ชะเอมเทศ
- ชื่อ
- ส่วนของพืชที่ใช้
- การกระจายตัวทางภูมิศาสตร์/แหล่งที่มา
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- การเพาะปลูก
- สรรพคุณและการใช้สมุนไพรพื้นฐานตามภูมิปัญญาไทยด้านเครื่องสำอาง
- สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบ
- สารออกฤทธิ์ หรือ สารสำคัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Glycyrrhiza glabra L.
ชื่อวงค์
FABACEAE
ชื่อสมุนไพร
ชะเอมเทศ
ชื่ออังกฤษ
Licorice
ชื่อพ้อง
Glycyrrhiza glandulifera Waldst. & Kit.
Glycyrrhiza pallida Boiss. & Noe
Glycyrrhiza violacea Boiss.
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อ INCI
GLYCYRRHIZA GLABRA CALLUS CULTURE EXTRACT
GLYCYRRHIZA GLABRA LEAF EXTRACT
GLYCYRRHIZA GLABRA MERISTEM CELL CULTURE
GLYCYRRHIZA GLABRA MERISTEM CELL CULTURE EXTRACT
GLYCYRRHIZA GLABRA RHIZOME/ROOT
GLYCYRRHIZA GLABRA RHIZOME/ROOT EXTRACT
GLYCYRRHIZA GLABRA ROOT
GLYCYRRHIZA GLABRA ROOT EXTRACT
GLYCYRRHIZA GLABRA ROOT JUICE
GLYCYRRHIZA GLABRA ROOT OIL
GLYCYRRHIZA GLABRA ROOT POWDER
GLYCYRRHIZA GLABRA ROOT WATER
GLYCYRRHIZA GLABRA ROOT/SUCROSE FERMENT EXTRACT FILTRATE
GLYCYRRHIZA GLABRA STEM EXTRACT
ส่วนของพืชที่ใช้
การกระจายตัวทางภูมิศาสตร์/แหล่งที่มา
ถิ่นกำเนิดในแถบยูเรเชีย แอฟริกาตอนเหนือ เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และเมดิเตอร์เรเนียน (5)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นสูง 1–2 ม.มีเนื้อไม้ที่ส่วนโคนมีต่อมเป็นจุดเล็กคล้ายเกล็ดกระจายทั่วลำต้น มีขนสีขาว ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยมี 9–17 ใบ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน หรือรูปรี ผิวใบด้านล่างมีขนต่อม สีเหลือง และมีขนบริเวณเส้นกลางใบ ผิวใบด้านบนมีขนนุ่ม ปลายใบย่อยมนมีติ่งเล็กคล้ายหนาม โคนใบย่อยมน หูใบร่วงง่าย รูปแถบ ช่อดอกแบบช่อกระจะเชิงลด ดอกย่อยรูปดอกถั่ว กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ รูประฆัง มีจุดเล็กสีเหลืองกระจายทั่วไป กลีบดอก สีม่วงอ่อน มี 5 กลีบ กลีบกลางรูปไข่แกมรูปขอบขนาน โคนสอบ ปลายเว้าบุ๋ม กลีบคู่ข้าง ยาว 8–9 มม. กลีบคู่ล่าง ยาว 7–8 มม. ฝักแบน ผิวนอกเรียบ เมล็ด มี 2–8 เมล็ด รูปไต สีเขียวเข้ม (3-4)
การเพาะปลูก
ชะเอมเทศเป็นพืชทนแล้งชอบดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายเค็มเล็กน้อย ระบายน้ำได้ดี ชั้นดินหนาและลึก เพื่อให้รากเจริญเติบโตได้เต็มที่ นิยมขยายพันธุ์โดยใช้รากหรือไหล ตัดท่อนยาว 15 ซม.ปลูกเป็นแถว ห่าง 0.4-1.2 ม. อายุเหมาะสมกับการเก็บเกี่ยวคือ 2-5 ปี โดยตัดโคนต้นและริดเอารากฝอยออก ตัดรากเป็นท่อนยาว ตากหรืออบจนแห้ง (8)
เกณฑ์ของ American Botanical Council และ WHO ระบุว่ารากชะเอมเทศต้องมีปริมาณสาร glycyrrhizin หรือในรูปของ glycyrrhizic acid, glycyrrhizinic acidอย่างน้อย 4% โดยปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณสารสำคัญในรากชะเอมเทศได้แก่ อายุพืชและคุณภาพของดิน นอกจากนี้ยังพบรายงานว่าการให้ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และการเด็ดดอกชะเอมเทศทิ้งก่อนการติดเมล็ดหรือตั้งแต่ช่วงระยะดอกตูม มีผลเพิ่มคุณภาพและปริมาณสารสำคัญในชะเอมเทศ (8)
สรรพคุณและการใช้สมุนไพรพื้นฐานตามภูมิปัญญาไทยด้านเครื่องสำอาง
ไม่มีข้อมูล
สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบ
องค์ประกอบทางเคมีในรากชะเอมเทศ ได้แก่ สารกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ (triterpenoids), สารกลุ่มไตรเทอร์พีนอยด์ซาโปนิน (triterpenoids saponins), สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids), สารกลุ่มชาลโคน (chalcones), สารกลุ่มแลคโตน (lactones), สารกลุ่มคูมาริน (coumarins), สารประกอบฟีนอลลิก, และสารหอมระเหย (volatile components) โดยมีรายละเอียดดังนี้ (6-13)
สารกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ (triterpenoids) ได้แก่ glabrolide, glycyrrhetol, isoglabrolide, liquiritic acid
สารกลุ่มไตรเทอร์พีนอยด์ซาโปนิน (triterpenoids saponins) ได้แก่ 11-deoxo-20α-glycyrrhizin, 11-deoxorhaoglycyrrhizin, 18α-glycyrrhizic acid, 18-β-glycyrrhetinic acid, 20α -galacturonoylglycyrrhizin, 20α-rhaoglycyrrhizin, 24-hydroxyglucoglycyrrhizin, 30-hydroxyglycyrrhizin, 3-O-β-d-glucuronopyranosyl, apioglycyrrhizin, araboglycyrrhizin, glabasaponin A-G, glycyrrhizic acid, glycyrrhizin, glycyrrhizin-20-methanoate, licoricesaponin A3, licoricesaponin B2, licoricesaponin C2, licoricesaponin E2, licoricesaponin G2, licoricesaponin H2, licoricesaponin J2, licoricesaponin K2, licoricesaponin M1-M4, licoricesaponin N4, licoricesaponin O4, macedonoside A, rhaogalactoglycyrrhizin, rhaoglucoglycyrrhizin, rhaoglycyrrhizin, uralsaponin B, uralsaponin T, uralsaponin V
สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ได้แก่ formononetin, glisoflavone, glucoliquiritin apioside, glucoliquiritin, glycybridin J, glyzaglabrin, isoangustone A, licoflavonol, liquiritigenin, liquiritin, neoliquiritin, prenyllicoflavone A (licoflavone B), rhamnoliquirilin, semilicoisoflavone B, shinflavanone
สารกลุ่มโครมีน (chromenes) ได้แก่ 1-methoxyficifolinol, 1-methoxyphaseollin, 2′-O-demethybidwillol, 2′-O-ethyl-glabridin, 2′, 4′-O-diethyl-glabridin, 3,4-didehydroglabridin, 4′-O-ethyl-glabridin, 4′-O-methylglabridin, glabrene, glabridin, glabrocoumarone A, glabrocoumarone B, glycybridin D, glycybridin E, glycybridin F, glycybridin G, glycybridin H, glycybridin I, hemileiocarpin, hispaglabridin A, hispaglabridin B, shinpterocarpin
สารกลุ่มชาลโคน (chalcone) ได้แก่ 1,2-dihydroparatocarpin A, glycybridin A, glycybridin B, glycybridin C, isoliquiritigenin, isoliquiritin, licochalcone A, licuraside, neoisoliquiritin, paratocarpin B
สารกลุ่มคูมาริน (coumarins) ได้แก่ glabrocoumarin, glycybridin K, glycycoumarin, glycyrin, herniarin, licoarylcoumarin, licocoumarin, licofuranocoumarin, licopyranocoumarin, liqcoumarin, umbelliferone
สารประกอบฟีนอลิก (phenolic compounds) ได้แก่ kanzonol R, licoriphenone, pyrogallol
สารกลุ่มแลคโตน (lactones) ได้แก่ 4-methyl-4-hexanolide, 4-methyl-4-heptanolide, 4-methyl-4-octanolide, 4-methyl-4-nonanolide, 4-methyl-4-decanolide, methyl 4-oxohexanoate, 4-ethyl-4-heptanolide, 4-ethyl-4-octanolide, 4-ethyl-4-nonanolide, 4-ethyl-4-decanolide, 5-methyl-5-heptanolide, 5-methyl-5-octanolide, 5-methyl-5-nonanolide, 5-methyl-5-decanolide
สารหอมระเหย (volatile components) ได้แก่ 1-methyl-2-formylpyrrole, 2,3-butanediol, α-pinene, β-caryophyllene, benzoic acid, β-pinene, caryophyllene oxide, citronellyl acetate, ethyl linoleate, furfuraldehyde, furfuryl formate, γ-terpinene, geraniol, geranyl hexanoate, hexanol, isofenchone, linalool oxide A-B, maltol, methyl ethyl ketone, octanol, pentanol, propionic acid, stragole, terpinen-4-ol, pyrazine, tetramethylpyrazine, α-terpineol
สารกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์
สารกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ซาโปนิน
สารกลุ่มฟลาโวนอยด์
สารกลุ่มโครมีน
สารกลุ่มชาลโคน
สารกลุ่มคูมาริน
สารกลุ่มแลคโตน
สารประกอบฟีนอลิก
สารประกอบอะโรมาติก
สารออกฤทธิ์ หรือ สารสำคัญ
กระตุ้นการงอกของเส้นผม: glycyrrhinic acid (14)
ลดเลือนฝ้า: glabridin (15)
ทำให้ผิวขาว
ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส: glabridin (16-18),glabrene (9, 18), isoliquiritigenin (18),glycybridins F (9), glycybridins K (9), 3,4-didehydroglabridin(9) และ 2′-O-demethybidwillol (19)
ยับยั้งการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานิน: glabridin (16-20), glabrene (18), isoliquiritigenin (18), 4′-O-ethyl-glabridin(17)และ2′-O-ethyl-glabridin (17)
ทำให้ผิวสีแทน (เพิ่มการสังเคราะห์เมลานิน): glycyrrhizin (20), liquiritin (21)
ต้านอนุมูลอิสระ: formononetin, glabridin, hemileiocarpin, hispaglabridin B, isoliquiritigenin, 4′-O-methylglabridin, paratocarpin B (12)
ต้านการอักเสบ: glycyrrhinic acid (22), licochalcone-A (23), ammonium glycyrrhizate (24), pyrogallol (13), 18β-glycyrrhetinic acid (25), glabridin (26-27), glycyrrhizin (26-27), isoliquiritigenin (26-27),
รักษาแผล: isoliquiritin (28)
ปกป้องผิวจากกันแดด: glabridin (17),glycyrrhizic acid (29-30)
ทำความสะอาดผิวกาย: saponins (31)
กำจัดขน: glycyrrhinic acid (32-33)
ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก: glabridin (34-35), licochalcone A (34), licoricidin (34-35)
ยับยั้งเชื้อราในช่องปาก: glabridin (34-36), licochalcone A (34, 37-38), licoricidin (34)
ยับยั้งเชื้อราในช่องคลอด: 18β-glycyrrhetinic acid (39)
แนวทางการควบคุมคุณภาพ (วิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ)
1 การตรวจสอบสารด้วยวิธี high performance liquid chromatography (HPLC)
1.1 การตรวจสอบสาร glycyrrhizin
การศึกษาที่ 1 (40)
column: ACE 10 C18-HL (10มคม.;150 x 10 มม.) อุณหภูมิ 25-28ºC
mobile phase: trifluoroacetic acid(0.1% v/v)in water (A), trifluoroacetic acid(0.1% v/v)in methanol (B) โดยอัตราส่วนจะเปลี่ยนไปตามเวลาที่กำหนด (gradient system): 30–100% B in A over 30 min
flow rate: 3 มล./นาที
injection volume: 100 มคล.
detector: photodiode detector 254นาโนเมตร
การศึกษาที่ 2 (41)
column: XDB-C18 analytical (5 มคม.;250 x 4.6 มม.)
mobile phase: 0.1% v/v phosphoric acid (A) และ acetonitrile (B) โดยอัตราส่วนจะเปลี่ยนไปตามเวลาที่กำหนด (gradient system): 5% B for 0–5 min, 5% B to 50% B for 35 min, 50% B to 95% B for 15 min, and 95% B to 5% B for 5 min.
flow rate: 1.0 มล./นาที
injection volume: 10 มคล.
detector: photodiode detector 253 นาโนเมตร
การศึกษาที่ 3 (27)
column: octadecylsilane C18 (5 มคม.;250 x 4.6 มม.)
mobile phase: mixture of phosphate buffer (A) และ acetonitrile (B) โดยอัตราส่วนจะเปลี่ยนไปตามเวลาที่กำหนด (gradient system): 5-45% B linear (0- 18 min), 45-80% B linear (18-25 min), maintain 80% B (25-28 min), 80% to 45% B (28-35 min), 45% to 5% B (35-45 min)
flow rate: 1.5 มล./นาที
injection volume: 20 มคล.
detector: photodiode detector 254 นาโนเมตร
1.2 การตรวจสอบสาร glycyrrhizic acid
การศึกษาที่ 1 (42)
column: Knauer-YF 50-C18, (5 มคม.;250 x 4.6 มม.)
mobile phase: acetic acid 2.5% และ ammonia
flow rate: 1 มล./นาที
injection volume: 100มคล.
detector: photodiode detector 254 นาโนเมตร
1.3 การตรวจสอบสาร glabridin
การศึกษาที่ 1 (16)
column: Hypersil GOLDTM a Q column (1.9มคม.;100 x 3.1มม.) อุณหภูมิ 40ºC
mobile phase: formic acid (0.1% v/v) in water (A), formic acid (0.1% v/v) in methanol (B)โดยอัตราส่วนจะเปลี่ยนไปตามเวลาที่กำหนด (gradient system): 30% B linear (0–4 min), 30–50% B linear (4–5 min), 50–70% B linear (5–8 min), 70–100% B linear (8–12 min), 100% B (12–15 min), และ 30% B linear (15–18 min).
flow rate: 0.5 มล./นาที
injection volume: 1 มคล.
detector: photodiode detector 280 นาโนเมตร
การศึกษาที่ 2 (27)
column: octadecylsilane C18 (5 มคม.;250 x 4.6 มม.)
mobile phase: mixture of phosphate buffer (A) และ acetonitrile (B) โดยอัตราส่วนจะเปลี่ยนไปตามเวลาที่กำหนด (gradient system): 5-45% B linear (0- 18 min), 45-80% B linear (18-25 min), maintain 80% B (25-28 min), 80% to 45% B (28-35 min), 45% to 5% B (35-45 min)
flow rate: 1.5 มล./นาที
injection volume: 20 มคล.
detector: photodiode detector 280 นาโนเมตร
1.4 การตรวจสอบสาร isoliquiritigenin
การศึกษาที่ 1 (27)
column: octadecylsilane C18 (5 มคม.;250 x 4.6 มม.)
mobile phase: mixture of phosphate buffer (A) และ acetonitrile (B) โดยอัตราส่วนจะเปลี่ยนไปตามเวลาที่กำหนด (gradient system): 5-45% B linear (0- 18 min), 45-80% B linear (18-25 min), maintain 80% B (25-28 min), 80% to 45% B (28-35 min), 45% to 5% B (35-45 min)
flow rate: 1.5 มล./นาที
injection volume: 20 มคล.
detector: photodiode detector 280 นาโนเมตร
2 การตรวจสอบสารด้วยวิธี Reversed Phase High Performance Liquid Chromatography (RP-HPLC)
2.1 การตรวจสอบสาร glycyrrhizin
การศึกษาที่ 1 (43)
column: Spherisorb S5 ODS (2.5มคม.;250 x 10 มม.)
mobile phase: น้ำ, acetonitrile และ acetic acidอัตราส่วนจะเปลี่ยนไปตามเวลาที่กำหนด (gradient system)โดยเริ่มจากน้ำ:acetonitrile:acetic acid อัตราส่วน 95:5:0.2เพิ่มตามระยะเวลาจนถึง 100%acetonitrileภายใน 35 นาที
flow rate: 1.5 มล./นาที
injection volume: 100 มคล.
