คำฝอย
- ชื่อ
- ส่วนของพืชที่ใช้
- การกระจายตัวทางภูมิศาสตร์/แหล่งที่มา
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- การเพาะปลูก
- สรรพคุณและการใช้สมุนไพรพื้นฐานตามภูมิปัญญาไทยด้านเครื่องสำอาง
- สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบ
- สารออกฤทธิ์ หรือ สารสำคัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Carthamus tinctorius L.
ชื่อวงค์
ASTERACEAE
ชื่อสมุนไพร
คำฝอย
ชื่ออังกฤษ
False saffron
ชื่อพ้อง
Calcitrapa tinctoria (L.) Röhl.
Carduus tinctorius Ehrh.
Carduus tinctorius (L.) Falk
Carthamus glaber Burm.f.
Centaurea carthamus E.H.L.Krause
ชื่อท้องถิ่น
คำยอง ดอกคำ คำหยอง คำหยุม
ชื่อ INCI
CARTHAMUS TINCTORIUS BUD EXTRACT
CARTHAMUS TINCTORIUS CALLUS EXTRACT
CARTHAMUS TINCTORIUS EXTRACT
CARTHAMUS TINCTORIUS FLOWER
CARTHAMUS TINCTORIUS FLOWER EXTRACT
CARTHAMUS TINCTORIUS FLOWER JUICE
CARTHAMUS TINCTORIUS FLOWER POWDER
CARTHAMUS TINCTORIUS FLOWER WATER
CARTHAMUS TINCTORIUS LEAF EXTRACT
CARTHAMUS TINCTORIUS OLEOSOMES
CARTHAMUS TINCTORIUS SEED EXTRACT
CARTHAMUS TINCTORIUS SEED OIL
CARTHAMUS TINCTORIUS SEEDCAKE EXTRACT
CARTHAMUS TINCTORIUS SPROUT EXTRACT
HYDROGENATED SAFFLOWER SEED OIL
HYDROLYZED SAFFLOWER FLOWER EXTRACT
MENTHYL SAFFLOWERSEEDATE
OCTYLDODECYL SAFFLOWERATE
POTASSIUM SAFFLOWERATE
SAFFLOWER SEED OIL DECYL ESTERS
SAFFLOWER SEED OIL GLYCERETH-8 ESTERS
SAFFLOWER SEED OIL PEG-8 ESTERS
SAFFLOWER SEED OIL PIPERONYL ESTERS
SAFFLOWER SEED OIL POLYGLYCERYL-4 ESTERS
SAFFLOWER SEED OIL POLYGLYCERYL-6 ESTERS
SODIUM SAFFLOWERATE
ส่วนของพืชที่ใช้
การกระจายตัวทางภูมิศาสตร์/แหล่งที่มา
คำฝอยเป็นพืชที่ได้จากการเพาะปลูกเท่านั้น สันนิษฐานว่าอาจมีถิ่นกำเนิดในตะวันออกกลาง และมีการกระจายการปลูกออกไปสู่ทวีปยุโรป อเมริกา เอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย (4)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุกอายุ 1 ปี สูง 30–100 ซม. ลำต้นตั้งตรงผิวเกลี้ยง เป็นสันเหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ถึง
รูปใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบหยักฟันเลื่อย มีหนามแหลม ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น เรียงเป็นช่อเชิงหลั่น วงใบประดับเรียง 5 ชั้น วงนอกมีลักษณะคล้ายใบ รูปไข่ถึงรูปใบหอก มีหนาม ดอกย่อย สีเหลืองถึงสีแดง เกสรตัวผู้มี 5 อัน เป็นเส้นฝอย ๆ เกสรตัวเมียมี 1 อัน ผลแห้งเมล็ดล่อน รูปไข่ถึงรูปรี ไม่มีแพปพัส (3)
การเพาะปลูก
ฤดูกาลเพาะปลูก
ฤดูแล้งที่มีความชื้นในดินพอควร ประมาณเดือนตุลาคม - มกราคม
การเตรียมดิน
กำจัดวัชพืชและเศษวัสดุ ไถพรวน ตากดินประมาณ 7-15 วัน จากนั้น ใส่ปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้ว คลุกเคล้าให้เข้ากัน อัตรา 2 ตัน/ไร่ และใส่ปูนขาวเพื่อปรับความเป็นกรด-ด่างของดินให้มีค่า pH อยู่ระหว่าง 5.5-6.5
วิธีการปลูก มี 2 วิธี ได้แก่
ปลูกแบบหยอดหลุม โดยใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1.5-2 กก. ต่อไร่ ขุดหลุมลึก 3-5 ซม. ปลูกหลุมละ 1-2 ต้น เว้นระยะห่างระหว่างต้น 30-40 ซม. ระยะห่างระหว่างแถว 60-70 ซม. ถ้าต้องการให้ต้นคำฝอยแตกเป็นกิ่งพุ่ม ควรถอนให้เหลือหลุมละ 1 ต้น และถ้าต้องการให้ต้นสูงเพื่อสะดวกในการจับตัดโคนต้น ควรปลูกหลุมละ 2 ต้น
ปลูกแบบหว่านเมล็ดเป็นแถว ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 24-32 กก. ต่อไร่ โดยเตรียมดินเป็นร่องเล็กๆ ลึกประมาณ 5 ซม. เป็นแถวๆ เพื่อโรยเมล็ด ระยะห่างระหว่างแถว 45-60 ซม.
การให้น้ำ
ให้น้ำเพียง 2 ครั้ง โดยช่วงแรก ให้น้ำในช่วงก่อนทำการปลูก และครั้งที่ 2 ให้น้ำในช่วงต้นคำฝอยกำลังออกดอกและติดเมล็ด
การให้ปุ๋ย
เมื่อต้นอ่อนแตก 3 ใบแล้ว ให้ทำการดูแลและปลูกทดแทน ในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ดูแลต้นอ่อนอีกครั้ง ให้ในแต่ละหลุมเหลือต้นอ่อนไว้ 2-3 ต้น โดยปกติในการดูแลต้นอ่อนพรวนดินและถอนวัชพืชจะทำประมาณ 3 ครั้ง การให้ปุ๋ย จะให้ 3-4 ครั้ง โดย 2 ครั้งแรกจะให้หลังจากการดูแลและจัดการต้นอ่อนแล้ว ครั้งที่ 3 ให้ก่อนจะทำการปิดร่อง ปุ๋ยที่ให้คือ น้ำปุ๋ยอุจจาระ แต่ในพื้นที่ที่มีปัญหา จะให้ปุ๋ยครั้งที่ 4 ช่วงก่อนแตกดอกตูม โดยให้ ammonium sulfate และ superphosphate เพื่อให้ดอกใหญ่และออกดอกมาก
การกำจัดวัชพืช
ไถพรวนและตากดินช่วงก่อนปลูกเพื่อทำลายเมล็ดวัชพืช คราดส่วนขยายพันธุ์ของวัชพืชออกในระหว่างขั้นตอนการเตรียมแปลงปลูก คลุมดินแปลงปลูกด้วยวัสดุทึบแสงเพื่อรักษาความชื้นของดินและบังแสงสว่างไม่ให้วัชพืชเจริญหรือเติบโตได้ช้า และขุดทำลายหรือถอนหัวใต้ดินของวัชพืชทุกครั้งที่พบ
การป้องกันและกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช
โรคที่สำคัญคือ โรคราสนิม ให้ป้องกันด้วย 0.3% ของกำมะถันในปูนขาวหรือ sodium enemy rust และแมลงศัตรูพืชที่สำคัญคือ หนอนแมลงวัน หนอนใยผัก หนอนเจาะสมอฝ้าย และเพลี้ยอ่อน การป้องกันกำจัด ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และเก็บส่วนที่ถูกแมลงเข้าทำลายไปเผาทิ้งนอกแปลง
ฤดูกาลเก็บเกี่ยว
เก็บเมื่อต้นดอกคำฝอยมีอายุประมาณ 120-150 วัน
วิธีการเก็บเกี่ยว
การเก็บเกี่ยวกลีบดอก หลังจากดอกบานซึ่งผสมพันธุ์แล้ว และกลีบดอกมีสีแดงเข้มหรือส้ม โดยเก็บในเวลาเช้าหรือตอนบ่าย ที่มีแสงแดดไม่ร้อนจัด เก็บทุกวันหรือทุก 2-3 วันก็ได้ ส่วนการเก็บเกี่ยวเมล็ด เก็บเมื่อส่วนของลำต้น ใบ และช่อดอกแห้งเป็นสีน้ำตาล โดยเก็บเกี่ยวทั้งต้นหรือตัดเฉพาะดอกก็ได้ ใช้มีดหรือกรรไกรตัดโคนต้น หรือบริเวณใต้ฐานรองดอกลงมาเล็กน้อย
การแปรรูปหลังการเก็บเกี่ยว
กลีบดอกคำฝอยที่เก็บได้มาผึ่งแดดให้แห้ง โดยตากบนภาชนะที่สะอาด และใช้ผ้าขาวบางคลุมด้านบน วางให้สูงจากพื้นดินประมาณ 60 ซม. เพื่อป้องกันฝุ่นละออง ใช้เวลา 2-3 วันเพื่อให้แห้งสนิท ความชื้นไม่เกินร้อยละ 11 ส่วนการเก็บเมล็ด นำต้นหรือกระเปาะดอกคำฝอยที่ตัดไว้มากองรวมกัน ตากแดด 2-3 วัน ใช้ไม้ตีหรือนำรถไถล้อเลื่อนขึ้นมาย่ำบนกองดอกคำฝอย แยกเศษผงและสิ่งสกปรกออก เก็บเมล็ดไว้ในถุงผ้าหรือภาชนะที่แห้งสนิท
การบรรจุและการเก็บรักษา
เก็บในภาชนะแหงสนิทและสะอาด ไม่อับชื้น และควรระบุฉลากและวันที่เก็บให้ชัดเจน (25)
สรรพคุณและการใช้สมุนไพรพื้นฐานตามภูมิปัญญาไทยด้านเครื่องสำอาง
ไม่มีข้อมูล
สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบ
สารสำคัญที่พบในดอกคำฝอยแบ่งออกเป็นกลุ่มดังนี้ (5, 13, 18-19)
สารกลุ่มควิโนชาลโคน (quinochalcones) ได้แก่ hydroxysafflor yellow A, safflor yellow A, safflor yellow B, anhydrosafflor yellow B, precarthamin, carthamin, safflormin A, tinctorimine, cartorimine, saffloquinoside A, saffloquinoside B, saffloquinoside C, saffloquinoside D, saffloquinoside E (isosaffloquinoside C), safflomin C, methylsafflomin C, methylisosafflomin C,carthorquinoside A, carthorquinoside B
สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ได้แก่ kaempferol, kaempferol-3-O-β-D-glucoside, kaempferol-3-O-β-D-rutinoside, kaempferol-3-O-β-D-glucoside-7-O-β-D-glucuronide, kaempferol-3-O-β-sophorose, kaempferol-3-sophoroside, kaempferol-3-rutinoside,kaempferol-3-O-rutinoside, kaempferol-3-O-glucoside,6-hydroxykaempferol, 6-hydroxykaempferol-3-O-β-D-glucoside, 6-hydroxykaempferol-7-O-β-D-glucoside, 6-hydroxykaempferol-3,6-di-O-β-D-glucoside, 6-hydroxykaempferol-6,7-di-O-β-D-glucoside, 6-hydroxykaempferol-3,6,7-tri-O-β-D-glucoside, 6-hydroxykaempferol-3,6-di-O-β-D-glucoside-7-O-β-D-glucuronide, 6-hydroxykaempferol-3-O-β-rutinoside-6-O-β-D-glucoside, quercetin, quercetin-3-O-β-D-glucoside, quercetin-7-O-β-D-glucoside, quercetin-3,7-di-O-β-D-glucoside, quercetin-3-O-α-L-rhamnoside-7-O-β-D-glucuronide, quercetin-3-O-β-D-rutinoside (rutin),quercetin-3-rutinoside, luteolin, luteolin-7-O-β-D-glucopyranoside, luteolin-7-O-(6″-O-acetyl)-β-D-glucopyranoside, quercetin-7-O-(6″-O-acetyl)-β-D-glucopyranoside, apigenin, scutellarein, 5,7-dihydroxy-4′-methoxyflavone 7-O-β-D-apinofuranosyl-(1-6)-O-β-D-glucoside, acacetin-7-O-β-D-glucuronide,apigenine-6,8-di-C-β-D-glucopyranoside,5,6,7,4′-rahydroxyflavanone-5-O-β-D-glucoside (neocarthamin),(2R)-4′,5-dihydroxyl-6,7-di-O-β-D-glucopyranosyl flavanone, (2S)-4′,5-dihydroxyl-6,7-di-O-β-D-glucopyranosyl flavanone, cartormin
สารกลุ่มอัลคาลอยด์ (alkaloids) ได้แก่ N1,N5,N10-(Z)-trip-coumaroylspermidine,N1,N5,N10-(E)-trip-coumaroylspermidine, safflospermidine A, safflospermidine B,N1,N5-(Z)-N10-(E)-tri-p-coumaroylspermidine,7,8-dimethyl pyrazino[2,3-g]quinazolin-2,4-(1H,3H)dione
สารกลุ่มโพลีอะเซทิลีน (polyacetylenes) ได้แก่(8Z)-decaene-4,6-diyne-1-O-β-D-glucopyranoside,4′,6′-acetonide-8Z-decaene-4,6-dinyne-1-O-β-D-glucopyranoside,4,6-decadiyne-1-O-β-D-glucopyranoside,(8E)-decaene-4,6-diyne-1-O-β-D-glucopyranoside,(8Z)-decaene-4,6-diyne-1-ol-1-O-β-D-flucuronyl-(1″-2′)-β-D-glucopyranoside,(2E,8Z)-decadiene-4,6-diyne-1-ol-1-O-β-D-glucopyranoside,(2E,8E,10E)-tridecatriene-4,6-diyne-1,12,13-triol-1-O-β-D-glucopyranoside,(2E)-tetradecaene-4,6-diyne-1,10,14-triol-1-O-β-D-glucopyranoside,(2E,8E)-tetradecaene-4,6-diyne-1,12,14-triol-1-O-β-D-glucopyranoside,(2Z,8Z)-tetradecaene-4,6-diyne-1,12,14-triol-1-O-β-D-glucopyranoside,(2Z,8E)-tetradecaene-4,6-diyne-1,12,14-triol-1-O-β-D-glucopyranoside,(2E,8Z)-tetradecaene-4,6-diyne-1,12,14-triol-1-O-β-D-glucopyranoside,(2E,8E)-tetradecaene-4,6-diyne-1,11,14-triol
สารกลุ่มลิกแนน (lignans) ได้แก่ traceloside
สารกลุ่มสเตอรอล (sterols) ได้แก่ sitosterol
สารกลุ่มซาโปนิน (saponins) ได้แก่ 3β-O-[β-D-xylopyranosyl(1-3)-O-β-D-galactopyranosyl]-lup-12-ene-28 oic acid-28-O-α-L-rhamnopyranosyl ester
สารกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่ 4-O-β-D-glucosyl-trans-p-coumaric acid,4-O-β-D-glucosyl-cis-p-coumaric acid, methyl-3-(4-O-β-D-gucopyranosylphenyl)propionate, methyl-3-(4-O-β-D-gucopyranosyl-3-methoxyphenyl) propionate, ethyl-3-(4-O-β-D-gucopyranosyl-3-methoxyphenyl) propionate, methylsyringin, ethylsyringin, 2,3-dimethoxy-5-methylphenyl-1-O-β-D-glucopyranoside, 2,6-dimethoxy-4-methylphenyl-1-O-β-D-glucopyranoside, p-coumaric acid,p-hydroxybenzoic acid, succinic acid, 4-O-β-D-glucopyranosyloxy-benzoic acid, fatty acid,dihydrophaseic acid 3-O-β-D-glucopyranoside,roseoside,(-)-4-hydroxybenzoic-4-O-[6′-O-(2″-methylbutyryl)-β-D-glucopyranoside]
สารสำคัญที่พบในเมล็ดคำฝอยแบ่งออกเป็นกลุ่มดังนี้ (5, 11)
สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ได้แก่acacetin,acacetin 7-O-β-glucuronide,matairesinol 4′-O-β-D-glucoside,8′-hydroxyarctigenin, 8′-hydroxyarctigenin 4′-O-β-D-glucoside, tilianine (acacetin 7-O-β-D-glucoside), luteolin, luteolin 7-O-β-D-glucoside
สารกลุ่มลิกแนน (lignans) ได้แก่matairesinol
สารกลุ่มอัลคาลอยด์ (alkaloids) ได้แก่ N-feruloylserotonin, N-feruloylserotonin 5-O-β-D-glucoside, N-(p-coumaroyl)serotonin, N-(p-coumaroyl)-serotonin-5-O-β-D-glucoside, N-(p-coumaroyl)serotonin-O-β-D-glucopyranoside, N-feruloylserotonin-O-β-D-glucopyranoside, N-feruloyltryptamine, N-(p-coumaroyl)tryptamine, serotobenine, 4,4″-bis(N-p-coumaroyl)serotonin, 4-[N-(p-coumaroyl)serotonin-4″-yl]-N-feruloylserotonin, 4,4″-bis(N-p-feruloy)serotonin
สารกลุ่มควิโนชาลโคน (quinochalcones)
สารกลุ่มควิโนชาลโคน (quinochalcones) (ต่อ)
สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids)
สารกลุ่มฟลาโวนอยด์(flavonoids) (ต่อ)
สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) (ต่อ)
สารกลุ่มลิกแนน (lignanas)
สารกลุ่มสเตอรอล (sterols)
สารกลุ่มซาโปนิน (saponins)
สารกลุ่มอัลคาลอยด์ (alkaloids)
สารกลุ่มอัลคาลอยด์ (alkaloids) (ต่อ)
สารกลุ่มโพลีอะเซทิลีน (polyacetylenes)
สารกลุ่มโพลีอะเซทิลีน (polyacetylenes) (ต่อ)
สารกลุ่มอื่น ๆ
สารกลุ่มอื่น ๆ (ต่อ)
สารออกฤทธิ์ หรือ สารสำคัญ
สารออกฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นผม ได้แก่ hydroxysafflor yellow A (6)
สารออกฤทธิ์ป้องกันรังสียูวี ได้แก่ acacetin และ hydroxysafflor yellow A (7-8)
สารออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) ได้แก่ N-feruloylserotonin, N-(p-coumaroyl)serotonin และ acacetin (9)
สารออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ N-feruloylserotonin, N-(p-coumaroyl)serotonin, matairesinol, 8′-hydroxyarctigenin, tilianine (acacetin 7-O-β-D-glucoside), acacetin, safflomin C, isosafflomin C, methylsafflomin C, methylisofflomin C, kaempferol 3-sophoroside, quercetin 3-rutinoside, kaempferol 3-rutinoside, cartormin, matairesinol 4′-O-β-D-glucoside, 8′-hydroxyarctigenin 4′-O-β-D-glucoside, N-feruloylserotonin 5-O-β-D-glucoside, N-(p-coumaroyl)-serotonin-5-O-β-D-glucoside, luteolin 7-O-β-D-glucoside, luteolin และacacetin 7-O-β-glucuronide (10-13)
สารออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ ได้แก่ hydroxysafflor yellow A, saffloquinoside A, carthorquinoside A, carthorquinoside B, kaempferol-3-O-rutinoside และ kaempferol-3-O-glucoside (14-19)
แนวทางการควบคุมคุณภาพ (วิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ)
1 สาร hydroxysafflor yellow A (HSYA) : วิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ High-performance liquid chromatography (HPLC) ตัวอย่างการศึกษามีดังนี้
การศึกษาที่1 สภาวะการทดลองที่ใช้ในการวิเคราะห์ (6) คือ
column : C18 (5µm, 4.6x250 มม.)
mobile phase : 10% aqueous acetonitrile
flow rate : 0.8มล./นาที
injection volume : ไม่ระบุ
detector : UV ที่ความยาวคลื่น 403 นาโนเมตร
การศึกษาที่2 สภาวะการทดลองที่ใช้ในการวิเคราะห์ (14) คือ
column : Apollo C18 (5µm, 4.6x250 มม.), อุณหภูมิคอลัมน์ 30 oC
mobile phase : acetonitrile (A) และtrifluoroacetic acid (B) อัตราส่วนปรับเปลี่ยนเป็นไปตามเวลาที่กำหนดโดยความเข้มข้นของ A คือ1% และความเข้มข้นของ B คือ 99% ที่เวลา 0 นาที, ความเข้มข้นของ A เพิ่มขึ้นเป็นเส้นตรงจาก 1% ถึง 35% และความเข้มข้นของ B ลดลงเป็นเส้นตรงจาก 99% ถึง 65% ที่เวลา 0 ถึง 50 นาที, ความเข้มข้นของ A เพิ่มขึ้นเป็นเส้นตรงจาก 35% ถึง 45% และความเข้มข้นของ B ลดลงเป็นเส้นตรงจาก 65% ถึง 55% ที่เวลา 50 ถึง 60 นาที
flow rate : 1.0มล./นาที
injection volume : ไม่ระบุ
detector : SPD-6AV UV ที่ความยาวคลื่น 405 นาโนเมตร
การศึกษาที่3 สภาวะการทดลองที่ใช้ในการวิเคราะห์ (15) คือ
column : Inertsil ODS-3 column (5µm, 4.6x250มม.), อุณหภูมิคอลัมน์ 30 oC
mobile phase : methanol:acetonitrile: 0.02% phosphoric acid solution (pH2.6)
flow rate : 1.0มล./นาที
injection volume : ไม่ระบุ
detector : UV ที่ความยาวคลื่น 405 นาโนเมตร
การศึกษาที่4 สภาวะการทดลองที่ใช้ในการวิเคราะห์ (20) คือ
column : ACQUITY BEH C18 (1.7µm, 2.1x100 มม.), อุณหภูมิคอลัมน์ 35 oC
mobile phase : water with 0.1% formic acid (A) และ acetonitrile with 0.1 formic acid (B) อัตราส่วนปรับเปลี่ยนเป็นไปตามเวลาที่กำหนดโดยความเข้มข้นของB คือ 5% ที่เวลา 0-1 นาที, ความเข้มข้นของ B คือ 5-28% ที่เวลา 1-10.5 นาที, ความเข้มข้นของ B คือ 100% ที่เวลา 13.5 นาทีและ 1.5 นาทีสำหรับ recycle time
flow rate : 0.4มล./นาที
injection volume : 3 มคล.
