ตะไคร้หอม
- ชื่อ
- ส่วนของพืชที่ใช้
- การกระจายตัวทางภูมิศาสตร์/แหล่งที่มา
- ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
- การเพาะปลูก
- สรรพคุณและการใช้สมุนไพรพื้นฐานตามภูมิปัญญาไทยด้านเครื่องสำอาง
- สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบ
- สารออกฤทธิ์ หรือ สารสำคัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Cymbopogon winterianus Jowitt ex Bor
ชื่อวงค์
POACEAE
ชื่อสมุนไพร
ตะไคร้หอม
ชื่ออังกฤษ
Java citronella
ชื่อพ้อง
-
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อ INCI
CYMBOPOGON WINTERIANUS HERB EXTRACT
CYMBOPOGON WINTERIANUS HERB EXTRACT MODIFIED
CYMBOPOGON WINTERIANUS HERB OIL
CYMBOPOGON WINTERIANUS LEAF OIL
ส่วนของพืชที่ใช้
การกระจายตัวทางภูมิศาสตร์/แหล่งที่มา
ตะไคร้หอมพบเฉพาะในแปลงปลูก และมีความเป็นไปได้สูงที่น่าจะมีถิ่นกำเนิดในแถบตอนใต้ของอินเดียและศรีลังกา มีการนำไปปลูกในชวาในสมัยต้นๆ และมีการปลูกตั้งแต่ก่อนทศวรรษ 1900 ปัจจุบันมีการปลูกทั่วไปในเขตร้อน แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย และเวียดนาม รวมทั้งประเทศอื่นๆ ได้แก่ บราซิล กาน่า จีน กัวเตมาลา ไฮติ ฮอนดูรัส และอินเดีย (3)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พืชหลายปี แตกกอ จัดอยู่ในตระกูลหญ้า เจริญเติบโตเป็นกอ มีกลิ่นหอม ลำต้นจำนวนมากเจริญจากเหง้าสั้นๆ ลำต้นสูงถึง 2.5 ม. กลม ผิวเกลี้ยง เรียบ กาบใบมีริ้ว ผิวเกลี้ยง เรียบ สีออกเหลืองเปลี่ยนเป็นสีแดงแกมม่วง กาบหุ้มลำต้นติดแน่นและสั้นกว่าลำปล้อง ใบรูปแถบ ปลายใบเป็นเส้นยาว ขนาดถึง 1 ม. X 1.5 ซม. ผิวเรียบ เกลี้ยง ผิวใบด้านบนสีเขียวอ่อน ด้านล่างมีนวล ขอบใบมักจะหยักเป็นซี่ละเอียด สากมือ ช่อดอกแยกแขนงหลายอันดับ มีขนาดใหญ่ ยาว 60-100 ซม. แกนช่อดอกหักงอไปมา ผลแบบธัญพืช รูปค่อนข้างกลม มีขั้วเมล็ดตรงฐาน (3)
การเพาะปลูก
ตะไคร้หอมสามารถปลูกได้ในดินทุกชนิดแต่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ดินที่มีความชุ่มชื้นน้อยมีการระบายน้ำดีเป็นพืชที่ชอบแสงแดดจัดมาก ทนต่อความแห้งแล้งแต่ถ้าให้น้ำสม่ำเสมอบำรุงรักษาดีจะให้ผลผลิตสูงตลอดปี สามารถปลูกได้ดีในพื้นที่ที่มีความสูงประมาณ 500 ม. จากระดับน้ำทะเล (36)
การเตรียมพันธุ์
นำต้นพันธุ์มาตัดแต่งให้มีข้อ2-3 ข้อมีกาบใบหุ้มข้อ 4-5 ใบและตัดปลายใบออกให้เหลือต้นยาวประมาณ 30-40 ซม. แช่น้ำไว้ประมาณ 5-7 วันเพื่อให้รากงอกรากที่แก่เต็มที่จะมีสีเหลืองเข้ม การปลูก ฤดูปลูกที่เหมาะสมคือต้นฤดูฝนขุดหลุมขนาด 15X15 ซม.ลึก 15 ซม. นำต้นพันธุ์ที่เตรียมไว้ปลูก3ต้นต่อหลุมปักต้นพันธุ์ลงให้เอียง 45 องศาไปด้านใดด้านหนึ่งแล้วกลบดินพอมิดรากรดน้ำให้ชุ่ม
การเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวโดยใช้ส่วนใบเมื่ออายุ 6-7 เดือนการเก็บเกี่ยวเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันควรตัดเอาส่วนของใบซึ่งอยู่เหนือพื้นดินประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของความสูงทั้งหมด และเก็บเกี่ยวตอนเช้าตรู่เพราะเป็นช่วงที่มีสารหอมระเหยมากที่สุดหากปล่อยให้ตะไคร้หอมถูกแสงแดดจะทำให้ต่อมของน้ำมันหอมระเหยขยายตัวและส่งกลิ่นกระจายออกมาปริมาณของน้ำมันหอมระเหยจะลดลงนำใบที่ตัดไว้มาผึ่งประมาณ 1-2 วัน ก่อนนำไปสกัดน้ำมัน
สรรพคุณและการใช้สมุนไพรพื้นฐานตามภูมิปัญญาไทยด้านเครื่องสำอาง