detector: photodiode detector 254 นาโนเมตร
3 การตรวจสอบสารด้วยวิธี Ultrahigh-Performance Liquid Chromatography- Tandem Mass Spectrometry (UHPLC-MS/MS)
3.1 การตรวจสอบสาร isoliquiritin, liquiritin apioside, isoliquiritin apioside, licuraside, liquiritigenin, isoliquiritigenin, glycyrrhizin, glycyrrhetinic acid, glabridin, glycycoumarin, licoricidin, licochalcone A, และ p-hydroxybenzylmalonic acid
การศึกษาที่ 1 (10)
column: Acquity UPLC BEH C18 (1.7 มคม.;100 x 2.1 มม.) อุณหภูมิ 45ºC
mobile phase:อัตราส่วนจะเปลี่ยนไปตามเวลาที่กำหนด (gradient system) โดยใช้ 12-72% acetonitrile ในน้ำที่มี 0.1% formic acid ภายใน 15 นาที
flow rate: 0.6 มล./นาที
injection volume: ไม่ระบุ
retention time: isoliquiritin: 3.24 นาที, liquiritin apioside: 3.25 นาที, isoliquiritin apioside: 4.73 นาที, licuraside: 4.92 นาที, liquiritigenin: 5.17 นาที, isoliquiritigenin: 7.44 นาที, glycyrrhizin: 8.74 นาที, glycyrrhetinic acid: 14.30 นาที, glabridin: 11.59 นาที, glycycoumarin: 9.95 นาที, licoricidin: 13.20 นาที, licochalcone A: 10.79 นาที, และ p-hydroxybenzylmalonic acid: 1.22 นาที
การศึกษาทางคลินิก
1 การศึกษาเกี่ยวกับเส้นผมและหนังศีรษะ
1.1 ทำความสะอาดเส้นผม (H001)
การศึกษาคุณสมบัติของแชมพูสารสกัดน้ำรากชะเอมเทศ (ตัวอย่างพืชจากประเทศอิหร่าน ไม่ระบุ voucher specimen) เตรียมสารสกัดโดยใช้รากชะเอมเทศ 100 มก. แช่ในน้ำ 300 มก. เป็นเวลา 48-72 ชม. จากนั้นนำมาสกัดแบบต่อเนื่องด้วยวิธี perculation ปรับค่า pH ด้วยแอมโมเนีย และทำให้สารละลายเข้มข้นด้วยการนำไปต้มจนเหลือ 75 มล. เตรียมตำรับแชมพูที่อุณหภูมิ 70ºC ในตำรับประกอบด้วย สารสกัดรากชะเอมเทศ,Texapon®, Dehyton®, methyl paraben, propyl paraben, cocamide diethanolamine, เกลือ และน้ำมันหอมระเหยจากส้ม ทดสอบความสามารถในการทำความสะอาดเส้นผมด้วย gravimetric method และทดสอบคุณสมบัติทางเคมีกายภาพของแชมพูชะเอมเทศ ได้แก่ ลักษณะที่มองเห็นด้วยตาเปล่า ปริมาณฟอง ค่าความเป็นกรดด่าง ปริมาณของแข็ง ความหนืด ปริมาณฟอง และเวลาในการเปียก (wetting time) เปรียบเทียบกับแชมพูสมุนไพรในท้องตลาด และประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อแชมพูรากชะเอมเทศ ผลการศึกษาพบว่าแชมพูชะเอมเทศมีคุณสมบัติในการทำความสะอาดเส้นผม เนื้อแชมพูมีลักษณะใสมีความหนืดเหมาะสม ปริมาณฟองและระยะเวลาในการเปียกมีความใกล้เคียงกับแชมพูสมุนไพรในท้องตลาด และไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ ผลการทดสอบความพึงพอใจในอาสาสมัคร อายุ 25-35 ปี จำนวน 47 คน ที่สภาพเส้นผมแตกต่างกัน ได้แก่ ผมสุขภาพดี ผมหยิก ผมแห้งชี้ฟู ผมมัน ผมเปราะขาดง่าย กำหนดให้ใช้แชมพูชะเอมเทศสระผม ติดต่อกันเป็นเวลา 30 วัน (ไม่ระบุขนาดและวิธีใช้) ประเมินผลโดยให้อาสาสมัครตอบคำถามเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ คุณภาพของแชมพู และผลลัพธ์หลังการสระผม พบว่าอาสาสมัครมีความพึงพอใจผลิตภัณฑ์แชมพูชะเอมเทศในระดับดี อาการคันหนังศีรษะและรังแคลดลง แต่ไม่มีผลในการลดการหลุดร่วงของเส้นผมและไม่พบรายงานการแพ้หรืออาการระคายเคืองในอาสาสมัคร (44)
2 การศึกษาเกี่ยวกับผิวหน้า
2.1 ลดเลือนฝ้า (F002)
การศึกษาแบบเปิด uncontrolled open‐label study ในอาสาสมัครเพศหญิงจำนวน 40 คน อายุ 23-61 ปี ที่มีฝ้าบนใบหน้าแบบฝ้าตื้น (epidermal melasma) และมีสีผิวระดับ 2-4 ตามเกณฑ์ของ Fitzpatrick กำหนดให้อาสาสมัครทาเจลที่มีส่วนประกอบของสาร glabridin, andrographolide และ apolactoferrin (ไม่ระบุแหล่งที่มาของสารสกัด และอัตราส่วนของสารสกัดที่ใช้) บนผิวหน้า ครั้งละ 0.1 มล. วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน ทำการประเมินด้วยการถ่ายภาพใบหน้า ประเมินความรุนแรงของฝ้าด้วยแบบประเมิน Melasma Area and Severity Index (MASI) วัดค่าความสว่างของสีผิวด้วย spectrocolorimeter X‐Rite analysis และวิเคราะห์สภาพเซลล์ผิวหนังด้วยกล้องจุลทรรศน์ reflectance confocal microscopy (RCM) เปรียบเทียบก่อนและหลังการทดสอบ ผลการศึกษาพบว่าการเกิดฝ้าบนใบหน้าของอาสาสมัครมีความรุนแรงน้อยลง ค่าเฉลี่ย MASI ลดลงจาก 19.3±5.4 เหลือ 15.8±4.4 คะแนน ค่าความสว่างของผิวเพิ่มขึ้นจาก 48.27±4.75 เป็น 54.86±5.06 คะแนน การวิเคราะห์สภาพเซลล์ผิวก่อนการทดสอบพบว่าผิวหน้าของอาสาสมัครมีการกระจายตัวของฝ้าแบบ hyper-refractile cobblestone pattern อยู่ในระดับมาก 33 คน และปานกลาง 7 คน เมื่อสิ้นสุดการทดสอบไม่พบการกระจายตัวของฝ้าบนใบหน้า 19 คน และพบการกระจายตัวในระดับเล็กน้อยและปานกลาง 18 และ 3 คน ตามลำดับ นอกจากนี้จำนวนเซลล์เมลาโนไซต์ (activated melanocytes) ในชั้นผิวหนังของอาสาสมัครคงเหลือเพียง 2 ราย จาก 27 ราย อาสาสมัครมีความพึงพอใจและยอมรับในผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตามพบอาการไม่พึงประสงค์ในอาสาสมัคร 3 ราย คือ อาการผิวแห้งหลังการได้รับเจล (15)
การศึกษาฤทธิ์ลดเลือนฝ้าของตำรับครีมสมุนไพรที่มีส่วนผสมของดอกเดซี่ มะขามป้อมและชะเอมเทศ 7% (ไม่ระบุวิธีการเตรียมและแหล่งที่มาของวัตถุดิบ) เปรียบเทียบกับครีมไฮโดรควิโนน 2%ทำการศึกษาแบบเปิดในอาสาสมัครเพศหญิง อายุ 18-60 ปี ที่มีสีผิวระดับ 3-4 ตามเกณฑ์ของ Fitzpatrick ร่วมกับมีฝ้าชนิดฝ้าตื้น (epidermal melasma) หรือฝ้าลึก (dermal melasma) จำนวน 56 คน สุ่มแบ่งกลุ่มให้อาสาสมัครทาครีมบริเวณใบหน้า วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 60 วัน ติดตามผลด้วยการวิเคราะห์ถ่ายภาพ วัดระดับสีผิว จำนวน ขนาดและความเข้มของจุดด่างดำบนใบหน้า (UV spot) ประเมินความพึงพอใจของอาสาสมัครด้วยการตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง พบว่าจุดสีผิว (lesion depigmentation) และจุดด่างดำบนใบหน้าของอาสาสมัครทั้งสองกลุ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับก่อนการศึกษา (กลุ่มตำรับครีมสมุนไพร: 78.3%; กลุ่มครีมไฮโดรควิโนน: 88.9%) และไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ได้รับตำรับครีมสมุนไพรและครีมไฮโดรควิโนน ผลจากการตอบแบบประเมินด้วยตนเองของอาสาสมัครระบุว่าการใช้ตำรับครีมสมุนไพรมีประสิทธิภาพในการลดเลือนฝ้า สามารถลดจำนวน ขนาดและความเข้มของฝ้าได้ไม่แตกต่างกับการใช้ครีมไฮโดรควิโนน (91.3% และ 92.6% ตามลำดับ) อย่างไรก็ตามในการศึกษานี้พบอาการไม่พึงประสงค์ในอาสาสมัครทั้งสองกลุ่ม คือ อาการแสบร้อน ผื่นแดง และอาสาสมัครบางคนมีจำนวนเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น (45)
3 การศึกษาเกี่ยวกับผิวกาย
3.1 ต้านการอักเสบของผิวกาย (S014)
การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของเจลรากชะเอมเทศ เตรียมสารสกัดโดยนำผงรากชะเอมเทศ น้ำหนัก 600 ก. (ตัวอย่างพืชจากประเทศอิหร่าน ไม่ระบุ voucher specimen) แช่สกัดในเมทานอล 1 ล. เป็นเวลา 24 ชม. (ทำการสกัดซ้ำ 2 ครั้ง) กรองและทำให้สารสกัดแห้งด้วยวิธีการระเหยแห้งแบบลดความดัน (ได้สารสกัดที่มีสาร glycyrrhinicacid เท่ากับ 20.3±0.81%)เตรียมตำรับเจลสารสกัดรากชะเอมเทศ ที่ประกอบด้วยpropylene glycol, carbopol 940 และสารสกัดเมทานอลรากชะเอมเทศความเข้มข้น 1 และ 2% โดยน้ำหนัก ทำการศึกษาแบบ double–blind clinical trial ในอาสาสมัครที่มีอาการโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis) จำนวน 90 คน แบ่งกลุ่มทดสอบออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มเจลสารสกัดเมทานอลรากชะเอมเทศ 1%, กลุ่มเจลสารสกัดเมทานอลรากชะเอมเทศ 2% และกลุ่มยาหลอกที่ได้รับเจลที่เตรียมจากส่วนผสมในตำรับเดียวกันแต่ไม่มีสารสกัดจากรากชะเอมเทศ ให้อาสาสมัครทาเจลบริเวณที่มีอาการ วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ ประเมินผลจากการให้คะแนนอาการบวม อาการคัน ผื่นแดง และอาการผิวหนังหลุดล่อน เมื่อสิ้นสุดการศึกษาพบว่าอาการบวม อาการคัน และผื่นแดงในผู้ป่วยที่ได้รับเจลสารสกัดรากชะเอมเทศ 1% มีค่าลดลง 56.64, 44.1 และ 35.02% ตามลำดับและกลุ่มสารสกัดชะเอมเทศ 2% ลดลง 83.76, 72.53 และ 60.76% ตามลำดับซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก อย่างไรก็ตามในการศึกษานี้ไม่พบผลของสารสกัดจากรากชะเอมเทศทั้ง 2 ขนาดในการลดการหลุดล่อนของผิวหนังแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากชะเอมเทศช่วยบรรเทาอาการอักเสบในผู้ป่วยผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้ (22)
การศึกษาฤทธิ์ลดอาการระคายเคืองบนผิวหนังหลังการโกนขนของตำรับครีมlicochalone-A เข้มข้นจากชะเอมเทศทำการศึกษาแบบ single-blind, controlled post-shave irritation modelในอาสาสมัครที่มีปัญหาผิวแพ้ง่าย จำนวน38 คน (เพศหญิง 20 คน และเพศชาย 18 คน) อายุระหว่าง 21-65 ปีกำหนดให้อาสาสมัครโกนขนบริเวณด้านในท้องแขนด้วยใบมีดโกน ติดต่อกัน 3 วัน จากนั้นให้อาสาสมัครทาตำรับครีมที่มีส่วนประกอบของ licochalone-A เข้มข้นจากชะเอมเทศ (Maruzen Chemicals, Japan) ร่วมกับสาร4-t-butylcyclohexanol (ไม่ระบุอัตราส่วนที่ใช้) หรือทาด้วยยาหลอก (ครีมเบสที่ไม่มีส่วนผสมของสาร licochalone-Aและ 4-t-butylcyclohexanol)ทาบริเวณที่โกนขน วันละ 2 ครั้ง โดยทาครั้งแรกหลังการโกนขนทันที และทาครั้งที่ 2 หลังการโกนขนแล้ว 4-5 ชม. ทำติดต่อกัน 3 วัน ประเมินผลด้วยการตรวจสอบการเกิดผิวหนังอักเสบผื่นแดงที่มองเห็นหลังการโกนครั้งแรก 24 ชม. (t1) และหลังการโกนครั้งสุดท้าย 24 ชม. (t2) และวัดค่าความแดงของผิวหนังด้วยเครื่อง Spectropen® ผลพบว่าอาการผิวหนังอักเสบผื่นแดงที่มองเห็นด้วยตาเปล่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังการใช้ 24 ชม. เมื่อเทียบกับบริเวณที่ทาด้วยยาหลอก ค่าความแดงของผิวหนังที่เวลา t1 และ t2 ในบริเวณที่ได้รับตำรับครีม licochalone-A เข้มข้นมีค่าเท่ากับ t1 = 0.77±1.21, t2=1.12±1.24ตามลำดับ ซึ่งน้อยกว่าผิวหนังบริเวณที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t1 = 1.89±0.61, t2=1.83±0.54 ตามลำดับ) แสดงให้เห็นว่าตำรับครีมที่มีส่วนประกอบของ licochalone-A เข้มข้นร่วมกับ 4-t-butylcyclohexanol สามารถบรรเทาอาการระคายเคืองของผิวหนังและการลดการอักเสบผื่นแดงหลังการโกนขนได้ (23)
การพัฒนาตำรับ ultradeformable liposomes บรรจุสาร ammonium glycyrrhizateจากชะเอมเทศโดยใช้ฟอสโฟไลปิดชนิดไขมันไม่อิ่มตัว phospholipon 90®G, ฟอสโฟไลปิดจากถั่วเหลือง (soy phosphatidylcholine) และ ammonium glycyrrhizate (Indena, Italy) 0.3% โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ด้วยวิธี thin layer evaporation technique ได้อนุภาค ammonium glycyrrhizateultradeformable liposomes(A.G.-Uls) รูปทรงกลม ขนาด128 นาโนเมตรและมีประสิทธิภาพในการกักเก็บสารสกัด 57.3±3.7% ทำการทดสอบความสามารถในการปลดปล่อยตัวยาและความสามารถในการแพร่ผ่านผิวหนังชั้น stratum corneum และ epidermis ที่แยกได้จากผิวหนังของผู้ป่วยชายที่เข้ารับการผ่าตัดศัลยกรรม พบว่าไลโปโซมปลดปล่อยammonium glycyrrhizate ได้อย่างต่อเนื่องในชั่วโมงที่ 1-10 และเข้าสู่สภาวะคงที่ในชั่วโมงที่ 10-24 ของการทดสอบ ไลโปโซมบรรจุ ammonium glycyrrhizateสามารถแพร่ผ่านชั้นผิวหนังได้ดีกว่าการใช้สารammonium glycyrrhizateแบบเดี่ยว โดยที่เวลา 24 ชม. หลังการทา สามารถซึมผ่านชั้นผิวได้ 134.9 และ 56.7 มคก./ตร.ซม. ตามลำดับ เมื่อทำการทดสอบอาการระคายเคืองต่อผิวหนังในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 8 คนอายุเฉลี่ย 25±4 ปี โดยให้ทาสารละลายA.G.-Uls ขนาด 200 มคล. บริเวณท้องแขน ไม่พบว่าก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ผื่นแดง หรือเกิดความผิดปกติบนผิวหนัง และไม่มีความแตกต่างจากการได้รับน้ำเกลือ 0.9% หรือสารละลายไลโปโซมเปล่า (empty ultradeformable liposomes) การศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบของ A.G.-Uls ในอาสาสมัครที่เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะผิวอักเสบผื่นแดงโดยใช้ methylnicotinate solution (0.2% w/v) จากนั้นทำการรักษาด้วยสารละลาย A.G.-Uls, สารละลาย ammonium glycyrrhizate และสารละลายน้ำเกลือ 0.9% ขนาด 200 มคล.ประเมินผลด้วยการวัดค่าความแดงของผิวหนัง erythema index (ΔEI) ที่เวลา 30 นาที - 6 ชม. ผลพบว่าสารละลาย A.G.-Uls มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ลดความแดงของผิวหนังได้ดีที่สุด รองลงมาคือสารละลาย ammonium glycyrrhizate โดยค่า ΔEI ในกลุ่มที่ได้รับสารละลาย A.G.-Uls มีค่าสูงสุด (ΔEI>10) ที่เวลา 30 นาทีหลังการได้รับสาร และจะลดลงเป็นลำดับตามระยะเวลา ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับสารละลายน้ำเกลือพบค่า ΔEI>30 ที่เวลา 1 ชม. และและยังพบอาการบวมแดงของผิวหลังตลอดระยะเวลาการทดสอบ (ΔEI>10) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการเตรียมตำรับไลโปโซมบรรจุ ammonium glycyrrhizate ช่วยเสริมประสิทธิภาพฤทธิ์ต้านการอักเสบของสาร ammonium glycyrrhizate (24)
4 การศึกษาเกี่ยวกับริมฝีปากและช่องปาก
4.1 น้ำยาบ้วนปาก (L001)
ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก
การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปากชะเอมเทศ เตรียมสารสกัดด้วยการนำรากชะเอมเทศ (ไม่ระบุแหล่งที่มาของวัตถุดิบ) มาสกัดด้วย 70% เอทานอล ที่อุณหภูมิ 60ºC เป็นเวลา 25 นาที จากนั้นนำสารละลายที่ได้ไปปั่นเหวี่ยงด้วยเครื่อง centrifuged แล้วแยกส่วนใสมาทำการทดสอบ ทำการศึกษาในอาสาสมัครเด็กอายุ 10-13 ปี ที่มีอาการเหงือกอักเสบ จำนวน 90 คน แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มน้ำยาบ้วนปาก chlorhexidine0.2%กลุ่มน้ำยาบ้วนปากสารสกัด 70% เอทานอลรากชะเอมเทศและกลุ่มน้ำเกลือ โดยอาสาสมัครจะได้รับน้ำยาบ้วนปาก ขนาด 15 มล.สำหรับกลั้วปาก 1 ครั้ง นาน 1 นาทีประเมินผลด้วยการตรวจวัดเชื้อ Streptococcus mutans ในน้ำลายเปรียบเทียบก่อนการบ้วนปาก และหลังการบ้วนปากที่เวลา 5นาที(T1), 60 นาที (T2) และความแตกต่างในระยะเวลา 5-60 นาที (T3) ผลพบว่าหลังการบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก chlorhexidine,น้ำยาบ้วนปากชะเอมเทศ และน้ำเกลือ 5 นาที สามารถยับยั้งเชื้อได้ 100%, 67.30% และ 44.82% ตามลำดับ และที่เวลา 60 นาทีหลังการบ้วนปาก ยับยั้งเชื้อได้ 100%, 100% และ 37.93% ตามลำดับ และไม่พบความแตกต่างของจำนวนเชื้อ S. mutans ที่ระยะเวลา T3 ในกลุ่มที่ได้รับน้ำยาบ้วนปาก chlorhexidine และน้ำยาบ้วนปากชะเอมเทศแสดงให้เห็นว่าน้ำยาบ้วนปากชะเอมเทศมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในช่องปากได้เช่นเดียวกับน้ำยาบ้วนปาก chlorhexidine (46)
การศึกษาประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในช่องปากของน้ำยาบ้วนปากชะเอมเทศ เตรียมสารสกัดด้วยวิธีการแช่สกัดผงชะเอมเทศ (ตัวอย่างพืชจากประเทศอียิปต์ ไม่ระบุ voucher specimen) ใน 70%เอทานอล (อัตราส่วน 1:10) เป็นเวลา 3 วัน กรองและทำให้แห้งด้วยวิธีทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (lyophilizer) การศึกษาในอาสาสมัครที่มีความเสี่ยงฟันผุสูง (high caries-risk) จำนวน 63 คน สุ่มแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 3 กลุ่ม ให้ได้รับน้ำยาบ้วนปาก 3 ชนิด คือ กลุ่มน้ำยาบ้วนปาก gum arabic ความเข้มข้น 6.25%. กลุ่มน้ำยาบ้วนปากชะเอมเทศ ความเข้มข้น 12.5% และกลุ่มน้ำยาบ้วนปาก chlorhexidineความเข้มข้น 0.12% กำหนดให้อาสาสมัครบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากครั้งละ 10 มล. กลั้วนาน 1 นาที วันละครั้ง เดือนละ 1 สัปดาห์ ติดต่อกันนาน 12 เดือน ทำการประเมินผลในเดือนที่ 0, 3, 6, 9 และ 12 ผลการศึกษาพบว่าค่าดัชนีฟันผุถอนอุด (decayed missed and filled surfaces: DMFS) ในเดือนที่ 3, 6 และ 9 ของอาสาสมัครทั้ง 3 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน แต่เมื่อครบ 12 เดือน ค่า DMF scores ในกลุ่มที่ได้รับน้ำยาบ้วนปาก chlorhexidine สูงกว่าทุกกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญ สอดคล้องกับผลการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S.mutans และ Lactobacillus acidophilus ในน้ำลายของอาสาสมัคร พบว่าประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อของน้ำยาบ้วนปากทั้ง 3 ชนิด ไม่มีความแตกต่างกันในเดือนที่ 3 และ 6 ของการทดสอบ แต่ในเดือนที่ 9 และ 12 ประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อของน้ำยาบ้วนปาก chlorhexidine มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับน้ำยาบ้วนปาก gum arabic และน้ำยาบ้วนปากชะเอมเทศ บ่งถึงภาวะดื้อยา chlorhexidine ของเชื้อจุลินทรีย์ทั้ง 2 ชนิด การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าน้ำยาบ้วนปาก gum arabic และน้ำยาบ้วนปากชะเอมเทศสามารถป้องกันฟันผุโดยมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S. mutans และ L. acidophilus ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดฟันผุในช่องปาก (47)
การศึกษาประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุของเจลสารสกัดชะเอมเทศเตรียมสารสกัดน้ำจากชะเอมเทศ โดยแช่สกัดผงรากชะเอม (ตัวอย่างพืชจากประเทศอินเดีย ไม่ระบุ voucher specimen) ในน้ำกลั่น และเตรียมสารสกัดเอทานอลด้วยวิธีแช่สกัดในเอทานอล (ไม่ระบุความเข้มข้นของตัวทำละลาย) เป็นเวลา 24 ชม. กรอง และทำให้สารสกัดแห้งด้วยวิธีทำแห้งแบบเยือกแข็ง (lyophilizer) ทำการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S. mutans ในช่องปากด้วยวิธี broth tube dilution method พบว่าสารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอลจากชะเอมเทศ ยับยั้งเชื้อ S. mutans ด้วยค่าminimum inhibitory concentration (MIC) เท่ากับ 3.14 และ 2.15 มคก./มล. ตามลำดับ และมีค่า minimum bactericidal concentration (MBC) เท่ากับ 3.25 และ 2.26 มคก./มล. ตามลำดับ ซึ่งมีความแรงน้อยกว่าสารเปรียบเทียบ hexigel ที่มีค่า MIC และ MBC เท่ากับ 1.30 และ 1.40 มคก./มล. ตามลำดับ และการทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุในเด็กวัยเรียน อายุ 6-12 ปี ที่มีดัชนีฟันผุถอนอุด (decayed missed and filled surfaces (DMFS) ระดับ 5D จำนวน 30 คน แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มที่ 1 ได้รับน้ำยาบ้วนปากสารสกัดน้ำจากชะเอมเทศ ความเข้มข้น 1.75 ก./มล. ในน้ำเกลือ กลุ่มที่ 2 ได้รับน้ำยาบ้วนปากสารสกัดเอทานอลจากชะเอมเทศ 350 มก./มล. และกลุ่มที่ 3 ได้รับน้ำยาบ้วนปาก hexidine (chorohexidine0.2%) กำหนดให้อาสาสมัครกลั้วปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก ขนาด 10 มล. นาน 2 นาที ประเมินผลด้วยการตรวจสอบปริมาณเชื้อ S. mutans ในน้ำลาย เปรียบเทียบที่เวลาก่อนบ้วนปาก 1 นาที, หลังบ้วนปากทันที, หลังบ้วนปาก 15 นาที และหลังบ้วนปาก 30 นาที พบว่าระดับเชื้อ S. mutans หลังการบ้วนปากทันทีไม่มีความแตกต่างกันในอาสาสมัครทั้ง 3 กลุ่ม อย่างไรก็ตามที่เวลา 15 และ 30 นาทีหลังการบ้วนปาก จำนวนเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มที่ 1-2 มีค่าแนวโน้มลดลงแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่กลุ่มที่ 3 มีระดับเชื้อแบคทีเรียลดลงอย่างมีนัยสำคัญ การศึกษานี้สรุปได้ว่าน้ำยาบ้วนปากสารสกัดชะเอมเทศสามารถยับยั้งเชื้อ S. mutans ในช่องปากได้ โดยสารสกัดแอลกอฮอล์มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อมากกว่าสารสกัดน้ำ อย่างไรก็ตามสารสกัดทั้งสองชนิดมีประสิทธิภาพน้อยกว่าน้ำยาบ้วนปาก hexidine (48)
การศึกษาแบบสุ่มในอาสาสมัครเด็ก อายุ 5-15 ปี จำนวน 93 คนที่มีปัญหาสูญเสียการได้ยิน (children with hearing impairment (CHI)สุ่มแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ได้รับความรู้เรื่องการดูแลช่องปากด้วยภาษามือและกลุ่มที่ได้รับความรู้เรื่องการดูแลช่องปากด้วยวิดีโอสาธิต จากนั้นแบ่งอาสาสมัครในแต่ละกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ได้รับความรู้ร่วมกับการใช้น้ำยาบ้วนปากชะเอมเทศ (มีส่วนประกอบของทิงเจอร์ชะเอมเทศ 5%; ไม่ระบุแหล่งที่มาและความเข้มข้นของตัวทำละลาย) ครั้งละ 10 มล. กลั้วปากนาน 30 วินาที วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 28 วัน หรือการได้รับความรู้เพียงอย่างเดียว ประเมินผลโดยประเมินสุขอนามัยในช่องปาก การเกิดเหงือกอักเสบ และดัชนีการเกิดคราบจุลินทรีย์ ช่วงก่อนและหลังการศึกษา และติดตามประเมินผลหลังการทดสอบ 3 เดือน เมื่อสิ้นสุดการศึกษาพบว่าค่าดัชนีสุขภาพอนามัยในช่องปาก การเกิดเหงือกอักเสบ และการเกิดคราบจุลินทรีย์ในอาสาสมัครลดลงอย่างมีนัยสำคัญในทุกกลุ่มโดยการใช้น้ำยาบ้วนปากชะเอมเทศเป็นปัจจัยสำคัญในการลดคราบจุลินทรีย์และเหงือกอักเสบ และไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างการให้ความรู้ด้วยภาษามือและการใช้วิดีโอสาธิต (49)
4.2 รักษาแผลในปาก (L006)
การศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นปิดแผลในปากแบบละลายได้ในช่องปาก (dissolving oral patch) ซึ่งมีสารสกัดน้ำจากรากชะเอมเทศเป็นส่วนประกอบ (ไม่ระบุแหล่งที่มาของวัตถุดิบ) ทำการศึกษาในผู้ที่มีแผลร้อนในในปาก (recurrent aphthous ulcers: RAU) ที่มีขนาดความกว้างและยาวของแผลโดยเฉลี่ยด้านละ 0.5 มม. จำนวน 69คน แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มแผ่นปิดแผลในปากชะเอมเทศ (23 คน) แผ่นปิดแผลยาหลอก (23 คน) และกลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษาใดๆ (23 คน) กำหนดให้อาสาสมัครปิดแผ่นปิดแผลในปาก วันละ 16 ชม. (ไม่รวมเวลานอน)ติดต่อกันเป็นเวลา 8 วัน ติดตามประเมินผลการหายของแผลโดยวัดขนาดความกว้างและยาวของแผล ร่วมกับการประเมินความรุนแรงความเจ็บปวดของแผลโดยการให้คะแนน 0-10 ผลพบว่าในวันที่ 8 ของการศึกษากลุ่มที่ได้รับแผ่นปิดแผลรากชะเอมเทศมีขนาดของแผลลดลง 90% และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกลุ่มที่ได้รับแผ่นปิดแผลยาหลอกที่มีขนาดของแผลลดลง 68.5% ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษามีขนาดของแผลเพิ่มขึ้น 13% ผลการประเมินระดับความเจ็บปวดของแผลพบว่าระดับความเจ็บปวดแผลของกลุ่มที่ได้รับแผ่นปิดแผลรากชะเอมเทศ แผ่นปิดแผลยาหลอก และกลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษาลดลง 81%, 63% และ 40% ตามลำดับ (50)
การทดสอบในอาสาสมัครที่มีแผลร้อนในในปาก อายุ 22-35 ปีจำนวน 45 คนแบ่งกลุ่มอาสาสมัครเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยแผ่นปิดแผลในปาก กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยแผ่นปิดแผลที่ไม่มีส่วนผสมของชะเอมเทศ และกลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยแผ่นปิดแผลที่มีส่วนผสมของสารสกัดชะเอมเทศ 1% (เตรียมสารสกัดโดยวิธีการแช่สกัดรากชะเอมเทศในคลอโรฟอร์ม 48 ชั่วโมง ตัวอย่างพืชจากประเทศอิหร่าน ไม่ระบุ voucher no.) กำหนดให้อาสาสมัครปิดแผ่นปิดแผลบริเวณที่มีแผลร้อนใน นาน 20 นาที วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน ติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน ทำการประเมินผลโดยใช้แบบประเมินvisual analogue scale และบันทึกระดับความเจ็บปวดแผล ผลพบว่าค่าเฉลี่ย VAS ของแผลมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 2 ของการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการรักษาด้วยแผ่นปิดแผลที่ไม่มีส่วนผสมของชะเอมเทศ ค่าเฉลี่ยช่องว่างสีขาวในพื้นที่แผลอักเสบ (inflammatory halo) และพื้นที่เซลล์ตาย (necrotic zone) ของกลุ่มที่ 3 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าการรักษาด้วยแผ่นปิดแผลชะเอมเทศ ใช้เวลารักษาหายขาด (complete pain relief time) สั้นที่สุด คือ 5.4 วัน รองลงมาคือกลุ่มที่ได้รับแผ่นปิดแผล และกลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษา เท่ากับ 5.8 และ 6.86 วันตามลำดับ (51)
การศึกษาแบบ randomized double-blind parallel clinical trial ถึงประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสารสกัดรากชะเอมเทศในผู้ป่วยที่มีแผลร้อนในในปาก จำนวน 70 คน อายุ 20-50 ปี เตรียมสารสกัดชะเอมเทศโดยวิธีแช่สกัดผงรากชะเอมเทศ (ตัวอย่างพืชจากประเทศอิหร่าน, ไม่ระบุ voucher specimen) ใน 70% เอทานอล นาน 24 ชม.กรองและทำให้สารสกัดเข้มข้นด้วย rotary evaporator จากนั้นทำให้สารสกัดแห้งด้วยวิธีการทำแห้งแบบเยือกแข็ง (freeze dried) สุ่มแบ่งกลุ่มให้กลั้วปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก diphenhydramine solution (DS) หรือน้ำยาบ้วนปาก diphenhydramine solution ที่มีส่วนผสมของสารสกัดชะเอมเทศ (DSG) 5% ครั้งละ 3 มล. นาน 3 นาที วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน 20 นาที ติดต่อกันนาน 5 วัน ผลการศึกษาพบว่าน้ำยาบ้วนปากทั้งสองชนิดสามารถบรรเทาอาการปวดแผลในวันที่ 1 และ 3 ของการศึกษาได้ไม่แตกต่างกัน แต่ในวันที่ 5 ของการศึกษากลุ่มที่ได้รับ DSG ระบุว่ามีอาการปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มที่ได้รับ DSG มีการหายของแผลเร็วกว่ากลุ่มที่ได้รับ DS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (4.5 และ 6 วัน ตามลำดับ) (52)
การศึกษาแบบ double-blind clinical trial ในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่เข้ารับการรักษาด้วยรังสีบำบัด จำนวน 37 คน สุ่มแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ได้รับสารสกัดน้ำจากรากชะเอมเทศ (ตัวอย่างพืชจากประเทศอิหร่าน ไม่ระบุ voucher specimen เตรียมสารสกัดด้วยการนำรากชะเอมเทศแช่สกัดใน 50% เอทานอล นาน 24 ชั่วโมง) ขนาด 100 ซีซี และกลุ่มที่ 2 ได้รับยาหลอก (น้ำเปล่าแต่งสีน้ำตาล) โดยกำหนดให้อาสาสมัครกลั้วปากด้วยสารสกัดชะเอมเทศหรือกลั้วด้วยยาหลอก ครั้งละ 20 ซีซี วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 14 วัน โดยเริ่มทดสอบในวันที่เริ่มเข้ารับการรักษาด้วยรังสีบำบัด ทำการประเมินผลด้วยการตรวจสอบอัตราการเกิดและความรุนแรงของภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ (mucositis ระดับ 1-4) ในช่องปากของผู้ป่วย ผลพบว่าอัตราการเกิดและความรุนแรงของภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดชะเอมเทศน้อยกว่ากลุ่มยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกลุ่มที่ได้รับสารสกัดชะเอมเทศ พบภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบระดับ 1 และ 2 จำนวน 12 และ 7 คน ตามลำดับ และไม่พบความรุนแรงของการอักเสบในเยื่อบุช่องปากระดับ 3 ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับยาหลอก พบผู้ป่วยระดับ 1, 2 และ 3 เท่ากับ 1, 6 และ 11 คน ตามลำดับ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัด 50% เอทานอลจากรากชะเอมเทศ ช่วยลดการเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบจากการได้รับเคมีบำบัดในผู้ป่วยได้ (53)
การศึกษาฤทธิ์ลดการอักเสบในช่องปากของสารสกัดชะเอมเทศในรูปแบบแผ่นฟิล์มยึดเกาะเยื่อเมือก (mucoadhesive films) โดยทำการศึกษาแบบ double-blind, randomized prospective trial ในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่มีภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ (oral mucositis) จากการได้รับรังสีบำบัด จำนวน 60 คน สุ่มแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ได้รับการรักษามาตรฐานร่วมกับแผ่นฟิล์มที่มีส่วนผสมของยา triamcinolone acetonide 0.5 มก. และกลุ่มที่ 2 ได้รับการรักษามาตรฐานร่วมกับแผ่นฟิล์มที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากรากชะเอมเทศ (มีสาร pyrogallol 0.18 มก./แผ่น) กำหนดให้แปะแผ่นฟิล์มบริเวณแผล จำนวน 4 ครั้งต่อวัน ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าแผ่นฟิล์มยึดเกาะเยื่อเมือกสารสกัดชะเอมเทศมีประสิทธิภาพในการลดความเจ็บปวดเมื่อประเมินโดยใช้ Visual Analogue Scale (VAS) และลดการอักเสบในช่องปากได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและมีประสิทธิภาพไม่ต่างจากการใช้แผ่นฟิล์มยึดเกาะเยื่อเมือก triamcinolone acetonide นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มที่ได้รับแผ่นฟิล์มสารสกัดชะเอมเทศมีอาการไม่สบายในช่องปาก (oral discomfort) ลดลงแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (13)
5 การศึกษาอื่นๆ
5.1 กำจัดขน (M001)
การศึกษาทางคลินิกแบบ double-blind, randomized placebo-controlled study ถึงประสิทธิภาพในการกำจัดขนของเจลสารสกัดชะเอมเทศในอาสาสมัครเพศหญิง อายุ 15-45 ปี ที่มีภาวะขนดกบนใบหน้าโดยไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic hirsutism) จำนวน 90 คน แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการกำจัดขนด้วยแสงเลเซอร์ร่วมกับเจลสารสกัดชะเอมเทศ 15% ที่เตรียมโดยวิธีแช่ผงรากชะเอมเทศใน 80% เอทานอล(ตัวอย่างพืชจากประเทศอิหร่าน ไม่ระบุ voucher specimen) และกลุ่มที่ได้รับการกำจัดขนด้วยแสงเลเซอร์ร่วมกับเจลยาหลอก โดยกำหนดให้อาสาสมัครบีบเจลความยาวประมาณครึ่งข้อนิ้วมือ ทาครึ่งใบหน้า วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 24 สัปดาห์ ร่วมกับการรักษาด้วยการใช้เลเซอร์ 5 ครั้ง (ทุก 6 สัปดาห์) (755 nm alexandrite laser GentleLASE) ทำการประเมินผลโดยวัดค่าการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของ terminal hair (เส้นขนที่มีลักษณะเส้นใหญ่ หนา สีเข้ม และความยาวเกิน 1 ซม.) พบว่าค่าเฉลี่ยความแตกต่างความหนาแน่นของ terminal hair ในจุดศูนย์กลางของพื้นที่ขนดก (center of hirsute area: zone 1) และพื้นที่รอบพื้นที่ขนดก (periphery of hirsute area: zone 2) หลังการทดสอบในอาสาสมัครที่ได้รับเจลสารสกัดชะเอมเทศมีค่าเท่ากับ 7.05 ± 4.55 และ 6.06 ± 3.70 ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์ร่วมกับยาหลอกมีค่าเท่ากับ 3.18 ± 1.75 และ 2.49 ± 1.63 ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่าการใช้เจลสารสกัดชะเอมเทศร่วมกับการรักษาด้วยแสงเลเซอร์มีประสิทธิภาพในการกำจัดขนได้ดีกว่าการใช้แสงเลเซอร์เพียงอย่างเดียว (54)
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
1 การศึกษาเกี่ยวกับเส้นผมและหนังศีรษะ
1.1 ทำความสะอาดเส้นผม (H001)
การศึกษาคุณสมบัติของแชมพูชะเอมเทศ เตรียมสารสกัดด้วยการนำผงรากชะเอมเทศ (ตัวอย่างพืชจากประเทศอียิปต์ ไม่ระบุ voucher specimen) แช่สกัดใน 70% เอทานอล กรองและทำให้สารสกัดแห้งด้วย rotary evaporator เตรียมตำรับแชมพูโดยละลายสารสกัดชะเอมเทศในสารละลายเจลาตินและแต่งกลิ่นด้วยน้ำเลมอน ผลการทดสอบคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ พบว่าแชมพูที่ได้มีลักษณะใส สีน้ำตาลเข้ม ค่า pH 6.15ค่าแรงตึงผิว 33.11 ดายน์/ซม. มีคุณสมบัติในการสร้างฟองได้เล็กน้อย (mild form) มีความใกล้เคียงกับแชมพูสมุนไพรในท้องตลาดซึ่งมีส่วนประกอบของสารสกัดรากชะเอมเทศ ใบพุทราหนาม (Ziziphus spina-christi (L.) Desf.) และใบต้นหลิว (Salix babylonica L.) อย่างไรก็ตามแชมพูชะเอมเทศใช้ระยะเวลาในการเปียก (wetting time) 8 วินาที มากกว่าแชมพูเปรียบเทียบที่ใช้เวลา 3 วินาทีโดยคาดว่าเป็นผลมาจากปริมาณสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ในแชมพูชะเอมเทศมีน้อยกว่าแชมพูตามท้องตลาด (55)
1.2 ยับยั้งการหลุดร่วงของเส้นผม (H004)
การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดปิโตรเลียมอีเธอร์จากรากชะเอมเทศต่อการหลุดร่วงของเส้นขนในหนูแรทเผือกเพศผู้ เตรียมสารสกัดรากชะเอมเทศด้วยวิธีการสกัดแบบต่อเนื่องโดย soxhlet apparatus ที่มีปิโตรเลียมอีเธอร์เป็นตัวทำละลาย(ตัวอย่างพืชจากประเทศอินเดีย, voucher: NBRI-SOP-202) สกัดที่อุณหภูมิ 60-80ºC เป็นเวลา 18 ชม. ทำการทดสอบหนูแรทเผือกเพศผู้ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะขนร่วงด้วยการฉีด testosterone ขนาด 0.1 มล. เข้ากล้ามเนื้อ แบ่งหนูแรทออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม (ไม่ได้รับสารใด) กลุ่มที่ 2 ทาผิวหนังด้านหลังด้วย finasteride 0.4 มล. และกลุ่มที่ 3 ทาผิวหนังด้านหลังด้วยสารสกัดปิโตรเลียมอีเธอร์จากรากชะเอมเทศ 0.4 มล. วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 21 วัน พบว่ากลุ่มที่ 1 มีภาวะขนร่วงอย่างชัดเจนในวันที่ 15 หลังการได้รับ testosterone ในขณะที่กลุ่มที่ 2 และ 3 ไม่พบภาวะขนร่วงอย่างชัดเจน เมื่อตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของเนื้อเยื่อผิวหนังของสัตว์ทดลองด้วยวิธี photomicrographsพบว่าผิวหนังของหนูแรทกลุ่มที่ 1 พบต่อมรากขนในระยะ telogenic หรือระยะขนหลุดร่วงเป็นจำนวนมาก ส่วนผิวหนังของหนูแรทกลุ่มที่ 2 และ 3 พบต่อมรากขนในระยะ anagenic หรือระยะเจริญเติบโตมากกว่าระยะ telogenic โดยอัตราส่วนของระยะ anagenic/telogenic ในกลุ่มที่ 1, 2 และ 3 เท่ากับ 0.20, 0.90 และ 1.94 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากชะเอมเทศช่วยป้องกันการหลุดร่วงของเส้นขนซึ่งมีสาเหตุจากภาวะไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศได้ (56)
1.3 กระตุ้นการงอกของเส้นผม (H005)
การศึกษาฤทธิ์ต่อการกระตุ้นการงอกของเส้นขนของผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมชะเอมเทศ (hair tonic) เตรียมสารสกัดด้วยแช่สกัดผงรากชะเอมเทศ 500 ก. (ตัวอย่างพืชจากประเทศอินโดนีเซีย ไม่ระบุ voucher specimen) ในเอทานอล 5 ล. เป็นเวลา 48 ชม. กรอง และทำให้สารละลายเข้มข้นด้วยเครื่อง rotary evaporator จากนั้นเติมเอทานอล 3 ล. แช่สกัดอีกครั้งเป็นเวลา 12 ชม. (ทำซ้ำทั้งหมด 3 ครั้ง จะได้สารสกัดที่ความเข้มข้นของ glycyrrhinic acid 3-4%) การทดสอบฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นขนบนผิวหนังกระต่าย โดยทาผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมชะเอมเทศ ความเข้มข้น 2.5%, 5% และ 10% ขนาด 1 มล. บนผิวหนังด้านหลังกระต่ายที่โกนขนออก (ขนาดพื้นที่ 2.2x2.5 ซม.) ทาวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ ประเมินผลด้วยการวัดความยาว ความหนาแน่น น้ำหนัก และความหนาของเส้นขน พบว่าผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมชะเอมเทศทั้ง 3 ความเข้มข้น ไม่มีผลต่อความยาวและความหนาแน่นของเส้นขนกระต่าย แต่มีผลเพิ่มน้ำหนักของเส้นขน โดยในสัปดาห์ที่ 6 น้ำหนักของเส้นขนของกลุ่มที่ได้รับผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นขนชะเอมเทศ ความเข้มข้น 2.5%, 5% และ 10% เท่ากับ 114.56±7.34, 130.66±11.38 และ 118.52±8.50 มก. ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (93.7±8.88 มก.) ผลการประเมินขนาดของเส้นขนโดยวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นขนในสัปดาห์ที่ 6 พบว่าขนาดของเส้นขนในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดชะเอมเทศ 10% มีค่าใกล้เคียงกับกลุ่มควบคุมบวกที่ได้รับ minoxidil (119.12±5.88 และ 112.65±.24 นาโนเมตร ตามลำดับ)และไม่พบอาการระคายเคืองและอาการไม่พึงประสงค์บนผิวหนังกระต่ายที่ได้รับผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมชะเอมเทศทั้ง 3 ขนาด(14)
การศึกษาฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นขนของสารสกัดปิโตรเลียมอีเธอร์จากรากชะเอมเทศ เตรียมสารสกัดรากชะเอมเทศ (ตัวอย่างพืชจากประเทศอินเดีย, voucher: NBRI-SOP-202) ด้วยวิธีการสกัดแบบต่อเนื่องด้วย soxhlet apparatus ที่มีปิโตรเลียมอีเธอร์เป็นตัวทำละลาย ที่อุณหภูมิ 60-80ºC เป็นเวลา 18 ชม. ทำการทดสอบในหนูแรทเพศเมียที่ถูกโกนเส้นขนบริเวณด้านหลังลำตัว (พื้นที่ 4 ตร.ซม.)จากนั้นแบ่งหนูแรทออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม (ไม่ได้รับสารใด) กลุ่มที่ 2 ได้รับยา minoxidil2% และกลุ่มที่ 3 ได้รับสารสกัดปิโตรเลียมอีเธอร์จากรากชะเอมเทศ ความเข้มข้น 2% ขนาด 0.4 มล. ทาผิวหนังบริเวณที่โกนขนออก วันละครั้ง ติดต่อกัน 30 วัน พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดจากชะเอมเทศเริ่มมีขนงอกในวันที่ 5 ของการศึกษา และมีเส้นขนขึ้นปกคลุมเต็มพื้นที่ในวันที่ 13 ของการทดสอบและเร็วกว่ากลุ่มที่ได้รับยา minoxidil และกลุ่มควบคุมที่เริ่มมีขนงอกในวันที่ 6 และ 10 และขนขึ้นปกคลุมเต็มพื้นที่ในวันที่ 19 และ 23 ของการทดสอบตามลำดับ ผลการตรวจสอบผิวหนังด้านหลังของหนูแรทด้วยวิธี photomicrographs พบว่าต่อมรากขนของหนูแรทที่ได้รับสารสกัดจากชะเอมเทศอยู่ในระยะเจริญเติบโตและมีความหนาแน่นของต่อมรากขนมากที่สุด (76%) รองลงมาคือกลุ่มที่ได้รับ minoxidil(66%) และกลุ่มควบคุม (45%) ตามลำดับ (57)