detector : photodiode array detector
2 สารกลุ่มฟีนอลิก ได้แก่ N-feruloylserotonin, N-(p-coumaroyl) serotonin, matairesinol, 8′-hydroxyarctigenin, tilianine (acacetin 7-O-β-D-glucoside) และ acacetin : วิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์ HPLC ตัวอย่างการศึกษามีดังนี้
การศึกษาที่1 สภาวะการทดลองที่ใช้ในการวิเคราะห์ (9) คือ
column : JAIGEL W-252 (20x500มม.)
mobile phase : 100% methanol
flow rate : 3.8มล./นาที
injection volume : ไม่ระบุ
detector : UV ที่ความยาวคลื่น 280 นาโนเมตร
การศึกษาที่2 สภาวะการทดลองที่ใช้ในการวิเคราะห์ (10) คือ
column : RCM Prep Nova-Pak C18 (2.5x10ซม.)
mobile phase : ระบบ gradient ระหว่างตัวทำละลาย A คือ 0.1% trifluoroacetic acid in 20% methanol ตัวทำละลาย B คือ 80% methanol
flowrate : 3.8มล./นาที
injectionvolume : ไม่ระบุ
detector : UV ที่ความยาวคลื่น 280 นาโนเมตร
3 สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ไกลโคไซด์ ได้แก่ kaempferol-3-O-rutinoside, kaempferol-3-O-glucoside, kaempferol 3-sophoroside, quercetin 3-rutinoside, kaempferol 3-rutinoside และcartormin : วิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ HPLC ตัวอย่างการศึกษามีดังนี้
การศึกษาที่ 1 สภาวะการทดลองที่ใช้ในการวิเคราะห์ (19) คือ
column :ไม่ระบุขนาดคอลัมน์ (อุณหภูมิคอลัมน์ 25 oC)
mobile phase : acetonitrile-water (23:77 v/v)
flowrate : 1มล./นาที
injection volume : 20 มคล.
detector : UV ที่ความยาวคลื่น 265 นาโนเมตร
การศึกษาที่ 2 สภาวะการทดลองที่ใช้ในการวิเคราะห์ (13) คือ
column : ODS column (250x10มม.)
mobile phase : 20~40% acetonitrile-water
flow rate : 1มล./นาที
injection volume : ไม่ระบุ
detector : UV ที่ความยาวคลื่น 347-406 นาโนเมตร
4 สารกลุ่มquinnochalcones ได้แก่ safflomin C, isosafflomin C, methylsafflomin C และmethylisofflomin C : วิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ HPLC สภาวะการทดลองที่ใช้ในการวิเคราะห์ (12) คือ
column : ODS column (250x10มม.)
mobile phase : 20~40% acetronitrile/0.1% trifluoroacetic acid-water
flowrate : 2มล./นาที
injectionvolume : ไม่ระบุ
detector : MD2010 UV PDA ที่ความยาวคลื่น 227-231 นาโนเมตร
5 สารกลุ่มquinochalcone C-glycosideได้แก่ carthorquinoside A และ carthorquinoside B : วิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ HPLC สภาวะการทดลองที่ใช้ในการวิเคราะห์ (18) คือ
column : XBridge C18 OBD column (5µm, 150x30มม.)
mobile phase : 0.1 aqueous formic acid (A) และmethanol (B) อัตราส่วนปรับเปลี่ยนเป็นไปตามเวลาที่กำหนดโดยความเข้มข้นของ B คือ 16-19% ที่เวลา 0-5 นาที, 19% ที่เวลา 5-15 นาที, 19-44% ที่เวลา 15-20 นาที, 44% ที่เวลา 20-30 นาที, 44-100% ที่เวลา 30-32 นาที
flow rate : 15มล./นาที
injection volume : ไม่ระบุ
detector : UV-vis ที่ความยาวคลื่น 407 นาโนเมตร
การศึกษาทางคลินิก
ยังไม่มีรายงานการศึกษาทางคลินิกสำหรับการใช้ประโยชน์ทางด้านเครื่องสำอางของคำฝอย
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
1 การศึกษาเกี่ยวกับเส้นผมและหนังศีรษะ
1.1 ฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นผม (H005)
ศึกษาฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นผมของสารสกัดเอทานอลของดอกคำฝอยโดยซื้อตัวอย่างดอกคำฝอยจากตลาดท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย นำดอกคำฝอยมาแช่สกัดในเอทานอลเข้มข้น 50% นาน 3 วัน จากนั้นกรองด้วยผ้าขาวบางเอาแต่ส่วนน้ำ และนำไปเข้าเครื่องปั่นเหวี่ยง (centrifuge) ที่ความเร็ว 3,000รอบ/นาที นาน 10 นาที ภายใต้อุณหภูมิ 25 ํC แยกส่วนใสเหนือตะกอน (clear supernatant) ไปทำให้เข้มข้นด้วยการระเหยแอลกอฮอล์ออกโดยใช้เครื่อง rotary evaporator ที่อุณหภูมิ 40-50 ํC และนำสารสกัดที่ได้ไปทำให้แห้งแบบแช่เยือกแข็ง (freeze-dried) ร้อยละของปริมาณสารสกัด (% yield) ที่คำนวณได้จากตัวอย่างแห้งมีค่าเท่ากับ 28.30% จากนั้นนำสารสกัดที่ได้ไปวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญ hydroxysafflor yellow A (HSYA) ด้วยวิธี HPLC ซึ่งสามารถคำนวณหาปริมาณสาร HSYA ได้เท่ากับ 212.00±17.56 มก./ก. นำผงตัวอย่างสารสกัดละลายใน DMEM เพื่อทดสอบฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นผมบนเซลล์ผิวหนังเพาะเลี้ยง dermal papilla (DPCs) และ keratinocyte (HaCaT) ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดเอทานอลของดอกคำฝอยเข้มข้น 0.005-1.250 มก./มล. มีผลกระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์ทั้งสองชนิดและเหนี่ยวนำการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของเส้นผมได้แก่ vascular endothelial growth factor (VEGF) และ keratinocyte growth factor (KGF) อีกทั้งยังมีผลยับยั้งการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับอาการผมร่วงได้แก่ transforming growth factor-β1 (TGF-β1) และเมื่อทดลองเลี้ยงเซลล์ต่อมรากขน (hair follicle) ที่แยกได้จากหนูเม้าส์ และเติมสารสกัดเอทานอลของช่อดอกคำฝอยเข้มข้น 50-200 มคก./มล. ลงในอาหารเลี้ยงเซลล์พบว่า มีผลกระตุ้นความยาวของเซลล์ต่อมรากขนขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับการเลี้ยงด้วยอาหารเลี้ยงเซลล์ปกติ (กลุ่มควบคุม) นอกจากนี้ เมื่อนำผงสารสกัดละลายในตัวทำละลายโพรพิลีนไกลคอล/เอทานอล/น้ำ (อัตราส่วน 5:2:3) แล้วนำมาทดสอบฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นขนในหนูเม้าส์ โดยโกนขนบริเวณกลางลำตัวหนูเม้าส์ทั้งด้านซ้ายและขวา (ขนาดข้างละ 1 x 3 ตร.ซม.) และให้เหลือขนคั่นเป็นแนวยาวกลางลำตัว กลุ่มที่ 1 และ 2 (A1 และ A2) ทำการทดสอบในหนูตัวเดียวกันโดย A1 ไม่ทาสารทดสอบใดๆ (กลุ่มควบคุม) ส่วน A2 ให้ทาสารสกัดเอทานอลของช่อดอกคำฝอยเข้มข้น 0.5 มก./มล. กลุ่มที่ 3 และ 4 (B1 และ B2) ทำการทดสอบในหนูตัวเดียวกันโดย B1 ให้ทายา minoxidil เข้มข้น 0.1 มก./มล. และ B2 ให้ทาสารสกัดเอทานอลดอกคำฝอยความเข้มข้น 0.1 มก./มล. กลุ่มที่ 5 และ 6 (C1 และ C2) ทำการทดสอบในหนูตัวเดียวกันโดย C1 ให้ทาน้ำเปล่า และ C2 ให้ทาสารสกัดเอทานอลดอกคำฝอยความเข้มข้น 0.05 มก./มล.ปริมาณสารทดสอบที่ใช้ทาผิวหนังหนูในแต่ละกลุ่มใช้ปริมาตร 80 มคก. เท่ากัน ทาวันละครั้ง นานติดต่อกัน 15 วัน เมื่อสิ้นสุดการทดลองทำการเก็บตัวอย่างผิวหนังที่ทำการทดสอบมาตรวจวิเคราะห์ลักษณะทางจุลกายวิภาคศาสตร์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ผลจากการศึกษาพบว่า สารสกัดเอทานอลดอกคำฝอยมีฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นขนของหนูเม้าส์ ลักษณะขนที่งอกขึ้นใหม่ไม่มีความแตกต่างจากกลุ่มควบคุม และไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณผิวหนังที่ทาสารสกัด ผลการวิเคราะห์ลักษณะทางจุลกายวิภาคศาสตร์พบว่า สารสกัดเอทานอลดอกคำฝอยมีผลกระตุ้นการเจริญของเส้นขน เพิ่มจำนวนต่อมรากขน เพิ่มความหนาของผิวหนัง และเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มควบคุม (A1) กับหนูเม้าส์ที่ทาสารสกัดเอทานอลดอกคำฝอยความเข้มข้น 0.5 มก./มล. (A2) พบว่าอัตราส่วนร้อยละของเส้นขนในระยะเติบโต (anagen phase) ต่อระยะที่เส้นขนหลุดร่วงออกมาจากต่อมขนหรือโคนขน (telogen phase) มีค่าเพิ่มขึ้นจาก 30:70% เป็น 78:22% ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สารสกัดเอทานอลดอกคำฝอยมีฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นผมทั้งในการศึกษาระดับหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง (6)
2 การศึกษาเกี่ยวกับผิวกาย
2.1 ฤทธิ์ป้องกันรังสียูวี (ultraviolet) (S008)
ศึกษาฤทธิ์ป้องกันรังสี ultraviolet (UV) Bของน้ำมันจากเมล็ดคำฝอย (ตัวอย่างจากบริษัท Kerfoot Group ประเทศสหรัฐอเมริกา) และสาร acacetin (ตัวอย่างจากบริษัท Sigma-Aldrich ประเทศสหรัฐอเมริกา) ซึ่งเป็นสารสำคัญในกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่พบในน้ำมันจากเมล็ดคำฝอย โดยทำการทดสอบบนเซลล์ผิวหนังเพาะเลี้ยง HaCat cell และเซลล์ผิวหนัง primary dermal fibroblast (HDF) ที่แยกได้จากผิวหนังส่วนที่เจริญมาจากหนังหุ้มปลายองคชาติ (foreskin) ของอาสาสมัครสุขภาพดี (อายุระหว่าง 7-30 ปี) พบว่า น้ำมันจากเมล็ดคำฝอย (ความเข้มข้น 25, 100 และ 400 มคก./มล.) และสาร acacetin (ความเข้มข้น 2.5, 5 และ 10 มคก./มล.) มีฤทธิ์ยับยั้งการกระตุ้น matrix metalloproteinase-1 (MMP-1) จากการเหนี่ยวนำด้วยรังสี UVB ทั้งในระดับโปรตีนและ mRNA ทั้งในเซลล์ HaCat และ HDF ซึ่ง MMP-1 ทำให้เกิดการย่อยสลายคอลลาเจนและทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นของผิวหนัง โดยประสิทธิภาพขึ้นกับขนาดความเข้มข้น (dose-dependent) โดยปกติการแสดงออกของ MMP-1 จะถูกควบคุมด้วยวิถีการส่งสัญญาณ MAPK และ AKT ซึ่งจากการศึกษาพบว่า สารacacetinมีผลยับยั้งการเกิดปฏิกิริยา phosphorylation ของ JNK1/2 และ c-Jun ในเซลล์ HaCaT ที่เกิดจากการกระตุ้นของรังสี UVB (JNK1/2 ส่งสัญญาณให้เกิดการแสดงออกของ MMP-1) แต่ไม่มีผลต่อการเกิดปฏิกิริยา phosphorylation ของ ERK1/2, p38 และ AKT ผลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า น้ำมันจากเมล็ดคำฝอยและสาร acacetin มีฤทธิ์ป้องกันรังสี UVB และยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ MMP-1 ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของริ้วรอยความเหี่ยวย่นที่เกิดจากแสงแดด (photoaging) ได้ (7)