ไม่มีข้อมูล
สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบ
สารสำคัญที่พบในใบและลำต้นตะไคร้หอม คือ สารกลุ่มน้ำมันหอมระเหย (essential oil) (4-30) ซึ่งสารหลักที่พบ ได้แก่ citronellal (4-17, 22), citronellol (4-19), citronellyl acetate (4, 5, 7, 11, 14, 20), β-elemene (8, 18), elemol (5, 11, 14, 15, 17, 20, 22), geraniol (4, 5, 7-19, 22), geranyl acetate (5, 7, 8, 11, 14, 15, 20, 21), isopulegol (17, 20, 21), limonene (4, 7, 11, 14, 15, 17), linalool (18, 20)
สารกลุ่มน้ำมันหอมระเหย(essential oil)
สารออกฤทธิ์ หรือ สารสำคัญ
⁃ สารออกฤทธิ์ต้านสิว ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย (9, 12, 17, 22)
⁃ สารออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย (12, 23-29)
⁃ สารออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ ได้แก่ น้ำมันหอมระเหย (23, 29, 30)
แนวทางการควบคุมคุณภาพ (วิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ)
น้ำมันหอมระเหย: วิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์สารสำคัญในน้ำมันตะไคร้หอม ได้แก่ Gas chromatogra-phy (GC) และGC-mass spectrometry (GC-MS) สภาวะการทดลอง (condition) ที่ใช้ในการวิเคราะห์ (17) มีดังนี้
วิธี GC สภาวะการทดลองคือ
column : fused silica capillary column [5% phenyl-polymethylsiloxane, ความยาว30 ม., เส้นผ่านศูย์กลาง 0.25 มม., ความหนาของฟิล์ม (film thickness) 0.25 μ] ตั้งโปรแกรมอุณหภูมิจาก 60 oC ถึง 230oC โดยมีอัตราการเพิ่มอุณหภูมิ 3oC/นาที
carrier gas : ฮีเลียม, อัตราการไหล เท่ากับ 1 มล./นาที
injector :ตั้งอุณหภูมิเท่ากับ 220 oC,
injection volume : 0.05 มคล., อัตราการแบ่งส่วน (split ratio) เท่ากับ1:40
detector : flame ionization detector (FID) ตั้งอุณหภูมิเท่ากับ 230oC
วิธี GC-MS สภาวะการทดลอง คือ
column : Elite-5 MS fused-silica capillary column (ความยาว30 ม., เส้นผ่านศูย์กลาง 0.25 มม., ความหนาของฟิล์ม 0.25 μ) ตั้งโปรแกรมอุณหภูมิจาก 60 oC ถึง 240oC โดยมีอัตราการเพิ่มอุณหภูมิ 3oC/นาที จากนั้นเพิ่มอุณหภูมิไปที่ 270oC ด้วยอัตราการเพิ่มอุณหภูมิ 5oC/นาที
carrier gas : ฮีเลียม, อัตราการไหล เท่ากับ 1 มล./นาที
injector : ตั้งอุณหภูมิเท่ากับ 250 oC,
injection size : 0.03 มคล., อัตราการแบ่งส่วน (split ratio) เท่ากับ 1:50
transfer line temperature : 220 oC
ion source temperature : 220 oC
ionization energy : 70 eV
mass scan range : 40-450 atomic mass unit (amu)
การศึกษาทางคลินิก
ยังไม่มีรายงาน
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
1. การศึกษาเกี่ยวกับผิวหน้า
1.1 ฤทธิ์ต้านสิว (F006)
น้ำมันตะไคร้หอม (ไม่ระบุส่วนที่ใช้และวิธีการสกัด; ตัวอย่างจากบริษัทอุตสาหกรรมเครื่องหอมไทย-จีนจำกัด) และน้ำมันตะไคร้หอมที่กักเก็บ (encapsulation) ในอนุภาคไขมันแข็ง (solid lipid particles) เมื่อนำมาเป็นส่วนผสมในตำรับเจล (oleogel) และทดสอบฤทธิ์ในต้านเชื้อแบคทีเรียPropionibacterium acne (P. acne) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสิวพบว่าตำรับเจลที่มีส่วนผสมของน้ำมันตะไคร้หอมที่กักเก็บในอนุภาคไขมันแข็งมีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อP. acneได้ดีกว่าตำรับเจลที่มีส่วนผสมของน้ำมันตะไคร้หอมโดยมีค่าที่แสดงการลดลงของเชื้อ (log reduction) (เมื่อวันที่0) เท่ากับ2.16และ1.27 CFU/มล. ตามลำดับเมื่อเก็บตำรับเจลทั้ง2ชนิดไว้ที่อุณหภูมิ40 oCเป็นเวลา120วันพบว่าค่าlog reduction ของตำรับเจลที่มีส่วนผสมของน้ำมันตะไคร้หอมจะลดลงอย่างมากหลังจาก15วันและพบว่าไม่มีผลต้านเชื้อในเวลา45วันของการเก็บขณะที่ตำรับเจลที่มีส่วนผสมของน้ำมันตะไคร้หอมที่กักเก็บในอนุภาคไขมันแข็งค่าlog reduc-tionจะลดลงเล็กน้อย (1.62 CFU/มล.) เมื่อเก็บไว้นาน120วันในกระบวนการเตรียมอนุภาคไขมันแข็งซึ่งมีการใช้ความร้อนในการทำให้ส่วนผสมเป็นเนื้อเดียวกันมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณของสารสำคัญในน้ำมันตะไคร้หอมโดยพบว่าปริมาณของcitronellal ลดลงขณะที่ปริมาณของgeraniol และelemol จะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับน้ำมันที่ไม่ผ่านการกักเก็บอย่างไรก็ตามจะเห็นว่าการกักเก็บน้ำมันตะไคร้หอมในอนุภาคไขมันแข็งมีผลป้องกันการระเหยของน้ำมันและยืดระยะเวลาการปลดปล่อยน้ำมันออกจากเจลได้และฤทธิ์ในการต้านเชื้อยังคงอยู่แม้จะเก็บไว้เป็นเวลานาน120วันเมื่อเทียบกับน้ำมันที่ไม่ผ่านการกักเก็บ (22)
การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของน้ำมันหอมระเหยจากใบ (ตัวอย่างจากประเทศอินเดีย) ที่ได้จากการสกัดด้วยวิธีการกลั่นด้วยน้ำและการกลั่นด้วยไอน้ำ พบว่าน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการสกัดทั้ง 2 วิธี มีฤทธิ์ปานกลางในการต้านเชื้อ Staphylococcus aureus (S. aureus) และ S. epidermidis (S. epidermi-dis) โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (MIC) เท่ากับ 250 มคก./มล. (17)
น้ำมันหอมระเหยจากใบและลำต้น (ตัวอย่างจากประเทศเยอรมนี) ไม่ระบุวิธีการสกัด มีฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureusโดยมีค่า MIC และค่าความเข้มข้นตํ่าสุดของสารสกัดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (MBC) เท่ากับ 2 และ 4 มคล./มล. ตามลำดับ (9)
น้ำมันหอมระเหยจากใบ (ตัวอย่างจากประเทศแทนซาเนีย)ซึ่งสกัดด้วยวิธีการกลั่นด้วยน้ำ มีฤทธิ์ต้านเชื้อS. aureus โดยมีค่าโซนใส เท่ากับ 6 มม. เมื่อเทียบกับยา gentamicin ที่มีค่าโซนใส เท่ากับ 15 มม. (18)
น้ำมันตะไคร้หอมไม่ระบุส่วนที่ใช้และวิธีการสกัด (ตัวอย่างจากบริษัท อุตสาหกรรมเครื่องหอมไทย-จีน จำกัด) สามารถต้านเชื้อ S. aureusได้ มีค่า MIC และ MBC เท่ากับ 2.18 มคล./มล. (12)
2. การศึกษาเกี่ยวกับผิวกาย
2.1 ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (S006)
น้ำมันหอมระเหยจากใบ(ตัวอย่างจากประเทศบราซิล) สกัดด้วยวิธีการกลั่นด้วยน้ำ (hydro-distilla- tion) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทดสอบด้วยวิธี 2,2-diphenyl-1-picryhydrazyl (DPPH) โดยมีค่าความเข้มข้นของน้ำมันหอมระเหยที่ต้านอนุมูลอิสระได้ร้อยละ50 (IC50) เท่ากับ 12.66±0.56 มคก./มล. ใกล้เคียงกับสารมาตรฐาน butylated hydroxytoluene (BHT) ซึ่งมีค่า IC50เท่ากับ16.33±0.96มคก./มล. (23)