1.4 ต้านเชื้อราบนหนังศีรษะ (H008)
การทดสอบด้วยวิธี broth serial dilution method พบว่าสารสกัดที่ละลายได้ในน้ำมันจากรากชะเอมเทศ (oil-soluble glycyrrhiza extracts; Amorepacific Corporation, Korea) ความเข้มข้น 1%ยับยั้งเชื้อราสาเหตุของการเกิดรังแคและอาการคันหนังศีรษะ ได้แก่ Malasseziarestricta (CBS7877), M. globosa (CBS7966), M. sympodialis KCTC 27514) และ M. slooffiae(KCTC 27517) ด้วยค่า MIC ต่อเชื้อทั้ง 4 ชนิด เท่ากับ 125, 500, 500 และ 1,000มคก./มล. ตามลำดับ และยับยั้งเชื้อ Cryptococcus neoformans (H99), Candida albicans (SC5314), C. tropicalis (KCTC 7512) และ C. parapsilosis (KCTC 7514) ด้วยค่า MIC เท่ากับ 6.25, 50, 50 และ 50 มคก./มล. ตามลำดับ (58)
2 การศึกษาเกี่ยวกับผิวหน้า
2.1 ทำให้ผิวหน้าขาว (F001)
ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส
การศึกษาผลของสารสกัดจากรากชะเอมเทศต่อการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส เตรียมสารสกัดด้วยวิธีการแช่สกัดรากชะเอมเทศ 1 กก.(ตัวอย่างพืชจากจังหวัดกรุงเทพ ไม่ระบุ voucher specimen) ใน 70% และ 90% เอทานอล 5 ล. ที่อุณหภูมิ 48ºC นาน 24 ชั่วโมง (ทำซ้ำ 3 รอบ) ทำสารสกัดให้เข้มข้นด้วยการระเหยตัวทำละลายออกภายใต้สภาวะลดความดัน (%yields ของสารสกัด 70% และ 90% เอทานอล เท่ากับ 8.46%และ 8.15% และสารglabradinเท่ากับ 5.56±0.11และ 12.48±0.48 มก./ก. สารสกัดตามลำดับ) การทดสอบฤทธิ์ต่อการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสจากเห็ด พบค่า IC50ของสารสกัดรากชะเอมเทศด้วย70% และ 90% เอทานอล เท่ากับ 0.114 และ0.074มก./มล. ซึ่งมีความแรงมากกว่ากรดโคจิก (IC50 = 0.495 มก./มล.) และการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสในเซลล์มะเร็งเม็ดสีชนิด B16 (B16 melanoma cell)ด้วยวิธี L-DOPAพบว่าทั้งสารสกัดรากชะเอมเทศด้วย70% และ 90% เอทานอล ความเข้มข้น 01-0.8 มก./มล.ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ได้ 10-19% โดยไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ (16)
การศึกษาผลของสาร glabridin จากชะเอมเทศต่อการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสในเซลล์มะเร็งเม็ดสีชนิด B16 (B16 melanoma cell) เตรียมสารสกัดหยาบเอธิลอะซีเตทจากรากชะเอมเทศ ด้วยวิธีการแช่สกัด (ตัวอย่างพืชจากประเทศญี่ปุ่น ไม่ระบุ voucher specimen) และนำไปแยกสาร glabridin ด้วยวิธี normal-phase chromatography, reversed-phase chromatography เมื่อบ่มสาร glabridin ความเข้มข้น 0.1-10 มคก./มล. กับเซลล์มะเร็งเม็ดสีชนิด B16เป็นเวลา 72 ชม. พบว่าสาร glabridinจะยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ตามขนาดของสารสกัดที่ได้รับ โดยที่ความเข้มข้น 10 มคก./มล. ยับยั้งการสังเคราะห์ DNA ของเซลล์มะเร็งเม็ดสีลง 66% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ร่วมกับการลดระดับของ tyrosinase isozyme ในเซลล์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (17)
สารสกัดรากชะเอมเทศ ที่เตรียมด้วยวิธีแช่สกัดผงรากชะเอมเทศ (ตัวอย่างพืชจากประเทศจีน voucher no: GC201001)ใน 95% เอทานอล นาน 2 ชม. จากนั้นนำกากมาสกัดซ้ำด้วย 70% เอทานอล เป็นเวลา 2 ชม. ก่อนนำของเหลวทั้งสองส่วนผสมกันผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในสารสกัดด้วยวิธีcolumn chromatography พบสารจำนวน 7ชนิด ได้แก่สาร glycybridins F, glycybridins K, glabridin, glabrene, 3,4-dihydroglabridin, 2′-O-demethybidwillol และ 7,2′-dihydroxy-4′-methoxy-8-(3-methyl-2-butenyl) isoflavanoneสารดังกล่าวมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสในหลอดทดลองที่มีL-tyrosine เป็นซับเสตรท ด้วยเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 66.9, 84.0, 99.7, 76.6, 50.9, 56.3 และ 68.3% ตามลำดับ (9)
สาร glabridin (Push Bio-technology; Chengdu, China) ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสด้วยค่า IC50 0.43 ไมโครโมลาร์/ล. ซึ่งมีความแรงมากกว่ากรดโคจิก (75.74 ไมโครโมลาร์/ล.) โดยพบว่าสาร glabridin ยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของ L-tyrosinase ผ่านการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ monophenolase ได้ตามขนาดของสารสกัดที่ได้รับ และสาร glabridin ขนาด 0.013-0.2 มิลลิโมลาร์/ล. สามารถยับยั้งการเกิดเม็ดสีเมลานินในตัวอ่อนปลาม้าลายได้ตามขนาดของสารสกัดที่ได้รับ โดยไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์นอกจากนี้ ผลจำลองการจับของโครงสร้างสารglabridin และเอนไซม์ไทโรนิเนสด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ พบว่าสาร glabridin จับกับเอนไซม์ไทโรซิเนสด้วยพันธะไฮโดรเจนเกิดเป็นโครงสร้างใหม่ที่มีความเสถียร (stable glabridin-tyrosinase complex)มากกว่าจับกับเอนไซม์ที่ตำแหน่ง active site (19)
สารสกัดอะซีโตนจากรากชะเอมเทศ (ตัวอย่างพืชจากประเทศตุรกี ไม่ระบุ voucher specimen และวิธีการสกัด) ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส โดยพบว่าสารสกัดอะซีโตนยับยั้งการเกิดปฏิกิริยา hydroxylation ของ L-tyrosine ด้วยค่า IC50 0.9 มคก./มล. และยับยั้งการเกิด oxidation ของ L-DOPA ด้วยค่า IC50 53 มคก./มล. การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีพบว่าในสารสกัดอะซีโตนจากรากชะเอมเทศ พบสาร glabridin, glabrene, hispaglabridin A, hispaglabridin B และ isoliquiritigenin เป็นองค์ประกอบสำคัญ และการทดสอบผลของสารสำคัญในสารสกัดอะซีโตนจากรากชะเอมเทศต่อการทำงานของเอนไซม์ monophenolase และ diphenolase พบว่าสาร glabridin, isoliquiritigenin, และ glabreneยับยั้งการทำงานของเอนไซม์monophenolase ด้วยค่า IC50เท่ากับ 0.09, 3.5 และ 8.1 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ diphenolase activity ด้วยค่า IC50เท่ากับ 3.94, 47 และ 7,600 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ ซึ่งมีความแรงมากกว่าสารเปรียบเทียบกรดโคจิกแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากชะเอมเทศมีสาร glabridin, isoliquiritigenin, และ glabrene เป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสโดยเกี่ยวข้องกับการยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของสารประกอบโมโนฟีนอลหรือไทโรซีนมากกว่ายับยั้งการเกิดปฏิกิริยาของไดฟีนอลหรือ L-DOPA และการศึกษานี้ไม่พบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสาร hispaglabridin A และ hispaglabridin B (18)
สารสกัดเมทานอลจากรากชะเอมเทศ ที่เตรียมด้วยการสกัดผงรากชะเอมเทศ 50 ก. (ตัวอย่างพืชจากประเทศเนปาลvoucher no.269) ด้วยวิธีการสกัดแบบต่อเนื่อง (percolation)ด้วยเมทานอล 300 มล.เป็นเวลา 24 ชม. (สกัดซ้ำ 2 รอบ) การทดสอบในหลอดทดลองพบว่าสารสกัดที่ความเข้มข้น 5-50 มคก./มล. ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสจากเห็ดได้ตามขนาดของสารสกัดที่ได้รับ โดยที่ความเข้มข้น 50 มคก./มล. ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ได้ 78.9±7.4% (59)
ยับยั้งการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานิน
การศึกษาสารสกัดจากรากชะเอมเทศต่อการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานินเตรียมสารสกัดด้วยวิธีการแช่สกัดรากชะเอมเทศ 1 กก. (ตัวอย่างพืชจากจังหวัดกรุงเทพ ไม่ระบุ voucher specimen) ใน 70% และ 90% เอทานอล 5 ลิตร อุณหภูมิ 48ºC นาน 24 ชั่วโมง (ทำซ้ำ 3 รอบ) และนำสารสกัดไปทำให้เข้มข้นด้วยการระเหยตัวทำละลายออกภายใต้สภาวะลดความดัน (%yields ของสารสกัด 70% และ 90% เอทานอล เท่ากับ 8.46%และ 8.15% และพบ glabridin เท่ากับ 5.56±0.11และ 12.48±0.48 มก./ก. สารสกัดตามลำดับ) การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินเซลล์มะเร็งเม็ดสี (B16 melanoma cell) พบว่าสารสกัดชะเอมเทศด้วย 70%และ 90% เอทานอลความเข้มข้น 0.1-0.8 มก./มล. ยับยั้งการสร้างปริมาณเม็ดสีได้ 10-19% โดยไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ (16)
การศึกษาผลของสาร glabridinและอนุพันธ์ ได้แก่2′, 4′-O-diethylglabridin, 4′-O-ethyl -glabridin, และ2′-O-ethylglabridinที่แยกได้จากชะเอมเทศต่อกระบวนการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานินเตรียมสารสกัดหยาบเอธิลอะซีเตทจากรากชะเอมเทศ ด้วยวิธีการแช่สกัด (ตัวอย่างพืชจากประเทศญี่ปุ่น ไม่ระบุ voucher specimen) และนำไปแยกสาร glabridin ด้วยวิธี normal-phase chromatography, reversed-phase chromatography ทำการทดสอบในเซลล์มะเร็งเม็ดสีB16 (B16 melanoma cell)ด้วยการบ่มสาร glabridin และอนุพันธ์ ความเข้มข้น 1.0 มคก./มล. เป็นเวลา 3 วัน ผลพบว่าสาร glabridin ยับยั้งการสังเคราะห์เม็ดสีในเซลล์ได้ 51.5% รองลงมาคือ 2′-O-ethyl-glabridin และ 4′-O-ethyl-glabridin ด้วยค่าการยับยั้ง 23.1 และ 13.4% ตามลำดับและการทดสอบฤทธิ์ของสาร glabridin ในหนูตะเภาที่เหนี่ยวนำให้เกิดเม็ดสีในผิวหนังด้วยรังสียูวีบีความเข้มแสง 250 มิลลิจูล/ตร.ซม.เป็นเวลา 4 วัน จากนั้นทาผิวหนังด้านหลังของหนูตะเภาด้วยสาร glabridin ความเข้มข้น 0.5% ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ พบว่าผิวหนังบริเวณที่ได้รับสาร glabridin มีจำนวนเม็ดสีน้อยกว่าผิวหนังที่ไม่ได้รับสารใด 34% (260±37 และ 394±26 เซลล์/ตร.มม. ตามลำดับ) ผิวหนังบริเวณที่ได้รับสาร glabridinมีค่าความสว่างของผิว (ค่า L* value)เท่ากับ 59.1±1.0 ซึ่งสูงกว่าผิวหนังส่วนที่ไม่ได้รับสารใด (57.1±0.9) แสดงให้เห็นว่าสาร glabridin สามารถลดการระดับเม็ดสีของผิวหนังและทำให้ผิวสว่างขึ้น (17)
การทดสอบในเซลล์เมลาโนไซต์ของมนุษย์ (G361 human melanocyte) พบว่าสารglabridin, isoliquiritigenin และ glabreneที่แยกได้จากสารสกัดอะซีโตนรากชะเอมเทศ (ตัวอย่างพืชจากประเทศตุรกี ไม่ระบุ voucher specimenและวิธีการสกัด) ยับยั้งการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานิน ด้วยค่า IC50เท่ากับ 2.4, 4.73 และ 6.68 มคก./มล. ตามลำดับ และไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ (18)
2.2 ลดเลือนฝ้า (F002)
การศึกษาฤทธิ์ลดเลือนฝ้าของแผ่นแปะเข็มขนาดจุลภาคชนิดละลาย (dissolving microneedle patch: DMNs) ซึ่งมีส่วนผสมของ tranexamic acid และสารสกัดชะเอมเทศ (Lingeba Co., Ltd., China) ทำการทดสอบในหนูตะเภา แบ่งหนูออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 ได้รับแผ่นแปะที่มีส่วนประกอบของ tranexamic acid ขนาด 2.2 มก. กลุ่มที่ 3 ได้รับแผ่นแปะที่มีส่วนประกอบของสารสกัดชะเอมเทศ ขนาด 0.1 มก. และกลุ่มที่ 4 ได้รับแผ่นแปะที่มีส่วนประกอบของ tranexamic acidร่วมกับสารสกัดชะเอมเทศ ขนาด 2.2 มก. และ 0.1 มก. ตามลำดับ กำหนดให้ปิดแผ่นแปะที่ผิวหนังที่เหนี่ยวนำให้เกิดฝ้าบริเวณด้านหลังของหนูตะเภาทุก 3 วัน ครั้งละ 8 ชม. ติดต่อกันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่าแผ่นแปะเข็มขนาดจุลภาคชนิดละลายทั้ง 3 แบบสามารถลดขนาดพื้นที่การเกิดฝ้า และลดความเข้มของฝ้า โดยให้ผลดีที่สุดในกลุ่มที่ได้รับแผ่นแปะที่มี tranexamic acidร่วมกับสารสกัดชะเอมเทศ โดยไม่พบการเปลี่ยนแปลงนี้ในกลุ่มควบคุม ผลจากการตรวจสอบลักษณะทางจุลกายวิภาคของเนื้อเยื่อพบว่าจำนวนเซลล์เมลาโนไซต์และการสะสมของเม็ดสีเมลานินในกลุ่มที่ได้รับแผ่นแปะ tranexamic acid ร่วมกับสารสกัดชะเอมเทศ น้อยกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่าการใช้สารสกัดชะเอมเทศร่วมกับ tranexamic acidมีผลเสริมฤทธิ์กันในการลดเลือนฝ้า (60)
3 การศึกษาเกี่ยวกับผิวกาย
3.1 ทำความสะอาดผิวกาย (S002)
การศึกษาพัฒนาตำรับเจลอาบน้ำสารซาโปนินจากรากชะเอมเทศ เตรียมสารสกัดซาโปนินโดยนำรากชะเอมเทศ 20 ก. (ไม่ระบุที่มาของตัวอย่างพืช) แช่สกัดใน 20% เอทานอล 200 ก. นาน 24 ชม. (สกัดซ้ำ 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 2 แช่สกัดใน 20% เอทานอล 100 ก.) กรองและนำสารสกัดที่ได้มาสกัดซ้ำด้วย n-butanol 50 มล. เติม 50% sodium chloride 15 มล. ระเหยแห้งและแยกส่วนของซาโปนินออกมาทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ไฟโบรบลาสต์ผิวหนังของมนุษย์ (CRL-2522 human fibroblast) ด้วยวิธี resazurin assay โดยการบ่มสารซาโปนิน 0.075-0.3 มก./มล. ในเซลล์นาน 2 ชม. พบว่าสารซาโปนินที่ความเข้มข้น 0.075 มก./มล. มีผลเพิ่มการเจริญเติบโตของเซลล์ แต่ขนาด 0.15-0.3 มก./มล. จะลดการเมตาบอลิซึมของเซลล์เล็กน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม การทดสอบตำรับเจลอาบน้ำที่ประกอบด้วยสารซาโปนินจากชะเอมเทศ (0.5%), น้ำ (80.4%) สารลดแรงตึงผิว sodium lauryl sulfate(8.0%), lauryl glucoside (1.5%), cocamidopropyl betaine (1.8%), potassium sorbate (0.4%) และปรับค่าความเป็นกรดด่างด้วย citric acid พบว่าตำรับเจลอาบน้ำดังกล่าวมีความคงตัวดี มีความหนืดเหมาะสม และมีคุณสมบัติในการสร้างฟอง การทดสอบผลการระคายเคืองด้วยวิธี Zein test พบค่า Zein value ของเจลอาบน้ำชะเอมเทศและเจลอาบน้ำครีมเบส มีค่าเท่ากับ 170 และ 300 mgN/ 100 มล. ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเจลอาบน้ำชะเอมเทศมีความอ่อนโยนต่อผิวมากกว่าเจลอาบน้ำครีมเบส (31)
3.2 ต้านอนุมูลอิสระ (S006)
สารสกัด 80% เอทานอลจากรากชะเอมเทศ ที่เตรียมด้วยวิธีการแช่รากชะเอมเทศ 5 ก. (ไม่ระบุที่มาของตัวอย่างพืช) ในตัวทำละลายเอทานอล:น้ำ (80:20) เป็นเวลา 24 ชม. (ไม่ระบุแหล่งที่มาและ voucher specimen) การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัด 80% เอทานอลรากชะเอมเทศ ด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picrylhydrazyl radical-scavenging (DPPH) และ 2,2′-azino-bis (3-ethylbenzthiazoline-6-sulphonic acid) radical-scavenging (ABTS+) พบว่าสารสกัดความเข้มข้น 0.15-5 มก./มล. ยับยั้งอนุมูลอิสระได้ตามขนาดของสารสกัดที่ได้รับ โดยพบเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 2.8-71% และ 1.3-52.8% เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH และ ABTS+ตามลำดับ (31)
การศึกษาคุณสมบัติและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของไมโครอิมัลชันสารสกัดชะเอมเทศ เตรียมสารสกัดรากชะเอมเทศ (ตัวอย่างพืชจากประเทศอิยิปต์ ไม่ระบุ voucher specimen) โดยการสกัดแบบต่อเนื่องด้วย soxhletapparatusที่มี 70% เอทานอล เป็นตัวทำละลาย เตรียมตำรับไมโครอิมัลชันสารสกัดชะเอมเทศ ซึ่งประกอบด้วย oleic acid, tween 60, เอทานอล, น้ำ และสารสกัด 70% เอทานอลจากชะเอมเทศความเข้มข้น 1.5% ได้ไมโครอิมัลชันมีความคงตัวดี มีความหนืดเหมาะสม พบปริมาณสารฟลาโวนอยด์ 8.723% และสารกลุ่มโพลีฟีนอล 7.346% การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH พบค่า 50%scavenging concentration (SC50) ของสารสกัด70% เอทานอลชะเอมเทศและไมโครอิมัลชันชะเอมเทศเท่ากับ 125.32 และ 109.58 มคก./มล. ตามลำดับ และค่า IC50ต่อกระบวนการยับยั้งlipid peroxidation เท่ากับ 287.44 และ 21.74 มคก./มล. ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าสารสกัดชะเอมเทศในรูปไมโครอิมัลชันช่วยเพิ่มฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดชะเอมเทศได้(61)
การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดคลอโรฟอร์มรากชะเอมเทศ เตรียมสารสกัดโดยนำผงรากชะเอมเทศ 5 กก. แช่สกัดในคลอโรฟอร์ม 5 ล. ในสารสกัดพบสารสำคัญ ได้แก่1,2-dihydroparatocarpin A,formononetin, glabridin, hemileiocarpin, hispaglabridin B, isoliquiritigenin, 4′-O-methylglabridin, paratocarpinB เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารดังกล่าวด้วยวิธี peroxynitrite scavenging activity พบว่าสาร paratocarpin B, hispaglabridin B, และisoliquiritigenin, มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด 3 ลำดับแรกด้วยค่า IC50เท่ากับ 2.3, 3.2 และ 9.3 ไมโครลาร์ ตามลำดับ โดยสารparatocarpinB มีฤทธิ์ดีกว่าสารเปรียบเทียบ DL-penicillamine (IC50 3.1 ไมโครลาร์) (12)
การพัฒนาไลโปโซม (liposomes) และไฮยาลูโรโซม (hyalurosomes) สำหรับกักเก็บสารสกัดชะเอมเทศ เตรียมสารสกัดรากชะเอมเทศ(ตัวอย่างพืชจากประเทศอิตาลี ไม่ระบุ voucher specimen) ด้วยวิธีการสกัดแบบต่อเนื่อง (percolation) ที่มีเอทานอลเป็นตัวทำละลายเตรียมตำรับไลโปโซมและตำรับไฮยาลูโรโซมกักเก็บสารสกัดจากรากชะเอมเทศด้วยวิธีอัลตร้าซาวน์ ได้ไลโปโซมขนาดอนุภาค 100 นาโนเมตร ค่าการกระจายตัวเท่ากับ 0.18 ค่าประสิทธิภาพในการกักเก็บ 84% และได้ไฮยาลูโรโซมขนาดอนุภาค 100 นาโนเมตร ค่าการกระจายตัว 0.17 และประสิทธิภาพการกักเก็บเท่ากับ 76%ในการศึกษาความคงตัวของเตรียมตำรับไลโปโซมและไฮยาลูโรโซม พบว่าอนุภาคไลโปโซมสารสกัดชะเอมเทศมีขนาดใหญ่ขึ้นหลังการเก็บรักษา 30 วัน และมีขนาดเพิ่มขึ้นจนถึง 300 นาโนเมตร เมื่อเก็บรักษาครบ 60 วัน โดยคาดว่าเป็นผลมาจากความไม่คงตัวของสารประกอบที่พบในสารสกัดชะเอมเทศ เมื่อทำการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH พบว่าสารสกัดชะเอมเทศมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้นเมื่อกักเก็บในไลโปโซม โดยค่าต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเอทานอลรากชะเอมเทศเท่ากับ 55% และเพิ่มขึ้นเป็น 83% เมื่อกักเก็บในอนุภาคไลโปโซมและอนุภาคไฮยาลูโรโซม การทดสอบฤทธิ์ปกป้องเซลล์ผิวหนังไฟโบรบลาสต์ (3T3 fibroblasts) ที่เหนี่ยวนำให้เกิดความเครียดด้วย H2O2พบว่าสารสกัดชะเอมเทศเพิ่มค่าความมีชีวิตของเซลล์จากภาวะเครียดจากเดิม 64% เป็น 80% และสารสกัดชะเอมเทศรูปของอนุภาคไลโปโซม และอนุภาคไฮยาลูโรโซม สามารถเพิ่มค่าความมีชีวิตของเซลล์ได้ 98% โดยไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ จากการศึกษานี้จะเห็นได้ว่าสารสกัดเอทานอลจากรากชะเอมเทศมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยฤทธิ์ของสารสกัดจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเตรียมให้อยู่ในรูปของอนุภาคไลโปโซมและอนุภาคไฮยาลูโรโซม (43)
การศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดชะเอมเทศ และสารต้านอนุมูลอิสระ sodium metabisulfite และbutylated hydroxytoluene (BHT) ในครีมไฮโดรควิโนน เตรียมสารสกัดโดยนำผงรากชะเอมเทศ 250 ก. (ตัวอย่างพืชจากประเทศอิหร่าน ไม่ระบุ voucher specimen) แช่สกัดในเมทานอล 2,500 มล. เป็นเวลา 24 ชั่วโมง เตรียมตำรับครีม 2% ไฮโดรควิโนนที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากชะเอมเทศ 0.1, 0.5. 1 และ 2% โดยน้ำหนัก เปรียบเทียบกับตำรับครีมไฮโดรควิโนนที่เติมสารต้านอนุมูลอิสระ sodium metabisulfite 0.1, 0.5, 1 และ 2% โดยน้ำหนัก หรือ BHT 0.1, 0.5, 1 และ 2% โดยน้ำหนัก ทำการทดสอบลักษณะทางเคมีฟิสิกส์ และอายุการเก็บรักษาของตำรับครีมด้วยการนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 45ºC สลับกับ 25ºC เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าเนื้อครีมทั้ง 13 ตำรับ มีสีเข้มขึ้นตั้งแต่สัปดาห์แรกของการเก็บรักษา โดยพบการเปลี่ยนแปลงสีมากที่สุดในตำรับครีมไฮโดรควิโนน และการเปลี่ยนแปลงสีน้อยที่สุดในตำรับครีมที่มีส่วนผสมของสารสกัดชะเอมเทศ 2% นอกจากนี้ยังพบว่าตำรับครีมที่มีส่วนผสมของสารสกัดชะเอมเทศทั้ง 4 ความเข้มข้นมีความคงตัวดี ไม่พบเนื้อครีมแยกชั้นหรือแห้งแตก ในขณะที่ตำรับครีมที่มีส่วนผสมของ sodium metabisulfite 2% และ BHT 1-2% พบการแยกชั้น และผิวครีมแห้งแตกในเดือนแรกของการเก็บรักษา การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตำรับครีมทั้ง 13 ตำรับ พบว่าการเติมสารต้านอนุมูลอิสระทั้งในรูปของสารสกัดรากชะเอมเทศ sodium metabisulfite หรือ BHT ความเข้มข้น 1 และ 2% สามารถป้องกันการสลายตัวของไฮโดรควิโนนอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับตำรับครีมเบส (62)
3.3 ทำให้ผิวสีแทน (S009)
เพิ่มการสังเคราะห์เมลานิน
สาร glycyrrhizin กระตุ้นการสังเคราะห์เมลานิน เมื่อทดสอบในเซลล์มะเร็งเม็ดสี B16 (B16 melanoma cell) ด้วยการบ่มสาร glycyrrhizin(Sigma Chemical Co, USA.)ความเข้มข้น 0.25-1.0 ไมโครโมลาร์กับเซลล์นาน 72 ชม. มีผลเพิ่มระดับเม็ดสีเมลานินในเซลล์และเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ตามขนาดของสารสกัดที่ได้รับ (160-220%) การศึกษาการแสดงออกของโปรตีนในเซลล์ด้วยวิธี Western blot analysis พบว่าหลังการได้รับ glycyrrhizin ระดับ mRNA ของเอนไซม์ไทโรซิเนส และ tyrosinase-related protein-2 (TRP-2) เพิ่มขึ้นส่งผลให้กระบวนการสังเคราะห์เมลานินในเซลล์เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามในการศึกษานี้พบว่าสาร glycyrrhizin แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์โดยส่งผลต่อค่าความมีชีวิตของเซลล์เท่ากับ 15% เมื่อใช้ที่ความเข้มข้น 0.5 ไมโครโมลาร์ (20)
การทดสอบฤทธิ์ต่อการทำงานของเมลานินของสาร liquiritin(Wako Pure Chemical Industries, Japan) และสารliquiritigenin (Tokiwa Phytochemical, Japan) โดยบ่มสารความเข้มข้น 12.5, 25 และ 50 ไมโครโมลาร์ กับเซลล์มะเร็งเม็ดสี B16 (B16-F1melanomacell) และเซลล์มะเร็งผิวหนังมนุษย์ (HMVII human melanoma cell) เป็นเวลา 72 ชม. พบว่าสาร liquiritin และ liquiritigenin เพิ่มระดับของเมลานินได้ตามขนาดของสารสกัดที่ได้รับ โดย liquiritigenin มีฤทธิ์แรงกว่า liquiritinและไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ การตรวจสอบผลต่อการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส พบว่าสาร liquiritin และ liquiritigenin เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ภายในเซลล์ (intracellular tyrosinase activity) สอดคล้องกับผลการตรวจสอบการทำงานของโปรตีนภายในเซลล์ด้วยวิธีWestern blot analysisซึ่งพบว่าระดับโปรตีน tyrosinase-related protein-1, tyrosinase-related protein-2 และ microphthalmia-associated transcription factor (MITF) ในเซลล์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสาร liquiritin และ liquiritigenin สามารถกระตุ้นการทำงานของวิถี p38 และ PKA signaling pathways ที่มีผลชักนำการแสดงออกของ MITF และเกิดกระบวนการ phosphorylation ของ cyclic AMP-responsive element-binding protein เป็นผลให้กระบวนการสังเคราะห์เมลานินในเซลล์เพิ่มมากขึ้น (21)
3.4 ต้านการอักเสบของผิวกาย (S014)
การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสาร 18β-glycyrrhetinic acidในหนูเม้าส์ที่ผิวหนังอักเสบแบบเรื้อรังหรือโรคสะเก็ดเงิน ในการทดสอบแบ่งหนูเม้าส์ออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม (หนูปกติ)กลุ่มที่ 2-5 จะถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการผิวหนังอักเสบแบบเรื้อรังด้วย imiquimod cream 5% บริเวณด้านหลังลำตัว จากนั้นทำการรักษาด้วยน้ำเปล่า, ยาmetrotrexate ขนาด1 มก., สาร 18β-glycyrrhetinic acid(Sigma-Aldrich, USA) ขนาด 60 มก. และ 120 มก. ตามลำดับ โดยทาบนผิวหนังบริเวณที่มีอาการวันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 7 วัน ประเมินผลด้วยแบบประเมินPsoriasis Area and Severity Index (PASI) ได้แก่ ความรุนแรงของผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบ ผิวแตกลอก และความหนาของชั้นผิวหนัง ร่วมกับการตรวจย้อมสีชิ้นเนื้อลักษณะทางจุลกายวิภาคของเนื้อเยื่อผลการทดสอบพบว่าสาร 18β-glycyrrhetinic acidทั้ง 2 ขนาด สามารถลดอาการของโรคสะเก็ดเงิน ได้แก่ ผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบ ผิวหนังแตกลอก และผิวหนังหนาตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การตรวจสอบทางจุลกายวิภาคของเนื้อเยื่อพบว่าผิวหนังของกลุ่มที่ได้รับ18β-glycyrrhetinic acidมีลักษณะเรียบ การหลุดลอกของผิวหนัง(parakeratosis) และความหนาตัวของชั้น epidermis น้อยกว่ากลุ่มควบคุมลบ (กลุ่มน้ำเปล่า) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีความใกล้เคียงกับกลุ่มที่ได้รับยา metrotrexate การศึกษาการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบในสัตว์ทดลองด้วยวิธี Western blot analysis พบว่าสาร 18β-glycyrrhetinic acidมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยลดระดับ mRNA ของ cytokines ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ ได้แก่ interleukin-6, tumor necrosing factor-α, interleukin-17, interleukin-23 และinterleukin-1β และมีฤทธิ์ปรับปรุงภูมิคุ้มกันโดยเพิ่มอัตราส่วนของ CD4+,Foxp3+,regulatory T cells (Tregs) ในน้ำเหลืองและม้ามอย่างมีนัยสำคัญ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสาร 18β-glycyrrhetinic acidสามารถบรรเทาอาการของโรคสะเก็ดเงิน โดยเกี่ยวข้องกับกระบวนการยับยั้งการอักเสบและปรับปรุงภูมิคุ้มกันในร่างกาย(25)
สารสกัดรากชะเอมเทศ (ตัวอย่างพืชจากประเทศอินเดีย voucher no. 51) ที่เตรียมด้วยวิธีการสกัดแบบไหลย้อนกลับ (refluxed) ที่มีอะซีโตนเป็นตัวทำละลาย(อัตราส่วนรากชะเอมเทศต่อตัวทำละลายเท่ากับ 1 ต่อ4)การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในสารสกัดอะซีโตนด้วยวิธี HPLC พบสาร glabridin, glycyrrhizin และ isoliquiritigeninเป็นสารสำคัญ การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในเซลล์แมคโคฟาจ (J774A.1) ที่เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วย lipopolysaccharide (LPS) พบว่าสารสกัดอะซีโตนยับยั้งการสร้าง nitric oxide (NO) ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 24 มคก./มล. และมีผลลดระดับ interleukin-1β(IL-1β)และ interleukin-6 (IL-6) ได้ตามขนาดของสารสกัดที่ได้รับ ขณะที่สาร isoliquiritigenin ยับยั้ง NO, IL-1βและ IL-6 ด้วยค่า IC50เท่ากับ 7.5, 1.85 และ 7.63 มคก./มล.ตามลำดับและสาร glabridinยับยั้งinterleukin-1β ด้วยค่า IC5010 มคก./มล.และมีฤทธิ์อ่อนในการยับยั้ง NO แต่ไม่มีผลยับยั้งการหลั่ง interleukin-6 ส่วนสาร glycyrrhizin ไม่มีผลต่อ cytokinesทั้ง 3 ชนิดในการทดสอบ แสดงให้เห็นว่าสาร glabridin และ isoliquiritigenin เป็นสารในการออกฤทธิ์ต้านการอักเสบของชะเอมเทศ(26)
การศึกษาผลของสารสกัดอะซีโตนจากรากชะเอมเทศและสารที่พบในสารสกัด ได้แก่ glabridin, glycyrrhizin และ isoliquiritigenin ต่อกระบวนการต้านการอักเสบผ่านกลไกของเอนไซม์ cyclooxygenase (COX) และ lipoxygenase (LOX) เตรียมสารสกัดรากชะเอมเทศ (ตัวอย่างพืชจากประเทศอินเดีย voucherno. 51) ด้วยวิธีการสกัดแบบไหลย้อนกลับ (refluxed) ที่มีอะซีโตนเป็นตัวทำละลาย (อัตราส่วนรากชะเอมเทศต่อตัวทำละลายเท่ากับ 1 ต่อ4) การทดสอบในเซลล์แมคโครฟาจ(J774A.1) พบว่าสารสกัดชะเอมเทศที่ความเข้มข้น 2.5-40 มคก./มล. สามารถยับยั้งการสร้าง prostaglandin E2จากการเหนี่ยวนำด้วย lipopolysaccharide (LPS)ได้ตามขนาดของสารสกัดที่ได้รับ ด้วยค่าIC50เท่ากับ 5.5 มคก./มล. ขณะที่สาร glabridin และ isoliquiritigenin มีค่า IC50เท่ากับ 3.61 และ 2 มคก./มล. ตามลำดับ ส่วนสาร glycyrrhizin ไม่มีผลยับยั้งการก่อตัวของ prostaglandin E2นอกจากนี้ การทดสอบในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (HL-60human promyelocytic leukemia cell) พบว่าสารสกัดอะซีโตนชะเอมเทศ และสาร glabridin ยับยั้งการหลั่ง thromboxane B2จากการเหนี่ยวนำด้วยcalcimycin ด้วยค่า IC50เท่ากับ 6.30 และ 3.70 มคก./มล. ตามลำดับ ส่วนสาร isoliquiritigenin มีฤทธิ์ปานกลางในการยับยั้ง thromboxane B2สารสกัดอะซีโตนให้ผลยับยั้งการหลั่ง leukotriene (LTB4) จากการเหนี่ยวนำด้วย calcimycinในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (HL-60)ได้ตามขนาดของสารสกัดที่ได้รับ ด้วยค่า IC50เท่ากับ 5.2 มคก./มล. เช่นเดียวกับสาร glabridinด้วยค่า IC50 เท่ากับ 1.73 มคก./มล. แต่สารisoliquiritigenin และ glycyrrhizinไม่มีผลต่อ LTB4การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดอะซีโตนจากชะเอมเทศมีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยสามารถยับยั้งได้ทั้งกลไกของ กลไกของเอนไซม์ cyclooxygenase (COX) และ lipoxygenase (LOX) โดยมีสาร glabridin เป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์ (27)
การพัฒนาไลโปโซม (liposomes) และไฮยาลูโรโซม (hyalurosomes) สำหรับกักเก็บสารสกัดชะเอมเทศ เตรียมสารสกัดรากชะเอมเทศ(ตัวอย่างพืชจากประเทศอิตาลี ไม่ระบุ voucher specimen) ด้วยวิธีการสกัดแบบต่อเนื่อง (percolation)ที่มีเอทานอลเป็นตัวทำละลายเตรียมตำรับไลโปโซมและตำรับไฮยาลูโรโซมสำหรับกักเก็บสารสกัดจากรากชะเอมเทศด้วยวิธีอัลตร้าซาวน์ ได้ไลโปโซมขนาดอนุภาค 100 นาโนเมตร ค่าการกระจายตัวเท่ากับ 0.18 ค่าประสิทธิภาพในการกักเก็บ 84% และได้ไฮยาลูโรโซมขนาดอนุภาค 100 นาโนเมตร ค่าการกระจายตัว 0.17 และประสิทธิภาพการกักเก็บเท่ากับ 76%ทำการทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูเม้าส์ โดยทาสารสกัดเอทานอล สารละลายตำรับไลโปโซม และสารละลายตำรับไฮยาลูโรโซม ขนาด 100 มคก. วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน บริเวณผิวหนังด้านหลังของหนูเม้าส์ที่เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอักเสบด้วย 12-O-tetradecanoylphorbol 13-acetate (TPA) ผลพบว่าสารสกัดเอทานอล ตำรับอนุภาคไลโปโซมและอนุภาคไฮยาลูโรโซมสารสกัดชะเอมเทศสามารถลดอาการบวมอย่างมีนัยสำคัญ โดยลดการซึมผ่านของเซลล์เม็ดเลือดขาวและพื้นที่การเกิดเซลล์ตายของเยื่อบุ รวมถึงฟื้นคืนเซลล์เยื่อบุผิวชั้นบนที่เสียหายไปจากภาวะการอักเสบ จากการศึกษานี้จะเห็นได้ว่าสารสกัดเอทานอลจากรากชะเอมเทศมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยฤทธิ์ของสารสกัดจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเตรียมในอนุภาคไลโปโซมและอนุภาคไฮยาลูโรโซม (43)
3.5 ระงับกลิ่น (S010)
สารสกัดจากรากชะเอมเทศยับยั้งการก่อตัวของสารdiacetyl ในกระบวนการเมตาบอลิซึมกรดอะมิโนของเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureusและS. epidermidisซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดกลิ่นกาย โดยการทดสอบในหลอดทดลองพบว่าเมื่อบ่มสารสกัดรากชะเอมเทศ (Maruzen Pharmaceutical Co., Ltd, Japan) ความเข้มข้น 3 มก./มล. กับเชื้อแบคทีเรีย S. aureus และ S. epidermidis เป็นเวลา 6 ชม. มีผลยับยั้งการสร้าง diacetyl ของเชื้อทั้ง 2 ชนิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและยับยั้งการเกิด diacetyl ได้ 100% เมื่อให้สารสกัดชะเอมเทศแก่เซลล์นาน 7 ชม. ผลการวิเคราะห์เมตาบอลิกฟลักซ์ (metabolic flux analysis)พบว่าสารสกัดชะเอมเทศชะลอการนำ L-lactate ไปใช้ในเซลล์เป็นผลให้การเมตาบอลิซึมของ L-lactate ในเซลล์แบคทีเรียลดลง (63)
3.6 รักษาแผล (S015)
สารสกัด 70% เอทานอลจากรากชะเอมเทศ (ตัวอย่างพืชจากประเทศซีเรีย ไม่ระบุ voucher specimen) ที่เตรียมด้วยวิธีการแช่สกัดผงรากชะเอมเทศ 100 ก. ใน 70% เอทานอล 1,000 มล. เป็นเวลา 3 วัน จากนั้นกรองและทำให้แห้งด้วยวิธีการระเหยแห้งแบบสุญญากาศ (vacuum evaporation)การศึกษาฤทธิ์รักษาแผลในกระต่ายเพศผู้ที่มีแผลแบบเปิด (excision wound) ขนาด 15 x 15 มม. บริเวณด้านหลังลำตัว สุ่มแบ่งกระต่ายออกเป็น 6 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยครีมใด กลุ่มที่ 2 ได้รับครีมเบส (Eucerin) กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มควบคุมบวกที่ทาด้วยยาเด็กซ์แพนทีนอล (dexpanthenol) และกลุ่มที่ 4-6 ทาด้วยครีมสารสกัดชะเอมเทศ 5%, 10% และ 15% ตามลำดับ ทาวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 21 วัน ประเมินผลโดยการวัดระยะเวลาที่แผลหายสนิท ผลพบว่าระยะเวลาที่แผลหายในทั้ง 6 กลุ่ม เท่ากับ 21, 21, 19, 16, 14 และ 15 วัน ตามลำดับ โดยพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของกลุ่มที่ได้รับครีมสารสกัดชะเอมเทศ 10% กับกลุ่มที่ได้รับยาเด็กซ์แพนทีนอล แสดงให้เห็นว่าครีมสารสกัดรากชะเอมเทศมีฤทธิ์รักษาแผลโดยทำให้แผลหายเร็วขึ้น(64)
การศึกษาฤทธิ์รักษาแผลของสารสกัด 95% เอทานอลและสารสกัดน้ำจากชะเอมเทศ (ตัวอย่างพืชจากประเทศไทย specimen no. SKP072070701) เตรียมสารสกัดเอทานอลด้วยด้วยวิธีการแช่สกัดรากชะเอมเทศ 300 ก. ในตัวทำละลาย 95% เอทานอล เป็นเวลา 3 วัน และเตรียมสารสกัดน้ำด้วยวิธีการต้มรากชะเอมเทศในน้ำ เป็นเวลา 15 นาที ทำการทดสอบฤทธิ์รักษาแผลด้วยการตรวจวัดผลต่อการยับยั้งการก่อตัวของ nitric oxide (NO)ในเซลล์แมคโครฟาจ (RAW 264.7) ผลต่อการสร้าง superoxide anion radical ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (HL-60human promyelocytic leukemia cell) ผลการศึกษาพบว่าสารสกัด 95% เอทานอลรากชะเอมเทศยับยั้งการก่อตัวของ NOในเซลล์แมคโครฟาจด้วยค่า IC50เท่ากับ 23.97±0.91 มคก./มล. และลดการสร้าง superoxide anion radical ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวHL-60 ด้วยค่า IC50เท่ากับ 28.62±1.91 มคก./มล. ส่วนสารสกัดน้ำไม่มีผลยับยั้งในเซลล์ทั้งสองชนิด การทดสอบฤทธิ์รักษาบาดแผลด้วยวิธี scratch wound closure assay ในเซลล์ต้นกำเนิดไฟโบรบลาสต์ (3T3-CCL92murine embryonic fibroblast cell) พบว่าสารสกัดเอทานอลจากชะเอมเทศความเข้มข้น 10 มคก./มล. เพิ่มความมีชีวิตของเซลล์ 52.13±3.95% และเพิ่มพื้นที่แผลปิด (wound closure) 50.72% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (DMSO 0.2%) โดยมีอัตราเร่ง 2.12% ต่อชั่วโมง และเมื่อแยกสาร glycyrrhizinซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบในสารสกัดมาทำการทดสอบฤทธิ์รักษาแผล พบว่าสารglycyrrhizin ขนาด 10 มคก./มล. เพิ่มพื้นที่แผลปิดได้ 51.87% และมีอัตราเร่งเท่ากับ 2.18% ต่อชั่วโมง การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัด 95% เอทานอลจากชะเอมเทศมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและรักษาแผลโดยมีสาร glycyrrhizin เป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์รักษาแผล (41)
การศึกษาในปลาม้าลายที่เหนี่ยวนำให้เกิดบาดแผลบริเวณผิวหนัง (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของบาดแผลเท่ากับ 2 มม.) จากนั้นแบ่งปลาม้าลายเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมที่ถูกนำไปแช่ในน้ำที่มีส่วนผสมของ 0.1% DMSO กลุ่มที่ 2-3 แช่ในน้ำที่มีส่วนผสมของ isoliquiritin(Pufei De Bio Co., China) ความเข้มข้น 100 และ 200 มคก./มล. ตามลำดับ เป็นเวลา 20นาที ติดต่อกัน 7 วัน พบว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วย isoliquiritin ความเข้มข้น 200 มคก./มล. มีอัตราการหายของแผลเร็วกกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตั้งแต่วันที่ 3 ของการรักษา เมื่อทำการเปรียบเทียบย้อมสีชิ้นเนื้อหลังการเกิดบาดแผล 7 วันพบว่ากลุ่มที่ได้รับ isoliquiritinมีเนื้อเยื่อบุผิวและผิวชั้น dermis หนาตัวเพิ่มขึ้น ลดพื้นที่ของ granulation tissue การเรียงตัวของเซลล์กล้ามเนื้อด้านในแน่นและไม่มีช่องว่าง ในขณะที่กลุ่มควบคุมพบความเสียหายของชั้นเนื้อเยื่อ ชั้นเนื้อเยื่อใหม่มีความบาง และพบพื้นที่ของ granulation tissue ร่วมกับการเกิดช่องว่างระหว่างเซลล์กล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังพบว่าสาร isoliquiritin เพิ่มอัตราการเกิดเส้นเลือดใหม่บริเวณบาดแผลได้ภายใน 24 ชั่วโมงแรกและอัตราเพิ่มขึ้นตามขนาดของสารสกัดที่ได้รับ ร่วมกับการสร้างเซลล์แมคโครฟาจช่วยเร่งกระบวนการหายของแผล ผลการตรวจสอบการแสดงออกของยีนด้วยวิธี qPCR analysis พบว่าสาร isoliquiritinเพิ่มการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเส้นเลือดใหม่ vegfa, ang-2 และตัวรับ receptor flk-1,tie-1 รวมถึงยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการต้านการอักเสบได้แก่transforming growth factor-β, interleukin-1β, tumor necrosis factor-α, metalloproteinase-9, metalloproteinase-13 และเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ superoxide dismutase เป็นผลให้กระบวนการหายของแผลเกิดเร็วขึ้น (28)