ศึกษาฤทธิ์ป้องกันรังสี UV ของสาร hydroxysafflor yellow A (HSYA) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบได้ในดอกคำฝอย โดยรับตัวอย่างสารดังกล่าวในรูปแบบผงมาจากบริษัท Shanxi Huahu Cade Pharmaceutical Co. Ltd. ประเทศจีน นำผง HSYA ละลายในเอทานอล-โพรพิลีนไกลคอล (อัตราส่วน 7:3 v/v) ให้ได้ความเข้มข้น 0.5, 1 และ 2 มก./มล. สำหรับใช้ในการทดสอบ วิธีการศึกษาทำการทดลองในหนูเม้าส์เพศเมียจำนวน 63 ตัว โดยแบ่งหนูออกเป็น 7 กลุ่ม (กลุ่มละ 9 ตัว) โกนขนบริเวณด้านหลังให้ลึกจนมองเห็นผิวหนัง (2.5 x 3 ซม.) ยกเว้นกลุ่มที่ 1 (กลุ่มควบคุม) จากนั้นทำการฉายรังสียูวีลงบนผิวหนังของหนูในแต่ละกลุ่ม (ยกเว้นกลุ่มที่ 1 และ 2) จำนวน 4 ครั้ง/สัปดาห์ (เว้นวันจันทร์ พุธ และศุกร์) โดยรังสี UVA มีความยาวคลื่นระหว่าง 320-400 นาโนเมตร สูงสุด 365 นาโนเมตรส่วนรังสี UVB มีความยาวคลื่นระหว่าง 285-350 นาโนเมตร สูงสุด 310-315 นาโนเมตรใช้ความเข้มแสง 70 มิลลิจูล/ตร.ซม. (mJ/cm2) ในสัปดาห์แรกของการศึกษา และเพิ่มเป็น 140, 210 และ 280 มิลลิจูล/ตร.ซม.ในสัปดาห์ที่ 2, 3 และ 4 ตามลำดับ และฉายรังสีที่ความเข้มแสง 280 มิลลิจูล/ตร.ซม.ต่อไปจนครบ 10 สัปดาห์ (ปริมาณความเข้มแสงรวมที่ได้รับใน 10 สัปดาห์เท่ากับ 9.52 จูล/ตร.ซม.) หลังจากการฉายรังสีในแต่ละครั้งทาผิวหนังหนูด้วยสารละลายควบคุม (ไม่ระบุ) ให้แก่หนูกลุ่มที่ 4 และสารสะลาย HSYA เข้มข้น 0.5, 1 และ 2 มก./มล. ในปริมาณ 100 มคล. (50, 100 และ 200 มคก./ตัว) ให้แก่หนูกลุ่มที่ 5, 6 และ 7 ตามลำดับ ผลจากการประเมินสภาพผิวหนังภายใต้กล้องจุลทรรศน์พบว่า สาร HSYA ที่ความเข้มข้น 100 และ 200 มคก./ตัวสามารถป้องกันความเสียหายของผิวที่เกิดจากรังสี UV และช่วยฟื้นฟูการคืนสภาพผิวจากการทดสอบการดึงยืดผิวหนัง (pinch test) และมีผลเพิ่มการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการต้านอนุมูลอิสระได้แก่ glutathione peroxidase (GSH-Px), catalase (CAT) และ superoxide dismutase (SOD) และลดระดับ malondialdehyde (MDA) ซึ่งบ่งชี้ถึงการเกิดอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ ในการวิเคราะห์เซลล์ผิวหนังหนูด้วยเทคนิคทางจุลกายวิภาคศาสตร์ยังพบว่า สาร HSYA ที่ความเข้มข้น 200 มคก./ตัว มีผลช่วยเพิ่มปริมาณคอลลาเจน (collagen content) และป้องกันโครงสร้างของเซลล์ผิวหนังบริเวณที่ถูกทำลายด้วยรังสี UV ได้ (8)
2.2 ทำให้ผิวขาว (ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส) (S001)
การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานิน (melanin) ในผิวหนังของสารออกฤทธิ์ N-feruloylserotonin, N-(p-coumaroyl)serotonin และ acacetin ที่สกัดได้จากเมล็ดคำฝอย (ตัวอย่างจากประเทศเกาหลีใต้) โดยนำตัวอย่างเมล็ดคำฝอยล้างด้วยน้ำสะอาด อบให้แห้งที่อุณหภูมิ 40 ํC และบดให้ละเอียด จากนั้นเติมเมทานอลเข้มข้น 80% เป็นปริมาณ 5 เท่าของตัวอย่าง คนให้เข้ากันแล้วแช่ทิ้งไว้ 24 ชม. เมื่อครบเวลา กรองเอาสารละลายแล้วทำให้เข้มข้นด้วยการระเหยแอลกอฮอล์ภายใต้สุญญากาศที่อุณหภูมิ 40 ํC นำสารสกัดเมทานอลเมล็ดคำฝอยที่ได้ไปแยกสกัดต่อด้วยสารละลายชนิดต่างๆได้แก่ คลอโรฟอร์ม (CHCl3), เอทิลอะซิเตท (EtOAc), บิวทานอล (BuOH) และน้ำ (H2O) นำเฉพาะสารสกัดเอทิลอะซิเตทไปแยกส่วนสกัดโดยใช้ silica gel column chromatography (สภาวะที่ใช้คือ CHCl3-MeOH, 9:1→4:1 →CHCl3-MeOH-H2O, 5:4:1) ซึ่งสามารถแยกส่วนสกัดออกมาได้ 7 ส่วนนำส่วนสกัดที่ 2 ไปแยกและทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธี HPLC(column :JAIGEL W-252 20x 500 มม., mobile phase : 100% MeOH, flow rate : 3.8 มล./นาที, detector : UV detector ที่ความยาวคลื่น280 นาโนเมตร) สารออกฤทธิ์ที่สกัดได้ทั้ง 3 ชนิดนำไปทดสอบฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสและการยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินในเซลล์ B16F1 melanoma ด้วยการวัดปริมาณ เมลานินที่ความยาวคลื่น 475 นาโนเมตร ภายหลังจากการบ่เซลล์และสารกังกล่าวเป็นเวลา 5 วัน และฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินในเชื้อรา Streptomyces bikiniensisด้วยวิธี paper-disc agar diffusion method พบว่า สารออกฤทธิ์ N-feruloylserotonin, N-(p-coumaroyl)serotonin และ acacetin มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนสโดยมีค่าความเข้มข้นในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ลงครึ่งหนึ่ง (IC50) เท่ากับ 0.023, 0.074 และ 0.779 นาโนโมลาร์ ตามลำดับ ในขณะที่สารเปรียบเทียบ (arbutin) มีค่าเท่ากับ 0.223นาโนโมลาร์และผลการทดสอบในเซลล์ B16F1 melanoma พบว่า ค่า IC50 ของสาร N-feruloylserotonin, N-(p-coumaroyl)serotonin และ acacetin ในการยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินมีค่าเท่ากับ 0.191, 0.245 และ >20 นาโนโมลาร์ ตามลำดับ (สาร arbutin มีค่าเท่ากับ 0.122 นาโนโมลาร์) ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สาร N-feruloylserotonin, N-(p-coumaroyl)serotonin และ acacetin ที่สกัดได้จากเมล็ดคำฝอย มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการพัฒนาไปใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางได้ (9)
2.3 ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (S006)
ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันจากเมล็ดคำฝอย โดยเก็บเมล็ดตัวอย่างจากแถบตะวันตกเฉียงเหนือในประเทศตูนิเซีย มาทำความสะอาดและสกัดด้วยวิธีการบีบเย็น (cold pressing) นำน้ำมันที่ได้ไปทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี 1,1-diphenyl-2-picrylhydrazyl radical (DPPH), 2,2′-azino-bis 3-ethylbenzthiazoline-6-sulphonic acid (ABTS) และ ferric reducing antioxidant power (FRAP) พบว่า น้ำมันเมล็ดคำฝอยที่สกัดได้มีลักษณะเป็นของเหลวสีเหลืองอำพัน มีกลิ่นคล้ายพืชผัก มีปริมาณผลรวมสารฟีนอลิก 98.52±0.80 เทียบเท่ากับ gallic acid/ก. น้ำมัน, ปริมาณผลรวมสารฟลาโวนอยด์ 35.79±0.34 มก. เทียบเท่ากับ quercetin/ก. น้ำมัน, ปริมาณผลรวมสารคาโรทีนอยด์เท่ากับ 18.43±0.020 มก./กก. น้ำมัน และปริมาณผลรวมสารคลอโรฟิลด์เท่ากับ 3.9±0.010 มก./กก. น้ำมันผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่า น้ำมันเมล็ดคำฝอยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง โดย น้ำมันเมล็ดคำฝอย 1 ก. สามารถยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระได้เทียบเท่ากับวิตามินซีคิดเป็น 89.41±0.38% และ 88.52±0.45% (Vit.C eq/g oil) จากการทดสอบด้วยวิธี DPPH และ ABTS ตามลำดับและมีค่า FRAP value เท่ากับ 247.5±0.034 ไมโครโมล Fe2+/กก. น้ำมัน (21)
ตัวอย่างเมล็ดคำฝอยซึ่งหาซื้อได้จากตลาดท้องถิ่นในเมือง Hyderabad และ Secunderabad ประเทศอินเดีย นำมาทำความสะอาดและบดด้วยโกร่ง จากนั้นนำผงตัวอย่าง 5 ก. แช่สกัดในตัวทำละลายซึ่งประกอบด้วยเมทานอลเข้มข้น 70% และกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 0.1% ปริมาตร 20 มล. เปิดเครื่องเขย่าเบาๆ ตลอดการสกัด 4 ชม. ภายใต้อุณหภูมิห้องปกติ จากนั้นนำสารละลายที่สกัดได้เข้าเครื่องปั่นเหวี่ยงที่ความเร็ว 10,000รอบ/นาที นาน 15 นาที ภายใต้อุณหภูมิ 10 ํC แยกส่วนใสเหนือตะกอนนำไปกรองผ่านกระดาษกรอง (Whatman #1) นำสารละลายที่กรองได้ไปวิเคราะห์หาปริมาณสารฟีนอลิกด้วยวิธี folin-ciocalteu assayพบว่า สารสกัดเมล็ดคำฝอยมีปริมาณสารฟีนอลิก 599±51.5 มก. เทียบเท่ากับ gallic acid/100 ก. ของสารสกัดและมีค่าความเข้มข้นในการยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระเมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay และ FRAP assay เท่ากับ 228±33.1 มก. เทียบเท่ากับtrolox /100 ก. ของสารสกัดและ 12975±781.6 มก. เทียบเท่ากับ FeSO4 /100 ก. ของสารสกัดตามลำดับ (22)
ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากเมล็ดคำฝอย โดยเก็บตัวอย่างจากฟาร์มในมณฑล Uisong จังหวัด Kyungbuk ประเทศเกาหลีใต้ นำตัวอย่างเมล็ดคำฝอย 500 ก. คั่วที่อุณหภูมิ 200 ํC นาน 5 นาที จากนั้นทำการบดและสกัดสารด้วยวิธีการสกัดแบบไหลย้อนกลับ (reflux) โดยใช้เฮกเซนเป็นตัวทำละลายเพื่อกำจัดไขมันออก นำกากเมล็ดที่ไร้ไขมันมาสกัดต่อด้วยวิธีเดียวกันโดยใช้ตัวทำละลายเมทานอล นาน 3 ชม. และทำให้สารสกัดเข้มข้นด้วยการระเหยแอลกอฮอล์ภายใต้สุญญากาศ นำสารสกัดเมทานอลเมล็ดคำฝอยที่สกัดได้ไปแยกลำดับส่วนระหว่างเฮกเซนและเมทานอล 80% แล้วนำสารสกัดเมทานอล 80% ที่ได้ไปแยกลำดับส่วนระหว่างเอทิลอะซิเตทและน้ำ จากนั้นนำสารสกัดเอทิลอะซิเตทไปสกัดแยกใน เรซินคอลัมน์ Diaion HP 20 (4 x 50 ซม.) ทำการชะ (elute) แบ่งแยกสารทีละชั้นด้วยตัวทำละลายน้ำ, เมทานอล 20%, เมทานอล 40%, เมทานอล 60%, เมทานอล 80%, และเมทานอล 100% นำส่วนสกัดที่ได้จากการชะด้วยเมทานอล 60% มาสกัดแยกซ้ำอีกครั้งในคอลัมน์ Sephadex LH-20 ชะด้วยตัวทำละลายเมทานอล 90% ซึ่งจะสามารถแยกส่วนสกัดได้ 7 ส่วน นำส่วนสกัดที่ 4 และ 5 ไปทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธี preparative HPLC [C18 column (4x25 ซม.), mobile phase: MeOH-H2O-TFA (20:80:0.1), flowrate: 5 มล./นาที,UV: 300 นาโนเมตร] ได้สารสำคัญคือ N-feruloylserotonin และ N-(p-coumaroyl)serotonin ในขณะที่ส่วนสกัดที่ได้จากการชะด้วยเมทานอล 80% นำมาสกัดแยกซ้ำอีกครั้งในคอลัมน์ Sephadex LH-20 ชะด้วยตัวทำละลายเมทานอล 90% จะสามารถแยกส่วนสกัดได้ 6 ส่วน นำส่วนสกัดที่ 3 และ 4 ไปทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธี preparative HPLC[C18 column (4x25 ซม.), mobile phase: MeOH-H2O-TFA (40:60:0.1), flowrate: 5 มล./นาที, UV: 280 นาโนเมตร] จะได้สารสำคัญคือ matairesinol และ 8′-hydroxyarctigenin และส่วนสกัดที่ได้จากการชะด้วยเมทานอล 100% นำมาสกัดแยกซ้ำอีกครั้งในคอลัมน์ Sephadex LH-20 ชะด้วยตัวทำละลายเมทานอล จะสามารถแยกส่วนสกัดได้ 7 ส่วน นำส่วนสกัดที่ 6 และ 7 ไปทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธี preparative HPLC[C18 column (4x25 ซม.), mobile phase: MeOH-H2O-TFA (70:30:0.1), flowrate: 5 มล./นาที, UV: 330 นาโนเมตร] จะได้สารสำคัญในกลุ่มฟลาโวนอยด์คือ 7-O-β-D-glucoside (tilianine) และ acacetin นำสารสำคัญที่แยกได้ทั้ง 6 ชนิด [N-feruloylserotonin, N-(p-coumaroyl)serotonin, matairesinol, 8′-hydroxyarctigenin, tilianine (acacetin 7-O-β-D-glucoside)และ acacetin] ไปทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay พบว่า สารทั้ง 6 ชนิดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีค่าความเข้มข้นของสารที่สามารถยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระลงครึ่งหนึ่ง (IC50) เท่ากับ 6.4±0.8, 9.2±1.5, 52.6±4.3, 71.4±6.7,102.1±9.8 และ 95.8±7.6 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ ในขณะที่สารเปรียบเทียบ L-ascorbic acid, α-tocopherol และ BHA มีค่า IC50เท่ากับ 34.3±4.3, 27.5±2.7 และ 38.4±4.7 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ นอกจากนี้ เมื่อนำสารสำคัญทั้ง 6 ชนิด มาทดสอบฤทธิ์ต้านการเกิดปฏิกิริยา lipid peroxidation บนเซลล์ตับของหนูแรท (rat liver microsome) ที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) และเฟอร์รัสซัลเฟต (FeSO4) พบว่า ค่าความเข้มข้นของสารทั้ง 6 ชนิดที่สามารถยับยั้งการเกิดปฏิกิริยา lipid peroxidation ลงครึ่งหนึ่งมีค่าเท่ากับ 1.3±0.3, 1.5±0.4, 2.3±0.7, 7.6±1.9, 10.8±2.5 และ 1.2±0.2 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ ในขณะที่สารเปรียบเทียบ α-tocopherol มีค่าเท่ากับ 4.4±1.3 ไมโครโมลาร์ ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สารสำคัญในกลุ่มสารประกอบฟีนอลิกจากเมล็ดคำฝอยที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุดคือสารกลุ่ม serotonin ซึ่งได้แก่ N-feruloylserotonin และ N-(p-coumaroyl)serotonin (10)
ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารประกอบฟีนอลิกที่สกัดได้จากเมล็ดคำฝอย (ตัวอย่างจากประเทศเกาหลีใต้) โดยนำตัวอย่างเมล็ดคำฝอยมาอบที่อุณหภูมิ 250 ํC นาน 5 นาที และบดให้มีความละเอียด 20 mesh ด้วยเครื่องบดกาแฟ จากนั้นนำไปสกัดด้วยวิธีการสกัดแบบไหลย้อนกลับ โดยใช้เอ็น-เฮกเซนเป็นตัวทำละลายนำกากเมล็ดที่ไร้ไขมันมาสกัดต่อด้วยวิธีเดียวกันโดยใช้ตัวทำละลายเมทานอล นาน 2 ชม.กรองและทำให้สารสกัดเข้มข้นด้วยการระเหยแอลกอฮอล์และลดความดัน นำสารสกัดที่ได้ละลายในเมทานอล 80% อีกครั้งและทำความสะอาดด้วยเอ็น-เฮกเซน เพื่อกำจัดไขมันและเม็ดสีในขั้นตอนระเหยแอลกอฮลล์จะปรากฎชั้นสารละลายด้านล่างจำนวนเล็กน้อยหลังจากทำการลดความดัน นำมาละลายในเมทานอล 40% นำส่วนที่ละลายในเมทานอลมาแยกสกัดในเรซินคอลัมน์ Diaion HP-20 ชะด้วยเมทานอลเข้มข้น 40, 60, 80 และ 100% ส่วนสกัดที่ได้จากการชะด้วยเมทานอลที่ความเข้มข้นต่าง ๆ นำไปทำให้เข้มข้นด้วยการระเหยแอลลกอฮอล์ส่วนสกัดที่แยกได้จากเมทานอล 60% นำมาสกัดแยกซ้ำในคอลัมน์ ODS-A และชะด้วยเมทานอล 60% จะได้ส่วนสกัด 5 ส่วน นำส่วนสกัดที่ 1 มาทำให้บริสุทธิ์ด้วยการสกัดแยกในคอลัมน์ Sephadex LH-20 จะได้สารประกอบชนิดที่ 1 และ 2ส่วนสกัดที่ 2 และ 3 นำมาทำให้บริสุทธิ์ใน precoated C18 TLC plate ชะด้วย 1%CH3COOH ในเมทานอล 60% จะได้สารประกอบชนิดที่ 3 และ 4ส่วนสกัดที่ 5 นำมาสกัดแยกในคอลัมน์ Sephadex LH-20 และชะด้วยเมทานอล 90% จะสามารถแยกส่วนสกัดย่อยได้อีก 3 ส่วน นำส่วนสกัดย่อยที่ 2 มาทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธี HPLC จะได้ สารประกอบชนิดที่ 5 และ 6ส่วนสกัดที่แยกได้จากเมทานอล 80% นำมาสกัดแยกในคอลัมน์ Sephadex LH-20 ชะด้วยเมทานอล 90% จะได้ส่วนสกัด 5 ส่วน นำส่วนสกัดที่ 1 มาแยกสกัดและทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธี HPLC จะได้ สารประกอบชนิดที่ 7 และ 8ส่วนสกัดที่ 2 นำมาสกัดแยกซ้ำอีกครั้งในคอลัมน์ Sephadex LH-20 และชะด้วยเมทานอล 90% จะได้ สารประกอบชนิดที่ 9ส่วนสกัดที่ 3 และ 4 สกัดแยกในคอลัมน์ ODS-A และชะด้วยเมทานอล 60% จะได้ สารประกอบชนิดที่ 10 และ 11 และส่วนสกัดที่แยกได้จากเมทานอล 100% นำมาสกัดแยกในคอลัมน์ Sephadex LH-20 ชะด้วยเมทานอล 100% จะได้สารประกอบชนิดที่ 12 ทำการวิเคราะห์สารประกอบที่สกัดได้ทั้ง 12 ชนิดด้วยเครื่อง UV-vis spectrophotometer และFT-IR spectrometer พบว่า สารประกอบ 12 ชนิดคือ matairesinol 4′-O-β-D-glucoside, 8′-hydroxyarctigenin 4′-O-β-D-glucoside, matairesinol, 8′-hydroxyarctigenin,N-feruloylserotonin5-O-β-D-glucoside, N-(p-coumaroyl)-serotonin-5-O-β-D-glucoside,N-feruloylserotonin, N-(p-coumaroyl)serotonin, luteolin 7-O-β-D-glucoside, luteolin, acacetin 7-O-β-glucuronide และ acacetin เมื่อนำสารทั้ง 12 ชนิดมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่า ค่าความเข้มข้นในการลดการเกิดอนุมูลอิสระลงครึ่งหนึ่ง (IC50) อยู่ในช่วงระหว่าง 10.83±0.12-102.62±5.34 ไมโครโมลาร์, 170.65±2.36-1256.93±73.44 ไมโครโมลาร์ และ 75.93±1.02-1274.27±43.65 จากการทดสอบด้วยวิธี DPPH assay, superoxide radical assay และ hydroxyl radical assay ตามลำดับ ในขณะที่สารเปรียบเทียบα-tocopherol มีค่าเท่ากับ 28.45±1.20, >5000 และ 154.34±14.24 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ (11)
ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารกลุ่ม quinochalconesซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบในดอกคำฝอย โดยนำตัวอย่างกลีบดอกคำฝอยแห้ง (ไม่ระบุที่มาของตัวอย่าง) แช่สกัดในเมทานอล 80% ภายใต้อุณหภูมิห้อง กรองเอาสารละลาย และทำให้เข้มข้นด้วยการระเหยแอลกอฮอล์ภายใต้สุญญากาศ จากนั้นนำสารสกัดหยาบที่ได้ไปละลายในน้ำ แล้วแยกลำดับส่วนด้วยเอทานอลและบิวทานอล นำส่วนสกัดบิวทานอลที่ได้ไปสกัดแยกในคอลัมน์ Sephadex LH-20 (5.5x15 ซม.) ชะด้วยตัวทำละลาย CH3CN/H2O เข้มข้น 20-70% ซึ่งจะสามารถแยกส่วนสกัดได้ 5 ชนิด นำส่วนสกัดที่ 1-4 ไปทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธี preparative HPLC[ODS column (250x10 มม.), mobile phase: 20~40% CH3CN/0.1% TFA-H2O, flowrate: 2 มล./นาที, MD2010 UV PDA detector] จะได้สารสำคัญคือ safflomin C, isosafflomin C, methylsafflomin C และ methylisofflomin C เมื่อนำสารสำคัญทั้ง 4 ชนิดมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTS radical scavenging assay พบว่า ค่าความเข้มข้นของสารที่มีความสามารถในการลดการเกิดอนุมูลอิสระได้ 50% (EC50) มีค่าเท่ากับ 2.24±0.06, 2.74±0.01, 6.50±0.02 และ 6.15±0.05 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ ในขณะที่สารเปรียบเทียบ trolox มีค่าเท่ากับ 14.4±0.22 ไมโครโมลาร์ แสดงให้เห็นว่าสารกลุ่ม quinochalcones ที่พบในดอกคำฝอยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (12)
ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารกลุ่ม flavonoid glycoside ที่สกัดได้จากกลีบดอกคำฝอยแห้ง (ไม่ระบุที่มาของตัวอย่าง) แช่สกัดในเมทานอล 80% ภายใต้อุณหภูมิห้อง กรองเอาสารละลาย และทำให้เข้มข้นด้วยการระเหยแอลกอฮอล์ภายใต้สุญญากาศ จากนั้นนำสารสกัดหยาบที่ได้ไปละลายในน้ำ แล้วแยกลำดับส่วนด้วยเอทิลอะซิเตทและบิวทานอล นำส่วนสกัดบิวทานอลที่ได้ไปสกัดแยกในคอลัมน์ Sephadex LH-20 ชะด้วยตัวทำละลาย CH3CN/H2O เข้มข้น 20-80% ซึ่งจะสามารถแยกส่วนสกัดได้4ชนิดนำส่วนสกัดทั้ง 4ไปทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธี HPLC[ODS column (250x10 มม.), mobile phase: 20~40% CH3CN/H2O, flowrate: 1 มล./นาที] จะได้สารสำคัญกลุ่ม flavonoid glycoside 4 ชนิด คือ kaempferol 3-sophoroside, quercetin 3-rutinoside, kaempferol 3-rutinoside และ cartormin เมื่อนำสารสำคัญทั้ง 4 ชนิดมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTS radical scavenging assay พบว่า ค่าEC50มีค่าเท่ากับ 4.07±0.09, 5.26±0.10, 6.08±0.03 และ 4.63±0.10 ไมโครโมลาร์ตามลำดับ ในขณะที่สารเปรียบเทียบ trolox มีค่าเท่ากับ 14.4±0.22 ไมโครโมลาร์ แสดงให้เห็นว่าสารกลุ่ม flavonoid glycoside ที่สกัดได้จากส่วนกลีบดอกคำฝอยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (13)
2.4 ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (S014)
ศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดเมทานอลดอกคำฝอย (ตัวอย่างจากประเทศเกาหลี) โดยนำดอกคำฝอยมาล้างทำความสะอาด และอบให้แห้งที่อุณหภูมิ 40 oC บดให้ละเอียด เติมเมทานอล 70% ลงไป 5 เท่า คนให้เข้ากันและแช่สกัดนาน 24 ชม. จากนั้นกรองเอาสารละลายและทำให้เข้มข้นด้วยการระเหยแอลกอฮอล์ที่อุณหภูมิ 40 oC ภายใต้สุญญากาศ นำสารสกัดเมทานอลดอกคำฝอยที่ได้นำมาทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบบนเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 พบว่า สารสกัดเมทานอลดอกคำฝอยเข้มข้น 1, 10, 50 และ 100 มคก./มล. มีผลเพิ่มการแสดงออกของเอนไซม์ heme oxygenase-1 (HO-1) ซึ่งทำหน้าที่ลดการอักเสบ โดยผลที่ได้ขึ้นกับความเข้มข้น (concentration-dependent manner) และเมื่อทดสอบบนเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ที่ถูกกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบด้วย lipopolysaccharide (LPS) พบว่า สารสกัดเมทานอลดอกคำฝอยมีผลยับยั้งการแสดงออกของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการอักเสบได้แก่ nitric oxide synthase (iNOS), cyclooxygenase-2 (COX-2) และลดการผลิต nitric oxide (NO) และ prostaglandin E-2 (PGE-2) ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะการอักเสบ และการลดลงของเอนไซม์ iNOS และ COX-2 ที่เกิดจากผลของสารสกัดเมทานอลดอกคำฝอย ถูกยับยั้งด้วยอาร์เอ็นเอเป้าหมาย siHO-1 RNA transfection ซึ่งเป็นการยืนยันว่า สารสกัดเมทานอลดอกคำฝอยมีบทบาทในการยับยั้งกระบวนการอักเสบโดยผ่านการกระตุ้นเอนไซม์ HO-1 นอกจากนี้ สารสกัดเมทานอลดอกคำฝอยยังมีผลในการกระตุ้นโปรตีน nuclear factor erythroid 2-related factor (NrF2) ให้เคลื่อนย้ายจากไซโตซอลไปสู่นิวเคลียส ซึ่งโปรตีนดังกล่าวมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการการแสดงออกและการทำงานของเอนไซม์ HO-1 ยับยั้งการทำงานของโปรตีน nuclear factor kappa B (NF-κB) และเอนไซม์NF-κB luciferase ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการอักเสบและยับยั้ง tumor necrosis factor α(TNF-α) ในการกระตุ้นการแสดงออกของ vascular adhesion molecule-1 (VCAM-1) ในเซลล์บุผนังหลอดเลือด (endothelial cell) ซึ่งบ่งชี้ถึงการเริ่มต้นของการเกิดภาวะอักเสบเรื้อรัง ผลจากการศึกษาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า สารสกัดเมทานอลจากดอกคำฝอยมีฤทธิ์ต้านกระบวนการอักเสบ โดยมีกลไกในการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ HO-1 (23)
การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดน้ำจากดอกคำฝอย [ตัวอย่างสารสกัดมาตรฐาน (catalog number: CW04-081) จากสถาบัน Korea Research Institute of Bioscience and Biotechnology ในประเทศเกาหลีใต้] บนเซลล์ bone marrow derived macrophage (BMDM) พบว่า สารสกัดน้ำดอกคำฝอยมีผลกระตุ้นการแสดงออกของโปรตีน NrF2 โดยขึ้นกับการแสดงออกของยีนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมได้แก่ glutamate-cysteine ligase catalytic subunit (GCLC), NAD(P)H:quinine oxidoreductase (NQO-1) และ HO-1 และเมื่อทดลองให้สารสกัดน้ำดอกคำฝอย (1.5, 7.5 และ 15 มก./กก.) โดยการพ่นผ่านท่อเข้าหลอดลม (intratracheal spray)แก่หนูเม้าที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะปอดอักเสบเฉียบพลันด้วยการให้ LPS เข้าทางจมูก (intranasal) พบว่า สารสกัดน้ำดอกคำฝอยทุกขนาด มีผลช่วยยับยั้งอาการอักเสบของเนื้อเยื่อปอด ลดปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil ที่พบในของเหลวที่เก็บได้จากหลอดถุงลม (bronchoalveolar lavage) และลดการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบในเนื้อเยื่อปอดซึ่งได้แก่ interleukin 1β (IL-1β) และ TNF-α นอกจากนี้ เมื่อทำการทดลองเช่นเดียวกันในหนูเม้าส์ที่ถูกตัดแต่งพันธุกรรมให้ไม่มีการแสดงออกของยีน NrF2 กลับพบว่า สารสกัดน้ำดอกคำฝอยไม่สามารถยับยั้งการอักเสบของปอดหนูได้ ผลที่ได้จากการศึกษาสรุปได้ว่า สารสกัดน้ำจากดอกคำฝอยมีฤทธิ์ต้านอาการปอดอักเสบ โดยผ่านกลไกการกระตุ้นโปรตีน NrF2 (20)
ศึกษาฤทธิ์ต้านกระบวนการอักเสบของสาร HSYA ที่สกัดแยกได้จากสารสกัดน้ำดอกคำฝอยแห้ง (ตัวอย่างจากเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน) ด้วยวิธี macroporous resin-gel chromatography โดยทำการทดสอบบนเซลล์ alveolar epithelial A549 ที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการอักเสบด้วย LPS พบว่า สาร HSYA เข้มข้น 1, 4 และ 16 ไมโครโมลาร์/ลิตร มีผลยับยั้งการแสดงออกของโปรตีนที่ตอบสนองต่อการอักเสบได้แก่ toll-like receptor-4 (TLR-4), myeloid differentiation primary response 88 (Myd88), intercellular adhesion molecule 1 (ICAM-1), TNF-α, IL-1βและIL-6 และยับยั้งการเกาะกลุ่มของเซลล์เม็ดเลือดขาว leukocyte ต่อเซลล์ A549 นอกจากนี้ สาร HSYA ยังมีผลยับยั้งการเคลื่อนย้ายโปรตีน nuclear factor kappa B p65 (NF-κB p65)ไปสู่นิวเคลียสและยับยั้งวิถีการส่งสัญญาณ p38 mitogen-activated protein kinases (p38 MAPK)ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการอักเสบ(14)เมื่อทดลองฉีดสาร HSYA ขนาดวันละ 26.7, 40 และ 60 มก./กก. เข้าช่องท้องหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีอาการปอดอักเสบด้วยยา bleomycin พบว่า สาร HSYA ขนาด 40 และ 60 มก./กก. มีผลช่วยยับยั้งอาการน้ำหนักตัวลดบรรเทาลักษณะทางพยาธิสภาพที่บ่งชี้ถึงภาวะปอดอักเสบและลดการทำงานของเอนไซม์ myeloperoxidase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่พบในเซลล์เม็ดเลือดขาวที่พบแกรนูลภายในเซลล์(granulocyte) ชนิด neutrophil ซึ่งจะพบเมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้น และเมื่อนำตัวอย่างเนื้อเยื่อปอดหนูเม้าส์มาวิเคราะห์การแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการอักเสบด้วยวิธี reverse transcription polymerase chain reaction (RT-PCR) พบว่า สาร HSYA มีผลยับยั้งการแสดงออกของโปรตีน TNF-α, IL-1βและ transforming growth factor-β1 (TGF-β1) ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสาร HSYA จากดอกคำฝอยมีฤทธิ์ต้านกระบวนการอักเสบในระบบทางเดินหายใจได้ (15)
ศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสาร HSYA จากดอกคำฝอย (ตัวอย่างสาร HSYA จากสถาบัน National Institute for the Control of Pharmaceutical and Biological Products ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน) บนเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด (arterial endothelial cells; AECs)ที่ถูกกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบด้วย TNF-α พบว่า สาร HSYA เข้มข้น 1.2, 12 และ 120 ไมโครโมลาร์ มีผลยับยั้งการแสดงออกของ intracellular adhesion molecule 1 (ICAM-1) ซึ่งบ่งชี้ถึงการอักเสบ โดยผลที่ได้ขึ้นกับขนาดความเข้มข้น และที่ความเข้มข้น 120 ไมโครโมลาร์ มีผลยับยั้งการเกาะกลุ่มของเซลล์แมคโครฟาจ RAW264.7 ต่อเซลล์ AECs นอกจากนี้ สาร HSYA มีผลปิดกั้นโปรตีน TNF-αreceptor type 1 (TNFR1) ทำให้ไม่เกิดปฏิกิริยา IκB phosphorylation และ IκB degradation รวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดการเคลื่อนย้ายโปรตีน NF-κB p65ไปสู่นิวเคลียส ซึ่งวิถีดังกล่าวเป็นกระบวนการกระตุ้นการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการอักเสบที่เกิดจากการถูกเหนี่ยวนำด้วย TNF-α สาร HSYA มีผลลดระดับโปรตีน TNFR1 ที่บริเวณผิวหน้าเซลล์ และเพิ่มระดับ soluble TNFR1 (sTNFR1) ในอาหารที่ใช้เลี้ยงเซลล์ (culture media) การเติมเอนไซม์ TNF-αprocessing inhibitor-0 (TAPI-0) เพื่อยับยั้งการทำงานของ TNF-αconverting enzyme (TACE) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในกระบวนการกำจัดโปรตีน TNFR1 ลงในอาหารที่ใช้เลี้ยงเซลล์ มีผลยับยั้งกระบวนการปิดกั้นของ HSYA ต่อ TNFR1 ในการกระตุ้น IκBdegradation เป็นการยืนยันว่า สาร HSYA มีผลทำให้โปรตีน TNFR1 ถูกกำจัดออกไป และสาร HSYA มีผลเหนี่ยวนำให้เกิดปฏิกิริยา phosphorylation ของเอนไซม์ TNF-αconverting enzyme (TACE) ที่ตำแหน่ง threonine 735 ซึ่งการเกิดปฏิกิริยาดังกล่าวเป็นการทำให้เอนไซม์ TACE อยู่ในสภาพพร้อมทำหน้าที่ในการกำจัดโปรตีนบริเวณผิวหน้าเซลล์รวมถึง TNFR1 จากผลการศึกษาที่ได้ทั้งหมดสรุปได้ว่า สาร HSYA มีฤทธิ์ต้านกระบวนการอักเสบที่เกิดจากการเหนี่ยวนำด้วย TNF-α โดยมีกลไกในการยับยั้งโปรตีน TNFR1 ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดวิถี NF-κB รวมถึงการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ TACE ซึ่งมีบทบาทในการกำจัด TNFR1 ด้วย (16)
ศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารกลุ่ม quinochalcones ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบในดอกคำฝอย โดยนำตัวอย่างช่อดอกคำฝอย (ไม่ระบุที่มาของตัวอย่าง) สกัดด้วยวิธีการสกัดแบบไหลย้อนกลับโดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย จากนั้นนำสารสกัดน้ำที่ได้ไปทำให้เข้มข้นด้วยการลดความดันลง และนำสารสกัดส่วนที่เหลือไปละลายน้ำอีกครั้งสกัดแยกในเรซินคอลัมน์ (macroporous adsorbent resin HP-20 column) ชะด้วยน้ำ, เอทานอล 10%,เอทานอล 30%,และเอทานอล 50% ตามลำดับ ส่วนสกัดที่ได้จากการชะด้วยเอทานอล 30% นำมาสกัดแยกซ้ำอีกครั้งในคอลัมน์Sephadex LH-20 ชะด้วยตัวทำละลาย น้ำ-เมทานอล (อัตราส่วนจาก 100:0 ถึง 0:100)จะสามารถแยกส่วนสกัดได้ 30 ส่วน นำส่วนสกัดที่ 15 และ 18 ทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธี reverse-phase preparative HPLC [mobile phase: CH3OH-H2O (55:45), flow rate : 3 มล./นาที] จะได้สารสำคัญคือ saffloquinoside A และ saffloquinoside B เมื่อนำสารสำคัญทั้ง 2 ชนิดมาทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบบนเซลล์เม็ดเลือดขาวของหนูแรท (rat polymorphonuclear neutrophil; PMN)ที่ถูกกระตุ้นด้วยสารชักนำการอักเสบ platelet activating factor (PAF) พบว่า saffloquinoside A มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งของเอนไซม์ β-glucuronidase ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะการอักเสบ โดยมีอัตราการยับยั้ง (inhibition rate) เท่ากับ 54.3% ที่ความเข้มข้น 10-5โมล/ลิตรในขณะที่ saffloquinoside B ยับยั้งได้เพียง 8.3% ที่ความเข้มข้น 10-5โมล/ลิตร (ใช้ ginkgolide B เป็นสารเปรียบเทียบ มีค่า IC50 เท่ากับ 5.45x10-6โมล/ลิตร)แสดงให้เห็นว่า saffloquinoside A มีฤทธิ์ต้านการอักเสบระดับปานกลาง (17)
สารกลุ่ม quinochalcone C-glycoside ที่สกัดได้จากดอกคำฝอยแห้ง (ตัวอย่างจากประเทศจีน) ด้วยวิธีการปล่อยให้ตัวทำละลาย (เอทานอลเข้มข้น 95% และ 70%) ไหลผ่านสมุนไพรอย่างช้าๆ (percolation) จนกระทั่งสีของดอกคำฝอยจางลง นำสารสกัดที่ได้ไปทำให้เข้มข้นด้วยการระเหยแอลกอฮอล์ และทำให้แห้งที่อุณหภูมิ 45 oC จนได้สารสกัดหยาบที่มีลักษณะเป็นของแข็งสีน้ำตาลนำสารสกัดหยาบดังกล่าวละลายน้ำ และสกัดซ้ำอีกครั้งโดยใช้ตัวทำละลายปิโตรเลียมอีเทอร์และเอทานอล นำสารสกัดส่วนที่เป็นของเหลวมาทำให้เข้มข้นและแยกสกัดผ่านเรซินคอลัมน์ (D101column) ชะด้วยน้ำ และเอทานอลเข้มข้น 5%, 30% 50% และ 95% นำส่วนสกัดที่แยกได้จากการชะด้วยเอทานอล 30% ไปสกัดแยกซ้ำอีกครั้งในคลอลัมน์ Sephadex LH-20 ชะด้วยตัวทำละลาย น้ำ:เมทานอล (อัตราส่วนจาก 100:0 ถึง 0:100)จะสามารถแยกส่วนสกัดได้ 30 ชนิด นำส่วนสกัดที่ 1 และ 2 ไปแยกและทำให้บริสุทธิ์ด้วยวิธี preparative HPLC [mobile phase: 0.1 aqueous formic acid (A) และ MeOH (B) อัตราส่วนปรับเปลี่ยนเป็นไปตามเวลาที่กำหนดโดยความเข้มข้นของB คือ 16-19% ที่เวลา 0-5นาที, 19% ที่เวลา5-15นาที, 19-44% ที่เวลา15-20นาที, 44% ที่เวลา20-30นาที, 44-100% ที่เวลา30-32นาที, flow rate: 15 มล./นาที] จะได้สารสำคัญคือ carthorquinoside A และ carthorquinoside B เมื่อนำสารสำคัญทั้ง 2 ชนิดมาทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบบนเซลล์ human umbilical vein endothelial cells (HUVECs) ที่ถูกกระตุ้นให้เกิดการอักเสบด้วย LPS พบว่าสาร carthorquinoside A และ B ที่ความเข้มข้น 4 ไมโครโมลาร์ มีผลยับยั้งการแสดงออกโปรตีนที่ตอบสนองต่อการอักเสบได้แก่ IL-1, IL-6, IL-10 และ Interferon-γ (IFN-γ) แสดงให้เห็นว่าสารกลุ่ม quinochalcone C-glycoside ที่สกัดได้จากดอกคำฝอยแห้งมีฤทธิ์ต้านกระบวนการอักเสบได้ (18)
สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่สกัดได้จากดอกคำฝอยแห้งบดละเอียด (ตัวอย่างจากประเทศจีน) ด้วยวิธีการปล่อยให้ตัวทำละลาย (เอทานอลเข้มข้น 70%) ไหลผ่านสมุนไพรอย่างช้าๆ ที่อุณหภูมิห้อง นำสารสกัดที่ได้ไปทำให้เข้มข้นด้วยการระเหยแอลกอฮอล์และลดแรงดัน ที่อุณหภูมิ 40-50 oC จะได้สารสกัดหยาบที่มีสีแดงเข้ม นำสารสกัดดังกล่าวไปละลายน้ำและแยกสกัดผ่านเรซินคอลัมน์ (D101column) ชะด้วยน้ำ และเอทานอลเข้มข้น 20-80% นำส่วนสกัดที่แยกได้จากการชะด้วยเอทานอล 50% ไปละลายน้ำ และแยกซ้ำอีกครั้งใน polyamide column ชะด้วยเอทานอลเข้มข้น 10-80% เก็บส่วนสกัดที่ได้ทั้งหมดนำมาแยกด้วยวิธี thin layer chromatography (TLC) และทำให้เข้มข้นด้วยการลดความดัน จากนั้นทำการตกตะกอนส่วนสกัดที่ได้จากการชะด้วยเอทานอลเข้มข้น 10% กำจัดสิ่งแปลกปลอมด้วยการทำให้ตกผลึกอีกครั้ง และทำการตกตะกอนด้วยเอทานอลจะได้สาร kaempferol-3-O-rutinoside (K-3-R) และส่วนสกัดที่ได้จากการชะด้วยเอทานอลเข้มข้น 50% นำไปสกัดแยกในคอลัมน์ Sephadex LH-20 ชะด้วยตัวทำละลายเมทานอล 50% จะได้สาร kaempferol-3-O-glucoside (K-3-G) นำสารที่สกัดได้ทั้ง 2 ชนิด และสารสกัดหยาบที่ได้จากการสกัดด้วยเอทานอลในครั้งแรก (HE) ไปทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูเม้าส์โดยป้อนสารสกัด HE (400 และ 800 มก./กก.), K-3-R (200, 400 และ 800 มก./กก.) และ K-3-G (200, 400 และ 800 มก./กก.) 1 ชม. ก่อนฉีดอุ้งเท้าหนูด้วยสาร carrageenan และฉีดใบหูด้วย xylene เพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดอาการอักเสบและบวม สังเกตอาการบวมที่เวลา 0, 1, 2, 3, 4 และ 5 ชม. หลังการฉีด carrageenan และ xylene ผลจากการสังเกตอุ้งเท้าหนูเม้าส์พบว่า สารสกัด HE ทุกขนาด มีผลยับยั้งอาการบวมของอุ้งเท้าหนูได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (เหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบและป้อนด้วยน้ำเกลือ) หลังจากการฉีด carrageenan 1 ชม. สาร K-3-R ที่ขนาด 400 และ 800 มก./กก. มีผลยับยั้งอาการบวมของอุ้งเท้าหนูได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม หลังจากการฉีด carrageenan 3 ชม. และสาร K-3-G ที่ขนาด 800 มก./กก. มีผลยับยั้งอาการบวมของอุ้งเท้าหนูได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม หลังจากการฉีด carrageenan1 ชม.ในขณะที่ขนาด 200 และ 400 มก./กก. มีผลยับยั้งได้ที่เวลา 2 ชม. หลังจากการฉีด carrageenan เมื่อพิจารณาสารทั้ง 3 ชนิดที่ขนาดการให้สูงสุด 800 มก./กก.สามารถนำมาคิดเป็น % การยับยั้งอาการอักเสบเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมได้เท่ากับ 29.50, 35.15 และ 38.36% สำหรับ HE, K-3-R และ K-3-G ตามลำดับและผลจากการสังเกตใบหูหนูเม้าส์พบว่า สารสกัด HE ทั้ง 2 ขนาด มีผลลดอาการบวมของใบหูหนูได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยคิดเป็น % การยับยั้งอาการอักเสบได้เท่ากับ 69.21 และ 68.17% ตามลำดับ เช่นเดียวกับสารK-3-G ที่การป้อนทุกขนาดมีผลลดลดอาการบวมของใบหูหนูได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยผลที่ได้ขึ้นกับความเข้มข้นที่ให้ และคิดเป็น % การยับยั้งอาการอักเสบได้เท่ากับ 27.18, 43.13 และ 49.80% ที่ขนาด 200, 400 และ 800 มก./กก. ตามลำดับ ในขณะที่สาร K-3-R มีเพียงการป้อนที่ขนาดสูงสุด (800 มก./กก.) ที่มีผลลดอาการบวมของใบหูหนูได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และคิดเป็น % การยับยั้งอาการอักเสบได้เท่ากับ 43.65% ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สารสกัดเอทานอลดอกคำฝอย และสารสำคัญในกลุ่มฟลาโวนอยด์ 2 ชนิด ได้แก่ K-3-G และ K-3-R มีฤทธิ์ต้านการอักสบ (19)