น้ำมันตะไคร้หอม ไม่ระบุส่วนที่ใช้และวิธีการสกัด (ตัวอย่างจากบริษัท อุตสาหกรรมเครื่องหอมไทย-จีน จำกัด) ความเข้มข้น 10 มคล./มล. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งอนุมูลอิสระ (%inhibition) เท่ากับ 90.4±0.51% และมีค่า IC50 เท่ากับ 0.43±0.10 มคล./มล. ซึ่งมีฤทธิ์ดีกว่าเมื่อเทียบกับ BHT และวิตามินอี อะซีเตท ความเข้มข้น 10 มคก./มล. ที่ยับยั้งได้ 89.5±0.43% และ 44.8±1.49% ตามลำดับ และมีค่าIC50 เท่ากับ 1.16±0.06 และ 10.83±1.61 มคก./มล. ตามลำดับ ในการทดสอบด้วยวิธี thiobarbituric acid reactive species (TBARS) พบว่าน้ำมันหอมระเหย ความเข้มข้น 1 มคล./มล. สามารถยับยั้งการเกิดออกซิเดชันของไขมัน (lipid peroxidation) ได้ 45.2±1.76% ขณะที่ BHT และวิตามินอี อะซีเตท ความเข้มข้น 1 มคก./มล. มีผลยับยั้งได้ 79.2±3.70% และ 50.4± 0.86% ตามลำดับ (12)
น้ำมันตะไคร้หอม ไม่ระบุส่วนที่ใช้และวิธีการสกัด (ตัวอย่างจากบริษัท อุตสาหกรรมเครื่องหอมไทย-จีน จำกัด) ความเข้มข้น 10 มคล./มล. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH ซึ่งน้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับวิตามินอีอะซีเตท และสาร BHT โดยมี %inhibition เท่ากับ 87.37±0.73%, 43.76±8.85% และ 73.74±0.82% ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหย ความเข้มข้น 0.95 มคล./มล. มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด lipid peroxidation เมื่อทดสอบด้วยวิธี TBARSโดยสามารถยับยั้งได้ 16.3±1.05% แต่ฤทธิ์อ่อนกว่าเมื่อเทียบกับวิตามินอี อะซีเตท และ BHT ซึ่งยับยั้งได้ 38.70±3.50% และ 61.80±2.05% ตามลำดับ (24)
น้ำมันหอมระเหย ไม่ระบุส่วนที่ใช้(ตัวอย่างจากประเทศอินโดนีเซีย) ที่เตรียมโดยการสกัดด้วยวิธีการกลั่นด้วยน้ำ ความเข้มข้น 100 มคก./มล. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทดสอบด้วยวิธี lipophilic-oxygen radical absorbance capacity (L-ORAC) ซึ่งความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ มีค่าระหว่าง 0.01-0.02 โมล สมมูลของโทรลอกซ์ (trolox equivalents; TE)/ก. (25)
เมื่อนำตะไคร้หอม ไม่ระบุส่วนที่ใช้ (ตัวอย่างจากประเทศอินเดีย)มาทำการสกัด โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 สกัดด้วยวิธี soxhlet extraction ในตัวทำละลายต่างๆ ได้แก่ ปิโตรเลียมอีเทอร์, คลอโรฟอร์ม, เอทิลอะซีเตท, 100%, 75%, 50% อะซีโตน, 100%, 75%, 50% เอทานอล, 100%, 75%, 50% เมทานอลและน้ำส่วนที่ 2 สกัดด้วยวิธีการกลั่นด้วยน้ำ เป็นเวลา 180 นาที จะได้น้ำมันหอมระเหย และมีส่วนที่เหลือจากการสกัด (waste) ซึ่งแยกออกเป็นส่วนที่เป็นของเหลว (liquid waste) และส่วนที่เป็นของแข็ง (solid waste) นำส่วนที่เหลือจากการสกัดที่เป็นของแข็ง มาสกัดด้วยวิธี soxhlet extraction ในตัวทำละลายต่างๆ เช่นเดียวกับตัวอย่างส่วนที่ 1 จากนั้นนำสารสกัดทั้งหมดที่ได้จากตัวอย่างทั้ง 2 ส่วน มาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH, 2,2′-azinobis-(3-ethylbenzthia-zoline-6-sulfonic acid) (ABTS), ferric reducing antioxidant power (FRAP),superoxide anion radicals scavenging (SO) และferrous ion chelating พบว่าสารสกัดต่างๆ จากตะไคร้หอมที่ไม่ผ่านการกลั่นด้วยน้ำจะมีปริมาณของสารฟีนอลิกรวมและสารฟลาโว-นอยด์รวมสูงกว่า และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าสารสกัดจากส่วนที่เหลือจากการกลั่น โดยสารสกัด 75% เมทานอลจากส่วนที่ไม่ผ่านการกลั่นมีปริมาณของสารฟีนอลิกรวมและสารฟลาโวนอยด์รวมสูงสุดสารสกัด 50% และ 75% เมทานอลจากส่วนที่ไม่ผ่านการกลั่น