การพัฒนาไลโปโซม (liposomes) และไฮยาลูโรโซม (hyalurosomes) สำหรับกักเก็บสารสกัดชะเอมเทศ เตรียมสารสกัดรากชะเอมเทศ(ตัวอย่างพืชจากประเทศอิตาลี ไม่ระบุ voucher no.) ด้วยวิธีการสกัดแบบต่อเนื่อง (percolation) ที่มีเอทานอลเป็นตัวทำละลายเตรียมตำรับไลโปโซมและตำรับไฮยาลูโรโซมสำหรับกักเก็บสารสกัดจากรากชะเอมเทศด้วยวิธีอัลตร้าซาวน์ ได้ไลโปโซมขนาดอนุภาค 100 นาโนเมตร ค่าการกระจายตัวเท่ากับ 0.18 ค่าประสิทธิภาพในการกักเก็บ 84% และได้ไฮยาลูโรโซมขนาดอนุภาค 100 นาโนเมตร ค่าการกระจายตัว 0.17 และประสิทธิภาพการกักเก็บเท่ากับ 76%ทำการทดสอบฤทธิ์รักษาแผลในเซลล์ไฟโบรบลาสต์ (3T3 fibroblasts) ที่เกิดแผลรอยขีดข่วน พบว่าอนุภาคไลโปโซมและอนุภาคไฮยาลูโรโซมสารสกัดชะเอมเทศมีความสามารถในการกระตุ้นการแบ่งตัวและเกิดเนื้อเยื่อบุผิวบริเวณบาดแผล และกระตุ้นให้แผลหายอย่างมีนัยสำคัญหลังการได้รับสาร 48 ชม. โดยอนุภาคไฮยาลูโรโซมมีฤทธิ์กระตุ้นความมีชีวิตของเซลล์และเหนี่ยวนำให้เซลล์เยื่อบุเคลื่อนที่ได้ดีกว่าอนุภาคไลโปโซม จากการศึกษานี้จะเห็นได้ว่าสารสกัดเอทานอลจากรากชะเอมเทศมีฤทธิ์รักษาแผล โดยฤทธิ์ของสารสกัดจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเตรียมในอนุภาคไลโปโซมและอนุภาคไฮยาลูโรโซม (43)
การศึกษาประสิทธิภาพในการรักษาแผลของนาโนอีมัลชัน (nanoemulsion) ซึ่งเตรียมจากน้ำมันลาเวนเดอร์ (2% w/w) สารสกัดจากรากชะเอมเทศ (2% w/w, Barij Essence Pharmaceutical Company, Iran)tween20 และ tween80 ทำการทดสอบในหนูแรทที่มีแผลลึก (deep wound) บริเวณด้านหลังลำตัว ในการทดสอบแบ่งสัตว์ทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ได้รับยาหลอก (Eucerin ointment) กลุ่มที่ 2 ได้รับอิมัลชั่นลาเวนเดอร์ชะเอมเทศ กลุ่มที่ 3 ได้รับนาโนอิมัลชั่นลาเวนเดอร์ชะเอมเทศและกลุ่มที่ 4 ได้รับยาขี้ผึ้ง phenytoin 1% (กลุ่มควบคุมบวก) กำหนดให้ทาครีมบริเวณแผลวันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 14 วัน ประเมินผลในวันที่ 2, 5, 7, 10 และ 14 ของการศึกษา พบว่าการหดตัวของแผล (wound contraction) ในแต่ละกลุ่มแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่วันที่ 2 ของการศึกษา และมีค่ามากที่สุดในกลุ่มที่ได้รับนาโนอีมัลชันลาเวนเดอร์ชะเอมเทศนอกจากนี้พบว่าการเกิด lipid peroxidation ในเซลล์ลดลง การทำงานของเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระได้แก่ superoxide dismutase และ glutathione peroxidase มีค่าเพิ่มมากขึ้น พบการสร้างเนื้อเยื่อกรานูโลมา (granulation tissue) และมีการเจริญของเยื่อบุผิวใหม่ (re-epithelialization) ขึ้นมาปิดแผล ร่วมกับพบการสร้างคอลลาเจนในชั้นใต้ผิวหนังเพิ่มมากขึ้นในทุกกลุ่มทดสอบ แต่พบมากที่สุดในกลุ่มที่ได้รับนาโนอีมัลชันและ phenytoin ointmentเมื่อตรวจสอบการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างคอลลาเจน ได้แก่transforming growth factor-β1, type I collagen genes และ type III collagen genes ด้วยวิธี RT-PCR พบว่ากลุ่มที่ 2-4 มีการแสดงออกของยีนดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 7 และ 14 ของการศึกษา แสดงให้เห็นว่าการใช้สารสกัดชะเอมเทศร่วมกับน้ำมันลาเวนเดอร์ในรูปของนาโนอิมัลชันมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการใช้ยาขี้ผึ้ง phenytoin (65)
3.7 กันแดดสำหรับผิวกาย (S008)
การทดสอบในเซลล์เคอราติโนไซต์ของมนุษย์ (Human immortalized keratinocyte cell) พบว่าเมื่อให้สาร glycyrrhizic acid(Sigma-Aldrich Chemicals Private Limited, USA)ความเข้มข้น 10, 25, 50 และ 100 ไมโครโมลาร์ แก่เซลล์มีผลป้องกันการตายของเซลล์จากการได้รับรังสียูวีบีได้ตามขนาดของสารที่ได้รับ (34-66%) โดยพบว่าสาร glycyrrhizic acid ป้องกันการก่อตัวของสารก่ออนุมูลอิสระ (reactive oxygen species)และปรับปรุงการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนชักนำให้เกิดเซลล์ตาย รวมถึงมีฤทธิ์ต้านการอักเสบของเซลล์ โดยลดระดับ cytokines ที่เกี่ยวข้องกับอักเสบในเซลล์ ได้แก่ interleukin-1α, interleukin-1β, interleukin-6 และtumor necrosing factor-αอย่างมีนัยสำคัญ และการทดสอบในหนูเม้าส์ด้วยการทาสาร glycyrrhizic acid ขนาด 100 ไมโครโมลาร์ บนผิวหนังที่เวลา 1 ชั่วโมงก่อนการได้รับรังสียูวีบี 3 ครั้ง/สัปดาห์ ติดต่อกัน 16 สัปดาห์ สามารถป้องกันความเสียหายของผิวหนังจากการได้รับรังสียูวีได้ ลดการหนาตัวของผิวหนังชั้น epidermis และการเกิดผื่นนูนของชั้นผิวหนังจากการซึมผ่านของเม็ดเลือดขาว และลดการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ ได้แก่COX-2 และ p50 NF-KB และ intracellular adhesion molecule (ICAM-1) ในชั้นผิวหนังการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสาร glycyrrhizic acid จากชะเอมเทศสามารถป้องกันผิวหนังจากความเสียหายเนื่องจากได้รับรังสียูวีบี โดยเกี่ยวข้องกับกลไกการต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการตายของเซลล์ และต้านการอักเสบ (29)
การทดสอบในเซลล์ไฟโบรบลาสของมนุษย์ ด้วยการให้สาร glycyrrhizic acid (Sigma-Aldrich Chemicals Private Limited (St. Louis, MO, USA)ความเข้มข้น 5-50 ไมโครโมลาร์ เป็นเวลา 24 ชม. ก่อนได้รับรังสียูวีบี ความเข้มแสง 10 มิลลิจูล/ตร.ซม. สามารถป้องกันการชักนำการสูญเสียความมีชีวิตของเซลล์จากการได้รับรังสียูวีบี 8-22% (เซลล์จากการได้รับรังสียูวีบี ความมีชีวิตของเซลล์ลดลง 11%) สาร glycyrrhizic acid ป้องกันการตายและความเสียหายของเซลล์ โดยป้องกันการลดลงของ pro-collagen 1 และ pro-MMP-1 รวมถึงยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ hyaluronidaseซึ่งทำหน้าที่สลายพันธะคอลลาเจน ป้องกันการตายในวัฏจักรเซลล์ ลดการเกิด caspase-3 และ reactive oxygen species ซึ่งเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์ นอกจากนี้ยังมีผลเกี่ยวข้องกับกระบวนการต้านการอักเสบ โดยยับยั้งการหลั่ง NF-kappa B และ cytochrome C ของเซลล์ ในการศึกษานี้จะเห็นว่าสาร glycyrrhizic acid ปกป้องความเสียหายของเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากการได้รับรังสียูวีบี ป้องกันการตายและความเสียหายของเซลล์ โดยเกี่ยวข้องกับกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบ (30)
การศึกษาผลของสาร glabridinเตรียมสารสกัดหยาบจากรากชะเอมเทศ (ตัวอย่างพืชจากประเทศญี่ปุ่น ไม่ระบุ voucher specimen) โดยใช้ ethyl acetate เป็นตัวทำละลาย และนำไปแยกสาร glabridin ด้วยวิธี normal-phase chromatography, reversed-phase chromatography ทำการทดสอบในหนูตะเภาที่มีภาวะผื่นผิวหนังอักเสบจากการได้รับการฉายรังสียูวีบีความเข้มข้น 150 มิลลิจูล/ตร.ซม. จากนั้นทาผิวหนังด้านหลังของหนูตะเภาด้วยสาร glabridin ความเข้มข้น 0.5% พบว่าสาร glabridin สามารถลดการอักเสบผื่นแดงจากการได้รับรังสียูวีบีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังการได้รับสาร 6 ชม. เมื่อประเมินค่าความแดงของผิว (a* value) พบว่าค่า a* value บนผิวหนังที่ได้รับสาร glabridin มีค่าเท่ากับ 2.1 ส่วนกลุ่มควบคุมมีค่าเท่ากับ 4.2 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสาร glabridin บรรเทาการอักเสบของผิวจากการได้รับรังสียูวีบี นอกจากนี้การทดสอบในหลอดทดลองพบว่าสาร glabridin ยับยั้งการก่อตัวของ superoxide anion และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cyclooxygenase ซึ่งมีความเกี่ยวข้องในกระบวนการอักเสบอย่างมีนัยสำคัญ (17)
4 การศึกษาเกี่ยวกับริมฝีปากและช่องปาก
4.1 น้ำยาบ้วนปาก (L001)
ฆ่าเชื้อจแบคทีเรียในช่องปาก
การศึกษาฤทธิ์ป้องกันฟันผุของสารสกัดจากรากชะเอมเทศ เตรียมสารสกัดโดยนำรากชะเอมเทศ (ตัวอย่างพืชจากประเทศอินเดีย ไม่ระบุ voucher specimen) จำนวน 200 ก.แช่สกัดในเอทานอล 500 มล. เป็นเวลา 24 ชม. (ทำซ้ำ 3 ครั้ง) กรอง และระเหยตัวทำละลายออกด้วย rotary vacuum evaporator ทำการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคฟันผุ 2 ชนิด ได้แก่Streptococcus mutans(ATCC 25175) และLactobacillus acidophilus (ATCC 0885) ด้วยวิธี agar diffusion พบว่าที่เวลา 72 ชม. สารสกัดยับยั้งเชื้อ S. mutansและ L. acidophilusด้วยค่าพื้นที่ยับยั้ง (zone inhibition) เท่ากับ 25 และ 32 มม. ตามลำดับและการทดสอบฤทธิ์ป้องกันฟันผุ ด้วยการกระตุ้นให้เกิดภาวะฟันผุในหลอดทดลอง จากนั้นทำความสะอาดฟันตัวอย่างด้วยสารสกัดรากชะเอมเทศ วันละ1 ครั้ง ครั้งละ 5 มล. ติดต่อกัน 21 วัน ประเมินผลด้วยการวัดค่าความลึกของการเกิดฟันผุ (decay depth) ด้วย polarized light microscope พบว่ารอยลึกบนนผิวฟันหลังการได้รับสารสกัดจากชะเอมเทศเกิดขึ้นน้อยกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้รับสารสกัดชะเอมเทศอย่างมีนัยสำคัญ แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากชะเอมเทศสามารถลดการสลายตัวของเนื้อฟัน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดฟันผุ (66)
การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในช่องปากของสารสกัดรากชะเอมเทศ ซึ่งเตรียมด้วยการนำผงรากชะเอมเทศแช่สกัดใน 80% เอทานอล เป็นเวลา 72 ชม. จากนั้นกรองและทำให้สารสกัดเข้มข้นด้วย rotary vacuum evaporator ทำการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก ได้แก่ S. mutans (PTCC 1683), S. sanguis (PTCC 1449), Actinomyces viscosus (PTCC 1202), Enterococcus faecalis (ATCC 29212) และเชื้อจุลชีพก่อโรคS. aureus(ATCC 25923) และEscherichia coli (ATCC 29922) ด้วยวิธี disk diffusion พบค่า MIC ต่อเชื้อทั้ง 6 ชนิด เท่ากับ 12.5, 30, 12.5, 12.5, 35 และ 35 มก./มล. ตามลำดับ และการทดสอบด้วยวิธี broth dilution พบค่า MIC ต่อเชื้อทั้ง 6 ชนิด เท่ากับ 12.5, 50, 12.5, 12.5, 50 และ 50 มก./มล. ตามลำดับ และมีค่า MBC เท่ากับ 12.5, 50, 12.5, 12.5, 50 และ 50 มก./มล. ตามลำดับ การศึกษานี้สรุปว่าสารสกัด 80% เอทานอลจากรากชะเอมเทศสามารถยับยั้งเชื้อจุลชีพก่อโรคในช่องปาก แต่มีความแรงน้อยกว่าน้ำยาป้วนปาก chlorhexidine ซึ่งมีค่า MIC ต่อเชื้อทั้ง 6 ชนิด เท่ากับ 0.0625-0.125 มก./มล. (67)
การทดสอบด้วยวิธี macrobroth dilution พบว่าสารสกัด 95% เอทานอลจากรากชะเอมเทศ (บริษัทอุตสาหกรรมเครื่องหอมไทย-จีน, ประเทศไทย) มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียS. mutansATCC25923 แบบอิสระ ด้วยค่า MIC และ MBC เท่ากับ 0.78 มก./มล. และ 1.56 มก./มล. ตามลำดับ และสารสกัดชะเอมเทศสามารถยับยั้งเชื้อ S. mutansATCC25923ในรูปแบบไบโอฟิล์มได้ที่ความเข้มข้นเท่ากับ 0.78 มก./มล. โดยที่สารสกัดชะเอมเทศที่ความเข้มข้น 2 เท่าของ MBC สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ภายใน 30 นาที และสารสกัดที่ความเข้มข้น 50 มก./มล. ให้ผลใกล้เคียงกับการใช้ยา vancomycin 0.3 มก./มล. การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดชะเอมเทศมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ S. mutansได้ทั้งในรูปแบบไบโอฟิล์มและแบบอิสระ (68)
การศึกษาฤทธิ์ต่อการยับยั้งเชื้อ S. mutans และ L. acidophilus ของสารสกัดน้ำและสารสกัดแอลกอฮอล์จากรากชะเอมเทศ (ตัวอย่างพืชจากประเทศอินเดีย ไม่ระบุ voucher specimen) เปรียบเทียบกับ chlorhexidine 0.2% ทำการเตรียมสารสกัดน้ำด้วยการนำผงราก 50 ก. แช่สกัดในน้ำกลั่น 100 มล. เขย่าเป็นระยะ จากนั้นกรองแยกเฉพาะส่วนของเหลวออกมา การเตรียมสารสกัดแอลกอฮอล์ ด้วยการนำผงรากชะเอมเทศ 50 ก. แช่สกัดใน 70% เอทานอล เป็นเวลา 1 สัปดาห์ (เขย่าเป็นระยะ) จากนั้นกรองแยกเฉพาะส่วนของเหลวออกมาใช้ การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี agar well-diffusion พบว่าสารสกัด 70% เอทานอลจากชะเอมเทศ มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อS. mutansและL. acidophilusดีที่สุดด้วยค่าพื้นที่การยับยั้งเท่ากับ 26.7 และ 15.1 มม. ตามลำดับ รองลงมาคือสารสกัดน้ำ และ chlorhexidine ด้วยพื้นที่การยับยั้งเชื้อ S. mutansและL. Acidophilusเท่ากับ 22.8, 14.4 และ 20.5, 13.2 มม. ตามลำดับ และการทดสอบด้วยวิธี broth microdilution พบว่าสารสกัด 70% เอทานอลมีค่า MICต่อเชื้อS. mutansและL.acidophilusเท่ากับ 12.5% และ 6.25% ส่วนสารสกัดน้ำมีค่า MIC เท่ากับ 25% และ 50% ตามลำดับ (69)
การศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย S. mutans (ATCC 25175) ของสารสกัดรากชะเอมเทศกับน้ำยาบ้วนปาก chlorhexidine และน้ำยาบ้วนปาก fluoride เตรียมสารสกัดน้ำและสารสกัด 70% เอทานอลชะเอมเทศ (ตัวอย่างพืชจากประเทศอินเดีย ไม่ระบุ voucher specimen) ด้วยวิธีการแช่สกัดผงรากชะเอมเทศ 30 ก. ในน้ำกลั่นหรือ 70% เอทานอล 150 มล. เป็นเวลา 7 วัน จากนั้นกรองเฉพาะส่วนของเหลวมาใช้ในการทดสอบ ทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี agar disc diffusion พบว่าสารสกัด 70% เอทานอลให้พื้นที่การยับยั้ง 22.4 มม. ใกล้เคียงกับน้ำยาบ้วนปาก chlorhexidine 0.25% (พื้นที่การยับยั้ง 23 มม.) รองลงมาคือสารสกัดน้ำ และน้ำยาบ้วนปาก fluoride ด้วยพื้นที่การยับยั้งเท่ากับ 15.8 และ 14.2 มม. ตามลำดับ และพบว่าสารสกัดน้ำและสารสกัด 70% เอทานอลมีค่า MIC ต่อเชื้อ S. mutans (ATCC 25175) เท่ากับ 20 และ 12.5 มก./มล. ตามลำดับ (70)
การเตรียมสารสกัดรากชะเอมเทศ (ไม่ระบุแหล่งที่มา และ specimen no.) ด้วยวิธีการสกัดแบบต่อเนื่องด้วย soxhlet apparatus โดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย ทำการทดสอบคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี agar well diffusion และทดสอบคุณสมบัติป้องกันการเกาะติดของเชื้อแบคทีเรีย S. mutans (ATCC 890) ด้วยวิธี glass surface adherence test ผลพบว่าสารสกัดน้ำจากรากชะเอมเทศความเข้มข้น 1:2 ยับยั้งเชื้อได้ดีที่สุดด้วยค่าพื้นที่การยับยั้งเท่ากับ 22.73% และผลการทดสอบคุณสมบัติป้องกันการเกาะติดของเชื้อพบว่า สารสกัดความเข้มข้น 1:16 สามารถป้องกันการเกาะติดของเชื้อแบคทีเรีย ด้วยเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 40% (71)
การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย S. mutans (ATCC 25175) และ S. sanguinis (ATCC 10556) ด้วยวิธี agar diffusion พบว่าสารสกัดจากรากชะเอมเทศ (Flavex Naturetrakte, Germany) ความเข้มข้น 1 มก./มล. ยับยั้งเชื้อทั้งสองชนิดด้วยค่าพื้นที่การยับยั้งเท่ากับ 10.8 และ 11.0 มม. ตามลำดับ และการทดสอบด้วยวิธี broth microdilution พบค่า MIC ต่อเชื้อ S.Mutans (ATCC 25175) และ S. Sanguinis (ATCC 10556) เท่ากับ 80 และ 100 มคก./มล. ตามลำดับ(72)
สารสำคัญที่พบในชะเอมเทศ ได้แก่ glabridin (Wako Chemicals, Richmond, USA), licochalcone A (Enzo Life Sciences, USA) และlicoricidin(EMMX Biotechnology, USA) มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อก่อโรคในช่องปาก ได้แก่ Enterococcus faecalis, S. mutans, Actinomyces israelii, Fusobacterium nucleatum, Prevotella intermediaและPorphyromonas endodontalis โดยพบว่าสารlicoricidin มีฤทธิ์ดีกว่า licochalcone A และ glabridin ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ E. faecalis, S. mutans, A. israeliiด้วยค่า MMC 3.125-25 มคก./มล. การทดสอบผลต่อเชื้อ E. faecalisในรูปแบบไบโอฟิล์ม พบว่าที่เวลา 15 นาที สาร glabridin (25 มคก./มล.), licochalcone A (12.5 มคก./มล.) และ licoricidin (12.5 มคก./มล.) ยับยั้งเชื้อได้ 11.2, 28.1 และ 28.9% ตามลำดับ ส่วน chlorhexidine (6.25 มคก./มล.)ยับยั้งเชื้อได้ 31.1% และเมื่อให้สารดังกล่าวร่วมกับ chlorhexidine จะมีผลเสริมฤทธิ์กันในการยับยั้งเชื้อ โดยมีค่า fractional inhibitory concentration index (FICI) เท่ากับ 0.1-0.25 (34)
สาร licoricidin (EMMX Biotechnology, USA) และglabridin (Wako Chemicals, Richmond, USA) มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก S. mutans(ATCC 25175) และสายพันธุ์ที่แยกได้จากน้ำลายของผู้ป่วย 4 สายพันธุ์ ได้แก่ 12A, 33A, INB, และ T8 การทดสอบด้วยวิธี broth microdilution assay พบว่าสาร licoricidin มีค่า MIC ต่อเชื้อทั้ง 5 สายพันธุ์เท่ากับ 6.25 และมีค่า MBC ระหว่าง 6.25-25 มคก./มล. ส่วนglabridinมีค่า MIC ระหว่าง 6.25-12.5 มคก./มล และค่า MBC เท่ากับ 6.25-25 มคก./มล. เมื่อทำการทดสอบผลต่อเชื้อ S. mutansในรูปแบบไบโอฟิล์ม โดยใช้ FilmtracerTM Live/Dead Biofilm Viability kit พบว่าสารglabridin ที่ความเข้มข้น 2 เท่าของค่า MIC สามารถยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและมีฤทธิ์ดีกว่าสาร licoricidin นอกจากนี้สาร glabridinยังมีฤทธิ์ยับยั้งการก่อตัวของ dextranซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการก่อตัวของไบโอฟิล์มได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม การทดสอบความสามารถในการยึดเกาะกับ hydroxylapatite บนผิวฟันพบว่าสารlicoricidin และ grabridinสามารถลดการยึดเกาะของเชื้อแบคทีเรียกับ hydroxylapatite บนผิวฟันและลดการสร้างกรดของเชื้อแบคทีเรียอย่างมีนัยสำคัญและการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์เส้นใยเหงือกของมนุษย์ (oral keratinocytes) ด้วยวิธี MTT assay ด้วยการบ่มสารความเข้มข้น 3.125-50 มคก./มล ให้แก่เซลล์เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์ (35)
ยับยั้งเชื้อราในช่องปาก
การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Candida albicansของรากชะเอมเทศที่สกัดด้วยตัวทำละลายต่างกัน (ตัวอย่างพืชจากประเทศโปรตุเกส ไม่ระบุ voucher specimen) เตรียมสารสกัดโดยนำผงรากชะเอมเทศ 1 ก. ละลายในตัวทำละลาย 6 ชนิด ได้แก่ เอทานอล, อะซีโตน, DMSO, เมทานอล, 70%เอทานอล และน้ำ ปริมาตร 10 มล. และทำการสกัดด้วยวิธีการใช้คลื่นความถี่สูง (ultrasonic extraction)ที่ความถี่ 35 กิโลเฮิร์ต เป็นเวลา 1 ชม. และทำให้สารสกัดแห้งด้วยเครื่อง rotary evaporator ที่อุณหภูมิ 50ºC ทำการทดสอบฤทธิ์ยับยั้ง Candida albicans ด้วยวิธี agar diffusion พบว่าสารสกัด 70%เอทานอลมีฤทธิ์ต้านเชื้อได้ดีที่สุด มีค่า MIC และ MFC เท่ากับ 625 และ 1,250 มคก./มล. ตามลำดับ (36)