การศึกษาทางพิษวิทยาและความปลอดภัย
การศึกษาความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง (subchronic toxicity) ของสาร HSYA ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบได้ในดอกคำฝอยโดยนำตัวอย่างผง HSYA (ไม่ระบุแหล่งที่มาของตัวอย่างและวิธีการสกัดสาร) ละลายในน้ำเกลือ (physiological saline) และฉีดเข้าช่องท้องของหนูเม้าส์ขนาดวันละ 180, 60 และ 20 มก./กก. นานติดต่อกัน 90 วัน พบว่า สาร HSYA ทุกขนาด ไม่ทำให้หนูตายและไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมหรืออาการที่แสดงออกภายนอก เมื่อตรวจวิเคราะห์ค่าทางชีวเคมีในเลือดพบว่า การฉีดสาร HSYA ที่ขนาด 180 และ 60 มก./กก. มีผลทำให้เวลาแข็งตัวของเลือด (coagulation time) ยาวนานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับหนูเม้าส์กลุ่มที่ฉีดน้ำเกลือ (กลุ่มควบคุม) อย่างไรก็ตาม ค่าดังกล่าวกลับมาเป็นปกติเมื่อหยุดให้สาร HSYA ครบ 28 วันนอกจากนี้ การฉีดสาร HSYA ที่ขนาด 180 มก./กก. มีผลทำให้น้ำหนักของตับและไตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม และเมื่อทำการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างเนื้อเยื่อภายใต้กล้องจุลทรรศน์พบว่า สาร HSYA ขนาด 180 มก./กก. มีผลทำให้เกิดความเสียหายต่อผนังเซลล์ท่อไต (tubular epithelium) และลักษณะดังกล่าวสามารถกลับคืนสู่สภาพปกติเมื่อหยุดให้สาร HSYA ครบ 28 วัน ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การได้รับสาร HSYA ขนาดสูง อาจส่งผลทำให้เกิดความเสียหายต่อไตได้ (24)
ข้อห้ามใช้
ยังไม่มีรายงานข้อห้ามใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอาง
ข้อควรระวัง
ยังไม่มีรายงานข้อควรระวังการใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอาง
อาการไม่พึงประสงค์
ยังไม่มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอาง
ขนาดที่แนะนำ (ข้อมูลจากการศึกษาทางคลินิก)
ไม่มีข้อมูลเนื่องจากยังไม่มีรายงานการศึกษาในคนมีเพียงการศึกษาในหลอดทดลองหรือสัตว์ทดลอง
สิทธิบัตร
DIP (THAILAND-TH)
USPTO (USA)
สรุป
จากการรวบรวมข้อมูลงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ดอกคำฝอยและสารสำคัญที่แยกได้ มีแนวโน้มที่ดีในการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เนื่องจากมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวข้องได้แก่ ฤทธิ์กระตุ้นการงอกของเส้นผม ฤทธิ์ป้องกันรังสียูวี ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านการอักเสบ แต่ทั้งหมดยังเป็นเพียงการศึกษาในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง ซึ่งอาจต้องการข้อมูลงานวิจัยทางคลินิกเพื่อยืนยันผลดังกล่าว
เอกสารอ้างอิง
1. ราชันย์ ภู่มา, สมราน สุดดี, บรรณาธิการ. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สักนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช; 2557.
2. Carthamus tinctorius L. The plant list. [Internet]. 2012 [cited 2020 Dec 7]. Available from: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/gcc-123195
3. วิทยา บุญวรพัฒน์. สารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สมาคมศาสตร์การแพทย์แผนจีนในประเทศไทย; 2554.
Oyen LPA, Umali BE. Carthamus tinctorius (PROSEA) - Plant Resources of South-East Asia [internet]. 2021 [cited 24 Apr 2021]. Available from: https://uses.plantnet-project.org/en/Carthamus_tinctorius_(PROSEA)
5. Zhou X, Tang L, Xu Y, Zhou G, Wang Z. Towards a better understanding of medicinal uses of Carthamus tinctorius L. in traditional Chinese medicine: a phytochemical and pharmacological review. J Ethnopharmacol. 2014;151(1):27-43.doi: 10.1016/j.jep.2013.10.050.
6. Junlatat J, Sripanidkulchai B. Hair growth-promoting effect of Carthamus tinctorius floret extract. Phytother Res. 2014;28(7):1030-6. doi: 10.1002/ptr.5100.
7. Jeong EH, Yang H, Kim JE, Lee KW. Safflower seed oil and its active compound acacetin inhibit UVB-induced skin photoaging. J Microbiol Biotechnol. 2020;30(10):1567-1573.doi: 10.4014/jmb.2003.03064.
8. Kong SZ, Shi XG, Feng XX, Li WJ, Liu WH, Chen ZW, et al. Inhibitory effect of hydroxysafflor yellow a on mouse skin photoaging induced by ultraviolet irradiation. Rejuvenation Res. 2013;16(5):404-13.doi: 10.1089/rej.2013.1433.
9. Roh JS, Han JY, Kim JH, Hwang JK. Inhibitory effects of active compounds isolated from safflower (Carthamus tinctorius L.) seeds for melanogenesis. Biol Pharm Bull. 2004;27(12):1976-8.doi: 10.1248/bpb.27.1976.
10. Kang GH, Chang EJ, Choi SW. Antioxidative activity of phenolic compounds in roasted safflower (Carthamus tinctorius L.) seeds. J Food Sci Nutr. 1999;4(4):221-5.
11. Kim EO, Oh JH, Lee SW, Lee JY, Choi SW. Antioxidant properties and quantification of phenolic compounds from safflower (Carthamus tinctorius L.) seeds. Food Sci Biotechnol. 2007;16(1):71-7.
12. Yoon HR, Paik YS. Radical-scavenging activities of four quinochalcones of safflower. J Korean Soc Appl Biol Chem. 2008;51(4):346-8.doi: 10.3839/jksabc.2008.061
13. Yoon HR, Han HG, Paik YS. Flavonoid glycosides with antioxidant activity from petals of Carthamus tinctorius. J Appl Biol Chem. 2007;50(3):175-8.
14. Song L, Zhu Y, Jin M, Zang B. Hydroxysafflor yellow A inhibits lipopolysaccharide-induced inflammatory signal transduction in human alveolar epithelial A549 cells. Fitoterapia. 2013;84:107-14.doi: 10.1016/j.fitote.2012.11.004.
15. Wu Y, Wang L, Jin M, Zang BX. Hydroxysafflor yellow A alleviates early inflammatory response of bleomycin-induced mice lung injury. Biol Pharm Bull. 2012;35(4):515-22.doi: 10.1248/bpb.35.515.
16. Wang H, Liu J, Yang Y, Cao Q, Huo X, Ma S, et al. Hydroxy-Safflower Yellow A inhibits the TNFR1-mediated classical NF-kB pathway by inducing shedding of TNFR1. Phytother Res. 2016;30(5):790-6.doi: 10.1002/ptr.5579.
17. Jiang JS, He J, Feng ZM, Zhang PC. Two new quinochalcones from the florets of Carthamus tinctorius. Org Lett. 2010;12(6):1196-9.doi: 10.1021/ol902971w.
18. Yue SJ, Qu C, Zhang PX, Tang YP, Jin Y, Jiang JS, et al. Carthorquinosides A and B, quinochalcone C-glycosides with diverse dimeric skeletons from Carthamus tinctorius. JNat Prod. 2016;79(10):2644-51. doi: 10.1021/acs.jnatprod.6b00561.
19. Wang Y, Chen P, Tang C, Wang Y, Li Y, Zhang H. Antinociceptive and anti-inflammatory activities of extract and two isolated flavonoids of Carthamus tinctorius L. J Ethnopharmacol. 2014;151(2):944-50.doi: 10.1016/j.jep.2013.12.003.
20. Kim J, Woo J, Lyu JH, Song HH, Jeong HS, Ha KT, et al. Carthami Flos suppresses neutrophilic lung inflammation in mice, for which nuclear factor-erythroid 2-related factor-1 is required. Phytomedicine. 2014;21(4):470-8.doi: 10.1016/j.phymed.2013.10.005.
21. Khémiri I, Essghaier B, Sadfi-Zouaoui N, Bitri L. Antioxidant and antimicrobial potentials of seed oil from Carthamus tinctorius L. in the management of skin injuries. Oxid Med Cell Longev. 2020;2020:4103418.doi: 10.1155/2020/4103418.
22. Sreeramulu D, Raghunath M. Antioxidant and phenolic content of nuts, oil seeds, milk and milk products commonly consumed in India. Food Nutr Sci. 2011;2(5):422-7. doi: 10.4236/fns.2011.25059.
23. Jun MS, Ha YM, Kim HS, Jang HJ, Kim YM, Lee YS, et al. Anti-inflammatory action of methanol extract of Carthamus tinctorius involves in heme oxygenase-1 induction. J Ethnopharmacol. 2011;133(2):524-30. doi:10.1016/j.jep.2010.10.029.
24. Liu Z, Li C, Li M, Li D, Liu K. The subchronic toxicity of hydroxysafflor yellow A of 90 days repeatedly intraperitoneal injections in rats. Toxicology. 2004;203(1-3):139-43.doi: 10.1016/j.tox.2004.06.007.
25. สัจจะ ประสงค์ทรัพย์. GAP คำฝอย-ฐานข้อมูลพันธุกรรมพืชสวน [อินเตอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 24 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://hort.ezathai.org/?p=2417.