มีฤทธิ์สูงสุดในการต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH, ABTS, FRAP และ SO ขณะที่สารสกัดเอทิลอะซีเตท และ 75% อะซีโตน จะมีฤทธิ์ดีที่สุด ในการทดสอบด้วยวิธี ferrous ion chelating ค่า IC50ของสารสกัดต่างๆ จากส่วนที่ไม่ผ่านการกลั่น อยู่ในช่วง 64-387, 92-761, 285-870 และ 164-924 มคก./มล. เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH, ABTS, SO และ ferrous ion chelating ตามลำดับ ขณะที่ค่า IC50ของสารสกัดจากส่วนที่เหลือจากการกลั่นอยู่ในช่วง144-865, 239-792, 361-833 และ 374-867 มคก./มล. ตามลำดับ สำหรับการทดสอบด้วยวิธี FRAP พบว่าค่า EC50 ของสารสกัดจากส่วนที่ไม่ผ่านการกลั่น และสารสกัดจากส่วนที่เหลือจากการกลั่น เท่ากับ 118-840 และ 151-952 มคก./มล. ตามลำดับ (26)
น้ำมันตะไคร้หอม (ตัวอย่างจากบริษัท Sigma-Aldrich fine chemicals; ประเทศสหรัฐอเมริกา)ความเข้มข้น 50, 100 และ 200 มคก./มล. มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH โดยมีค่า IC50เท่ากับ215.76 มคก./มล. และมีผลต้านการเกิดlipid peroxidation เมื่อทดสอบด้วยวิธี TBARS มีค่าIC50 206.29 มคก./มล. (27)
น้ำมันตะไคร้หอม (ตัวอย่างจากบริษัท ArgolideQuímica S.L.; ประเทศสเปน) ความเข้มข้น 450 มคก./ก.มีฤทธิ์อ่อนในการต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทดสอบด้วยวิธี ORAC (28)
น้ำมันหอมระเหยจากใบ (ตัวอย่างจากประเทศบราซิล; voucher specimen EAC 43,194) ซึ่งสกัดด้วยวิธีการกลั่นด้วยไอน้ำ ความเข้มข้น 200 และ 400 มคก./มล. ไม่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH (29)
2.2 ฤทธิ์ต้านการอักเสบ (S014)
น้ำมันหอมระเหยจากใบ (ตัวอย่างจากประเทศบราซิล;voucher specimen EAC 43,194) สกัดด้วยวิธีการกลั่นด้วยไอน้ำ ความเข้มข้น 0.01, 0.1, และ1 มคก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ myeloperoxidase ซึ่งเป็นตัวชี้วัดการอักเสบ เมื่อทดสอบในเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล (neutrophils) ของมนุษย์ที่ถูกกระตุ้นด้วยสารphorbolmyristate acetate (29)
น้ำมันหอมระเหย ไม่ระบุส่วนที่ใช้และวิธีการสกัด (ตัวอย่างจากประเทศญี่ปุ่น)ความเข้มข้น 100 มคก./มล. มีฤทธิ์อ่อนในการต้านการอักเสบ เมื่อทดสอบในเซลล์เม็ดเลือดขาว (RAW264.7 murine macro-phage) ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยไลโปโพลีแซคคาไรด์ (lipopolysaccharide; LPS) โดยยับยั้งการสร้าง tumor necrosis factor (TNF)-α ได้น้อยกว่า 10% (30)
การศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของน้ำมันหอมระเหยจากใบ (ตัวอย่างจากประเทศบราซิล) ซึ่งสกัดด้วยวิธีการกลั่นด้วยน้ำขนาด 50, 100, 200 มก./กก. ในหนูแรทที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วยการฉีดสารคาราจีแนนเข้าทางช่องท้อง พบว่าน้ำมันหอมระเหยมีผลต้านการอักเสบได้ โดยยับยั้งการเคลื่อนของเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโทรฟิล (neutrophil migration) เข้าในช่องท้องของหนู ซึ่งฤทธิ์จะแปรผันตามขนาดที่ใช้ สามารถยับยั้งได้ 35.5%, 42.8% และ 66.1% ตามลำดับเมื่อเทียบกับยา dexamethasone ขนาด 2 มก./กก. ที่ยับยั้งได้ 92.2% (23)
การศึกษาทางพิษวิทยาและความปลอดภัย
ค่า LD50 ของน้ำมันตะไคร้หอม มีค่ามากกว่า 5 ก./กก. เมื่อให้โดยการป้อนหนูแรท และมีค่าเท่ากับ 4-7 มล./กก. เมื่อให้ทางผิวหนังของกระต่าย (31)
