenase และเพิ่มความคงตัวให้กับ collagen ของสารสกัดจากผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยนำผงสมอไทย 1 ก. มาสกัดด้วย methanol/water (50 : 50, v/v) 100 มล. นาน 1 ชม. และ acetone/water (70 : 30, v/v) 100 มล. นาน 1 ชม. นำสารสกัดที่ได้ไปปั่นด้วยเครื่อง centrifuge ความเร็ว 10,000 รอบ/นาที นาน 15 นาที รวมส่วนใสของการสกัดทั้ง 2 เข้าด้วยกัน ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator อุณหภูมิ 50 oC และทำให้แห้งด้วยความเย็น นำไปทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์collagenase ซึ่งแยกได้จากเชื้อ Clostridium histolyticumโดยบ่มสารสกัดความเข้มข้น 10-160 ไมโครโมลาร์ ร่วมกับเอนไซม์collagenase ที่อุณหภูมิ 25oC เป็นเวลานาน 18 ชม. จากนั้นจึงนำไปบ่มรวมกับ collagen ที่แยกได้จากเส้นเอ็นบริเวณหางของหนูแรท (rat-tail tendon; RTT) ที่อุณหภูมิ 37oC เป็นเวลานาน 72 ชม. พบว่า สารสกัดจากผลสมอไทยสามารถยับยั้งการทำลาย collagen ของเอนไซม์collagenase ได้ โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับความเข้มข้นที่ให้ และที่ความเข้มข้น 160 ไมโครโมลาร์ สามารถยับยั้งเอนไซม์collagenase ได้ 85% การวิเคราะห์กลไกการออกฤทธิ์พบว่าสกัดจากผลสมอไทยสามารถยับยั้งเอนไซม์ดังกล่าวแบบแข่งขัน (competitive inhibition) (96)
การทดสอบฤทธิ์ชะลอวัยให้ผิวหนังของสาร 1,2,3,4,6-penta-O-galloyl-β-D-glucose(PGG) ซึ่งแยกได้จากผลสมอไทยจากประเทศเกาหลี (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลแห้งของสมอไทยมาสกัดด้วย 80% methanol นำสารสกัดที่ได้มาระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่องrotary evaporator นำสารสกัดที่ได้มาแยกและทำให้บริสุทธิ์ด้วยเทคนิค column chromatography ซึ่งจะได้สาร PGG ประมาณ 115 มก. นำสาร PGG มาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ elastase และ hyaluronidase ด้วยวิธี elastase assay และ hyaluronidase assay ตามลำดับ และทดสอบผลต่อการแสดงออกของ type II collagen ในเซลล์กระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อของกระต่าย (rabbit articular chondrocytes) โดยใช้สาร PGG ความเข้มข้น 0-100 ไมโครโมลาร์ พบว่า สาร PGG มีค่าIC50 ต่อเอนไซม์ elastase และ hyaluronidase เท่ากับ 57 มคก./มล. และ 0.86 มก./มล. ตามลำดับ และสาร PGG สามารถเพิ่มการแสดงออกของ type II collagen ในเซลล์กระดูกอ่อนได้ดี โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับความเข้มข้นที่ให้ (24)
การทดสอบฤทธิ์ชะลอวัยให้ผิวหนังของสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทย (Synastol® TC, บริษัทSytheon) ซึ่งมีผลรวมของ hydrolysable tannins ≥50%โดยมีสาร chebulinic acid ≥20%, สาร chebulagic acid ≥15%,และ free gallic acid <5%นำสารสกัดมาตรฐานดังกล่าวไปทดสอบฤทธิ์ปกป้องผิว (ประกอบด้วยการทดสอบฤทธิ์quenching properties, xanthine oxidase (XO) inhibition, matrix metalloprotease-1 (MMP-1), MMP-2, MMP-3 inhibition, lipooxygenase (LOX) inhibition, cyclooxygenase-2 (COX-2) modulation, anti-glycation tests) และทดสอบฤทธิ์ฟื้นฟูผิว (ประกอบด้วยการทดสอบฤทธิ์collagen stimulation, hyaluronidase inhibition, glycation reversal, tyrosinase inhibition, และ peroxidase inhibition)ซึ่งมีผลดังนี้
ผลการทดสอบ quenching propertiesพบว่าสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทย 1 ก. มีฤทธิ์ยับยั้งอนุมูลอิสระได้แก่ peroxyl (ORAC), hydroxyl, peroxynitrite, superoxide, และ singlet oxygen ได้เทียบเท่ากับสามาตรฐาน Trolox 1,601, 24,370, 934, 8,081, และ 961 ไมโครโมล ตามลำดับ
ผลการทดสอบ xanthine oxidase (XO) inhibition พบว่าสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทยความเข้มข้น 5, 25, และ 50 มคก./มล. สามารถยับยั้งเอนไซม์ XO ได้ 47%, 88%, และ 92% ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน allopurinol ความเข้มข้น 5 มคก./มล. สามารถยับยั้งเอนไซม์ XO ได้ 46% โดยสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทยและ allopurinol มีค่าIC50ต่อเอนไซม์ XO เท่ากันคือ 6 มคก./มล.
ผลการทดสอบ matrix metalloprotease-1 (MMP-1), MMP-2, MMP-3 inhibition พบว่าสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทยความเข้มข้น 12.5, 25, และ 50 มคก./มล. สามารถยับยั้งเอนไซม์MMP ทั้ง 3 ชนิดได้ดี โดยความเข้มข้น 25 มคก./มล.สามารถยับยั้ง MMP-1 ได้ดีที่สุด และความเข้มข้น 50 มคก./มล.สามารถยับยั้ง MMP-2 และ 3 ได้ดีที่สุด
ผลการทดสอบ lipooxygenase (LOX) inhibition พบว่าสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทยความเข้มข้น 100 มคก./มล. สามารถยับยั้งเอนไซม์ LOX ได้อย่างสมบูรณ์
ผลการทดสอบ cyclooxygenase-2 (COX-2) modulationพบว่าสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทยความเข้มข้น 5 มคก./มล. สามารถยับยั้ง COX-2 gene ได้ 80%
ผลการทดสอบ anti-glycation tests พบว่าสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทยความเข้มข้น 10-100 มคก./มล. สามารถยับยั้งกระบวนการ glycation ได้ดี โดยประสิทธิภาพขึ้นกับความเข้มข้นที่ให้ และที่ความเข้มข้น 100 มคก./มล. สามารถยับยั้งได้ประมาณ 100% ในขณะที่สารมาตรฐาน aminoguanidineความเข้มข้น 74มคก./มล. สามารถยับยั้งได้ <40%
ผลการทดสอบcollagen stimulationพบว่าสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทยความเข้มข้น 6.25-25 มคก./มล. สามารถกระตุ้นการสร้าง collagenI และ III ได้ โดยที่ความเข้มข้น 6.25 มคก./มล. สามารถกระตุ้นการสร้าง collagenI ได้ดีที่สุด และที่ความเข้มข้น 25 มคก./มล. สามารถกระตุ้นการสร้าง collagenIII ได้ดีที่สุด
ผลการทดสอบhyaluronidase inhibition พบว่าสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทยความเข้มข้น 50 และ 100 มคก./มล. สามารถยับยั้งเอนไซม์ hyaluronidase ได้ 17% และ 44% ตามลำดับ
ผลการทดสอบ glycation reversal พบว่าสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทยแสดงฤทธิ์เป็นglycation-reversing โดยทำให้เกิดการแตกของ advance glycation end-product (AGE) cross-links และที่ความเข้มเข้น 0.2-0.8 มก./มล. สามารถออกฤทธิ์ได้ดีกว่าสารมาตรฐาน 2A4, 5DMT ความเข้มข้น 1 มก./มล.
ผลการทดสอบ tyrosinase inhibition พบว่าสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทยความเข้มข้น 12.5, 25, 50, และ 100 มคก./มล. สามารถยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ได้ 8%, 10%, 19%, และ 29% ตามลำดับ
ผลการทดสอบperoxidase inhibition พบว่าสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทยความเข้มข้น12.5, 25, และ 50 มคก./มล. สามารถยับยั้งเอนไซม์ peroxidase ได้ 69%, 97%, และ 97% ตามลำดับ
จากผลการทดสอบทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทยมีฤทธิ์ปกป้องและช่วยฟื้นฟูผิว (31)
การทดสอบฤทธิ์ชะลอวัยของผิวหนังจากผลสมอไทยของบริษัทMaharishi Ayurveda Product Italy (voucher specimen: #MAPL 2104) โดยนำผงแห้งของเนื้อผลสมอไทย 30 ก. มาสกัดด้วย 50% methanol 1.5 มล. ด้วยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (sonication) นาน 30 นาที นำสารสกัดที่ได้มาปั่นด้วยเครื่อง centrifuge (ไม่ระบุความเร็ว) นาน 20 นาที เก็บส่วนใส ระเหยตัวทำละลายจนแห้ง นำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ elastase ด้วยวิธี elastase inhibitory assay โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 50 มคก./มล. พบว่า สารสกัด 50% methanolของผลสมอไทยสามารถยับยั้งเอนไซม์ elastase ได้ 10% (44)
การทดสอบฤทธิ์ชะลอวัยให้ผิวหนังของสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทย (Synastol® TC, บริษัทSytheon) ซึ่งมีผลรวมของสาร hydrolysable tannins เท่ากับ 65-70%โดยมีสาร chebulinic acid ประมาณ20%, สาร chebulagic acid ประมาณ10%,และ free gallic acid <5%นำสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทยความเข้มข้น 1-50 มคก./มล. ไปทดสอบกับEpiDermFT 3D human skin model โดยเซลล์ผิวหนังจะถูกกระตุ้นด้วยสภาวะต่าง ๆ ได้แก่ สภาวะเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress), การกระตุ้นด้วยรังสี UV (solar-simulated UV radiation), และการเกิดแผล (wounding) ซึ่งส่งผลให้ยีนที่เกี่ยวกับการรักษาสมดุลน้ำในผิว (water homeostasis), ความแข็งแรงของผิว (skin barrier establishment), การสร้างหลอดเลือด (blood vessel development), และนาฬิกาชีวภาพของผิว (circadian rhythms) เกิดการเปลี่ยนแปลง จากผลการทดลองพบว่าสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทย สามารถเพิ่มการแสดงออกของ extracellular matrix ได้แก่ collagens (COL1A1, COL1A2) และ proteoglycans (PRELP, OGN) รวมทั้งมีผลยับยั้งเอนไซม์ MMP (MMP-1, MMP-2, MMP-3, MMP-9, MMP-12) นอกจากนี้ยังทำให้ระดับ mRNA และโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิด keratinocyte (KC) differentiation (FLG, LOR) และ transcription factors regulating KC differentiation (FOS, GHRL3, PPARG) เพิ่มขึ้นด้วย โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ ซึ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า สารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทยออกฤทธิ์เสริมความแข็งแรงให้กับผิวหนังและมีฤทธิ์ชะลอวัยให้กับผิวหนัง (45)
1.5 ฤทธิ์ป้องกันรังสี (S008)
การทดสอบฤทธิ์ป้องกันรังสีของผลสมอไทย(ไม่ระบุแหล่งที่มาและvoucher specimen) โดยนำผงแห้งของผลสมอไทยมาแช่สกัดด้วย 70% ethanol นาน 48 ชม. และนำมาทำให้แห้งภายใต้ภาวะสุญญากาศ นำมาทดสอบปกป้องเซลล์ผิวหนังจากรังสี UVB ในเซลล์ผิวหนังชนิด fibroblasts โดยจะบ่มเซลล์ร่วมกับสารสกัด 70% ethanol ความเข้มข้น 50 มคก./มล. นาน 24 ชม. หลังจากนั้นจึงนำไปฉายรังสี UVB ความเข้ม 128 จูล/ตร.ซม. ระยะห่าง 22 ซม. นาน 24 ชม. ทำการวิเคราะห์ผลต่อ procollagen และ MMP-1, MMP-13ด้วย ELISA หลังการฉายรังสี 24 ชม. พบว่า การฉายรังสี UVB ทำให้ระดับ procollagen ในเซลล์ผิวหนังลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฉายรังสี ส่วนกลุ่มที่ได้รับสารสกัด 70% ethanol ก่อนการฉายรังสีพบว่ามีระดับของ type I procollagen เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฉายรังสีและกลุ่มที่ได้รับการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว และการฉายรังสี UVB ทำให้ระดับ MMP-1 เพิ่มขึ้นซึ่งสารสกัด 70% ethanol สามารถยับยั้งการเพิ่มขึ้นนี้ได้ ในขณะที่การฉายรังสีไม่มีผลต่อระดับของ MMP-13 แต่กลุ่มที่ได้รับสารสกัด 70% ethanol จะมีระดับ MMP-13 ลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการฉายรังสีเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังทำการทดสอบเพื่อตรวจสอบว่าการฉายรังสี UVB มีผลต่ออัตราการรอดชีวิตของเซลล์ผิวหนังดังกล่าวหรือไม่ ด้วยวิธี sodium 30-[(phenyl-amino)-carbonyl]-3,4,tetrazolium-bis(4-methoxy-6-notro)benzene-sulphonic acid hydrate (XTT) assay โดยฉายรังสี UVB ที่เซลล์ผิวหนังในขนาดที่ทำการศึกษา ในระยะเวลานาน 4 และ 24 ชม. พบว่าอัตราการรอดชีวิตของเซลล์ที่ได้รับการฉายรังสีและเซลล์ที่ไม่ได้รับการฉายรังสีไม่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่า การฉายรังสีในขนาดที่ทำการทดสอบไม่มีผลต่ออัตราการรอดชีวิตของเซลล์ แต่มีผลให้ระดับprocollagen ลดลง และ MMP-1เพิ่มขึ้น ซึ่งผลดังกล่าว สามารถยับยั้งได้ด้วยสารสกัด 70% ethanolของผลสมอไทย การทดสอบเพิ่มเติมในหนูเม้าส์จำนวน 20 ตัว โดยแบ่งหนูเป็น 5 กลุ่ม มี 1 กลุ่ม เป็นกลุ่มควบคุม ไม่ได้รับการฉายรังสี UVB, มี 2 กลุ่ม ได้รับสารละลายที่มีสารสกัด 70% ethanol ความเข้มข้น 0.5%w/v ขนาด 200 มคล. หรือน้ำกระสายยา และอีก 2กลุ่มที่เหลือได้รับสารละลายวิตามินซีความเข้มข้น 3%w/v ขนาด 200 มคล. หรือน้ำกลั่น โดยจะทาสารทดสอบบริเวณกลางหลังหนูที่โกนขนออก วันละ 1 ครั้ง นาน 12 สัปดาห์ หลังจากทาสารทดสอบแล้ว 2 ชม. หนูจะถูกฉายรังสี UVB 3 ครั้ง/สัปดาห์ (ทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์) โดยเริ่มจากขนาด 18 จูล/ตร.ซม. (8W, 8 นาที) ในสัปดาห์ที่ 1-4, เพิ่มเป็น 36 จูล/ตร.ซม. (8W, 17 นาที) ในสัปดาห์ที่ 4-7, เพิ่มเป็น 54 จูล/ตร.ซม. (8W, 25 นาที) ในสัปดาห์ที่ 7-10, และเพิ่มเป็น 72 จูล/ตร.ซม. (8W, 34 นาที) ในสัปดาห์ที่ 10-12 เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ทำการวิเคราะห์ความหนาของผิวหนังและปริมาณhydroxyproline (เป็นส่วนประกอบสำคัญของ collagen ในผิวหนัง) พบว่า การฉายรังสี UVB ทำให้หนูที่ได้รับน้ำกระสายยาและน้ำกลั่นมีผิวหนังหนาขึ้น 30-35% แต่ไม่พบผลดังกล่าวในหนูที่ได้รับสารสกัด 70% ethanol และวิตามินซี และการฉายรังสี UVB ทำให้ปริมาณของ hydroxyproline ในหนูที่ได้รับน้ำกระสายยาและน้ำกลั่นลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฉายรังสี ในขณะที่หนูที่ได้รับสารสกัด 70% ethanol และวิตามินซี มีปริมาณของ hydroxyproline ไม่เปลี่ยนแปลง แสดงให้เห็นว่า สารสกัด 70% ethanol สามารถปกป้องผิวจากรังสี UVB ได้ (86)