สาร lichochalcone-A(Sigma- Aldrich) สารกลุ่มโพลีฟีนอลจากชะเอมเทศมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Candida albicans (MYA 2876) ในช่องปาก การทดสอบในหลอดทดลองพบว่าสาร lichochalcone-A มีค่า MIC เท่ากับ 62.5ไมโครโมลาร์ และมีค่า MFC เท่ากับ 150 ไมโครโมลาร์ และสาร lichochalcone-A ขนาด 625 ไมโครโมล่าร์ (10MIC) สามารถลดการเกิดไบโอฟิล์มของเชื้อ โดยสามารถลดขนาดจำนวนโคโลนีต่อหน่วย (colony formation unit (CFU)/ml/g of biofilm dry weight) อย่างมีนัยสำคัญนอกจากนี้ยังให้ผลลดการทำงานของเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยโปรตีน ได้แก่ proteinases และ phospholipases โดยไม่แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ไฟโบรบลาสเพาะเลี้ยง ส่วนการทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดเชื้อราในช่องปากของหนูเม้าส์ที่เกิดเชื้อราในช่องปาก (oral candidiasis) โดยทาด้านในปากหนูเม้าส์ด้วยสาร lichochalcone-A ขนาด 7.5 มิลลิโมลาร์ (100MIC) วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน ผลพบว่าในกลุ่มที่ได้รับ lichochalcone-A มีระดับความเข้มแสง(total photon flux) ลดลง บ่งชี้ถึงการลดลงของคราบเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปาก การเกิดแผล hyphal invasion ที่บริเวณลิ้นลดลงเช่นเดียวกับกลุ่มควบคุมบวกที่ได้รับ nystatin (ความเข้มข้น 100 mM)โดยในการศึกษานี้ระบุว่าสาร lichochalcone-A ออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราร่วมกับฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยลดการหลั่งไซโตคานย์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ ได้แก่ IL-1α, IL-1βและ IL-10 เป็นผลให้การอักเสบซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อราในช่องปากลดลง (37)
การศึกษาผลของสาร lichochalcone-A, glabridin (Wako Chemicals USA, USA)และ glycyrrhizic acid (Sigma-Aldrich Canada, Canada) ต่อการยับยั้งเชื้อCandida albicansด้วยวิธี microplate dilution assay พบว่าค่า MIC ของสาร glabridin และ lichochalcone-A ต่อเชื้อ C. albicans ATCC 28366 เท่ากับ 6.25 มคก./มล. และต่อเชื้อ C. albicans LAM-1 เท่ากับ 12.5 มคก./มล. สาร glabridinมีค่า MFCต่อเชื้อทั้ง 2 สายพันธุ์ เท่ากับ 12.5 มคก./มล. และสาร lichochalcone-A มีค่า MFC ต่อเชื้อทั้ง 2 สายพันธุ์ เท่ากับ 100 มคก./มล. ส่วนสาร glycyrrhizic acid ไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ C. albicans เมื่อใช้ในความเข้มข้น 0-200 มคก./มล. การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งการก่อตัวของไบโอฟิล์มพบว่าสาร lichochalcone-A ความเข้มข้น 0.2 มคก./มล. ยับยั้งการก่อไบโอฟิล์มของเชื้อ C. albicans ATCC 28366 และ C. albicans LAM-1 ได้59 และ 35% ตามลำดับ และเมื่อให้ที่ความเข้มข้น 2.0 มคก./มล. สามารถยับยั้งได้ 81 และ 76% ตามลำดับอย่างไรก็ตามในการทดสอบนี้ไม่พบผลของสาร glabridin ต่อการป้องกันการก่อตัวของไบโอฟิล์ม การทดสอบผลต่อการสร้างเส้นใย (hyphae formation) พบว่าสาร lichochalcone-Aขนาด 200 มคก./มล. มีผลยับยั้ง hyphae formation ของC. albicansทั้งสายพันธุ์ ATCC 28366 และ LAM-1 ได้ 100% และ 82% ตามลำดับส่วนสาร glabridin ที่ความเข้มข้น 100 มคก./มล. ยับยั้ง hyphae formationของC. albicansสายพันธุ์ATCC 28366 และ LAM-1 ได้ 100% และ 86% ตามลำดับ อย่างไรก็ตามในการศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์เยื่อบุช่องปากด้วยวิธี MTT assay พบว่าสาร lichochalcone-A และสาร glabridin แสดงความเป็นพิษต่อเซลล์ เมื่อให้ที่ความเข้มข้นมากกว่า 20 และ 10 มคก./มล. ตามลำดับ (38)
4.2 รักษาแผลในปาก (L006)
การศึกษาฤทธิ์รักษาแผลในปากของสารสกัดน้ำจากชะเอมเทศ (ตัวอย่างพืชจากประเทศอิรัก ไม่ระบุvoucher specimen) เตรียมสารสกัดน้ำด้วยการนำผงรากชะเอมเทศ 60 ก. แช่สกัดในน้ำกลั่น 100 มล. เป็นเวลา 24 ชม. ทดสอบฤทธิ์รักษาแผลในปากกระต่ายที่ทำให้เกิดแผลด้วยการขลิบเนื้อเยื่อกระพุ้งแก้มด้านขวา แล้วล้างช่องปากด้วยสารสกัดน้ำจากชะเอมเทศ หรือน้ำเปล่า ครั้งละ 1 มล. ติดต่อกัน 6 วัน พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดน้ำจากชะเอมเทศลดการอักเสบในช่องปากของกระต่าย จำนวนเซลล์สารสื่อการอักเสบและจำนวนเส้นเลือดฝอยในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันลดลงอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่รับสารสกัดน้ำจากชะเอมเทศ ในขณะเดียวกันจำนวนไฟโบรบลาสซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างคอลลาเจนและอิลาสตินในแผลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มทีได้รับการล้างแผลด้วยสารสกัดน้ำจากชะเอมเทศ (73)
5 การศึกษาอื่นๆ
5.1 กำจัดขน (M001)
การศึกษาในหนูแรทโดยใช้ครีมที่มีส่วนผสมของ glycyrrhizic acid ในรูปของเกลือแอมโมเนีย15% (Sigma-Aldrich, Munich, Germany) และยูเรีย 10% ที่ละลายใน 20% เอทานอล โดยกำหนดให้ทาครีมบนผิวหนังด้านหลังคอของหนูแรทขนาด 1500 มคล. วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 6 วัน (ต่อ 1 รอบการทดสอบ) จากนั้นเว้นระยะ 4 สัปดาห์และเริ่มการทดสอบใหม่ สลับระยะพัก 4 สัปดาห์ ติดต่อกัน 9 เดือนพบว่าจำนวนเส้นขนบริเวณคอลดลง 20-30%หลังการทาครีม 3 วันและลดลงกว่า 90-95% หลังการทา 6 วัน เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับสารใดอัตราการงอกของเส้นขนใหม่ลดลง 10-20% หลัง 5-7 รอบการทดสอบ โดยไม่พบอาการระคายเคืองหรือการอักเสบของผิวหนังเมื่อใช้ติดต่อในระยะ9 เดือน ทำการตรวจสอบลักษณะของเส้นขนด้วยเครื่อง electron microscope พบว่ากลุ่มที่ได้รับครีม glycyrrhizic acidผิวชั้นนอกของเส้นขนมีความเรียบและไม่มีเกล็ดขน โดยไม่พบความผิดปกตินี้ในกลุ่มควบคุม แสดงให้เห็นว่าครีม glycyrrhizic acid มีผลทำให้เส้นขนหลุดร่วง ชะงอการงอกของเส้นของ และยังทำให้เส้นขนขึ้นใหม่มีขนาดบางลง อาจจะสามารถนำไปใช้ในการรักษาภาวะขนดกได้ในอนาคต (hypertrichosis) (33)
การศึกษาผลของสารสกัดชะเอมเทศและ glycyrrhizic acid สารสำคัญในชะเอมเทศต่อความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์เดอร์มัลแพพิลลาที่แยกจากรากผมของมนุษย์ (เซลล์ต้นกำเนิดต่อมรากผม) ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดชะเอมเทศและ glycyrrhizic acid (ไม่ระบุความเข้มข้นของสารสกัดที่ใช้) มีผลลดความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์เดอร์มัลแพพิลลาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเซลล์ที่ได้รับสารสกัดชะเอมเทศมีลักษณะของเซลล์ต้นกำเนิดลดลงร่วมกับการลดระดับของโปรตีนที่บ่งชี้ความเป็นเซลล์ต้นกำเนิด ได้แก่CD133, ALDH1A1 และ integrinβ1 โดยมีกลไกการลดความเป็นเซลล์ต้นกำเนิดผ่านการยับยั้ง β-catenin signaling ส่งผลให้transcription factor ในเซลล์ต้นกำเนิดลดลง และไม่สามารถพัฒนาเป็นเซลล์รากผมได้ แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการใช้สารสกัดชะเอมเทศและ glycyrrhizic acid ในการชะลอการงอกของเส้นขนในอนาคต(32)
5.2 ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น (M003)
สาร 18β-glycyrrhetinic acidจากรากชะเอมเทศ มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา Candida albicans ที่แยกได้จากช่องคลอดของผู้ป่วยติดเชื้อราในช่องคลอดชนิดเกิดซ้ำ (recurrent vulvovaginal candidiasis) จำนวน 5 สายพันธุ์การทดสอบด้วยวิธี broth microdilutionพบว่าสาร18β-glycyrrhetinic acid(ไม่ระบุแหล่งที่มาของสารสกัด) ความเข้มข้น 50-100 มคก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา C. albicansเมื่อทำการทดสอบเพิ่มถึงปัจจัยค่าความเป็นกรดด่างต่อความสามารถในการยับยั้งเชื้อราของสาร 18β-glycyrrhetinic acidพบว่าความสามารถในการยับยั้งเชื้อราของ 18β-glycyrrhetinic acidมีความสัมพันธ์กับค่าความเป็นกรดด่าง กล่าวคือสาร 18β-glycyrrhetinic acidสามารถยับยั้งได้ดีในสภาวะเป็นกรดเล็กน้อย (pH 4.5-5.5) และความสามารถในการยับยั้งจะลดลงเมื่อค่า pH มากกว่า 6 (39)
การศึกษาทางพิษวิทยาและความปลอดภัย
การศึกษาความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน
สารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอลจากรากไม่แสดงอาการพิษ เมื่อป้อนให้กับหนูแรทเผือกเพศเมีย ขนาด 1,000 มก./กก.ของน้ำหนักตัว และไม่มีผลต่อพฤติกรรมของสัตว์ทดลอง (74) และการทดสอบป้อนสารสกัดน้ำจากรากชะเอมเทศ ขนาด 1,500 มก./กก.ของน้ำหนักตัว ให้แก่หนูเม้าส์เผือก ไม่ทำให้สัตว์ทดลองตาย แต่พบว่ามีผลเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของหนูเม้าส์หลังการได้รับสารสกัด 2 ชม. (75)
การทดสอบในหนูแรทพบค่า LD50ของสารกลุ่ม glycyrrhizin salts เท่ากับ 412 (potassium glycyrrhizinate, IV) – 12700 มก./กก. (crude ammonium glycyrrhizate, orally) โดยขึ้นกับชนิดของเกลือที่จับ glycyrrhizin (76) โดยพบว่าค่า LD50ด้วยการป้อนทางปากมีความต่างจากการให้ทางหลอดเลือดดำมาก เนื่องจากสารกลุ่มนี้มี first-pass metabolism และการดูดซึมต่ำเมื่อป้อนทางปาก (77) และเมื่อให้สาร 18β-glycyrrhetinic acid ด้วยการฉีดเข้าทางช่องท้อง ในขนาด 2 ก./กก. ทำให้หนูแรทเพศเมียตาย เนื่องจากสารดังกล่าวมีผลทำให้การนำไฟฟ้าในหัวใจถูกขัดขวาง (atrioventricular block) ในระยะเวลา 130-140 นาทีหลังการได้รับสาร(78)
การทดสอบความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง
เมื่อป้อนสารสกัดน้ำจากรากชะเอมเทศ ขนาด 500, 1000 และ 2000 มก./กก. ให้แก่หนูแรทเพศผู้ ติดต่อกัน 9 สัปดาห์ ไม่แสดงอาการความเป็นพิษ (79)
การป้อนสารสกัดน้ำที่ทำให้แห้งแบบเยือกแข็งจากรากชะเอมเทศ ขนาด 100, 250 และ 500 มก./กก. ทางปากให้แก่หนูแรทเพศผู้ ติดต่อกัน 15 วัน มีผลต่อการทำงานของ adrenal–pituitary axis ได้ตามขนาดที่ได้รับ โดยชักนำให้เกิดภาวะบวมน้ำ(hypermineralocorticoidism) มีระดับของ adrenocorticotropic hormone, cortisol, aldosterone, potassium ลดลง และเพิ่มระดับของ rennin และ natrium (80) การป้อนสาร glycyrrhizin ขนาด 0.1-1 มก./มล. ในน้ำดื่มให้แก่หนูเม้าส์เพศผู้ ติดต่อกัน 12 สัปดาห์ มีผลเพิ่มความดันโลหิต เพิ่มการสะสมน้ำและโซเดียมในร่างกาย ร่วมกับการเกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (81)และเมื่อป้อนอาหารที่มีส่วนผสมของammoniated glycyrrhizinความเข้มข้น 2% ให้แก่หนูแรท ติดต่อกัน 14 วัน มีผลลดระดับปริมาณเหล็กในตับและเพิ่มการขับเหล็กออกทางอุจจาระ แต่ไม่มีผลต่อแร่ธาตุอื่นในสัตว์ทดลอง (82)
การทดสอบความเป็นพิษแบบเรื้อรัง
การป้อนน้ำมันที่มีส่วนผสมของสารฟลาโวนอยด์จากชะเอมเทศ (licorice flavonoids oil) ขนาด 400-1,600 มก./กก. เป็นเวลา 90 วัน มีผลลดปริมาณเม็ดเลือดแดง ฮีโมโกลบิน และฮีมาโตคริต ในสัตว์ทดลอง ร่วมกับมีผลเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดขาว ค่าเฉลี่ยระดับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง และค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงนอกจากนี้ยังทำให้เลือดหยุดไหลได้ยากขึ้น เนื่องจากมีผลเพิ่มprothrombin time และ activated partial thromboplastin time ในสัตว์ทดลอง (83)
เมื่อฉีดสาร monoammonium glycyrrhizinate ขนาด 25, 75 และ 225 มก./กก. เข้าใต้ผิวหนังของหนูแรท ติดต่อกัน 26 สัปดาห์ พบว่าที่ขนาดสูงมีผลทำให้สัตว์ทดลองตาย และขนาด 75-225 มก./กก. แสดงความเป็นพิษต่อตับและไตของสัตว์ทดลอง (84)
ข้อห้ามใช้
ยังไม่มีรายงานข้อห้ามใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอาง
ข้อควรระวัง
ยังไม่มีรายงานข้อควรระวังการใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอาง
อาการไม่พึงประสงค์
พบรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์โดยก่อให้เกิดรอยด่างขาวบนใบหน้า (leucoderma)ในผู้ป่วยเพศหญิงอายุ 42 ปี ที่ใช้ครีมเพื่อผิวขาวที่มีส่วนผสมของกรดโคจิก สารสกัดรากชะเอมเทศ (ไม่ระบุชนิดของสารสกัด) และสารสกัดจากต้น Mitracarpus scaber ทาบนผิวหน้าวันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ เมื่อหยุดใช้ครีมและเข้ารับการรักษาด้วยยาทา clobetasol propionate 0.05% พบว่าสามารถฟื้นฟูสภาพสีผิวให้กลับสู่ภาวะปกติภายใน 3 เดือน (85)
รายงานในหญิงชาวญี่ปุ่น อายุ 76 ปี ที่พบอาการผื่นแดงรอบดวงตาและ รายงานในหญิงชาวญี่ปุ่น อายุ 51 ปี ที่มีอาการผื่นแดงและผิวแตกบนใบหน้าและลำคอ หลังจากใช้ครีมลดเลือนฝ้าและทำให้หน้าขาวที่มีส่วนผสมของสารสกัดส่วนที่ละลายได้ในน้ำมันของชะเอมเทศ (oil-soluble licorice extract) ความเข้มข้น 1% โดยผู้ป่วยทั้ง 2 รายให้ผลบวกกับการทดสอบผิวแพ้สัมผัสด้วย patch test และผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาด้วยครีมสเตียรอยด์ (86) และรายงานในหญิงชาวญี่ปุ่น อายุ 43 ปี ที่มีอาการคันและผื่นแดงบนใบหน้า หลังจากใช้ครีมทาหน้าที่มีส่วนผสมของสารสกัดส่วนที่ละลายได้ในน้ำมันของชะเอมเทศ (oil-soluble licorice extract) เช่น glabridin, glabrene, glabrone, และ glabrol และให้ผลบวกกับการทดสอบผิวแพ้สัมผัสด้วย 0.5-5%licorice extracts patch test (87)
รายงานอาการระคายเคืองในผู้ป่วยอายุ 19 ปี ที่ใช้ครีมบำรุงผิวหลังการออกแดด (post-sun moisturizing cream) และโรลออนระงับกลิ่นกายที่มีส่วนผสมของ glycyrrhetinic acid จากชะเอมเทศ โดยพบว่าก่อให้เกิดอาการผื่นแพ้สัมผัส (allergic contact dermatitis) (88)
ขนาดที่แนะนำ (ข้อมูลจากการศึกษาทางคลินิก)
ตำรับเจลที่มีส่วนประกอบของสารสกัดเมทานอลจากรากชะเอมเทศ 1-2% มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการผิวหนังอักเสบ เมื่อทำการทดสอบโดยให้ทาครีม วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ (22)
กลุ่มน้ำยาบ้วนปากสารสกัด 70% เอทานอลรากชะเอมเทศ ใช้ครั้งละ 15 มล. กลั้วปากนาน 1 นาที สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus mutans ในช่องปากได้นาน 60 นาที (46)
น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสารสกัด 70% เอทานอลรากชะเอมเทศ ความเข้มข้น 12.5% ใช้ครั้งละ 10 มล. กลั้วปากนาน 1 นาที เดือนละ 1 สัปดาห์ ติดต่อกัน 12 เดือน สามารถลดการเกิดคราบจุลินทรีย์และลดดัชนีฟันผุถอนอุด (47)
น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนประกอบของทิงค์เจอร์ชะเอมเทศ 5% ใช้ครั้งละ 10 มล. กลั้วปากนาน 30 วินาที วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกัน 28 วัน ช่วยลดคราบจุลินทรีย์และอาการเหงือกอักเสบในอาสาสมัคร (49)
แผ่นฟิล์มยึดเกาะเยื่อเมือก (mucoadhesive films) ที่มีส่วนผสมของสารสกัดรากชะเอมเทศ (มีสาร pyrogallol 0.18 มก./แผ่น) ใช้แปะแผลในปาก 4 ครั้ง/วัน ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ สามารถลดความเจ็บปวดและอาการอักเสบในช่องปาก (13)
แผ่นปิดแผลในปากที่มีส่วนผสมของสารสกัดคลอโรฟอร์มรากชะเอมเทศ 1% ใช้ปิดแผลร้อนในในปาก ครั้งละ 20 นาที วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน ติดต่อกัน 5 วัน ช่วยรักษาแผล ลดขนาดแผลและพื้นที่การอักเสบ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น (51)
น้ำยาบ้วนปาก diphenhydramine solution ที่มีส่วนผสมของสารสกัด 70% เอทานอลรากชะเอมเทศ ความเข้มข้น 5% ใช้ครั้งละ 3 มล. กลั้วนาน 3 นาที วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน ติดต่อกัน 5 วัน สามารถบรรเทาอาการปวดแผลร้อนในในปากและทำให้แผลหายเร็วขึ้น (52)
ตำรับเจลที่มีส่วนประกอบของสารสกัด 80% เอทานอลรากชะเอมเทศ ความเข้มข้น 15% โดยให้บีบเจลความยาวครึ่งข้อนิ้วมือ ทาบนใบหน้าวันละ 2 ครั้ง นาน 24 สัปดาห์ ร่วมกับการกำจัดขนโดยใช้แสงเลเซอร์ 5 ครั้ง ช่วยลดความหนาแน่นของเส้นขนได้ดีกว่าการใช้แสงเลเซอร์เพียงอย่างเดียว (54)
สิทธิบัตร
DIP (THAILAND-TH)
USPTO (USA)
สรุป
ชะเอมเทศมีศักยภาพในการที่จะนำมาใช้ในด้านเครื่องสำอาง โดยการศึกษาทางคลินิกพบว่ามีผลช่วยทำความสะอาดเส้นผม ลดเลือนฝ้า ต้านการอักเสบของผิวกาย ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก รักษาแผลร้อนในในช่องปาก กำจัดขน นอกจากนี้ยังพบการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาชะเอมเทศเป็นเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภายนอก ได้แก่ ฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นผม ลดเลือนฝ้า ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสและยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ รักษาแผล ปกป้องผิวจากแสงแดด กำจัดขน ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในช่องปาก
เอกสารอ้างอิง
1. ราชันย์ ภู่มา, สมราน สุดดี, บรรณาธิการ. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันท์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช; 2557.
2. (Glycyrrhiza glabra L.) World flora online. [Internet]. 2018 [cited 2021 November 1]. Available from: http://www.worldfloraonline.org/taxon/wfo-0000212813.
3. นันทวัน บุณยะประภัศร. อรนุช โชคชัยเจริญพร, บรรณาธิการ. สมุนไพร..ไม้พื้นบ้าน (1). กรุงเทพฯ: บริษัท ประชาชน จำกัด; 2539.
4. Zheng-Yi W, Raven PH, Hong D, Editor. Flora of China Volume 10: FABACEAE. St. Louis: Missouri Botanical Garden Press, 2010.
5. (Glycyrrhiza glabra L.) Plant of the world online, the Royal Botanic Gardens, Kew [Internet]. 2017 [cited 2021 July 30]. Available from: http://powo.science.kew.org/taxon/496941-1)
6. Hasan MK, Ara I, Mondal MSA, Kabir Y. Phytochemistry, pharmacological activity, and potential health benefits of Glycyrrhiza glabra. Heliyon. 2021;7(6):e07240. doi: 10.1016/j.heliyon.2021.e07240.
7. El-Saber Batiha G, Magdy Beshbishy A, El-Mleeh A, Abdel-Daim MM, Prasad Devkota H. Traditional uses, bioactive chemical constituents, and pharmacological and toxicological activities of Glycyrrhiza glabra L. (Fabaceae). Biomolecules. 2020;10(3):352. doi: 10.3390/biom10030352.
8. Öztürk M, Altay V, Hakeem KR, Akçiçek E. Liquorice: from botany to phytochemical Springer Briefs in Plant Science. doi: 10.1007/978-3-319-74240-3_7
9. Li K, Ji S, Song W, Kuang Y, Lin Y, Tang S, et al. Glycybridins A-K, bioactive phenolic compounds from Glycyrrhiza glabra. J Nat Prod. 2017;80(2):334-46. doi: 10.1021/acs.jnatprod.6b00783.
10. Li G, Nikolic D, van Breemen RB. Identification and chemical standardization of licorice raw materials and dietary supplements using UHPLC-MS/MS. J Agric Food Chem. 2016;64(42):8062-70. doi: 10.1021/acs.jafc.6b02954.