พิษต่อเซลล์
การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์เม็ดเลือดขาวของมนุษย์ชนิด lymphocytes ของน้ำมันตะไคร้หอม (ตัวอย่างจากบริษัท Sigma-Aldrich fine chemicals; ประเทศสหรัฐอเมริกา)ความเข้มข้น 100-2,000 มคก./มล. พบว่าน้ำมันตะไคร้หอมไม่เป็นพิษต่อเซลล์ เมื่อทดสอบด้วยวิธีTrypan blue dye exclusion ขณะที่น้ำมันตะไคร้หอมที่ความเข้มข้นสูง (1,500, 2,000 มคก./มล.) เป็นพิษต่อเซลล์เม็ดเลือดขาว lymphocytes เมื่อทดสอบด้วยวิธี MTT assay นอกจากนี้น้ำมันตะไคร้หอมที่ความเข้มข้นสูง ยังมีผลทำให้เกิดความเสียหายของดีเอ็นเอ (DNA damage) ของเซลล์เม็ดเลือดขาว เมื่อทดสอบด้วยวิธี comet assay และDNA diffusion assay (32)
ข้อห้ามใช้
ยังไม่มีรายงานข้อห้ามใช้ในรูปแบบของเครื่องสำอาง
ข้อควรระวัง
อาจทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง (skin irritation) และการแพ้ (skin allergy) ได้
อาการไม่พึงประสงค์
มีรายงานพบว่า น้ำมันตะไคร้หอมก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังของกระต่าย(31)ทำให้เกิดอาการแพ้และผิวหนังอักเสบในคน (33, 34) แต่การทดสอบในอาสาสมัครจำนวน 25 คน พบว่าน้ำมันตะไคร้หอมที่ผสมในpetrolatum ความเข้มข้น 8% ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังของอาสาสมัคร (31)
มีรายงานการเกิดพิษในเด็กเล็ก 5 ราย เนื่องจากรับประทานน้ำมันตะไคร้หอม พบว่ามีผลต่อปอด ทำให้ปอดบวม แต่อาการไม่ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต อย่างไรก็ตามมีรายงานของเด็ก อายุ 21 เดือน ที่เสียชีวิตเนื่องจากรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำมันตะไคร้หอม 3 ช้อนชา โดยมีอาการอาเจียน ช็อค ตัวเขียว ชัก และเสียชีวิตหลังจากรับประทานน้ำมันตะไคร้หอม 5 ชม. ซึ่งพบว่าเยื่อบุกระเพาะอาหารได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงและมีเลือดออกในสมองจำนวนมาก (35)
ขนาดที่แนะนำ (ข้อมูลจากการศึกษาทางคลินิก)
ไม่มีข้อมูลเนื่องจากยังไม่มีรายงานการศึกษาในคนมีแต่การศึกษาในหลอดทดลองหรือสัตว์ทดลอง
สิทธิบัตร
DIP (THAILAND-TH)
USPTO (USA)
สรุป
ตะไคร้หอม มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่สนับสนุนการใช้ทางเครื่องสำอาง เช่น ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านสิว ต้านการอักเสบ เป็นต้น แต่ข้อมูลการนำมาใช้ในทางเครื่องสำอาง พบว่ายังมีการใช้น้อย เมื่อเทียบกับการนำไปใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการไล่ยุงหรือฆ่ายุง ซึ่งให้ผลดีและมีความปลอดภัย ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง
1. ราชันย์ภู่มา, สมรานสุดดี, บรรณาธิการ. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทยเต็มสมิตินันทน์ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานหอพรรณไม้สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืชกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช; 2557.
2. Cymbopogon winterianus Jowitt ex Bor. The plant list. 2012 [Internet]. [cited 2020 December 8]. Available from: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-406312.
3. Oyen LPA, Dung NX, eds. Plant resources of south-east Asia No 19: Essential-oil plant. Leiden: Backhuys Publishers, 1999:369pp.