การทดสอบฤทธิ์ป้องกันรังสีของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยมาผึ่งให้แห้งในที่ร่ม บดเป็นผงละเอียด นำผงแห้ง 20 ก. มาสกัดด้วยตัวทำละลายต่าง ๆ ดังนี้ chloroform, ethyl acetate, ethanol, methanol, และน้ำ(deionized water) ทำการสกัด 3 ครั้ง ครั้งละ 50 มล. ด้วยวิธีแช่สกัดแบบเย็น(cold maceration method) ใน glass percolator กรอง รวมสารสกัดแต่ละชนิด ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator อุณหภูมิ 40 oCนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธีDPPH assay และ reducing power assay พบว่าสารสกัดน้ำมีฤทธิ์ดีที่สุด จึงนำเฉพาะสารสกัดน้ำมาเตรียมเป็นครีมที่มีสารสกัดเป็นส่วนประกอบ 0.1%w/w จากนั้นจึงนำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเกิดผิวหนังสะเก็ดเงิน (psoriatic) จากการเหนี่ยวนำด้วยรังสี UV ในหนูแรท โดยโกนขนบริเวณหลังขนาด 10% ของพื้นที่ผิวหนังของร่างกาย แบ่งหนูเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นหนูปกติ (กลุ่มควบคุม) ได้รับน้ำกระสายยา กลุ่มที่ 2 ได้รับการเหนี่ยวนำด้วยรังสี UV ความยาวคลื่น 385 นาโนเมตร ระยะห่าง 20 ซม. นาน 30 นาทีกลุ่มที่ 3 ได้รับการเหนี่ยวนำด้วยรังสี UV และทายามาตรฐาน 0.05% tretinoin gel วันละครั้ง นาน 12 วัน และกลุ่มที่ 4 ได้รับการเหนี่ยวนำด้วยรังสี UV และทาครีมที่มีสารสกัดน้ำเป็นส่วนประกอบ 0.1%w/w วันละครั้ง นาน 12 วัน ทำการวิเคราะห์ลักษณะผิวหนัง ความหนาของผิวหนัง และปริมาณ hydroxyprolineพบว่า tretinoin gel และครีมสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยสามารถลดการเกิดภาวะสะเก็ดเงินจากการเหนี่ยวนำด้วยรังสี UV ได้ การวิเคราะห์ผลด้วยดัชนีความรุนแรง (severity Index; SI) ของการเกิดภาวะสะเก็ดเงินในวันที่ 4, 8, และ 12 พบว่ากลุ่มที่ได้รับครีมสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยมีความรุนแรงลดลง 18.5%, 27.8%, และ 74.6% ตามลำดับ และกลุ่มที่ได้รับ tretinoin gel มีความรุนแรงลดลง 25.9%, 33.3%, และ 100% ตามลำดับ ความหนาของผิวหนังของหนูปกติ,หนูที่ได้รับรังสี, หนูที่ได้รับtretinoin gel, และหนูที่ได้รับครีมสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยเท่ากับ 24.3, 78, 33.9, และ 35.0 มคม. ตามลำดับ และปริมาณ hydroxyproline เท่ากับ 19.8 ± 0.9, 13.9 ± 0.21, 16.8 ± 0.65, และ 16.4 ± 0.53 มคก./เนื้อเยื่อ 100 ก. ตามลำดับ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า สารสกัดน้ำจากผลสมอไทยมีฤทธิ์ปกป้องผิว และป้องกันการเกิดผิวหนังสะเก็ดเงินจากการเหนี่ยวนำด้วยรังสี UV ได้ (97)
1.6 ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (S014)
การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: PR2007-B1) โดยนำผลสมอแห้งมาแยกเมล็ดออก บดเป็นผงละเอียดเติม ethanol (absolute alcohol) ผสมด้วยเครื่อง vortex นาน 1 ชม. จากนั้นนำไปปั่นด้วยเครื่อง centrifuge ความเร็ว5,000×g นาน 5 นาที นำสารสกัดที่ได้ไปทำให้แห้งด้วยความเย็นนำไปแยกสาร chebulagic acid ด้วยวิธี reverse phase HPLC และพิสูจน์โครงสร้างสารด้วย LC-MS, NMR, และ IR (ไม่ระบุรายละเอียด) นำสารสกัด ethanol และสาร chebulagic acid มาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ก่อการอักเสบได้แก่ cyclooxygenase-1 (COX-1), COX-2, และ 5-LOX พบว่าสารสกัด ethanol ของผลสมอไทย มีค่าIC50เท่ากับ 90, 3.75, และ 20 มคก./มล. ตามลำดับ ส่วนสาร chebulagic acid มีค่า IC50เท่ากับ 15, 0.92, และ 2.1 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ (21)
การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของผลสมอไทยจากประเทศเกาหลีใต้ (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยที่หั่นบาง ๆ 200 ก. มาสกัดด้วยน้ำกลั่น 600 มล. กรอง และทำให้แห้งด้วยความเย็น นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบบริเวณใบหูด้วยการทาสาร 2,4-dinitrofluorobenzene (DNFB) ขนาด 20 มคล. (0.2%w/v) โดยทาวันละ 4 ครั้ง ทุก ๆ 3 วัน เป็นเวลานาน 2 สัปดาห์ (ทา DNFB ในวันที่ 5, 8, 11, และ 14) และทาบริเวณดังกล่าวด้วยสารสกัดน้ำของผลสมอไทยความเข้มข้น 100 มคก./มล. ขนาด 20 มคล. วันละ 1 ครั้ง ในวันที่ 6, 7, 9, 10, 12, 13, 15, และ 16 พบว่า สารสกัดน้ำของผลสมอไทยสามารถยับยั้งการแพ้ บวมแดง และการอักเสบอย่างรุนแรงของผิวหนังบริเวณหูหนูจากการเหนี่ยวนำด้วย DNFB ได้ดี การวัดความหนาของใบหนูพบว่า หนูปกติมีความหนาของใบหูประมาณ 26.3 มคม. ในขณะที่หนูที่ถูกเหนี่ยวนำด้วย DNFB มีความหนาของใบหูเป็น 2.1 เท่าของหนูปกติ ซึ่งสารสกัดน้ำของผลสมอไทยสามารถลดขนาดความหนาของใบหูได้ 52% การวิเคราะห์เนื้อเยื่อของใบหูพบว่า DNFB ทำให้จำนวนเซลล์อักเสบ (inflammatory cell) เพิ่มขึ้น 3.4 เท่าของหนูปกติ ซึ่งสารสกัดน้ำของผลสมอไทยสามารถยับยั้งการเพิ่มขึ้นนี้ได้ 69.5% และ DNFB ทำให้มีระดับ eosinophil 10.6±1.1 เซลล์/block ในขณะที่สารสกัดน้ำของผลสมอไทยทำให้มีระดับ eosinophil 5.4±1.8 เซลล์/block ซึ่งจะเห็นว่าสารสกัดน้ำของผลสมอไทยสามารถลดการสะสม eosinophil ได้ 50.2% นอกจากนี้ยังพบว่า สารสกัดน้ำของผลสมอไทยสามารถยับยั้งการแสดงออกของ MMP-9 จากการเหนี่ยวนำด้วย DNFB ได้ แต่ไม่มีผลต่อ MMP-2 และ MMP-3 รวมทั้งทำให้ระดับของ interleukin (IL)-31ลดลง และช่วยให้การทำงานของ T-bet เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้การอักเสบลดลง (98)
การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยจากบริษัท Sunten Pharmaceutical Co. ประเทศไต้หวัน (ไม่ระบุ voucher specimen) ในเซลล์ Jurkat-NF-κB-RE-bla ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วย tumor necrosis factorα ขนาด 10 นาโนกรัม/มล. โดยบ่มเซลล์ร่วมกับสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยความเข้มข้น 30 และ 50 มคก./มล. นาน 5 ชม. พบว่า สารสกัดน้ำจากผลสมอไทยสามารถยับยั้งการทำงานของ necrosis factor-κB(NF-κB), ป้องกันการเกิด IκBαdegradation, และยับยั้งการเกิด IκBαphosphorylationได้ โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ ซึ่งคาดว่ากลไกการออกฤทธิ์น่าจะเกี่ยวข้องกับการยับยั้ง NF-κB translocation และยับยั้งการกระตุ้น NF-κB นอกจากนี้ยังมีผลยับยั้งยีนที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบได้แก่ IL-8 และ monocyte chemoattractant protein 1 (MCP-1) ด้วย (99)
การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของผลสมอไทยจากจังหวัดระยอง (voucher specimen: SKP049200301) โดยนำผลสมอไทยมาทำความสะอาด อบให้แห้งที่อุณหภูมิ 50 oC บดเป็ยผงหยาบ ๆ นำมาแช่สกัดใน 95% ethanol นาน 3 วัน กรอง ระเหยตัวทำละลายออกนำกากที่เหลือมาสกัดซ้ำอีก 2 รอบ รวมสารสกัดที่ได้ และระเหยตัวทำละลายออกนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอักเสบด้วยวิธี nitric oxide inhibition assay ในเซลล์แมคโครฟาจชนิด RAW 264.7 พบว่าสารสกัด 95% ethanol ของผลสมอไทยมีค่า IC50เท่ากับ 3.3 มคก./มล. ในขณะที่ยามาตรฐาน indomethacin มีค่า IC50เท่ากับ 20.3 มคก./มล. (70)
การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของสาร 1, 2, 3, 4, 6-penta-O-galloyl-β-D-glucose (PGG) ซึ่งแยกได้จากผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มา, voucher specimen, และวิธีการแยกสารสำคัญ)ในเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยสาร lipopolysacharide (LPS) และ angiotensin II (Ang II) ความเข้มข้น 1 มคก./มล. และ 10 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ โดยบ่มเซลล์ร่วมกับ PGG ความเข้มข้น 5, 10, 20, และ 50 ไมโครโมลาร์ นาน 24 ชม. พบว่าสาร PGG ทำให้ระดับสารก่อการอักเสบชนิด ROS และ IL-8 ลดลง โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ แต่ไม่มีผลต่อ MMP-9 สาร PGG ทำให้การแสดงออกของ adhesion molecule ชนิด β2 integrin (CD11b) ลดลง แต่ไม่มีผลต่อการแสดงออกของ L-selectin (CD62L) และสาร PGG ขนาด 5และ 20 ไมโครโมลาร์ สามารถยับยั้งกระบวนการ neutrophils adhesion ในเซลล์ human umbilical vein endothelial (HUVEC) ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วย tumor necrosis factor (TNF)-αขนาด 20 นาโนกรัม/มล. ได้ (10)
การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสำคัญที่แยกได้จากสารสกัด methanol จากผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและวิธีแยกสารสำคัญ,voucher specimen: 4989) โดยเป็นสารกลุ่มแทนนิน (tannins) ได้แก่ corilagin, chebulanin, chebulinic acid, 2,3,6-tri-O-galloyl-β-D-glucose และสารกลุ่มไตรเทอปีนอยด์ (triterpenoids) ได้แก่ arjunetin, arjungenin, arjunglucoside I, arjunglucoside II, arjunic acid, arjunolic acid, chebuloside II, terminolic acid โดยทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการสร้างสาร nitric oxide ในเซลล์แมคโครฟาจชนิด RAW 264.7 ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วย LPS พบว่าที่ขนาด 50 ไมโครโมลาร์ สารสำคัญต่าง ๆ สามารถยับยั้งการสร้างnitric oxideได้ 22.3%, 20.6%, 49.8%, 53.3%, 4.4%, 0.1%, 9.1%, 12.5%, 50.3%, 68.8%, 22.3%, และ 26.1% ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน parthenolide ขนาด 10 ไมโครโมลาร์ ยับยั้งได้ 97.8% ซึ่งจะเห็นว่ามีสาร 4 ชนิดที่ออกฤทธิ์ได้ดี ได้แก่ chebulinic acid, 2,3,6-tri-O-galloyl-β-D-glucose, arjunic acid, และ arjunolic acid เมื่อนำมาหาค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งการสร้าง NO ได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) พบว่า สารสำคัญ 4 ชนิด มีค่า IC50เท่ากับ 53.4, 55.2, 48.8, และ 38.0 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ ในขณะที่ parthenolide มีค่า IC50เท่ากับ 1.4 ไมโครโมลาร์ จากนั้นจึงนำสารสำคัญ 4 ชนิด มาทดสอบเพิ่มเติม โดยทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการแสดงออกของ inducible nitric oxide synthase (iNOS) จากการเหนี่ยวนำด้วย LPS พบว่า ที่ความเข้มข้น 10 ไมโครโมลาร์ สาร chebulinic acid, 2,3,6-tri-O-galloyl-β-D-glucose, arjunic acid, และ arjunolic acid สามารถยับยั้ง NOS ได้ 37%, 37%, 35%, และ 55% ตามลำดับ ที่ความเข้มข้น 50 ไมโครโมลาร์สามารถยับยั้ง NOS ได้ 62%, 58%, 54%, และ 69% ตามลำดับในขณะที่ parthenolide ขนาด 10 ไมโครโมลาร์ ยับยั้งได้ 69% และการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการแสดงออกของ COX-2 จากการเหนี่ยวนำด้วย LPS พบว่า ที่ความเข้มข้น 50 ไมโครโมลาร์ สามารถยับยั้ง COX-2 ได้ 35%, 36%, 37%, และ 33% ตามลำดับ (ที่ความเข้มข้น 10 ไมโครโมลาร์ ไม่แสดงฤทธิ์) ในขณะที่ยามาตรฐาน indomethacin ความเข้มข้น 10 ไมโครโมลาร์ ยับยั้งได้ 48% (11)
การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยนำผงแห้งของส่วนเนื้อผล 200 ก. มาสกัดด้วย acetone 2 ล. โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet (ไม่เกิน 8 รอบการ syphon) กรอง ระเหยตัวทำละลายออกจนเหลือสารสกัด 350 มล. ส่วนที่ไม่ละลายจะตกผลึกออกมา เก็บส่วนที่เป็นผลึก นำมาตกผลึกใหม่ด้วย acetone ซึ่งจะได้สาร chebulinic acid ที่เป็นผลึกรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วยการทดสอบการยับยั้ง protein denaturation (inhibition of protein denaturation) พบว่า สาร chebulinic acid มีค่า IC50เท่ากับ 43.92 มคก./มล. ในขณะที่ยามาตรฐาน diclofenac sodium มีค่า IC50 เท่ากับ 47.04 มคก./มล. (29)
การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: TEC01) โดยนำผลสมอไทยมาต้มกับน้ำ (decoction) กรอง และทำให้แห้งด้วยความเย็น นำสารสกัดที่ได้มาทดสอบวิธี electrophoretic mobility shift assay (EMSA) พบว่าสารสกัดน้ำของผลสมอไทยมีค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้ง nuclear factor κB (NF-κB)/DNA interaction ได้ครึ่งหนึ่ง (EC50) เท่ากับ 0.74 มคก./มคล. (100)
การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยนำผลแห้งของสมอไทยมาสกัดด้วยน้ำร้อน โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet นาน 3 ชม.กรอง ระเหยตัวทำละลายออก และทำให้แห้งด้วยความเย็น นำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง nitric oxide, ฤทธิ์ยับยั้งการแสดงออกของ iNOS, และฤทธิ์ยับยั้งการแสดงออก COX-2 ในเซลล์แมคโครฟาจชนิด RAW 264.7 โดยบ่มเซลล์ร่วมกับสารสกัดน้ำขนาด 10-250 มคก./มล. นาน 1 ชม. จากนั้นจึงเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วย LPS ความเข้มข้น 1 มคก./มล. นาน 24 ชม. พบว่าสารสกัดน้ำของผลสมอไทยออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง nitric oxideและยับยั้งการแสดงออกของ iNOS และ COX-2 ได้ โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ (81)
การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: A-17) โดยนำผลสมอไทยมาผึ่งให้แห้งในที่ร่ม บดเป็นผงละเอียด นำผงแห้ง 10 ก. มาสกัดด้วย hexane, ethanol, และน้ำ ตามลำดับ โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet นาน 8 ชม. ระเหยตัวทำละลายออกที่อุณหภูมิห้อง นำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ COX ด้วยวิธี COX inhibition assay โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 1 มก./มล. ขนาด 10 มคล. พบว่าสารสกัด ethanol และสารสกัดน้ำยับยั้ง COX-1 ได้ 86.32% และ 72.16% ตามลำดับ (สารสกัด hexane ไม่แสดงฤทธิ์) และสารสกัด hexane, สารสกัด ethanol และสารสกัดน้ำยับยั้ง COX-2 ได้ 50.88%, 85.40% และ 88.16% ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน aspirin ความเข้มข้น 1 มิลลิโมลาร์ สามารถยับยั้ง COX-1 และ COX-2 ได้ 8.54% และ 11.11% ตามลำดับ (82)
การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยมาทำความสะอาด ผึ่งให้แห้งในที่ร่ม 5-10 วัน บดให้ละเอียด นำมาแช่สกัดด้วย methanol 2-3 วัน และนำมาสกัดโดยใช้อุปกรณ์ soxhlet (ไม่ระบุระยะเวลา) ระเหยตัวทำละลายออก นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วยวิธี human red blood cell (HRBC) membrane stabilization method โดยใช้สารสกัด methanol ความเข้มข้น 100, 200, และ 300 มคก./มล. พบว่ามีค่า % inhibition เท่ากับ 18%, 27%, และ 30% ตามลำดับ ในขณะที่ยามาตรฐาน paracetamol ความเข้มข้น 100 มคก./มล. มีค่า % inhibition เท่ากับ 74% (101)
การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: SJC- BOT/2142) โดยนำผลแห้งของสมอไทยมาทุบและบดให้เป็นผงหยาบ ๆ นำผงหยาบมา 250 ก. สกัดด้วย 80% ethanol 1.5 ล. โดยใช้วิธี reflux นาน 2 ชม. ทำการสกัด 3 ครั้ง ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator นำสารสกัดที่ได้ 15 ก. มาละลายในน้ำกลั่น 100 มล. จากนั้นกำจัดไขมันออกด้วยการสกัดกับ hexane 100 มล. 3 ครั้ง และสกัดด้วย dichloromethane เพื่อกำจัด non-polar compounds นำสารสกัดในชั้นน้ำมาสกัดด้วย ethyl acetate จากนั้นนำสารสกัด ethyl acetate ที่ได้มาระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator ซึ่งจะได้ส่วนสกัดแทนนิน (tannin rich fractions; TRF) นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ทดสอบฤทธิ์ยับยั้ง protein denaturation (Inhibition of protein denaturation), ทดสอบฤทธิ์ยับยั้ง membrane lysis (Membrane stabilization or inhibition of membrane lysis), ทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ proteinase (proteinase inhibitory action), และทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ hyaluronidase (Anti-hyaluronidase activity) ซึ่งพบว่า TRF มีค่าIC50เท่ากับ 128.78, 130.74, 128.78, และ 126.32 มคก./มล. ตามลำดับ ในขณะที่ยามาตรฐาน diclofenac มีค่า IC50เท่ากับ 119.2, 116.63, และ 118.03มคก./มล. ตามลำดับโดยไม่แสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ hyaluronidase (diclofenac ความเข้มข้น 100 มคก./มล. ยับยั้งเอนไซม์ hyaluronidase ได้ 20.1%) (102)
การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: CRHS 113/08) โดยนำผงแห้งของผลสมอไทยมาสกัดด้วย 70% ethanol นำไปปั่นด้วยเครื่อง centrifuge เก็บส่วนใส ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator ที่อุณหภูมิ 40 oC และทำให้แห้งด้วยความเย็น นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในเซลล์แมคโครฟาจชนิด RAW 264.7 ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วย LPS ความเข้มข้น 2 มคก./มล. โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 0-100 มคก./มล. พบว่าสกัด 70% ethanol ของผลสมอไทยทำให้ระดับของ nitrite, TNF-α, และ NF-κB ลดลง แต่ไม่มีผลต่อการแสดงออกของ iNOS และ COX-2 (103)
1.7 ฤทธิ์รักษาแผล (S015)
การทดสอบฤทธิ์รักษาแผลของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มา,voucher specimen: XT001) โดยนำผงแห้งของผลสมอไทยที่ยังไม่โตเต็มที่ (immature fruit) 10 ก. มาแช่ในน้ำ 20 นาที (อัตราส่วน 1:15) จากนั้นจึงให้ความร้อนอุณหภูมิ 50 oC นาน 1 ชม. เติม ethanol จนสารละลายมีความเข้มข้นของ ethanol เป็น 80% ตั้งทิ้งไว้ 12 ชม. นำมาปั่นด้วยเครื่อง centrifuge ความเร็ว 4,000 รอบ/นาที นาน 10 นาที กรอง จะได้สารสกัดแทนนินของผลสมอไทย (tannin extract) การวิเคราะห์ด้วยวิธี casein method พบว่าสารสกัดที่ได้มีปริมาณแทนนิน 81% เมื่อนำสารสกัดแทนนินมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อที่พบได้ในบาดแผล Staphylococcus aureus (ATCC25923) ด้วยวิธี micro-dilution method พบว่ามีค่าMIC และค่าMBC เท่ากับ 0.3125 และ 1.25 มก./มล. ตามลำดับ และเมื่อนำสารสกัดแทนนินมาทดสอบฤทธิ์รักษาแผลในหนูแรท โดยโกนขนบริเวณหลังและทำให้เกิดแผลเป็นลักษณะวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 ซม. จากนั้นแบ่งหนูเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 36 ตัว กลุ่มที่ 1 ทาแผลด้วยขี้ผึ้ง vaseline 5มก./แผล (negative control) กลุ่มที่ 2 ทาแผลด้วยสารสกัดแทนนิน 5 มก./แผล และกลุ่มที่ 3 ทาแผลด้วยขี้ผึ้ง erythromycin 5 มก./แผลทาสารทดสอบวันเว้นวัน หลังจากทำให้เกิดแผลแล้ว หนูในแต่ละกลุ่ม กลุ่มละ 6 ตัว จะถูกการุณยฆาตในวันที่ 1, 3, 7, 10, 14, และ 21 เพื่อนำมาวิเคราะห์ลักษณะการหดตัวของบาดแผล (wound contraction) พบว่า ในวันที่ 7 และ 10 บาดแผลของกลุ่มที่ทาสารสกัดแทนนินและขี้ผึ้ง erythromycin มีการหดตัวได้ดีกว่ากลุ่มที่ทาขี้ผึ้ง vaseline และทุกกลุ่มแผลหายดีก่อนวันที่ 21 การวิเคราะห์เนื้อเยื่อพบว่า ในวันที่ 3 เนื้อเยื่อของกลุ่มที่ทาสารสกัดแทนนินและขี้ผึ้ง erythromycin มีการแสดงออกของ vascular endothelial growth factorA (VEGFA) และ VEGFAmRNA มากกว่ากลุ่มที่ทาขี้ผึ้ง vaseline แสดงให้เห็นว่า สารสกัดแทนนินของผลสมอไทยมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและช่วยสมานแผล (104)
การทดสอบฤทธิ์รักษาแผลของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยนำผงแห้งของผลสมอไทยมาสกัดด้วย 90% ethanol โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet ระเหยตัวทำละลายออก นำมาเตรียมเป็นขี้ผึ้งซึ่งมีสารสกัดเป็นส่วนประกอบ 5%w/w และ 10%w/w นำมาทดสอบฤทธิ์รักษาแผลในหนูแรทที่ถูกทำให้เกิดแผลตัด (incision wound) และแผลเปิด (excision wound) โดยแบ่งหนูเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ได้รับขี้ผึ้งที่ไม่มีสารทดสอบ กลุ่มที่ 2 และ 3 ได้รับขี้ผึ้งที่มีสารสกัด 90% ethanol เป็นส่วนประกอบ 5%w/w และ 10%w/w ตามลำดับ และกลุ่มที่ 4 ได้รับขี้ผึ้งยามาตรฐาน nitrofurazone 0.2%w/w โดยทาสารทดสอบบนแผลวันละ 2 ครั้ง และเฝ้าสังเกตลักษณะแผลจนกว่าแผลจะหาย พบว่าขี้ผึ้งที่มีสารสกัด 90% ethanol ทั้ง 2 ความเข้มข้น มีฤทธิ์ในการรักษาแผลชนิด incision และ excision wound อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยขี้ผึ้งที่มีสารสกัดเป็นส่วนประกอบ 10%w/w ให้ผลการรักษาแผลได้ใกล้เคียงกับขี้ผึ้งยามาตรฐาน โดยจะเริ่มเห็นผลในการรักษาในวันที่ 4 และแผลหายสนิทในวันที่ 18 และมีค่าความทนต่อแรงดึง (tensile strength) ของ incision wound (ทดสอบในวันที่ 10 หลังการเหนี่ยวนำให้เกิดแผล) เท่ากับ 529 ก. ส่วนขี้ผึ้งที่มีสารสกัดเป็นส่วนประกอบ 5%w/w จะเริ่มเห็นผลในการรักษาในวันที่ 8 และแผลหายสนิทในวันที่ 20 และมีค่าความทนต่อแรงดึงเท่ากับ 445 ก. ในขณะที่ขี้ผึ้งยามาตรฐาน nitrofurazone แผลจะหายสนิทในวันที่ 18 และมีค่าความทนต่อแรงดึง 564 ก. ส่วนกลุ่มควบคุมแผลจะหายสนิทในวันที่ 24 และมีค่าความทนต่อแรงดึง 310 ก. แสดงให้เห็นว่า สารสกัด 90% ethanol ของผลสมอไทยมีฤทธิ์สมานแผล (105)
การทดสอบฤทธิ์รักษาแผลของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มา,voucher specimen: 1008) โดยนำผงแห้งของผลสมอไทยมาแช่ใน 70% ethanol ที่อุณหภูมิห้อง ป้องกันแสง นาน 72 ชม. กรอง ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator และทำให้แห้งด้วยเครื่อง freeze dryer การวิเคราะห์ทางเคมีพบว่ามีในสารสกัดดังกล่าวมีสารแทนนินเป็นส่วนประกอบ 50.2% นำสารสกัดที่ได้มาเตรียมเป็นครีมที่มีสารสกัดเป็นส่วนประกอบ 5%w/w และ 10%w/w นำมาทดสอบฤทธิ์รักษาแผลในหนูแรทที่ถูกทำให้เกิดแผลน้ำร้อนลวกบริเวณหลัง ด้วยการให้บริเวณที่กำหนด (ขนาด 2 x 5 ซม.) ถูกน้ำร้อนอุณหภูมิ 90 oC นาน 6 วินาที หลังจากนั้น 48 ชม. หนูจะถูกแบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ล้างแผลด้วยน้ำเกลือ (normal saline) กลุ่มที่ 2 ล้างแผลด้วยน้ำเกลือและทาด้วยครีมที่ไม่มีสารทดสอบ (base cream) กลุ่มที่ 3 ล้างแผลด้วยน้ำเกลือและทาด้วยครีมยามาตรฐาน 1% silver sulfadiazine (SSD)กลุ่มที่ 4 และ 5 ล้างแผลด้วยน้ำเกลือและทาด้วยด้วยครีมที่มีสารสกัดเป็นส่วนประกอบ 5%w/w และ 10%w/w ตามลำดับ ทำแผลวันละ 1 ครั้ง เฝ้าสังเกตลักษณะของแผลในวันที่ 1, 3, 7, 10, 15, 20, 25, 30, และจนกว่าแผลจะหายสนิท พบว่าในวันที่ 1 กลุ่มที่ 1-5 มีขนาดแผล 11.8, 12.5, 12.5,13, และ 12.5ตร.ซม. ตามลำดับ ขนาดแผลของทุกกลุ่มในวันที่ 1, 3, และ 7 ไม่แตกต่างกัน แต่ในวันที่ 10 และ 15 พบว่ากลุ่มที่ได้รับครีมสารสกัดทั้ง 2 ความเข้มข้นมีขนาดแผลเล็กกว่าทุกกลุ่มอย่างชัดเจนและให้ผลดีกกว่า 1%SSD โดยในวันที่ 10 พบว่ากลุ่มที่ 1-5 มีขนาดแผล 8.5, 11, 11.2, 9.5, และ 5.1 ตร.ซม. ตามลำดับ และในวันที่ 15 มีขนาดแผล 6.9, 7.5, 8.4, 6.4, และ 1.8 ตร.ซม. ตามลำดับครีมที่มีสารสกัด 5%w/w และ10%w/w ทำให้แผลหายสนิทในวันที่ 30 และ 25 ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มควบคุม (ล้างแผลด้วยน้ำเกลือเพียงอย่างเดียว) แผลหายสนิทในวันที่ 33 ส่วนกลุ่มที่ได้รับ 1%SSD และครีมที่ไม่มีสารทดสอบผลการทดสอบในวันที่ 33 พบว่า แผลหาย 97.5% และ 98% ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าสารสกัด 70% ethanolของผลสมอไทยมีฤทธิ์สมานแผลและให้ผลดีกว่า 1%SSD(106)
การทดสอบฤทธิ์รักษาแผลของผลสมอไทยจากประเทศจีน(voucher specimen: TCRE 201405027) โดยนำผงแห้งของผลสมอไทยมาสกัดด้วย 70% ethanol (อัตราส่วน 1: 8 w/v) ด้วยวิธี reflux ที่อุณหภูมิ 80 oC นาน 2 ชม. ทำการสกัด 2 ครั้ง ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator เตรียมเป็นสารสกัดความเข้มข้น 100 มก./มล. นำมาทดสอบฤทธิ์รักษาแผลไฟไหม้ระดับ 2 (second-degree burn) ในหนูแรท โดยหนูจะถูกโกนขนบริเวณหลังและทำให้เกิดแผลไฟไหม้ด้วยอุปกรณ์ electrical scald ที่อุณหภูมิ 75 oC นาน 15 วินาที จากนั้นแบ่งหนูเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 35 ตัว คือ กลุ่มที่ 1 ไม่ได้รับการรักษา (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 ทาแผลด้วยครีม 1% silver sulfadiazine (SSD) 0.3 ก. และกลุ่มที่ 3 ทาแผลด้วยสารสกัด70% ethanol 1 มล. โดยทาสารทดสอบวันละ 2 ครั้ง นาน 14 วันโดยเฝ้าสังเกตลักษณะของแผลในวันที่ 3, 7, และ 14 พบว่า ในวันที่ 14 กลุ่มที่ได้รับ 1%SSD และสารสกัด 70% ethanol แผลมีขนาดเล็กลงและหายได้เร็วกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) โดยกลุ่มที่ได้รับสารสกัด 70% ethanol มีขนาดแผลเฉลี่ย 0.25 ตร.ซม. ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีขนาดแผลเฉลี่ย 2.71 ตร.ซม.แสดงให้เห็นว่าสารสกัด 70% ethanolของผลสมอไทยมีฤทธิ์สมานแผล (107)
1.8 ฤทธิ์ต้านสารก่อการแพ้ (S016)
การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งสารก่อการแพ้ของส่วนสกัดน้ำจากผลสมอไทยจากร้านขายยาในประเทศเกาหลีใต้ (voucher specimen: WS-00-9) โดยนำผลสมอไทย 2 กก. มาสกัดด้วย methanol อุณหภูมิ 50oC นาน 5 ชม. ทำการสกัด 2 ครั้ง ซึ่งในตอนสุดท้ายจะได้สารสกัด 130 ก. นำสารสกัดที่ได้มาละลายในน้ำ 1 ล. และสกัดแยกส่วนด้วย n-hexane, ethylether และน้ำ ซึ่งจะได้ส่วนสกัด 35, 25, และ71 ก. ตามลำดับนำเฉพาะส่วนสกัดน้ำมาทดสอบกับ mast cell ที่แยกได้จากช่องท้องของหนูแรท (2.0 x 105เซลล์/มล.) โดยนำเซลล์ดังกล่าวมาบ่มร่วมกับส่วนสกัดน้ำความเข้มข้น 0.001-1.0 มก./มล. อุณหภูมิ 37 oC นาน 10 นาที จากนั้นจึงเหนี่ยวนำให้เกิดการปล่อยสารฮีสตามีนจากเซลล์ด้วย compound 48/80 (เป็น mast cell degranulator) ขนาด 5 มคก./มล. ซึ่งพบว่าส่วนสกัดน้ำจากผลสมอไทยสามารถยับยั้งการปลอดปล่อยสารฮีสตามีนจาก mast cell ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) เมื่อเทียบกับ mast cell ที่บ่มร่วมกับน้ำเกลือ (saline) โดยประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดที่ให้ (108)
2 การศึกษาเกี่ยวกับริมฝีปากและช่องปาก
2.1 ฤทธิ์ต้านเชื้อในช่องปาก (L001)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในช่องปากของสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยที่โตเต็มที่และแห้ง 400 ก. มาใส่ในขวดก้นกลม เติมน้ำกลั่นปริมาตร 10 เท่า เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4oC นาน 72 ชม. กรอง ระเหยน้ำออกที่อุณหภูมิ 40 oC นำสารสกัดที่ได้มากระจายตัวใน 20% polyethylene glycol400และปรับปริมาตรด้วยน้ำ จนได้ความเข้มข้นสุดท้าย 2-30%w/v จากนั้นนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อStreptococcus mutansด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
การทดสอบหาค่า MIC พบว่าสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยมีค่า MIC เท่ากับ 6%w/v และเชื้อตายเมื่อสัมผัสกับสารสกัดที่ความเข้มข้น 10%w/v นาน 15 นาที ในขณะที่น้ำยาบ้วนปากมาตรฐาน chlorhexidine (ไม่ระบุความเข้มข้น) สามารถฆ่าเชื้อได้ภายในเวลา 2.5 นาที
การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการยึดเกาะ (adherence inhibition) พบว่าสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยที่ความเข้ม 2%w/v สามารถยับยั้งการยึดเกาะของเชื้อบนแผ่นกระจก (glass surface) ได้มากกว่า 85% แต่ไม่สามารถยับยั้งการยึดเกาะของเชื้อบนผิวฟัน (surface of the tooth) ได้ แม้ใช้ความเข้มข้นสูงถึง 10%w/v โดยที่ความเข้ม 2%w/v และ 10% ยับยั้งได้ 15.3% และ 8.24% ตามลำดับในขณะที่น้ำยาบ้วนปากมาตรฐาน chlorhexidine (ไม่ระบุความเข้มข้น) สามารถยับยั้งการยึดเกาะของเชื้อบนแผ่นกระจกและบนผิวฟันได้ 99.8% และ 77.6% ตามลำดับ
การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสลายน้ำตาลกลูโคส (inhibition of glycolysis) ของเชื้อ S. mutansด้วยวิธี salivary glycolytic assay พบว่าสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยความเข้มข้น 10% ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสลายน้ำตาลกลูโคสของเชื้อ S. mutansโดยค่า pH ของตัวอย่างน้ำลายที่เวลา 1, 15, 30, 45, 90 นาที และค่าเริ่มต้นก่อนให้น้ำลายสัมผัสกับสารสกัดมีค่าไม่แตกต่างกัน โดยมีค่า pH เท่ากับ 7.1 อย่างไรก็ตาม หากใช้เวลาในการเกิดกระบวนการสลายน้ำตาลกลูโคสของเชื้อ S. mutansนานขึ้นเป็น 1-5 ชม. กลับพบว่าสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยสามารถทำให้ค่า pH ของตัวอย่างน้ำลายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการรวมตัวของเชื้อ (inhibition of glucan-induced aggregation) โดยบ่มเชื้อ S. mutansร่วมกับสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยความเข้มข้น 2-10% นาน 1 ชม. ที่อุณหภูมิ 37 oC จากนั้นจึงเหนี่ยวนำให้เกิดการรวมตัวของเชื้อด้วยน้ำตาล sucrose และ dextran พบว่าสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยทุกความเข้มข้นสามารถยับยั้งการรวมตัวของเชื้อS. mutansได้ดี (33)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในช่องปากของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) ซึ่งสกัดโดยนำผลสดที่โตเต็มที่ของสมอไทยมาล้างทำความสะอาด ผึ่งลมให้แห้ง ที่อุณหภูมิห้อง 30 oC นาน 2 วัน บดให้เป็นผงละเอียด นำผง 10 ก. มาสกัดด้วยการแช่ใน acetone, ethanol, methanol, และน้ำเย็น 100 มล. นาน 24 ชม. และนำผง 10 ก. มาแช่น้ำร้อน (อุณหภูมิ 100 oC) โดยตั้งบน water bath และเขย่าเป็นระยะ นาน 30 นาทีหลังจากนั้นจึงตั้งทิ้งไว้ให้เย็น นาน 24 ชม. กรองสารสกัดที่ได้ ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator ที่อุณหภูมิ 40 oC ภายใต้ภาวะสุญญากาศ หลังจากนั้นนำไปผ่านรังสี UV นาน 24 ชม. เพื่อฆ่าเชื้อ นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ 5 ชนิด ได้แก่ S. mutans (MTCC*497), Staphylococcus aureus (MTCC 740), Lactobacillus acidophilus (MTCC *447), Candida albicans (MTCC 227), และSaccharomyces cerevisiae (MTCC 170) โดยการหาค่าเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณที่มีการยับยั้งเชื้อ (zone of inhibition; ZOI) ด้วยวิธี agar well diffusion method โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 100 มก./มล. และ หาค่า MIC ของสารสกัดต่าง ๆ พบว่าสารสกัดทุกชนิดมีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. mutans และ S. aureus ได้ดี แต่ไม่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ L. acidophilus, C. albicans, และ S. cerevisiae โดยสารสกัด acetone มีค่า ZOI ต่อเชื้อ S. mutans และ S. aureus เท่ากับ 25.32 และ 32.97 มม. ตามลำดับ, สารสกัด ethanol มีค่า ZOI เท่ากับ 22.65 และ 31.32 มม. ตามลำดับ, สารสกัด methanol มีค่า ZOI เท่ากับ 20.96 และ 23.65 มม. ตามลำดับ, สารสกัดน้ำเย็นมีค่า ZOI เท่ากับ 21.65 และ 25.32 มม. ตามลำดับ, และสารสกัดน้ำร้อนมีค่า ZOI เท่ากับ 21.96 และ 27.97 มม. ตามลำดับในขณะที่ยามาตรฐาน ciprofloxacin (ไม่ระบุความเข้มข้น) มีค่า ZOI เท่ากับ 27.32 และ 34.66 มม. ตามลำดับ และสารสกัดทุกชนิดมีค่า MIC ต่อเชื้อ S.mutansเท่ากัน คือ 25 มก./มล. และมีค่า MIC ต่อเชื้อ S. aureusเท่ากัน คือ 12.5 มก./มล. จากผลการทดลองจะเห็นได้ว่าสารสกัด acetone ฤทธิ์ต้านเชื้อดีที่สุด (109)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในช่องปากของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยมาผึ่งให้แห้งในที่ร่ม บดเป็นผง นำผงแห้ง 100 ก.มาใส่ใน aspirator bottle เติม hexane 300 มล. เขย่าเป็นครั้งคราว นาน 48 ชม. กรอง สกัดซ้ำ 3 ครั้ง รวมสารสกัดที่ได้ ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator ที่อุณหภูมิ 40oC ภายใต้ภาวะสุญญากาศ นำกากที่เหลือมาสกัดต่อด้วยวิธีเดียวกันโดยใช้ ethyl acetate, ethanol, และ methanol ตามลำดับ นำสารสกัดที่ได้มาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อS. mutansและC. albicansด้วยวิธี disc diffusion assay โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 2.5 และ 5 มก./disc และหาค่า MIC ของสารสกัดต่าง ๆ ด้วยวิธี microbroth dilution method พบว่า สารสกัด hexane, ethyl acetate, ethanol, และ methanol ความเข้มข้น 2.5 มก./disc มีค่า ZOI ต่อเชื้อ S. mutansเท่ากับ14, 14, 11, และ 11 มม. ตามลำดับมีค่า ZOI ต่อเชื้อ C. albicansเท่ากับ11, 14, 0, และ 10 มม. ตามลำดับและที่ความเข้มข้น 5 มก./disc มีค่า ZOI ต่อเชื้อ S. mutansเท่ากับ16, 16, 13, และ 13 มม. ตามลำดับมีค่า ZOI ต่อเชื้อ C. albicansเท่ากับ12, 16, 0, และ 11 มม. ตามลำดับ สารสกัด hexane, ethyl acetate, ethanol, และ methanol มีค่า MIC ต่อเชื้อ S. mutansเมื่อใช้ brain heart infusion broth เท่ากันคือ <0.076 มก./มล. และมีค่า MIC ต่อเชื้อ S. mutansเมื่อใช้Mueller Hinton broth เท่ากับ <0.076, >5.0, >5.0, และ 0.625 มก./มล. ตามลำดับ มีค่า MIC ต่อเชื้อ C. albicansเมื่อใช้ brain heart infusion broth เท่ากับ <0.076, >5.0, >5.0, และ 0.315มก./มล. ตามลำดับ และมีค่า MIC ต่อเชื้อ C. albicansเมื่อใช้Mueller Hinton broth เท่ากับ 0.625, >5.0, >5.0, และ 1.25 มก./มล. ตามลำดับ (110)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในช่องปากของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยมาล้างทำความสะอาด ผึ่งลมให้แห้งที่อุณหภูมิห้องนาน 4 วัน บดให้ละเอียด ชั่งผงแห้ง 5, 10, 25, และ 50 ก. เติมน้ำกลั่น 100 มล. คนให้ทั่ว ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิ 4 oC นาน 48 ชม. กรอง ซึ่งจะได้สารสกัดน้ำความเข้มข้น 5, 10, 25, และ50%w/v นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อS. mutans (MTCC No 3160), S. aureus (MTCC No 447), และ Lactobacillus casei (MTCC No 439) ด้วยวิธี agar well diffusion method พบว่าสารสกัดน้ำความเข้มข้น 5, 10, 25, และ50%w/v มีค่า ZOI ต่อเชื้อ S. mutansเท่ากับ 2, 8, 11, และ 15 มม. ตามลำดับ มีค่า ZOI ต่อเชื้อ S. aureus เท่ากับ 6, 8, 13, และ 19 มม. ตามลำดับและมีค่า ZOI ต่อเชื้อ L. caseiเท่ากับ 29, 34, 37, และ 43 มม. ตามลำดับ (111)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในช่องปากของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) ซึ่งสกัดโดยนำผลสมอไทยที่โตเต็มที่และแห้งมาบดละเอียด นำผง 10 ก. มาแช่ในน้ำร้อนอุณหภูมิ 100 oC และคนเป็นครั้งคราว นาน 30 นาทีบน water bath จากนั้นตั้งทิ้งไว้ 24 ชม. กรอง ระเหยน้ำออก นำสารสกัดที่ได้ไปผ่านรังสี UV นาน 24 ชม. เพื่อฆ่าเชื้อ นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ S. mutans, Lactobacillus, และC. albicansด้วยวิธี macro-dilution broth technique พบว่ามีค่า MIC เท่ากับ 50, 100, และ 100 มคก./มล. ตามลำดับ (37)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในช่องปากของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: RLSI/BOT/Consul-65) โดยนำส่วนเนื้อผลของสมอไทยที่โตเต็มที่และแห้งมาบดละเอียด เตรียมสารสกัด ethanol โดยนำผง 100 ก. มาสกัดด้วย 70% ethanol โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet และเตรียมสารสกัดน้ำโดยนำผง 100 ก. มาแช่สกัดในน้ำกลั่น เติม chloroform 2-3 หยด เขย่าเป็นระยะ โดยใช้เวลาในการสกัดนาน 7 วัน กรอง นำไประเหยแห้งบน water bath นำสารสกัดที่ได้มาเตรียมเป็นสารละลายความเข้มข้น 0.625, 1.25, 2.5, 5, และ 10%w/v นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อS. mutans MTCC 497โดยการหาค่า MIC ด้วยวิธี tube dilution method พบว่า สารสกัดน้ำและสารสกัด 70% ethanol มีค่า MIC ต่อเชื้อ S. mutans เท่ากับ 10 และ 2.5%w/v จึงนำเฉพาะสารสกัด 70% ethanol ไปทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการยึดเกาะ (adherence Inhibition), ฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสลายน้ำตาลกลูโคส (inhibition of glycolysis), และฤทธิ์ยับยั้งการรวมตัวของเชื้อ (inhibition of glucan-induced aggregation) ซึ่งมีผลการทดสอบดังนี้ การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการยึดเกาะของเชื้อ S. mutans บนแผ่นกระจก (glass surface) พบว่าสารสกัด 70% ethanol ความเข้มข้น 2.5%w/v ออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด โดยยับยั้งได้ 45% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (0%) การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสลายน้ำตาลกลูโคสของเชื้อ S. mutansโดยการวัดค่า pH ของตัวอย่างน้ำลาย พบว่าสารสกัด 70% ethanol ความเข้มข้น 1.25%w/v ออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด โดยทำให้ค่า pH ของเพิ่มขึ้นจาก 8.0 เป็น 9.0 เมื่อทำการวัดที่เวลา 60 นาที หลังสัมผัสสารสกัดและการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการรวมตัวของเชื้อ S. mutans พบว่าสารสกัด 70% ethanol ความเข้มข้น 2.5%w/v ออกฤทธิ์ยับยั้งการรวมตัวของเชื้อได้ดีที่สุด (112)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในช่องปากของผลสมอไทยจากประเทศจีน (voucher specimen: CH209) โดยนำผลสมอไทยมาล้างทำความสะอาด ผึ่งให้แห้งในที่ร่มและมีอากาศถ่ายเท บดให้ละเอียด นำมาสกัดด้วย 70% ethanol นาน 72 ชม. ที่อุณหภูมิห้อง กรอง ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator ภายใต้การลดความดัน นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ S. mutans, Aggregatibacter actinomycetemcomitans, และเชื้อแบคทีเรียในคราบฟัน (dental plaque bacteria; DPB) 3 ตัวอย่าง (DPB #1-#3) โดยการหาค่า ZOI ด้วยวิธี disc diffusion method พบว่าสารสกัด 70% ethanol ความเข้มข้น 5 มคก./disc มีค่า ZOI ต่อเชื้อ S. mutans, A. actinomycetemcomitans, และ DPB 1-3 เท่ากับ 3.8, 3.7, 3.2, 2.7, และ 3.9 มม. ตามลำดับ และที่ความเข้มข้น 10 มคก./disc มีค่า ZOI เท่ากับ 7.2, 7.5, 6.9, 5.3, และ 7.4 มม. ตามลำดับ ในขณะที่ยามาตรฐาน ampicillin ความเข้มข้น 10 มคก./disc มีค่า ZOI ต่อเชื้อ S. mutansและ DPB #1 เท่ากับ 15.5 และ 0.1 มม. ตามลำดับ และเมื่อนำสารสกัด 70% ethanol มาหาค่า MIC ต่อเชื้อ DPB ทั้ง 3 ชนิด ด้วยวิธี broth dilution method พบว่ามีค่า MIC อยู่ระหว่าง 32-64 มคก./มล. (113)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในช่องปากของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลแห้งมาผึ่งในที่ร่ม อุณหภูมิ 25 oC นาน 5 วันนำมาบดหยาบ ๆ นำผง 100 ก. มาสกัดด้วย ethanol โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet นาน 72 ชม. กรอง ระเหยตัวทำละลายออกภายใต้ภาวะสุญญากาศ อุณหภูมิ 30 oC เตรียมเป็นสารละลายความเข้มข้น 100 มก./มล. ใน dimethly sulfoxide (DMSO) นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ S. mutans (MTCC 497), Streptococcus oralis (MTCC 2696) และ Lactobacillus acidophilus (MTCC 10307) โดยการหาค่า ZOI ด้วยวิธี agar well diffusion method พบว่าสารสกัด ethanol ความเข้มข้น 25, 50, และ 75 มคก./มล. มีค่า ZOI ต่อเชื้อ S. mutans เท่ากับ 0.1, 1.3, และ 1.6 ซม.ตามลำดับ มีค่า ZOI ต่อเชื้อ S. oralisเท่ากับ 0.2, 1.2, และ 1.6 ซม. ตามลำดับและมีค่า ZOI ต่อเชื้อ L. acidophilus เท่ากับ 0.8, 0.7, และ 1.6 ซม. ตามลำดับ ในขณะที่ยามาตรฐาน tetracycline ความเข้มข้น 20 มคก./มล. มีค่า ZOI ต่อเชื้อ S. mutans, S. oralis, และ L. acidophilus เท่ากับ 1.2, 1.3, และ 1.2 ซม. ตามลำดับ การศึกษาเพิ่มเติมโดยทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเกิดไบโอฟิล์มของเชื้อ S. mutansและS. oralis ด้วยวิธี biofilm inhibition assay โดยใช้สารสกัด 50 มคล. (จากสารละลายความเข้มข้น 100 มก./มล.) ทำการวิเคราะห์ค่าความขุ่น (turbidity) จากการเกิดเชื้อด้วยการวัดค่า optical density (OD) ที่ความยาวคลื่น 550 นาโนเมตร และวัดค่า pH เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ให้สารสกัด พบว่าสารสกัด ethanol ทำให้ค่าความขุ่นลดลงและมีค่า pH เพิ่มขึ้น โดยการทดสอบกับไบโอฟิล์มของเชื้อ S. mutans พบว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับสารสกัด ethanol มีค่า OD เท่ากับ 0.45 และ 0.15 ตามลำดับ และมีค่า pH 5.9 และ 6.9 ตามลำดับ และการทดสอบกับไบโอฟิล์มของเชื้อ S. oralis พบว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับสารสกัด ethanol มีค่า OD เท่ากับ 0.34 และ 0.24 ตามลำดับ และมีค่า pH 6.1 และ 6.8 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าสารสกัด ethanol จากผลสมอไทย มีฤทธิ์ต้านเชื้อและยับยั้งการเกิดไบโอฟิล์มของเชื้อในช่องปากได้ (114)
การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ glucosyltransferases ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของฟันผุ ของผลสมอไทย(ไม่ระบุแหล่งที่มาและvoucher specimen) โดยนำผลสมอไทยมาผึ่งให้แห้งในที่ร่ม บดละเอียด สกัดด้วย 50% ethanol โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporatorนำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ glucosyltransferases (gtf) จากเชื้อS.mutans MTCC 49 พบว่า สารสกัด 50% ethanol ของผลสมอไทยมีค่า IC50เท่ากับ 1.09 มก./มล.(115)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในช่องปากของสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen และวิธีการสกัด) โดยนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ S. mutants และ C. albicans ด้วยวิธี disc diffusion method โดยใช้สารสกัดน้ำความเข้มข้น 100, 250, 500, และ 1,000 มคก./disc พบว่าสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยมีค่า ZOI ต่อเชื้อ S. mutans เท่ากับ 8, 10, 15, และ 19 มม. ตามลำดับ ในขณะที่ยามาตรฐาน streptomycin ความเข้มข้น 10 มคก./disc มีค่า ZOI เท่ากับ 21 มม. และสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยมีค่า ZOI ต่อเชื้อ C. albicans เท่ากับ 9, 10, 11, และ 14 มม. ตามลำดับ ในขณะที่ยามาตรฐาน amphotericin Bความเข้มข้น 10 มคก./disc มีค่า ZOI เท่ากับ 13 มม. (116)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในช่องปากของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและvoucher specimen) โดยนำผลสมอไทยมาสกัดด้วย methanol โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อEnterococcus faecalis ATCC 29212 และ E. faecalis ที่แยกได้จากผู้ป่วย (clinical isolate) โดยหาค่า ZOI ด้วยวิธี disc diffusion assayพบว่า สารสกัด methanol ที่ความเข้มข้น 25 มก./disc มีค่า ZOI เฉลี่ย 24.7 มม. และที่ความเข้มข้น 50 มก./disc มีค่า ZOI เฉลี่ย 20 มม. ในขณะที่ยามาตรฐาน vancomycin ความเข้มข้น 30 มคก./disc, 5% NaOCl, และ 2% chlorhexidine มีค่า ZOI เฉลี่ย 21, 28.7, และ 31.2 มม. ตามลำดับ การทดสอบหาค่า MIC ด้วยวิธี broth microdilution assay พบว่าสารสกัด methanol มีค่า MIC ต่อเชื้อ E. faecalis ATCC 29212 และ E. faecalis (clinical isolate) เท่ากับ 3.12 และ 6.25 มก./มล. ตามลำดับ การศึกษาเพิ่มเติมโดยทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการเกิดไบโอฟิล์มของเชื้อ E. faecalis ด้วยวิธี time kill assay โดยใช้ความเข้มข้น 6 เท่าของค่า MIC พบว่าเชื้อ E. faecalis ทั้ง 2 สายพันธุ์ลดลงเมื่อได้รับสารสกัดนาน 30 นาที และถูกยับยั้งการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์เมื่อได้รับสารสกัดนาน 60 นาที (117)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในช่องปากของผลสมอไทยจากประเทศจีน (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยแห้งมาบดละเอียด สกัดด้วย 70% ethanol ที่อุณหภูมิห้อง นาน 72 ชม.กรอง ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporatorนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ S. mutans KCTC3065 ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
การทดสอบหาค่า ZOI ด้วยวิธีdisc diffusion method โดยใช้สารสกัด 70% ethanol ความเข้มข้น 5, 10, 15, และ 20 มคก./มล พบว่ามีค่า ZOI เท่ากับ 2.6, 6.03, 10.21, และ 14.3 มม. ตามลำดับ
การทดสอบหาค่า MIC และ MBC ด้วยวิธี broth dilution methodพบว่าสารสกัด 70% ethanol มีค่า MIC และ MBC เท่ากับ 10 และ 20 มคก./มล. ตามลำดับ
การทดสอบหาค่า colony forming unit (CFUs) โดยใช้สารสกัด 70% ethanol ความเข้มข้น 0, 1, 5, 10, 15, และ 20 มคก./มล. พบว่าสารสกัด 70% ethanol มีผลทำให้จำนวน CFU ของ S. mutans ลดลง โดยมีจำนวน 5.05, 4.98, 4.52, 1.79, 1.21, และ 0.24 log CFU/มล. ตามลำดับ
การทดสอบหาค่าglucan formationพบว่าสารสกัด 70% ethanol ความเข้มข้น 1, 5, 10, และ 15 มคก./มล. สามารถลดการเกิด glucan formation ของเชื้อ S. mutans ได้ 17, 60, 72, และ 86% ตามลำดับ และการทดสอบด้วย RT-PCR พบว่าสารสกัด 70% ethanol ออกฤทธิ์ยับยั้งการแสดงออกของเอนไซม์ glucosyltransferase (gtf B, C, D) และ fructoxyltransferase ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเกิด glucan formation (93)
การศึกษาทางพิษวิทยาและความปลอดภัย
การศึกษาทางคลินิก
การทดสอบอาการระคายเคืองของครีมที่มีส่วนผสมของสารสกัด methanol จากผลสมอไทย 5% (ไม่ระบุแหล่งที่มาและวิธีการสกัด, voucher specimen: Pharm 169/Apr. 2009) ในอาสาสมัครสุขภาพดีเพศชายจำนวน 11 คน อายุเฉลี่ย 30 ปี ทำการทดสอบด้วยวิธี Burchard test (patch test) โดยให้อาสาสมัครทาครีมบริเวณแขนท่อนปลาย (forearms) เป็นพื้นที่ขนาด 5x4 ซม. (แขนด้านซ้ายทาครีมที่มีสารสกัดและแขนด้านขวาทาครีมที่ไม่มีสารสกัด) ในขนาด 1 ก. ทิ้งไว้ 48 ชม. แล้วสังเกตผลโดยพิจารณาจากอาการแดงของผิวหนัง (skin reddening) ซึ่งมีระดับคะแนน 0-3 (0 = ไม่พบอาการแดง, 1 = ระดับอ่อน, 2 = ระดับปานกลาง, และ 3 = ระดับรุนแรง) พบว่า แขนด้านที่ทาครีมที่มีสารสกัดสมอไทย มีคะแนน 0 = 8 คน, คะแนน 1 = 1 คน, และคะแนน 2 = 2 คน แขนด้านที่ทาครีมที่ไม่มีสารสกัด มีคะแนน 0 = 7 คน, คะแนน 1 = 3 คน, และคะแนน 2 = 1 คนโดยไม่พบอาการแดงของผิวหนังในระดับรุนแรงของครีมที่ทดสอบทั้ง 2 ชนิด (30)
การศึกษาในสัตว์ทดลอง
การผสมลูกสมอไทยในอาหารของหนูขาวในปริมาณ 25% แล้วให้หนูกินติดต่อกันนาน 10 วัน พบว่าเป็นพิษต่อตับและไต (118)
การทดสอบความเป็นพิษกึ่งเรื้อรังของสารสกัดน้ำของผลสมอไทยจากจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม และปราจีนบุรี (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยใช้ผงแห้งของเนื้อผล และสารสกัดนํ้าจากเนื้อผลของสมอไทยซึ่งสกัดโดยนำเนื้อผลแห้งมาตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำเนื้อผล 250 ก. มาต้มกับน้ำเดือด 1 ล. นาน 30 นาทีนำมาปั่น 10 นาที และกรอง นำกากที่เหลือไปสกัดซ้ำอีก 2 ครั้ง รวมสารสกัดที่ได้ นำไปทำให้แห้งด้วยเครื่อง freeze dryer นำมาทดสอบความเป็นพิษกึ่งเรื้อรังในหนูเม้าส์ โดยให้หนูทั้ง 2 เพศกินผงแห้งของสมอไทยในขนาด 0.5, 2.5 และ 5.0 ก./กก. 5 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลานาน 13 สัปดาห์ หรือกินสารสกัดน้ำในขนาด 0.2, 1.0 และ 5.0 ก./กก. 7 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลา 13 สัปดาห์ ซึ่งพบว่าผงแห้งของเนื้อผลสมอไทยและสารสกัดนํ้าจากผลแห้งของสมอไทย ไม่มีความเป็นพิษเกิดขึ้นอย่างชัดเจน โดยขนาดที่ทำการทดสอบไม่มีผลต่อนํ้าหนักตัว ค่าทางชีวเคมี ค่าทางโลหิตวิทยา อวัยวะภายใน และพยาธิวิทยาสภาพของ ตับ ไต ม้าม และธัยมัส อย่างไรก็ตาม พบว่าหนูเพศผู้ที่ได้รับสารสกัดขนาดสูง (5.0 ก./กก.) มีระดับนํ้าตาลในเลือดเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในช่วงของค่าปกติ และเมื่อตรวจค่าทางโลหิตวิทยาพบว่า ปริมาณเม็ดเลือดขาวของหนูที่ได้รับสารสกัดขนาดกลางและสูงเป็นระยะเวลา 4 และ 8 สัปดาห์มีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้ยังพบว่านํ้าหนักธัยมัสของหนูเพศผู้ที่ได้รับสารสกัดขนาดสูงเป็นเวลานาน 4 สัปดาห์เพิ่มขึ้น พบการเชื่อมต่อกันของ splenic nodules และการขยายขนาดของ germinal centers ใน splenic nodules หนูเพศผู้ที่ได้รับสารสกัดขนาดสูงนาน 6-8 สัปดาห์มีการตาย 40% แต่ไม่ทราบสาเหตุการตายที่แน่ชัด ซึ่งสารสกัดนํ้าจากผลแห้งของสมอไทยขนาด 5.0 ก./กก. ที่นำมาทดสอบนี้ จะเทียบเท่ากับขนาด 25 เท่าของการดื่มนํ้าสมอไทยที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด 1 ขวด (เฉลี่ย 0.2 ก./กก.) จึงอาจสรุปได้ว่า การบริโภคน้ำสมอไทยมีความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคสมอไทยขนาดสูงเป็นเวลานาน และควรมีการศึกษาถึงกลไกการเกิดพิษหรือฤทธิ์ของสมอไทยต่อม้ามเมื่อใช้ในขนาดสูงต่อไป (119)
การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันและความเป็นพิษเรื้อรัง ของสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยจากจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดบุรีรัมย์ (voucher specimen: PBM 00485) โดยนำผลสมอไทยที่โตเต็มที่และแห้งมาต้มกับน้ำนาน 1 ชม. กรอง นำกากที่เหลือไปสกัดซ้ำ 3 ครั้ง รวมสารสกัดที่ได้ ทำให้แห้งด้วยวิธี spray dry นำมาทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในหนูแรทตามวิธีที่ระบุใน WHO guideline (120) และ OECD guidelines No. 420 (121) โดยป้อนสารสกัดสมอไทยให้หนูขนาด 5,000 มก./กก. เพียงครั้งเดียว เฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด 6 ชม. และเฝ้าสังเกตวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลานาน 14 วัน ในวันที่ 15 หนูจะถูกอดอาหาร 16-18 ชม. และทำการพิสูจน์ซาก พบว่าสารสกัดน้ำของผลสมอไทยขนาด 5,000 มก./กก. ไม่ทำให้เกิดความผิดปกติใด ๆ หรือเกิดการตายของสัตว์ทดลองภายในระยะเวลาที่ทำการทดสอบ การทดสอบความเป็นพิษเรื้อรังในหนูแรทตามวิธีที่ระบุใน WHO guideline (120) และ OECD guidelines No. 452 (122) โดยแบ่งหนูเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมได้รับน้ำเปล่า กลุ่มที่ 2-4 ป้อนสารสกัดขนาด 300, 600, และ 1,200 มก./กก./วัน นาน 270 วัน และกลุ่มที่ 5 ป้อนสารสกัดขนาด 1,200 มก./กก./วัน นาน 270 วัน และสังเกตผลต่อหลังจากหยุดให้สารสกัด 28 วัน พบว่า สารสกัดน้ำทุกขนาดไม่ทำให้พฤติกรรมของสัตว์ทดลองผิดปกติ หรือแสดงอาการพิษ การทดสอบในหนูแรทเพศเมียพบว่าสารสกัดน้ำไม่มีผลต่อน้ำหนักตัวและน้ำหนักของอวัยวะภายในอย่างชัดเจน ส่วนการทดสอบในหนูแรทเพศผู้พบว่าทำให้น้ำหนักตัวลดลงเล็กน้อย การวิเคราะห์ค่าทางชีวเคมี ค่าทางโลหิตวิทยา ผลต่ออวัยวะภายใน และเนื้อเยื่อ พบว่าไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม(123)
การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยมาผึ่งให้แห้งในที่ร่ม บดเป็นผงละเอียด นำผงแห้ง 20 ก. มาสกัดด้วยน้ำ (deionized water) ทำการสกัด 3 ครั้ง ครั้งละ 50 มล. ด้วยวิธีแช่สกัดแบบเย็น (cold maceration method) ใน glass percolator กรอง รวมสารสกัดที่ได้ ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator อุณหภูมิ 40 oC นำมาเตรียมเป็นครีมที่มีสารสกัดเป็นส่วนประกอบ 20%w/w และทำการทดสอบกับหนูแรท (น้ำหนักตัว 250-300 ก.) ตามวิธีที่ระบุใน OECD guidelines No. 402 (124) โดยโกนขนบริเวณหลังหนู ทาครีมขนาด 2.5 ก. (ความเข้มข้นเป้าหมายเท่ากับ 2,000 มก./กก.) ปิดด้วยผ้าก๊อซแบบพรุน (porous gauze) นาน 24 ชม. เฝ้าสังเกตอาการนาน 14 วัน เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ไม่พบความเป็นพิษหรือความผิดปกติใด ๆ บนผิวหนังของสัตว์ทดลอง เช่น การระคายเคือง การบวมแดง การอักเสบ และผื่นแพ้ รวมทั้งไม่พบความเปลี่ยนแปลงของลักษณะขน ดวงตา หรือพฤติกรรมของสัตว์ทดลองจึงสรุปว่าความเข้มข้นของสารสกัดน้ำจากผลสมอไทยที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่ามากกว่า 2,000 มก./กก. (97)
การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันและความเป็นพิษต่อเนื่อง 28 วันของสารสกัด 50% methanol จากผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: PRL/JH/08/01) โดยนำผลแห้งของสมอไทยที่ยังไม่โตเต็มที่มาบดเป็นผงหยาบ ๆ นำผงหยาบน้ำหนัก 1 กก. มาแช่สกัดใน 50% methanol นาน 72 ชม. กรอง ระเหยตัวทำละลายออกจนได้สารสกัดกึ่งแข็ง (semisolid) นำมาทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในหนูแรท ตามวิธีที่ระบุใน OECD guidelines No. 425 (125)โดยป้อนสารสกัดให้หนูแรทขนาด 2,000 มก./กก. เพียงครั้งเดียว เฝ้าสังเกตเป็นเวลานาน 14 วัน พบว่าสารสกัด 50% methanol จากผลสมอไทยขนาด2,000 มก./กก. ไม่ทำให้เกิดความผิดปกติหรือเกิดการตายของสัตว์ทดลองภายในระยะเวลาที่ทำการทดสอบ จึงคาดว่ามีค่าLD50>2,000 มก./กก.การทดสอบความเป็นพิษต่อเนื่อง 28 วันในหนูแรทตามวิธีที่ระบุใน OECD guidelines No. 407 (126) โดยแบ่งหนูเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ได้รับน้ำกระสายยา (1% gum acacia) 2 มล./กก. และกลุ่มที่ 2 ได้รับสารสกัดขนาด 400 มก./กก. โดยหนูจะได้รับสารทดสอบวันละ 1 ครั้ง นาน 28 วัน พบว่าไม่ทำให้เกิดความผิดปกติทางกายภาพเมื่อเทียบกับหนูกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตาม พบการเพิ่มขึ้นของจำนวนเม็ดเลือดแดงและระดับ serum glutamate oxaloacetate transaminase (SGOT) พบการลดลงของน้ำหนักตัว, จำนวนเม็ดเลือดขาว, %haemoglobin, ระดับ serum glutamate pyruvate transaminase (SGPT), และน้ำหนักของตับ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ผลไม่ชัดเจน แต่เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่าการได้รับสารสกัดขนาด 400 มก./กก. นาน 28 วัน ทำให้หนูมีระดับ SGPT ลดลงอย่างชัดเจน และทำให้ระยะเวลาที่เลือดออก (bleeding time) ยาวนานขึ้น แต่ค่าที่ได้ยังอยู่ในช่วงของค่าปกติ (26)
การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัด methanol ของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: NS001) โดยนำผลสมอไทยมาทำความสะอาด ผึ่งลมให้แห้ง บดเป็นผงละเอียด นำผงแห้ง 100 ก. มาสกัดด้วยpetroleum ether, hexane, chloroform, ethyl acetate, acetone, methanol และน้ำ ด้วยอุกรณ์ soxhlet นำเฉพาะสารสกัด methanol มาทดสอบความเป็นพิษในหลอดทดลองด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ ทดสอบฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ด้วยวิธี Salmonella reversion assay, ทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ peripheral blood mononuclear (PBMC) ด้วยวิธี MTT assay, ทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วยวิธี hemolytic assay, และทดสอบความเป็นพิษต่อยีนด้วยวิธี comet assay โดยใช้สารสกัดขนาด 500-2,000 มคก./มล. พบว่าสารสกัดทุกขนาดไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ PBMC และเซลล์เม็ดเลือดแดง และไม่มีความเป็นพิษต่อยีน การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในหนูเม้าส์ ตามวิธีที่ระบุใน OECD guidelines No. 420 (121) โดยกรอกหนูด้วยสารสกัดขนาด 250, 500, 1,000, และ 2,000 มก./กก.เพียงครั้งเดียว เฝ้าสังเกตอาการทุก 6 ชม. ภายใน 24 ชม. แรก และสังเกตอาการวันละครั้ง นาน 14 วัน พบว่าไม่มีสัตว์ทดลองตาย ไม่พบพฤติกรรมที่ผิดปกติหรือการแสดงออกของอาการพิษ รวมทั้งไม่พบความผิดปกติของเนื้อเยื่อและอวัยวะภายใน และทดสอบความเป็นพิษกึ่งเฉียบพลันในหนูเม้าส์ ตามวิธีที่ระบุในOECD guideline No. 407 (126) โดยกรอกหนูด้วยสารสกัดขนาด 100, 200, และ 1,000 มก./กก./วัน นาน 28 วัน เฝ้าสังเกตอาการทุกวัน พบว่าไม่มีสัตว์ทดลองตาย ไม่พบพฤติกรรมที่ผิดปกติหรือการแสดงออกของอาการพิษ รวมทั้งไม่พบความผิดปกติของเนื้อเยื่อและอวัยวะภายใน(127)
การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัด 50% ethanol ของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) ในหนูเม้าส์พันธุ์ Yenken Denken Tokyo โดยกรอกเข้าทางปากและฉีดเข้าใต้ผิวหนัง เฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด 3 ชม. และสังเกตอาการต่อที่เวลา 12, 24, และ 72 ชม. พบว่าขนาดที่ไม่ทำให้สัตว์ทดลองเกิดอาการพิษของการให้ทั้ง 2 วิธีมีค่าเท่ากัน คือ 10 ก./กก. (128)
การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัด 70% ethanol ของผลสมอไทยจากประเทศอินเดีย (voucher specimen: PARC/2013/2102) โดยนำผลแห้งของสมอไทยมาบดหยาบ ๆ นำผง 100 ก. มาแช่ใน 70% ethanol 250 มล. นาน 3-5 วัน โดยมีการเขย่าเป็นครั้งคราว กรอง ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator และทำให้แห้งด้วยความเย็น นำมาทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในหนูแรทตามวิธีที่ระบุใน WHO guideline (120) และ OECD guidelines No. 420 (121) โดยกรอกหนูด้วยสารสกัดขนาด 100, 200, 500, 1,000, 2,000, และ 2,500 มก./กก. เพียงครั้งเดียว สังเกตอาการอย่างใกล้ชิดนาน 72 ชม. เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า หนูที่ได้รับสารสกัดขนาดต่ำกว่า 2,000 มก./กก. ไม่แสดงอาการพิษ หรือความผิดปกติใด ๆ และไม่พบการตายของสัตว์ทดลอง แต่หนูที่ได้รับสารสกัดขนาด 2,500 มก./กก. เกิดความผิดปกติในระดับปานกลาง และมีหนูตาย 1 ตัว จึงคาดว่า สารสกัด 70% ethanol จากผลสมอไทย มีค่า LD50เท่ากับ 2,475 มก./กก. (77)
การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันและความเป็นพิษกึ่งเฉียบพลันของสารสกัด 70% ethanol ของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มา, voucher specimen: no.27) โดยนำผลสมอไทยมาแช่สกัดใน 70% ethanol นาน 72 ชม. กรอง ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator ที่อุณหภูมิ 35 oC และอบที่อุณหภูมิ 40 oC จนแห้ง นำมาทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันโดยกรอกหนูด้วยสารสกัดขนาด 10, 156.25, 312.5, 625, 1,250, 2,500, และ5,000 มก./กก. เฝ้าสังเกตที่เวลา 1, 2, 4, 8, 12, 24, 48, และ 72 ชม. พบว่าไม่มีการตายของสัตว์ทดลอง การทดสอบความเป็นพิษกึ่งเฉียบพลันโดยกรอกหนูด้วยสารสกัดขนาด 156.25, 312.5, 625, 1,250, 2,500, และ5,000 มก./กก./วัน นาน 30 วัน พบว่าสารสกัด 70% ethanol ของผลสมอไทยมีค่า LD50จากการวิเคราะห์ด้วย probit regression analysis เท่ากับ ≥2754.436 มก./กก. (CI = 95%, 2438.173-3114.643) การวิเคราะห์เนื้อเยื่อและอวัยวะภายในพบว่า สารสกัด 70% ethanol ของผลสมอไทยขนาด 5,000 มก./กก.ทำให้เกิดแผลในเนื้อเยื่อตับ รวมทั้งทำให้เนื้อเยื่อไตและหัวใจเกิดความผิดปกติ (91)
การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันและความเป็นพิษต่อเนื่อง 14 วันของส่วนสกัดethyl acetate จากผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มา, voucher specimen: H-358) โดยนำผลสมอไทยที่โตเต็มที่และแห้งมาบด สกัดด้วย ethanol อุณหภูมิ 80 oC นาน 3 ชม. นำไปทำให้แห้งด้วยความเย็น นำสารสกัดที่ได้มากระจายตัวในน้ำ และสกัดด้วย n-hexane, chloroform, และ ethyl acetate ตามลำดับ นำเฉพาะส่วนสกัดethyl acetate มาระเหยตัวทำละลายออก และทำให้แห้งด้วยความเย็น นำมาทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในหนูแรท โดยป้อนส่วนสกัด ethyl acetate ให้หนูขนาด 2,000 มก./กก. เพียงครั้งเดียว เฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดนาน 6 ชม. และเฝ้าสังเกตต่อเป็นเวลานาน 14 วัน พบว่าส่วนสกัด ethyl acetate จากผลสมอไทยขนาด 2,000 มก./กก. ไม่ทำให้เกิดความผิดปกติหรือเกิดการตายของสัตว์ทดลองภายในระยะเวลาที่ทำการทดสอบ จึงคาดว่ามีค่าLD50>2,000 มก./กก. การทดสอบความเป็นพิษต่อเนื่อง 14 วันในหนูแรทโดยป้อนส่วนสกัด ethyl acetate ให้หนูขนาด 222, 667, และ 2,000 มก./กก./วัน นาน 14 วัน พบว่าส่วนสกัดethyl acetate จากผลสมอไทยทุกขนาดไม่ทำให้พฤติกรรมของสัตว์ทดลองผิดปกติหรือแสดงอาการพิษ รวมทั้งไม่ทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะภายใน (129)
การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของส่วนสกัดethyl acetate จากผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยนำผลแห้งของสมอมาบด และแช่ใน ethanol นาน 3-4 วัน กรอง นำกากที่เหลือมาสกัดซ้ำอีกครั้ง รวมสารสกัด ระเหยตัวทำละลายออก นำมาสกัดแยกส่วนด้วย hexane, chloroform, ethyl acetate, butanol, และน้ำ นำเฉพาะส่วนสกัด ethyl acetate มาทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในหนูเม้าส์ โดยฉีดเข้าทางช่องท้องในขนาด 10, 100, และ1,000 มก./กก. และสังเกตอาการภายใน 24 ชม. พบว่า ส่วนสกัด ethyl acetate จากผลสมอไทย มีค่า LD50จากการคำนวณเท่ากับ 1,264.91 มก./กก. การทดสอบความเป็นพิษต่อระบบประสาทโดยฉีดส่วนสกัด ethyl acetate เข้าทางช่องท้องในขนาด 125, 250, 500, และ 1,000 มก./กก. สังเกตอาการที่เวลา 30, 60, และ 120 นาที พบว่า ส่วนสกัด ethyl acetate จากผลสมอไทยทุกขนาด ไม่ทำให้สัตว์ทดลองแสดงความเป็นพิษต่อระบบประสาท(130)
การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัด ethanol, acetone และ benzene ของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยนำผงแห้งของผลสมอไทยมาสกัดด้วยตัวทำละลายต่าง ๆ ข้างต้นโดยใช้อุปกรณ์ soxhlet ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง vacuum evaporator นำมาทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในหนูแรท โดยป้อนสารสกัดขนาด 2,000มก./กก.เพียงครั้งเดียว และเฝ้าสังเกตนาน 14 วัน พบว่า สารสกัดทุกชนิดไม่ทำให้สัตว์ทดลองตาย ไม่พบพฤติกรรมที่ผิดปกติหรือการแสดงออกของอาการพิษ รวมทั้งไม่พบความผิดปกติของเนื้อเยื่อและอวัยวะภายใน (131)
การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของส่วนสกัดแทนนินชนิดhydrolysable (hydrolysable tannin rich fraction; HTF) ซึ่งแยกได้จากผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มา, voucher specimen: SJCBOT2142) โดยนำส่วนเนื้อผลแห้งของสมอไทยมาบดเป็นผงละเอียด สกัดด้วย 80% ethanol อัตราส่วน 1:5 โดยคนอย่างต่อเนื่องนาน 1 ชม. ที่อุณหภูมิ 80oC ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator นำสารสกัดที่ได้ไปสกัดแยกส่วนต่อด้วย hexane, dichloromethane และ ethyl acetate โดยใช้ solvent fractionation techniques (ไม่ระบุรายละเอียดวิธีการ) ซึ่งจะได้สารสกัดHTF จากส่วนสกัด ethyl acetate เมื่อนำไปวิเคราะห์ด้วยวิธี HPLC พบว่า HTF มีสารแทนนินได้แก่ corilagin, chebulagic acid และ chebulinic acid 1.63%, 4.95%, และ 1.45% ตามลำดับ นำ HFT มาทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในหนูแรท ตามวิธีที่ระบุใน OECD guidelines No. 423 (132)โดยป้อนหนูด้วย HTF ขนาด 5,000 มก./กก. เพียงครั้งเดียว เฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด 30 นาที สังเกตเป็นระยะภายในเวลา 4 ชม. แรก และที่เวลา 24 ชม. จากนั้นสังเกตวันละครั้งนาน 14 วัน พบว่าไม่มีสัตว์ทดลองตาย และไม่พบการแสดงออกของอาการพิษ การทดสอบความเป็นพิษต่อเนื่อง 28 วันในหนูแรทตามวิธีที่ระบุใน OECD guidelines No. 407 (126) โดยแบ่งหนูเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ได้รับน้ำกลั่น 1 มล. และกลุ่มที่ 2 ได้รับ HTF ขนาด 1,000 มก./กก./วัน นาน 28 วัน พบว่าไม่มีสัตว์ทดลองตายไม่พบพฤติกรรมที่ผิดปกติหรือการแสดงออกของอาการพิษแต่พบว่ากลุ่มที่ได้รับ HTF มีน้ำหนักตัวลดลง การกินน้ำและอาหารลดลง การวิเคราะห์ผลเลือดพบว่าค่า hematocrit, haemoglobin, lymphocytes, monocytes, platelet value, WBC และ lymphocyte เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่ยังอยู่ในช่วงปกติ การวิเคราะห์ค่าทางชีวเคมีพบว่าระดับ glucose, cholesterol, urea และ AST ในเลือดเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม การวิเคราะห์เนื้อเยื่อและอวัยวะภายในพบว่า ทำให้เกิดการอักเสบแบบ granulomatous อย่างอ่อน (mild granulomatous inflammation) บริเวณตับ แต่ไม่พบความผิดปกติในอวัยวะอื่น ๆ (27)
การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสาร chebulin ซึ่งแยกได้จากเนื้อผลสมอไทย(ไม่ระบุแหล่งที่มาและvoucher specimen) ในหนูเม้าส์ โดยแบ่งหนูเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ตัว ป้อนหนูด้วยสาร chebulin ขนาด 400, 450, 500, 550, 600, 650, และ 700 มก./กก. ตามลำดับ พบว่าในแต่ละกลุ่มมีหนูตาย 1, 3, 4, 5, 6, 8, และ 8 ตัว ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็น 10%, 30%, 40%, 50%, 60%, 80%, และ 80% ตามลำดับ ดังนั้นจึงคาดว่า สาร chebulin มีค่า LD50เท่ากับ 550 มก./กก.(28)
การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันของสาร chebulinic acid จากบริษัท Venkatesh Natural Extracts Pvt. Ltd ประเทศอินเดีย (ไม่ระบุ voucher specimen) ในหนูแรท ตามวิธีที่ระบุใน OECD guidelines No. 423 (132)โดยกรอกหนูด้วยสาร chebulinic acid ขนาด 300 และ 2,000 มก./กก. เพียงครั้งเดียวเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด 30 นาที เฝ้าสังเกตเป็นระยะที่เวลา 4 และ 48 ชม. และเฝ้าสังเกตวันละ 1 ครั้ง นาน 14 วัน พบว่าสาร chebulinic acid ทั้ง 2 ขนาด ไม่ทำให้สัตว์ทดลองตาย ไม่พบพฤติกรรมที่ผิดปกติหรือการแสดงออกของอาการพิษ รวมทั้งไม่พบความผิดปกติของเนื้อเยื่อและอวัยวะภายใน(133)
การทดสอบความเป็นพิษกึ่งเฉียบพลันของสาร gallic acid ที่แยกได้จากผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยนำผลแห้งมาบดเป็นผง นำผง 250 ก. มาสกัดไขมันออกด้วยการเติม hexane 1,000 มล. ลงไปและคนเป็นเวลานาน 24 ชม. ที่อุณหภูมิห้อง เทชั้น hexane ทิ้ง นำกากที่เหลือมาสกัดด้วย 95% ethanol 1,000 มล. นาน 48 ชม. ที่อุณหภูมิห้อง กรอง นำกากที่เหลือไปสกัดซ้ำด้วย 95% ethanol 500 มล. นาน 48 ชม. ที่อุณหภูมิห้อง 2 ครั้ง รวมสารสกัดที่ได้ ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator อุณหภูมิ 50-55 oC ซึ่งจะได้สารสกัดหยาบ 148 ก. นำไปวิเคราะห์และแยกสาร gallic acid ด้วยวิธีเทคนิค chromatography (ไม่ระบุรายละเอียดวิธีการ) นำสาร gallic acid ที่ได้มาทดสอบความเป็นพิษกึ่งเฉียบพลันในหนูเม้าส์ โดยป้อนให้หนูในขนาด 100, 300, และ 1,000 มก./กก./วัน นาน 14 วัน พบว่าสาร gallic acid ทุกขนาดที่ทำการทดสอบ ไม่ทำให้เกิดการตาย ความผิดปกติ หรืออาการพิษในสัตว์ทดลอง ไม่ทำให้น้ำหนักตัว การกินอาหาร ค่าทางโลหิต และลักษณะเนื้อเยื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง (134)
การทดสอบความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์เพศชายของสารสกัดน้ำ และสารสกัด ethanol ของเนื้อผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยนำส่วนเนื้อผลแห้งของสมอไทยที่โตเต็มที่มาบดให้เป็นผง นำมาสกัดด้วย petroleum ether, chloroform, ethanol และน้ำ ตามลำดับ โดยใช้อุปกรณ์ soxhlet ระเหยตัวทำละลายออกด้วยการตั้งบน water bath ซึ่งจะได้สารสกัดหยาบลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลวนำเฉพาะสารสกัด ethanol และสารสกัดน้ำมาทดสอบความเป็นพิษในหนูเม้าส์ โดยป้อนหนูด้วยสารสกัดขนาด 0.25, 0.5, 1.0, 1.5 และ2.0 ก./กก. เฝ้าสังเกตนาน 48 ชม. ซึ่งไม่พบการตายของสัตว์ทดลอง จึงนำสารสกัดทั้ง 2 ชนิดไปทดสอบความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ในหนูเม้าส์เพศผู้ โดยแบ่งหนูเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับน้ำ 0.1 มล. กลุ่มที่ 2 และ 3 ได้รับสารสกัดน้ำ 200 และ 400 มก./กก./วัน ตามลำดับ (สารสกัดละลายในน้ำ 0.1 มล.) กลุ่มที่ 4 ได้รับ 0.1% carboxymethyl cellulose (CMC) ละลายในน้ำ 0.1 มล. กลุ่มที่ 5 และ 6 ได้รับสารสกัด ethanol 200 และ 400 มก./กก./วัน ตามลำดับ (สารสกัดละลายใน 0.1% CMC น้ำ 0.1 มล.) ทำการทดสอบนาน 35 วัน พบว่า หนูที่ได้รับสารสกัดทุกกลุ่ม (ยกเว้นกลุ่มที่ได้รับสารสกัดน้ำขนาด 200 มก./กก.) มีน้ำหนักตัวลดลง แต่ผลไม่ชัดเจน หนูที่ได้รับสารสกัดน้ำขนาด 200 มก./กก. และกลุ่มที่ได้รับสารสกัด ethanol ทั้ง 2 ขนาด มีน้ำหนักของอัณฑะลดลงอย่างชัดเจน หนูที่ได้รับสารสกัดทุกกลุ่ม (ยกเว้นกลุ่มที่ได้รับสารสกัดน้ำขนาด 200 มก./กก.) มีจำนวนอสุจิในท่อพักเชื้ออสุจิส่วนปลาย (caudal epididymal sperm count) ลดลงอย่างชัดเจน หนูที่ได้รับสารสกัดทุกกลุ่มมีผลรวมร้อยละของอสุจิที่มีลักษณะผิดปกติ(total percent of abnormal sperm types) เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดน้ำขนาด 400 มก./กก. และสารสกัด ethanol ขนาด 200 มก./กก. การวิเคราะห์เนื้อเยื่อพบว่าสารสกัดทั้ง 2 ชนิดทำให้ขนาดของอัณฑะ, หลอดสร้างอสุจิ (seminiferous tubule), และ spermatogonial cell ของหนูลดลง นอกจากนี้ยังทำให้ลูกหนูที่เกิดจากการผสมระหว่างหนูเม้าส์เพศผู้ที่ได้รับสารสกัด (ทั้ง 2 ชนิด) และหนูเม้าส์เพศเมีย (ไม่ได้รับสารทดสอบใด ๆ) มีจำนวนลดลง แสดงให้เห็นว่า สารสกัดน้ำและสารสกัด ethanol ของเนื้อผลสมอไทยมีความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์เพศชายและอาจมีฤทธิ์ในการคุมกำเนิด(135)