11. Näf R, Jaquier A. New lactones in liquorice (Glycyrrhiza glabra L.). Flavour Fragr J. 2006:21:193-7. doi: 10.1002/ffj.1576.
12. Chin YW, Jung HA, Liu Y, Su BN, Castoro JA, Keller WJ, et al. Anti-oxidant constituents of the roots and stolons of licorice (Glycyrrhiza glabra). J Agric Food Chem. 2007;55(12):4691-7. doi: 10.1021/jf0703553.
13. Ghalayani P, Emami H, Pakravan F, Nasr Isfahani M. Comparison of triamcinolone acetonide mucoadhesive film with licorice mucoadhesive film on radiotherapy-induced oral mucositis: A randomized double-blinded clinical trial. Asia Pac J Clin Oncol. 2017 ;13(2):e48-e56. doi: 10.1111/ajco.12295.
14. Sheila U, Djajadisastra J, Fadlina S. Using hair growth activity, physical stability, and safety tests to study hair tonics containing ethanol extract of licorice (Glycyrrhiza glabra Linn.). Int J App Pharm. 201:9(suppl 1):44-8.doi: 10.22159/ijap.2017.v9s1.20_25.
15. Cantelli M, Ferrillo M, Donnarumma M, Emanuele E, Fabbrocini G. A new proprietary gel containing glabridin, andrographolide, and apolactoferrin improves the appearance of epidermal melasma in adult women: A 6-month pilot, uncontrolled open-label study. J Cosmet Dermatol. 2020;19(6):1395-8. doi: 10.1111/jocd.13161.
16. Panichakul T, Rodboon T, Suwannalert P, Tripetch C, Rungruang R, Boohuad N, et al. Additive effect of a combination of Artocarpus lakoocha and Glycyrrhiza glabra extracts on tyrosinase inhibition in melanoma B16 cells. Pharmaceuticals (Basel). 2020;13(10):310. doi: 10.3390/ph13100310.
17. Yokota T, Nishio H, Kubota Y, Mizoguchi M. The inhibitory effect of glabridin from licorice extracts on melanogenesis and inflammation. Pigment Cell Res. 1998;11(6):355-61. doi: 10.1111/j.1600-0749.1998.tb00494.x.
18. Nerya O, Vaya J, Musa R, Izrael S, Ben-Arie R, Tamir S. Glabrene and isoliquiritigenin as tyrosinase inhibitors from licorice roots. J Agric Food Chem. 2003;51(5):1201-7. doi: 10.1021/jf020935u.
19. Chen J, Yu X, Huang Y. Inhibitory mechanisms of glabridin on tyrosinase. Spectrochim Acta A Mol Biomol Spectrosc. 2016;168:111-117. doi: 10.1016/j.saa.2016.06.008.
20. Jung GD, Yang JY, Song ES, Par JW. Stimulation of melanogenesis by glycyrrhizin in B16 melanoma cells. Exp Mol Med. 2001;33(3):131-5. doi: 10.1038/emm.2001.23.
21. Uto T, Ohta T, Yamashita A, Fujii S, Shoyama Y. Liquiritin and liquiritigenin induce melanogenesis via enhancement of p38 and PKA signaling pathways. Medicines (Basel). 2019;6(2):68. doi: 10.3390/medicines6020068.
22. Saeedi M, Morteza-Semnani K, Ghoreishi MR. The treatment of atopic dermatitis with licorice gel. J Dermatolog Treat. 2003;14(3):153-7. doi: 10.1080/09546630310014369.
23. Sulzberger M, Worthmann AC, Holtzmann U, Buck B, Jung KA, Schoelermann AM, et al. Effective treatment for sensitive skin: 4-t-butylcyclohexanol and licochalcone A. J Eur Acad Dermatol Venereol. 2016;30(Suppl 1):9-17. doi: 10.1111/jdv.13529.
24. Barone A, Cristiano MC, Cilurzo F, Locatelli M, Iannotta D, Di Marzio L, et al. Ammonium glycyrrhizate skin delivery from ultradeformable liposomes: a novel use as an anti-inflammatory agent in topical drug delivery. Colloids Surf B Biointerfaces. 2020;193:111152. doi: 10.1016/j.colsurfb.2020.111152.
25. Chen H, Liu H, Tang B, Chen Y, Han L, Yu J, et al. The Protective Effects of 18b-glycyrrhetinic acid on imiquimod-induced psoriasis in mice via suppression of mTOR/STAT3 signaling. J Immunol Res. 2020;2020:1980456. doi: 10.1155/2020/1980456.
26. Thiyagarajan P, Chandrasekaran CV, Deepak HB, Agarwal A. Modulation of lipopolysaccharide-induced pro-inflammatory mediators by an extract of Glycyrrhiza glabra and its phytoconstituents. Inflammopharmacol. 2011;19(4):235-41. doi: 10.1007/s10787-011-0080-x.
27. Chandrasekaran CV, Deepak HB, Thiyagarajan P, Kathiresan S, Sangli GK, Deepak M, et al. Dual inhibitory effect of Glycyrrhiza glabra (GutGard™) on COX and LOX products. Phytomedicine. 2011;18(4):278-84. doi: 10.1016/j.phymed.2010.08.001.
28. Liu YY, Wu JQ, Fan RY, He ZH, Li CY, He MF. Isoliquiritin promote angiogenesis by recruiting macrophages to improve the healing of zebrafish wounds. Fish Shellfish Immunol. 2020;100:238-245. doi: 10.1016/j.fsi.2020.02.071.
29. Afnan Q, Kaiser PJ, Rafiq RA, Nazir LA, Bhushan S, Bhardwaj SC, et al. Glycyrrhizic acid prevents ultraviolet-B-induced photodamage: a role for mitogen-activated protein kinases, nuclear factor kappa B and mitochondrial apoptotic pathway. Exp Dermatol. 2016;25(6):440-6. doi: 10.1111/exd.12964.
30. Afnan Q, Adil MD, Nissar-Ul A, Rafiq AR, Amir HF, Kaiser P, et al. Glycyrrhizic acid (GA), a triterpenoid saponin glycoside alleviates ultraviolet-B irradiation-induced photoaging in human dermal fibroblasts. Phytomedicine. 2012;19(7):658-64.doi: 10.1016/j.phymed.2012.03.007.
31. Nizioł-Łukaszewska Z, Bujak T. Saponins as natural raw materials for increasing the safety of bodywash cosmetic use. J Surfact Deterg. 2018;21:767-76. doi:10.1002/jsde.12168.
32. ภาควิชาเภสัชวิทยาและสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชะลอการงอกของเส้นขนจากสารสกัดชะเอมเทศ. [internet]. 2021. Available from: https://www.chula.ac.th/impact/3877/
33. Ivosevic-Zaper J, Hofmann M, Kakadjanova A, Valesky E, Meissner M, Bereiter-Hahn J, et al. Topically applied glycyrrhizic acid causes hair removal in rats. Pharm Biol. 2014;52(10):1362-5. doi: 10.3109/13880209.2014.884608.
34. Marcoux E, Lagha AB, Gauthier P, Grenier D. Antimicrobial activities of natural plant compounds against endodontic pathogens and biocompatibility with human gingival fibroblasts. Arch Oral Biol. 2020;116:104734. doi: 10.1016/j.archoralbio.2020.104734.
35. Vaillancourt K, LeBel G, Pellerin G, Ben Lagha A, Grenier D. Effects of the licorice isoflavans licoricidin and glabridin on the growth, adherence properties, and acid production of Streptococcus mutans, and assessment of their biocompatibility. Antibiotics 2021;10:163. doi:10.3390/antibiotics10020163.
36. Roque L, Duarte N, Bronze MR, Garcia C, Alopaeus J, Molpeceres J, et al. Development of a bioadhesive nanoformulation with Glycyrrhiza glabra L. extract against Candida albicans. Biofouling. 2018;34(8):880-92. doi: 10.1080/08927014.2018.1514391.
37. Seleem D, Benso B, Noguti J, Pardi V, Murata RM. In vitro and in vivo antifungal activity of lichochalcone-A against Candida albicans biofilms. PLoS One. 2016;11(6):e0157188. doi: 10.1371/journal.pone.0157188. PMID: 27284694; PMCID: PMC4902220.
38. Messier C, Grenier D. Effect of licorice compounds licochalcone A, glabridin and glycyrrhizic acid on growth and virulence properties of Candida albicans. Mycoses. 2011;54(6):e801-6. doi: 10.1111/j.1439-0507.2011.02028.x.
39. Pellati D, Fiore C, Armanini D, Rassu M, Bertoloni G. In vitro effects of glycyrrhetinic acid on the growth of clinical isolates of Candida albicans. Phytother Res. 2009;23(4):572-4. doi: 10.1002/ptr.2693.
40. Basar N, Talukdar AD, Nahar L, Stafford A, Kushiev H, Kan A, et al. A simple semi-preparative reversed-phase HPLC/PDA method for separation and quantification of glycyrrhizin in nine samples of Glycyrrhiza glabra root collected from different geographical origins. Phytochem Anal. 2014;25(5):399-404. doi: 10.1002/pca.2507.
41. Siriwattanasatorn M, Itharat A, Thongdeeying P, Ooraikul B. In vitro wound healing activities of three most commonly used Thai medicinal plants and their three markers. Evid Based Complement Alternat Med. 2020;2020:6795383. doi: 10.1155/2020/6795383.
42. Azadbakht M, Monadi T, Esmaeili Z, Chabra A, Tavakoli N. Formulation and evaluation of licorice shampoo in comparison with commercial shampoo. J Pharm Bioallied Sci. 2018;10(4):208-215. doi: 10.4103/JPBS.JPBS_243_17.
43. Castangia I, Caddeo C, Manca ML, Casu L, Latorre AC, Díez-Sales O, et al. Delivery of liquorice extract by liposomes and hyalurosomes to protect the skin against oxidative stress injuries. Carbohydr Polym. 2015;134:657-63. doi: 10.1016/j.carbpol.2015.08.037.
44. Mohammad A, Taha M, Zahra E, Aroona C, Naser T. Formulation and evaluation of licorice shampoo in comparison with commercial shampoo. J Pharm Bio Sci. 2018:10Z4X:208-15.doi: 10.4103/JPBS.JPBS_243_17.
45. Costa A, Moisés TA, Cordero T, Alves CR, Marmirori J. Association of emblica, licorice and belides as an alternative to hydroquinone in the clinical treatment of melasma. An Bras Dermatol. 2010;85(5):613-20. doi: 10.1590/s0365-05962010000500003.
46. Öznurhan F, Buldur B, Cartı O, Tutar U, Celik C, Hepokur C. Antimicrobial efficacy of chlorhexidine and licorice mouthwashes in children. Meandros Med Dent J. 2019:20:13-9. doi: 10.4274/meandros.79663
47. Kamal D, Hassanein H, Akah M, Abdelkawy MA, Hamza H. Caries preventive and antibacterial effects of two natural mouthwashes vs chlorhexidine in high caries-risk patients: a randomized clinical trial. J Contemp Dent Pract. 2020;21(12):1316-24.
48. Kumar A, Kumar T, Jha A, Kishore J, Barua AD, Rangari P. Cariostatic efficacy of aqueous and ethanolic extracts of liquorice in the schoolchildren: In vivo comparative study. J Contemp Dent Pract. 2020;21(5):575-9. doi:10.5005/jp-journals-10024-2792.
49. Saikiran KV, Kamatham R, Sahiti PS, Nuvvula S. Impact of educational (sign language/video modeling) and therapeutic (Glycyrrhiza glabra-liquorice mouth wash) interventions on oral health pertaining to children with hearing impairment: A randomized clinical trial. Spec Care Dentist. 2019;39(5):505-514. doi: 10.1111/scd.12404.
50. Martin MD, Sherman J, van der Ven P, Burgess J. A controlled trial of a dissolving oral patch concerning glycyrrhiza (licorice) herbal extract for the treatment of aphthous ulcers. General Dentistry. 2008;56(2):206-10.
51. Moghadamnia AA, Motallebnejad M, Khanian M. The efficacy of the bioadhesive patches containing licorice extract in the management of recurrent aphthous stomatitis. Phytother Res. 2009;23(2):246-50. doi: 10.1002/ptr.2601.
52. Akbari N, Asadimehr N, Kiani Z. The effects of licorice containing diphenhydramine solution on recurrent aphthous stomatitis:a double-blind, randomized clinical trial. Complement Ther Med. 2020;50:102401. doi: 10.1016/j.ctim.2020.102401.
53. Najafi S, Koujan SE, Manifar S, Kharazifard MJ, Kidi S, Hajheidary S. Preventive effect of Glycyrrhiza glabra extract on oral mucositis in patients under head and neck radiotherapy: a randomized clinical trial. J Dent (Tehran). 2017;14(5):267-74.
54. Faghihi G, Iraji F, Abtahi-Naeini B, Saffar B, Saffaei A, Pourazizi M, et al. Complementary therapies for idiopathic hirsutism: topical licorice as promising option. Evid Based Complement Alternat Med. 2015;2015:659041. doi: 10.1155/2015/659041.
55. Bakr RO, Amer RI, Fayed MAA, Ragab TIM. A Completely polyherbal conditioning and antioxidant shampoo: a phytochemical study and pharmaceutical evaluation. J Pharm Bioallied Sci. 2019;11(2):105-115. doi: 10.4103/jpbs.JPBS_214_18.
56. Upadhyay S, Singh V. Potentiality of petroleum ether (60-80ºC) extract of Glycyrrhiza glabra on androgenic alopecia. Asian J Pharm Clin Res. 2013;6(suppl 3):52-5.
57. UpadhyayS, Ghosh AK, Singh V. Hair growth promotant activity of petroleum ether root extract of Glycyrrhiza glabra L (Fabaceae) in female rats. Trop J Pharm Res. 2012:11(5):753-8. doi: 10.4314/tjpr.v11i5.8.
58. Han SH, Hur MS, Kim MJ, Jung WH, Park M, Kim JH, et al. In vitro anti-malassezia activity of Castanea crenata shell and oil-soluble glycyrrhiza extracts. Ann Dermatol. 2017;29(3):321-326. doi: 10.5021/ad.2017.29.3.321.
59. Adhikari A, Devkota HP, Takano A, Masuda K, Nakane T, Basnet P, et al. Screening of Nepalese crude drugs traditionally used to treat hyperpigmentation: in vitro tyrosinase inhibition. Int J Cosmet Sci. 2008;30(5):353-60. doi: 10.1111/j.1468-2494.2008.00463.x.
60. Xing M, Wang X, Zhao L, Zhou Z, Liu H, Wang B, et al. Novel dissolving microneedles preparation for synergistic melasma therapy: combined effects of tranexamic acid and licorice extract. Int J Pharm. 2021;600:120406. doi: 10.1016/j.ijpharm.2021.120406.
61. Mostafa DM, Ammar NM, Abd El-Alim SH, El-anssary AA. Transdermal microemulsions of Glycyrrhiza glabra L.: characterization, stability and evaluation of antioxidant potential. Drug Deliv. 2014;21(2):130-9. doi: 10.3109/10717544.2013.834419.
62. Morteza-Semnani K, Saeedi M, Shahnavaz B. Comparison of antioxidant activity of extract from roots of licorice (Glycyrrhiza glabra L.) to commercial antioxidants in 2% hydroquinone cream. J Cosmet Sci. 2003;54(6):551-8.
63. Hara T, Matsui H, Shimizu H. Suppression of microbial metabolic pathways inhibits the generation of the human body odor component diacetyl by Staphylococcusspp.. PLoS One. 2014:9(11):e111833. doi:10.1371/journal.pone.0111833.
64. Zaki A, El-Bakry M, Fahmy A. Effect of licorice on wound healing in rabbits. Egyptian J Hospital Med. 2005;20(1): 58-65. doi: 10.21608/ejhm.2005.18094.
65. Kazemi M, Mohammadifar M, Aghadavoud E, Vakili Z, Aarabi MH, Talaei SA. Deep skin wound healing potential of lavender essential oil and licorice extract in a nanoemulsion form: biochemical, histopathological and gene expression evidences. J Tissue Viability. 2020;29(2):116-124. doi: 10.1016/j.jtv.2020.03.004.
66. Rai A, Tripathi AM, Saha S, Dhinsa K, Jain B, Yadav G. Comparison of antimicrobial efficacy of four different plant extracts against cariogenic bacteria: an in vitro study. Int J Clin Pediatr Dent. 2020;13(4):361-367. doi: 10.5005/jp-journals-10005-1796.
67. Sedighinia F, Safipour Afshar A, Soleimanpour S, Zarif R, Asili J, Ghazvini K. Antibacterial activity of Glycyrrhiza glabra against oral pathogens: an in vitro study. Avicenna J Phytomed. 2012;2(3):118-24.
68. Suwannakul S, Yuankyong S, Masi K, Nunbunta P, Burirak P. Antibacterial activities of licorice extract on biofilms and planktonic cells of Streptococcus mutans. Naresuan Univ J Sci Technol. 2014;22(1):80-90.
69. Ajagannanavar SL, Battur H, Shamarao S, Sivakumar V, Patil PU, Shanavas P. Effect of aqueous and alcoholic licorice (Glycyrrhiza glabra) root extract against Streptococcus mutans and Lactobacillus acidophilus in comparison to chlorhexidine: an in vitro study. J Int Oral Health. 2014;6(4):29-34.
70. Malvania EA, Sharma AS, Sheth SA, Rathod S, Chovatia NR, Kachwala MS. In vitro analysis of licorice (Glycyrrhiza glabra) root extract activity on Streptococcus mutans in comparison to chlorhexidine and fluoride mouthwash. J Contemp Dent Pract. 2019;20(12):1389-94.
71. Bhadoria N, Gunwal MK, Suryawanshi H, Sonarkar SS. Antiadherence and antimicrobial property of herbal extracts (Glycyrrhiza glabra and Terminalia chebula) on Streptococcus mutans: an in vitro experimental study. J Oral Maxillofac Pathol. 2019;23(1):73-77. doi: 10.4103/jomfp.JOMFP_103_18.
72. Philip N, Leishman S, Bandara H, Walsh L. Growth inhibitory effects of antimicrobial natural products against cariogenic and health-associated oral bacterial species. Oral Health Prev Dent. 2020;18(1):537-542. doi: 10.3290/j.ohpd.a44307.
73. Najeeb VD, Al-Refai AS. Antibacterial effect and healing potential of topically applied licorice root extract on experimentally induced oral wounds in rabbits. Saudi J Oral Sci 2015;2:10-3. doi: 10.4103/1658-6816.150583.
74. Chowdhury B, Bhattamisra SK, Das MC. Anti-convulsant action and amelioration of oxidative stress by Glycyrrhiza glabra root extract in pentylenetetrazole-induced seizure in albino rats. Indian J Pharm 2013:45:40–3. doi:10.4103/0253-7613.106433
75. Gupta M, Sasmal SK, Karmakar N, Sasmal S, Chowdhury S. Experimental evaluation of antioxidant action of aqueous extract of Glycyrrhiza glabraLinn. roots in potassium dichromate induced oxidative stress by assessment of reactive oxygen species levels. Int J Pharmacogn Phytochem Res 2016:8:1325-33.
76. Nazari S, Rameshrad M, Hosseinzadeh H. Toxicological effects of Glycyrrhiza glabra (Licorice): a review. Phytother Res. 2017;31(11):1635-50. doi: 10.1002/ptr.5893.
77. Hosseinzadeh H, Nassiri Asl M.Pharmacological effects of Glycyrrhiza spp. and its bioactive constituents: update and review. Phytother Res 2015:29:1868-86. doi: 10.1002/ptr.5487
78. Rossi T, Fano RA, Castelli M, Malagoli M, Ruberto AI, et al. Correlation between high intake of glycyrrhizin and myolysis of the papillary muscles: an experimental in vivo study. Pharmacol Toxicol. 1999;85(5):221-9. doi: 10.1111/j.1600-0773.1999.tb02012.x.
79. Shin S, Jang JY, Choi BI, Baek IJ, Yon JM, Hwang BY, et al. Licorice extract does not impair the male reproductive function of rats. Exp Anim. 2008;57(1):11-7. doi: 10.1538/expanim.57.11.
80. Al-Qarawi AA, Abdel-Rahman HA, Ali BH, El Mougy SA. Liquorice (Glycyrrhiza glabra) and the adrenal-kidney-pituitary axis in rats. Food Chem Toxicol. 2002;40(10):1525-7. doi: 10.1016/s0278-6915(02)00080-7.
81. Ruszymah BH, Nabishah BM, Aminuddin S, Khalid BA. Effects of glycyrrhizic acid on right atrial pressure and pulmonary vasculature in rats. Clin Exp Hypertens. 1995;17(3):575-91. doi: 10.3109/10641969509037425.
82. West LG, Nonnamaker BJ, Greger JL. Effect of ammoniated glycyrrhizin on the mineral utilization of rats. J Food Sci 1979:44:1558-9.
83. Nakagawa K, Kitano M, Kishida H, Hidaka T, Nabae K, Kawabe M, et al. 90-Day repeated-dose toxicity study of licorice flavonoid oil (LFO) in rats. Food Chem Toxicol. 2008;46(7):2349-57. doi: 10.1016/j.fct.2008.03.015.
84. Akasaka Y, Hatta A, Sato T, Leushner J. Chronic toxicity study of monoammonium glycyrrhizinate by repeated subcutaneous administration to CD rats for 26 weeks. Jpn Pharmacol Ther. 2008;36:1025-37.
85. Madhogaria S. Ahmed I. Leucoderma after use of a skin-lightening cream containing kojic dipalmitate, liquorice root extract and Mitracarpus scaber extract. Clin Exp Dermatol. 2009;35:e103-5. doi:10.1111/j.1365-2230.2009.03690.x.
86. Numata T, Kobayashi Y, Ito T, Harada K, Tsuboi R, Okubo Y. Two cases of allergic contact dermatitis due to skin-whitening cosmetics. Allergol Int. 2015;64(2):194-5. doi: 10.1016/j.alit.2014.10.007.
87. Nishioka K, Seguchi T. Contact allergy due to oil-soluble licorice extracts in cosmetic products. Contact Dermatitis. 1999;40(1):56. doi: 10.1111/j.1600-0536.1999.tb05986.x.
88. Sasseville D, Desjardins M, Almutawa F. Allergic contact dermatitis caused by glycyrrhetinic acid and castor oil. Contact Dermatitis. 2011;64(3):168-9. doi: 10.1111/j.1600-0536.2010.01829.x.
P014_(18).xlsx