4. Kaul PN, Bhattacharya AK, Singh K, Rao BRR. Chemical composition of the essential oil of Java citronella (Cymbopogon winterianus Jowitt) grown in Andhra Pradesh. Pafai J. 1997;19:29-33.
5. Rao BRR, Kaul PN, Bhattacharya AK. Java citronella (Cymbopogon winterianus Jowitt) cultivation in a tribal area of Andhra Pradesh. J Essent Oil Bear Plants. 1998;1(2-3):114-8.
6. Nhu-Trang TT, Casabianca H, Grenier-Loustalot MF. Authenticity control of essential oils containing citronellal and citral by chiral and stable-isotope gas-chromatographic analysis. AnalBioanal Chem. 2006;386:2141-52.doi: 10.1007/s00216-006-0842-2.
7. Saikia RC, Sarma A, Sarma TC, Baruah PK. Comparative study of essential oils from leaf and inflorescence of Java citronella (Cymbopogon winterianus Jowitt). J EssentOil Bear Plants. 2006;9(1):85-7.doi:10.1080/0972060x.2006.10643476.
8. Cassel E, Vargas RMF. Experiments and modeling of the Cymbopogon winterianus essential oil extraction by steam distillation.J MexChem Soc. 2006;50(3):126-9.
9. Simic A, Rancic A, Sokovic MD,Ristic M, Grujic-Jovanovic S, Vukojevic J, et al. Essential oil composition of Cymbopogon winterianus and Carumcarvi and their antimicrobial activities. Pharm Biol. 2008;46(6):437-41.doi:10.1080/13880200802055917.
10. Quintans-Junior LJ, Souza TT, Leite BS, Lessa NMN, Bonjardim LR, Santos MRV, et al, Phythochemical screening and anticonvulsant activity of Cymbopogon winterianus Jowitt (Poaceae) leaf essential oil in rodents. Phytomedicine. 2008;15:619-24.doi: 10.1016/j.phymed.2007.09.018.
11. Verma RS, Rahman L, Verma RK, Chauhan A, Singh A, Kukreja AK, et al. Qualitative performance of Java citronella (Cymbopogon winterianus Jowitt) cultivars in Kumaon Himalaya.J Med Arom Plant Sci. 2009;31(4):321-5.
12. Aiemsaard J, Aiumlamai S, Taweechaisupapong S, Aromdee C, Khunkitti W. Chemical composition, antioxidant activity and antibacterial action of eight essential oils against clinical isolates of mastitis pathogens. IJEOT. 2010;4:37-43.
13. Oliveira WA, Pereira FO, Luna GCDG, Lima IO, Wanderley PA, Lima RB, et al. Antifungal activity of Cymbopogon winterianus Jowitt ex Bor against Candida albicans.Braz J Microbiol. 2011;42(2):433-41.doi: 10.1590/S1517-83822011000200004.
14. Kakaraparthi PS, Srinivas KVNS, Kumar JK, Kumar AN, Rajput DK, Sarma VUM. Variation in the essential oil content and composition of citronella (Cymbopogon winterianus Jowitt) in relation to time of harvest and weather conditions. Ind Crop Prod. 2014;61:240-8.doi: 10.1016/j.indcrop.2014.06.044.
15. Singh A, Kumar A. Cultivation of citronella (Cymbopogon winterianus) and evaluation of its essential oil, yield and chemical composition in Kannauj region. Int J Biotechnol Biochem. 2017;13(2):139-46.
16. Eden WT, Alighiri D, Cahyono E, Supardi KI, Wijayati N. Fractionation of Java citronella oil and citronellal purification by batch vacuum fractional distillation. IOP ConfSer: Mater Sci Eng. 2018, 349, 012067.doi:10.1088/1757-899X/349/1/012067.
17. Verma RS, Verma SK, Tandon S, Padalia RC, Darokar MP. Chemical composition and antimicrobial activity of Java citronella (Cymbopogon winterianus Jowitt ex Bor) essential oil extracted by different methods, J Essent Oil Res. 2020;32(5):449-55. doi: 10.1080/10412905.2020.1787885.
18. Malele RS, Mwangi JW, Thoithi GN, Kibwage IO, López ML, Zunino MP, et al. Essential oil of Cymbopogon winterianus Jowitt from Tanzania: composition and antimicrobial activity. J Essent Oil Bear Plants. 2007;10(1):83-7.doi: 10.1080/0972060X.2007.10643523.
19. Wany A, Kumar A, Nallapeta S, Jha S, Nigam VK, Pandey DM. Extraction and characterization of essential oil components based on geraniol and citronellol from Java citronella (Cymbopogon winterianus Jowitt). Plant Growth Regul. 2014;73:133-45.doi: 10.1007/s10725-013-9875-7.