การศึกษาในหลอดทดลอง
การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์เม็ดเลือดแดงของผลสมอไทยจากบริษัท Himalaya Drug company ประเทศอินเดีย (voucher specimen: HDCO70/116) โดยนำผงสมอไทย 20 ก. มาสกัดโดยการแช่ในแอลกอฮอล์ (ไม่ระบุชนิด) 100 มล. นาน 72 ชม. โดยมีการคนทุก ๆ 24 ชม.กรอง ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator อุณหภูมิ30 oC เตรียมสารสกัดความเข้มข้น 200 มก./มล. จากนั้นนำมาทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์เม็ดเลือดแดงของแกะ โดยทำการเจือจางสารสกัดด้วย phosphate-buffered saline (PBS) อัตราส่วน 1:1, 1:10, 1:100, และ 1:1,000 พบว่าขนาดที่ทำการทดสอบทั้งหมดไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์เม็ดเลือดแดงของแกะ โดยไม่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตก (46)
การทดสอบความเป็นพิษของสารสกัด 80% methanol ของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทย 500 ก. มาสกัดด้วย 80% methanol โดยใช้วิธีให้ตัวทำละลายไหลผ่านผงสมุนไพรช้า ๆ (percolation) ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator และทำให้แห้งด้วยการอบที่อุณหภูมิ 40 oC นำมาทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ B16/F10 melanoma ด้วยวิธี 3-(4,5)-dimethylthiazol-2-yl)-2,5-diphenyltetrazolium bromide (MTT) assay โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 10-1,000 มคก./มล. พบว่าที่ความเข้มข้น 10, 50, และ 100 มคก./มล. ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์ แต่ที่ความเข้มข้น 500 และ 1,000 มคก./มล. ทำให้มีเซลล์ที่รอดชีวิต 70.21% และ 39.83% ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน kojic acid ความเข้มข้น 100 มคก./มล.ทำให้มีเซลล์ที่รอดชีวิต 55.24% (43)
การทดสอบความเป็นพิษของสารสกัด 70% ethanol ของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยนำผงแห้งของผลสมอไทยมาแช่สกัดด้วย 70% ethanol นาน 48 ชม. และนำมาทำให้แห้งภายใต้ภาวะสุญญากาศ นำมาทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนังชนิด fibroblasts โดยบ่มเซลล์ร่วมกับสารสกัดความเข้มข้น 0.5-50 มคก./มล. นาน 24 และ 72 ชม.ซม. ทำการวิเคราะห์อัตราการรอดชีวิตของเซลล์ด้วย sodium 30-[(phenyl-amino)-carbonyl]-3,4,tetrazolium-bis(4-methoxy-6-notro)benzene-sulphonic acid hydrate (XTT) assay พบว่าสารสกัด 70% ethanol ของผลสมอไทยทุกขนาด ไม่ทำให้เซลล์เกิดความผิดปกติ และไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์ (86)
การทดสอบความเป็นพิษของสารสกัด 70% ethanol ของผลสมอไทยจากประเทศจีน (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยแห้งมาบดละเอียด สกัดด้วย 70% ethanol ที่อุณหภูมิห้อง นาน 72 ชม. กรอง ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator โดยทำการทดสอบกับเซลล์สร้างเส้นใยเหงือก (gingival fibroblast) ด้วยวิธี MTT assay พบว่าเมื่อบ่มเซลล์ร่วมกับสารสกัด 70% ethanol ความเข้มข้น 0-30 มคก./มล. นาน 24-48 ชม. ไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์เมื่อความเข้มข้นของสารสกัดต่ำกว่า 25 มคก./มล. แต่ที่ความเข้มข้น 30 มคก./มล. ทำให้เซลล์ที่รอดชีวิตมีจำนวนลดลง (93)
การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ของสารสกัด 80% ethanol ของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยการนำผลแห้งของสมอไทยมาบดละเอียด นำผงแห้ง 4 ก. มาสกัดด้วย 80% ethanol 40 มล. 2 ครั้ง ด้วยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงช่วยสกัด (ultrasound-assisted extraction method) นาน 1 ชม. อุณหภูมิ 40 oC เครื่องกำลังไฟ 480 W นำสารสกัดที่ได้มาปั่นด้วยเครื่อง centrifuge ความเร็ว 900xg นาน 15 นาที ที่อุณหภูมิห้องเก็บส่วนใส ระเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่อง rotary evaporator อุณหภูมิ 40 oC นำสารสกัดที่ได้ไปทำให้แห้งด้วยความเย็น นำมาทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์หนังหุ้มปลายองคชาต (human foreskin fibroblast) ด้วยวิธี MTTassay พบว่า สารสกัด 80% ethanol ของผลสมอไทยมีค่าความเข้มข้นที่ทำให้เซลล์ตายครึ่งหนึ่ง (LC50) มากกว่า 100 มคก./มล. (54)
การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ของสารสกัด ethanol ของผลสมอไทยจากประเทศไต้หวัน (ไม่ระบุ voucher specimen) โดยนำผลสมอไทยแห้ง 5 ก. มาบด เติม ethanol 150 มล. สกัดด้วยวิธี reflux นาน 3 ชม. ทิ้งให้เย็น กรอง นำไปทำให้แห้งด้วยความเย็นนำมาทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ B16/F10 melanoma โดยบ่มเซลล์ร่วมกับใช้สารสกัด ethanol ความเข้มข้น 5-200 มคก./มล.นาน 72 ชม. และตรวจสอบอัตราการรอดชีวิตของเซลล์ด้วยวิธี MTT assay พบว่า สารสกัด ethanol ที่ความเข้มข้นต่ำกว่า 10 มคก./มล. ไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ แต่ที่ความเข้มข้น 25, 50, 100, และ 200 มคก./มล. มีเซลล์ที่รอดชีวิต 93.6%, 80.9%, 69.2%, และ63.5%ตามลำดับ ในขณะที่สารมาตรฐาน arbutin ความเข้มข้น 27.2 มคก./มล. มีเซลล์ที่รอดชีวิต 63.5% (25)
การทดสอบความเป็นพิษของส่วนสกัด n-hexane, carbon tetrachloride, chloroform, และน้ำ ซึ่งแยกได้จากสารสกัด methanol ของผลสมอไทย (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) โดยทดสอบกับตัวอ่อนของไรน้ำเค็ม (brine shrimp nauplii) พบว่าส่วนสกัดดังกล่าวมีค่าความเข้มข้นที่ทำให้ตัวอ่อนของไรน้ำเค็มตายครึ่งหนึ่ง (LC50) เท่ากับ 1.254, 0.826, 3.866, และ 5.366 มคก./มล. ตามลำดับ (136)
การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ของสาร1,2,3,4,6-penta-O-galloyl-β-D-glucose (PGG) ซึ่งแยกได้จากสารสกัด 80% methanol ของผลสมอไทยจากประเทศเกาหลี (ไม่ระบุ voucher specimen) ในเซลล์กระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อของกระต่าย (rabbit articular chondrocytes) ด้วยวิธี cell viability assay (MTT) โดยใช้สาร PGG ความเข้มข้น 16 มคก./มล. - 5 มก./มล. พบว่า สาร PGG ทุกขนาดไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อเซลล์กระดูกอ่อน (24)
ข้อห้ามใช้
ยังไม่มีรายงานข้อห้ามใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอาง
ข้อควรระวัง
ยังไม่มีรายงานข้อควรระวังการใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอาง
อาการไม่พึงประสงค์
ยังไม่มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอาง
ขนาดที่แนะนำ (ข้อมูลจากการศึกษาทางคลินิก)
ครีมที่มีส่วนผสมของสารสกัด methanol จากผลสมอไทย 5% เมื่อทาผิวหน้าเป็นเวลานาน 8 สัปดาห์ (ไม่ระบุขนาดและวิธีการทา) ทำให้อาการแดงของผิวหนัง (skin erythema) ลดลง ปริมาณเม็ดสีลดลง ความชุ่มชื้นของผิวหนังเพิ่มขึ้น และการสูญเสียน้ำจากผิวหนังลดลง แต่อาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีผิวมัน เนื่องจากทำให้การหลั่ง sebum จากผิวหนังเพิ่มขึ้น (30)
ครีมที่มีสารสกัดมาตรฐานจากผลสมอไทย (Synastol® TC, บริษัทSytheon) เป็นส่วนประกอบ 1% w/w เมื่อทาทั่วใบหน้าวันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) เป็นเวลานาน 12 สัปดาห์ ทำให้สภาพผิวโดยรวมเริ่มดีขึ้นหลังการใช้ 4 สัปดาห์ และดีขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังการใช้ 12 สัปดาห์ โดยเฉพาะในส่วนของริ้วรอย สีผิว ความยืดหยุ่น และความกระชับของผิวรวมทั้งทำให้ร่องลึกและความหยาบกร้านของผิวลดลง (31)
น้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำจากผลสมอไทย 10% w/v เมื่อใช้กลั้วปากในปริมาณ 10 มล. นาน 1 นาที แล้วบ้วนทิ้ง ช่วยให้จำนวนผลรวมเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก (total salivary bacterial count) และจำนวนผลรวมเชื้อแบคทีเรียชนิด streptococcal ในช่องปาก (total salivary streptococcal count) ลดลง (33)
น้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำจากผลสมอไทย 10% w/v และ 20% w/v เมื่อใช้กลั้วปากในปริมาณ 5-15 มล. จากนั้นอมไว้นาน 15-60 วินาที แล้วบ้วนทิ้ง จะทำให้ค่า pH และค่า buffering capacity ของน้ำลายเพิ่มขึ้น และทำให้จุลินทรีย์ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ (เช่น S. mutans, Lactobacillus และ C. albicans) มีจำนวนลดลง (34, 36-37, 39-40) นอกจากนี้ การใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัดน้ำจากผลสมอไทย 10% w/v วันละ 2 ครั้ง (หลังรับประทานอาหารเช้าและอาหารกลางวัน) นาน 14 วัน ยังช่วยให้การเกิดคราบฟันและภาวะเหงือกอักเสบลดลงอย่างชัดเจน (38) และการใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีสารสกัด 70% ethanol จากผลสมอไทยเป็นส่วนประกอบ 2.5% กลั้วปากในปริมาณ 5 มล. นาน 1 นาที แล้วบ้วนทิ้ง ก็สามารถลดลงปริมาณของ S. mutansในน้ำลายได้เช่นกัน (35)
สิทธิบัตร
สรุป
จากงานวิจัยข้างต้นจะเห็นว่าสมอไทยมีฤทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอางมากมาย การศึกษาทางคลินิกพบว่าสมอไทยมีฤทธิ์ช่วยบำรุงผิวหน้าและมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อในช่องปากได้ดี การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า สมอไทยมีฤทธิ์ช่วยให้ผิวขาว ต้านเชื้อที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดสิว ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้ผิวอ่อนเยาว์ ป้องกันรังสี ต้านการอักเสบ ช่วยรักษาแผล ต้านการแพ้ และช่วยฆ่าเชื้อในช่องปาก การศึกษาความเป็นพิษพบว่าการใช้ภายนอกค่อนข้างมีความปลอดภัยและยังไม่พบการรายงานความเป็นพิษหรืออาการระคายเคืองที่รุนแรงจากการใช้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สมอไทยมีศักยภาพในการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและการใช้ภายนอก โดยเฉพาะการใช้ในรูปแบบของผลิตบำรุงผิวและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในช่องปาก
เอกสารอ้างอิง
1. ราชันย์ ภู่มา, สมราน สุดดี, บรรณาธิการ. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช; 2557.
2. Terminalia chebula Retz. World Flora Online. [Internet]. 2012 [cited 2021 Sep 30]. Available from: http://www.worldfloraonline.org/taxon/wfo-0000406875.
3. Philcox D. Combretaceae. In: Dassanayake MD, Fosberg FR, Clayton WD, eds. A revised handbook to the flora of Ceylon, Vol. 9. New Delhi: Amerind Publishing Co. Pvt. Ltd.; 1995: 39-43.
4. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. โครงการทรัพยากรพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (PROSEA): ทรัพยากรพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันเฉียงใต้ 3 พืชที่ให้สีย้อมและแทนนิน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์; 2544.
5. สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียว, อ่องเต็ง นันทแก้ว. องค์ความรู้เรี่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. เชียงใหม่: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน); 2552.
6. พรทิพย์ เติมวิเศษ และคณะ, บรรณาธิการ. คู่มือการกำหนดพื้นที่ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรเพื่อใช้ในทางเภสัชกรรมไทย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2558.
7. นพมาศ สุนทรเจริญนนท์, อุทัย โสธนะพันธุ์, ประไพ วงศ์สินคงมั่น, บรรณาธิการ. ทีแอลซี : วิธีการอย่างง่ายในการวิเคราะห์คุณภาพเครื่องยาไทย. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 2551.
8. Department of Medical Sciences, Ministry of Public Health. Thai Herbal Pharmacopoeia 2020 Vol. II.Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand Ltd; 2020.
9. Singh G, Kumar P. Extraction, gas chromatography-mass spectrometry analysis and screening of fruits of Terminalia chebula Retz. for its antimicrobial potential. Pharmacognosy Res. 2013;5(3):162-8. doi: 10.4103/0974-8490.112421.
10. Kiss AK, Filipek A, Zyżyńska-Granica B, Naruszewicz M. Effects of penta-O-galloyl-b-D-glucose on human neutrophil function: significant down-regulation of L-selectin expression. Phytother Res. 2013;27(7):986-92. doi: 10.1002/ptr.4822.
11. Yang MH, Ali Z, Khan IA, Khan SI. Anti-inflammatory activity of constituents isolated from Terminalia chebula. Nat Prod Commun. 2014;9(7):965-8. doi: 10.1177/1934578x1400900721
12. Cheng HY, Lin TC, Yu KH, Yang CM, Lin CC. Antioxidant and free radical scavenging activities of Terminalia chebula. Biol Pharm Bull. 2003;26(9):1331-5. doi: 10.1248/bpb.26.1331.
13. Sancheti S, Sancheti S, Um B-H, Seo S-Y. 1,2,3,4,6-penta-O-galloyl-b-D-glucose: a cholinesterase inhibitor from Terminalia chebula. S Afr J Bot. 2010;76(2):285-8. doi: 10.1016/j.sajb.2009.11.006.
14. Pfundstein B, El Desouky SK, Hull WE, Haubner R, Erben G, Owen RW. Polyphenolic compounds in the fruits of Egyptian medicinal plants (Terminalia bellerica, Terminalia chebula and Terminalia horrida): characterization, quantitation and determination of antioxidant capacities. Phytochemistry. 2010;71(10):1132-48. doi: 10.1016/j.phytochem.2010.03.018.
15. Chen X, Sun F, Ma L, Wang J, Qin H, Du G. In vitro evaluation on the antioxidant capacity of triethylchebulate, an aglycone from Terminaliachebula Retz fruit. Indian J Pharmacol. 2011;43(3):320-3. doi: 10.4103/0253-7613.81508.
16. Patil V, Bandivadekar A, Debjani D. Inhibition of Propionibacterium acnes lipase by extracts of Indian medicinal plants. Int J Cosmet Sci. 2012;34(3):234-9. doi: 10.1111/j.1468-2494.2012.00706.x.
17. Patil V, Dhunjibhoy K, Dasgupta D. Novel antipropionibacterium activity of embelin and chebulagic acid on screening of Indian medicinal plants. Int Res J Pharm. 2017;8(5):45-52. doi: 10.7897/2230-8407.08571.
18. Sato Y, Oketani H, Singyouchi K, Ohtsubo T, Kihara M, Shibata H, et al. Extraction and purification of effective antimicrobial constituents of Terminalia chebula Retz. against methicillin-resistant Staphylococcus aureus. Biol Pharm Bull. 1997;20(4):401-4. doi: 10.1248/bpb.20.401.
19. Singh G, Kumar P, Jindal A. Antibacterial potential of sterols of some medicinal plants. Int J Pharm Pharm Sci. 2012;4(3):159-62.
20. Lee HS, Jung SH, Yun BS, Lee KW. Isolation of chebulic acid from Terminalia chebula Retz. and its antioxidant effect in isolated rat hepatocytes. Arch Toxicol. 2007;81(3):211-8. doi: 10.1007/s00204-006-0139-4.
21. Reddy DB, Reddy TC, Jyotsna G, Sharan S, Priya N, Lakshmipathi V, Reddanna P. Chebulagic acid, a COX-LOX dual inhibitor isolated from the fruits of Terminalia chebula Retz., induces apoptosis in COLO-205 cell line. J Ethnopharmacol. 2009;124(3):506-12. doi: 10.1016/j.jep.2009.05.022.
22. Srivastava P, Raut HN, Wagh RS, Puntambekar HM, Kulkarni MJ. Purification and characterization of an antioxidant protein (∼ 16 kDa) from Terminalia chebula fruit. Food Chem. 2012;131(1):141-8. doi: 10.1016/j.foodchem.2011.08.048.
23. Jeong HK, Lee D, Kim HP, Baek SH. Structure analysis and antioxidant activities of an amylopectin-type polysaccharide isolated from dried fruits of Terminalia chebula. Carbohydr Polym. 2019;211:100-8. doi: 10.1016/j.carbpol.2019.01.097.
24. Kim SJ, Sancheti SA, Sancheti SS, Um BH, Yu SM, Seo SY. Effect of 1,2,3,4,6-penta-O-galloyl-b-D-glucose on elastase and hyaluronidase activities and its type II collagen expression. Acta Pol Pharm. 2010;67(2):145-50.
25. Lee H-S, Cho HJ, Lee K-W, Park SS, Seo H-C, Suh HJ. Antioxidant activities and melanogenesis inhibitory effects of Terminalia chebula in B16/F10 melanoma cells. J Food Sci Nutr. 2010;15(3):213-20. doi: 10.3746/jfn.2010.15.3.213.
26. Nair V, Singh S, Gupta YK. Anti-arthritic and disease modifying activity of Terminalia chebula Retz. in experimental models. J Pharm Pharmacol. 2010;62(12):1801-6. doi: 10.1111/j.2042-7158.2010.01193.x.
27. Ekambaram SP, Babu KB, Perumal SS, Rajendran D. Repeated oral dose toxicity study on hydrolysable tannin rich fraction isolated from fruit pericarps of Terminalia chebula Retz in Wistar albino rats. Regul Toxicol Pharmacol. 2018;92:182-8. doi: 10.1016/j.yrtph.2017.12.001.
28. Inamdar MC, Rajarama Rao MR. Studies on the pharmacology of Terminalia chebula Retz. J Sci Ind Res. 1962;21C(12):345-8.
29. Singh S, Lal UR. Evaluation of in-vitro anti-inflammatory activity of chebulinic acid from Terminalia chebula Linn. against the denaturation of protein. International Electronic Conference on Synthetic Organic Chemistry, 18th; 2014 Nov 1-30; 2014. doi: 10.3390/ecsoc-18-b030
30. Akhtar N, Khan AB, Muhammad S, Ahmed M, Khan HM, Rasool F, et al. Formulation and characterization of a cream containing Terminalia chebula extract. Forsch Komplementmed. 2012;19(1):20-5. doi: 10.1159/000335823.
31. Chaudhuri RK, Lascu Z, Marchio F. Terminalia chebula for preventive and restorative anti-aging benefits. C & T. 2015;130(6):32-48.
32. Randhawa M, Meyer T, Sachdev M, Chaudhuri RK. Standardized Terminalia chebula fruit extract: a natural ingredient that provides long-lasting antioxidant protection and reverses visible signs of pollution-induced skin damage. Clin Cosmet Investig Dermatol. 2021;14:1257-1269. doi: 10.2147/CCID.S326492.
33. Jagtap AG, Karkera SG. Potential of the aqueous extract of Terminalia chebula as an anticaries agent. J Ethnopharmacol. 1999;68(1-3):299-306. doi: 10.1016/s0378-8741(99)00058-6.
34. Carounanidy U, Satyanarayanan R, Velmurugan A. Use of an aqueous extract of Terminalia chebula as an anticaries agent: A clinical study. Indian J Dent Res. 2007;18(4):152-6. doi: 10.4103/0970-9290.35823.
35. Nayak SS, Ankola AV, Metgud SC, Bolmal U. Effectiveness of mouthrinse formulated from ethanol extract of Terminalia chebula fruit on salivary Streptococcus mutans among 12 to 15 year old school children of Belgaum city: a randomized field trial. J Indian Soc Pedod Prev Dent. 2012;30(3):231-6. doi: 10.4103/0970-4388.105016.
36. Velmurugan A, Madhubala MM, Bhavani S, Satheesh Kumar KS, Sathyanarayana SS, Gurucharan N. An in-vivo comparative evaluation of two herbal extracts Emblica officinalis and Terminalia chebula with chlorhexidine as an anticaries agent: A preliminary study. J Conserv Dent. 2013;16(6):546-9. doi: 10.4103/0972-0707.120958.
37. Rekha V, Jayamathi, RamaKrishnan, Vijayalakshmi D, Prabu, Kumar N, et al. Anti cariogenic effect of Terminalia chebula. J Clin Diagn Res. 2014;8(8):ZC51-4. doi: 10.7860/JCDR/2014/9844.4765.
38. Gupta D, Bhaskar DJ, Gupta RK, Karim B, Gupta V, Punia H, et al. Effect of Terminalia chebula extract and chlorhexidine on salivary pH and periodontal health: 2 weeks randomized control trial. Phytother Res. 2014;28(7):992-8. doi: 10.1002/ptr.5075.
39. Palit M, Hegde SK, Bhat SS. Effectiveness of mouthrinse formulated from aqueous extract of Terminalia chebulaon Salivary Streptococcus mutans count and pH among 8- to 12-year-old school children of Karnataka: A randomized clinical trial. Int J Clin Pediatr Dent. 2016;9(4):349-354. doi: 10.5005/jp-journals-10005-1390.
40. Saxena S, Lakshminarayan N, Gudli S, Kumar M. Anti bacterial efficacy of Terminalia chebula, Terminalia bellirica, Embilica officinalis and Triphala on salivary Streptococcus mutans count - A linear randomized cross over trial. J Clin Diagn Res. 2017;11(2):ZC47-ZC51. doi: 10.7860/JCDR/2017/23558.9355.
41. Jin Y-Z, Li G-H, Ahn S-Y, Row K-H, Kim E-K. Extraction and purification of depigmenting agents from Chinese plants. Chem Res Chinese U. 2006;22(2):162-7. doi :10.1016/S1005-9040(06)60067-6.
42. Khazaeli P, Goldoozian R, Sharififar F. An evaluation of extracts of five traditional medicinal plants from Iran on the inhibition of mushroom tyrosinase activity and scavenging of free radicals. Int J Cosmet Sci. 2009;31(5):375-81. doi: 10.1111/j.1468-2494.2009.00503.x.
43. Jamshidzadeh A, Shokri Y, Ahmadi N, Mohamadi N, Sharififar F. Quercus infectoria and Terminalia chebuladecrease melanin content and tyrosinase activity in B16/F10 cell lines. J Pharm Pharmacogn Res. 2017;5(5): 270-7.
44. Chiocchio I, Mandrone M, Sanna C, Maxia A, Tacchini M, Poli F. Screening of a hundred plant extracts as tyrosinase and elastase inhibitors, two enzymatic targets of cosmetic interest. Ind Crops Prod. 2018;122:498-505. doi: 10.1016/j.indcrop.2018.06.029.
45. Swindell WR, Bojanowski K, Chaudhuri RK. A standardized Terminalia chebula fruit extract alters the expression of genes associated with skin architecture and barrier formation. Eur J Dermatol. 2020;30(5):469-92. doi: 10.1684/ejd.2020.3882.
46. Ahmad I, Mehmood Z, Mohammad F. Screening of some Indian medicinal plants for their antimicrobial properties. J Ethnopharmacol. 1998;62(2):183-93. doi: 10.1016/s0378-8741(98)00055-5.
47. Aqil F, Khan MS, Owais M, Ahmad I. Effect of certain bioactive plant extracts on clinical isolates of beta-lactamase producing methicillin resistant Staphylococcus aureus. J Basic Microbiol. 2005;45(2):106-14. doi: 10.1002/jobm.200410355.
48. Kannan P. Ramadevi SR, Waheeta H. Antibacterial activity of Terminalia chebula fruit extract. Afr J Microbiol Res. 2009;3(4):180-4.
49. Rattanasena P. Antioxidant and antibacterial activities of vegetables and fruits commonly consumed in Thailand. Pak J Biol Sci. 2012;15(18):877-82. doi: 10.3923/pjbs.2012.877.882.
50. Aruna P, Seshagiri RJVLN, Madhu R, Sudhakar M. Antimicrobial and anti oxidant activity of seeds of Terminalia chebula plant extracts. J Pharm Res Opin. 2012;2(12):188-90.
51. Revathi M, Senthilkumar G, Panneerselvam A, Karthy ES, Gopika R. In vitro assessment of Terminalia chebula Retz. fruits against methicillin resistant Staphylococcus aureus. IJPSR. 2016;7(11):465-70.
52. Mahadevi R. Green synthesis of silver nanoparticles using Terminalia chebula and its bactericidal activity against wound causing S. aureus. WJPPS. 2017;6(6):1228-38. doi: 10.20959/wjpps20176-9324.
53. Krishna S, Priyadarshini, Perumal A. Phytochemical investigation, antioxidant and antibacterial activities, and GC-MS analysis of ethanol extract of Terminalia chebula Retz. dried seeds. Adv Pharm J. 2020;5(3):92-102. doi: 10.31024/apj.2020.5.3.3.
54. Kim G, Gan R-Y, Zhang D, Farha AK, Habimana O, Mavumengwana V, et al. Large-scale screening of 239 traditional Chinese medicinal plant extracts for their antibacterial activities against multidrug-resistant Staphylococcus aureus and cytotoxic activities. Pathogens. 2020;9(3):185. doi: 10.3390/pathogens9030185.
55. Muthusamy N, Kanniah P, Vijayakumar P, Murugan U, Raj DS, Sankaran U. Green-Inspired fabrication of silver nanoparticles and examine its potential in-vitro cytotoxic and antibacterial activities. J Inorg Organomet Polym Mater. 2021. doi: 10.1007/s10904-021-02082-2.
56. Kim J-H, Kim B-J, Seok C-H, Won I, Kim J-H, KimH-P, et al. Biological screening of 100 plant extracts for cosmetic use (1) Antioxidative activity and free radical scavenging activity. J Soc Cosmet Sci Korea. 1996;22(2):115-23.
57. Saleem A, Ahotupa M, Pihlaja K. Total phenolics concentration and antioxidant potential of extracts of medicinal plants of Pakistan. Z Naturforsch C J Biosci. 2001;56(11-12):973-8. doi: 10.1515/znc-2001-11-1211.
58. Naik GH, Priyadarsini KI, Satav JG, Banavalikar MM, Sohoni DP, Biyani MK, et al. Comparative antioxidant activity of individual herbal components used in Ayurvedic medicine. Phytochemistry. 2003;63(1):97-104. doi: 10.1016/s0031-9422(02)00754-9.
59. Klika KD, Saleem A, Sinkkonen J, Kahkonen M, Lopone J, Taihtinen P, et al. The structural and conformational analyses and antioxidant activities of chebulinic acid and its thrice-hydrolyzed derivative, 2,4-chebuloyl-b-D-glucopyranoside, isolated from the fruit of Terminalia chebula. ARKIVOC. 2004;7:83-105. doi: 10.3998/ark.5550190.0005.708.
60. Lee HS, Won NH, Kim KH, Lee H, Jun W, Lee KW. Antioxidant effects of aqueous extract of Terminalia chebulain vivo and in vitro. Biol Pharm Bull. 2005;28(9):1639-44. doi: 10.1248/bpb.28.1639.
61. Palav YK, D'Mello PM. Standardization of selected Indian medicinal herbal raw materials containing polyphenols as major phytoconstituents. Indian J Pharm Sci. 2006;68(4):506-9.
62. Surveswaran S, Cai Y-Z, Corke H, Sun M. Systematic evaluation of natural phenolic antioxidants from 133 Indian medicinal plants. Food Chem. 2007;102(3):938-53. doi: 10.1016/j.foodchem.2006.06.033.
63. Bhattacharya S, Kamat JP, Bandyopadhyay SK, Chattopadhyay S. Comparative inhibitory properties of some Indian medicinal plant extracts against photosensitization-induced lipid damage. Food Chem. 2009;113(4):975-9. doi: 10.1016/j.foodchem.2008.08.047.
64. Chalise JP, Acharya K, Gurung N, Bhusal RP, Gurung R, Skalko-Basnet N, Basnet P. Antioxidant activity and polyphenol content in edible wild fruits from Nepal. Int J Food Sci Nutr. 2010;61(4):425-32. doi: 10.3109/09637481003591590.
65. Hazra B, Sarkar R, Biswas S, Mandal N. Comparative study of the antioxidant and reactive oxygen species scavenging properties in the extracts of the fruits of Terminalia chebula, Terminalia belerica and Emblica officinalis. BMC Complement Altern Med. 2010;10:20. doi: 10.1186/1472-6882-10-20.
66. Walia H, Kumar S, Arora S. Comparative antioxidant analysis of hexane extracts of Terminalia chebula Retz. prepared by maceration and sequential extraction method. J Med Plant Res. 2011;5(13):2608-16.
67. Walia H, Kumar S, Arora S. Comparative analysis of antioxidant and phenolic content of chloroform extract/fraction of Terminalia chebula. J Basic Clin Pharm. 2011;2(2):115-24.
68. Kubola J, Siriamornpun S, Meeso N. Phytochemicals, vitamin C and sugar content of Thai wild fruits. Food Chem. 2011;126(3):972-81. doi: 10.1016/j.foodchem.2010.11.104.
69. Chulasiri M, Wanaswas P, Sriaum D, Nakamat S, Wongkrajang Y, Kongsaktrakoon B, Phornchirasilp S, Songchitsomboon S, Leelarungrayub D. Utilizing hydroglycolic extract from myrobalan fruits to counteract reactive oxygen species. Int J Cosmet Sci. 2011;33(4):371-6. doi: 10.1111/j.1468-2494.2011.00642.x.
70. Kakatum N, Jaiarree N, Makchucit S, Itharat A. Antioxidant and anti-inflammatory activities of Thai medicinal plants in Sahasthara remedy for muscle pain treatment. J Med Assoc Thai. 2012;95 Suppl 1:S120-6.
71. Thomas R, Tripathi R, Kamat SD, Kamat DV. Comparative study of phenolics and antioxidant activity of phytochemicals of T. chebula extracted using microwave and ultrasonication. IJPSR. 2012;3(1):194-7.
72. Sasidharan I, Sundaresan A, Nisha VM, Kirishna MS, Raghu KG, Jayamurthy P. Inhibitory effect of Terminalia chebula Retz. fruit extracts on digestive enzyme related to diabetes and oxidative stress. J Enzyme Inhib Med Chem. 2012;27(4):578-86. doi: 10.3109/14756366.2011.603130.
73. Sarkar R, Mandal N. Hydroalcoholic extracts of Indian medicinal plants can help in amelioration from oxidative stress through antioxidant properties. J Complement Integr Med. 2012;9(1):Article 7. doi: 10.1515/1553-3840.1583.
74. Sarkar R, Hazra B, Mandal N. Reducing power and iron chelating property of Terminalia chebula (Retz.) alleviates iron induced liver toxicity in mice. BMC Complement Altern Med. 2012;12:144. d