20. Kusumaningrum HP, Zainuri M, Endrawati H, Purbajanti ED. Characterization of citro-nella grass essential oil of Cymbopogon winterianus from Batang region, Indonesia.J Phys: Conf Ser. 2020;1524,012057.doi:10.1088/1742-6596/1524/1/012057.
21. Andila PS, Hendra IPA, Wardani PK, Tirta IG, Sutomo, Fardenan D.The phytochemistry of Cymbopogon winterianus essential oil from Lombok Island, Indonesia and its antifungal activity against phytopathogenic fungi. Nusantara Biosci. 2018;10(4):232-9.doi: 10.13057/nusbiosci/n100406.
22. Lertsatitthanakorn P, Taweechaisupapong S, Aromdee C, Khunkitti W. Antibacterial activity of citronella oil solid lipid particles in oleogel against Propionibacterium acnes and its chemical stability. IJEOT. 2008;2(4):167-71.
23. Leite BLS, Bonfim RR, Antoniolli AR, Thomazzi SM, Araújo AAS, Blank AF, et al. Assessment of antinociceptive, anti-inflammatory and antioxidant properties of Cymbopogon winterianus leaf essential oil. Pharm Biol. 2010;48(10):1164-9.doi: 10.3109/13880200903280000.
24. ประภัสสรวีระพันธ์ วัชรีคุณกิตติ. คุณสมบัติในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของนํ้ามันหอมระเหยในหลอดทดลอง. วเภสัชศาสตร์อีสาน. 2554;7(3):30-8.
25. Mitoshi M, Kuriyama I, Nakayama H, Miyazato H, Sugimoto K, Kobayashi Y, et al. Effects of essential oils from herbal plants and citrus fruits on DNA polymerase inhibitory, cancer cell growth inhibitory, antiallergic, and antioxidant activities.J Agric Food Chem. 2012;60:11343-50.doi: 10.1021/jf303377f.
26. Saha A, Basak BB, Manivel P, Kumar J. Valorization of Java citronella (Cymbopogon winterianus Jowitt) distillation waste as a potential source of phenolics/ antioxidant: influence of extraction solvents. J FoodSci Technol. 2020;58(1):255-66.doi: 10.1007/s13197-020-04538-8.
27. Sinha S, Biswas D, Mukherjee A. Antigenotoxic and antioxidant activities of palmarosa and citronella essential oils. J Ethnopharmacol. 2011;137:1521-7.doi:10.1016/j.jep.2011.08.046.
28. Bentayeb K, Vera P, Rubio Cs, Nerín C. The additive properties of Oxygen Radical Absorbance Capacity (ORAC) assay: The case of essential oils. Food Chem. 2014;148:204-8.doi: 10.1016/j.foodchem.2013.10.037.
29. Silva MR, Ximenes RM, Costa JGM, Leal LKAM, Lopes AA, Barros Viana GS. Comparative anticonvulsant activities of the essential oils (EOs) from Cymbopogon winterianus Jowitt and Cymbopogon citratus (DC) Stapf. in mice.Naunyn-Schmied Arch Pharmacol. 2010;381:415-26.doi: 10.1007/s00210-010-0494-9.
30. Mitoshi M, Kuriyama I, Nakayama H, Miyazato H, Sugimoto K, Kobayashi Y, et al. Suppression of allergic and inflammatory responses by essential oils derived from herbal plants and citrus fruits. Int J Mol Med. 2014;33:1643-51.doi: 10.3892/ijmm.2014.1720.
31. Opdyke DLJ. Momnographs on fragrance raw materials. Food CosmetToxicol. 1973;11(6):1067-8.
32. Sinha S, Jothiramajayam M, Ghosh M, Mukherjee A. Evaluation of toxicity of essential oils palmarosa, citronella, lemongrass and vetiver in human lymphocytes.Food ChemToxicol. 2014;68:71-7.doi: 10.1016/j.fct.2014.02.036.
33. Keil H. Contact dermatitis due to oil of citronella. J Invest Dermatol. 1947;8:327-34.
34. Lane CG. Dermatitis caused by oil of citronella. ArchsDermSyphilol. 1922;5:589-90.
35. Temple WA, Smith NA, Beasley M. Management of oil of citronella poisoning. J ToxicolClinlToxicol. 1991;29(2):257-62.doi:10.3109/15563659109038618.
36. กรมส่งเสริมการเกษตร. ตะไคร้หอม (thakhaihom) [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 12 มี.ค. 2564]. เข้าถีงได้จาก: http://www.agriman.doae.go.th›herbdoae0015.